ในปี 2011 เมื่อสำนักงานของชาร์ลี เอบโด ถูกยิงระเบิด ผมได้เขียนบทความหนึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า การยั่วยุทางการเมือง : การยิงระเบิดใส่นิตยสารชาร์ลี เอบโด หมายถึงอะไร ในบทความนั้นผมได้เขียนไว้ว่า จุดประสงค์ของเอบโดในการตีพิมพ์การ์ตูนในทำนองเหยียดชาติพันธุ์และสร้างความ เกลียดกลัวอิสลามนั้นก็เพื่อการยั่วยุ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายสุดโปรดของมันก็คือศาสนาอิสลามและชาวมุสลิม (โดยเฉพาะชาวมุสลิมฝรั่งเศส)
ชาร์ลี เอบโด รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ พวกเขาต้องการที่จะยั่วยุ พวกเขาสร้างกระแสข่าวและดึงดูดความสนใจของสื่อทั่วโลกให้หันมาที่นิตยสารของ พวกเขาซึ่งมีคนติดตามน้อยมากภายนอกฝรั่งเศส
ผมเขียนไว้ตอนนั้นว่า การตอบสนองที่ดีที่สุด “สำหรับการสร้างความขุ่นเคืองหรือความรำคาญใจเหล่านั้นน่าจะเป็นการประท้วง อย่างสันติ หรือการเขียนล้อเลียนสิ่งพิมพ์ของชาร์ลี เอบโด หรือทำเหมือนที่คนส่วนใหญ่ทำ นั่นก็คือ อย่าไปใส่ใจกับมัน”
ผม ยังได้กล่าวถึงความเกลียดกลัวคนต่างชาติพันธุ์อย่างน่าอึดอัด สภาวะต่อต้านมุสลิมของฝรั่งเศส กับการที่มันทำให้ชาวมุสลิมและชนกลุ่มน้อยชาวแอฟริกาเป็นพวกชายขอบในทุก แวดวงของสังคมและชีวิตทางการเมืองของชาติ และการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมเนื่องจากความเกลียดชังที่มีต่อชาวมุสลิม (เรื่องนี้ยิ่งแย่ลงตั้งแต่นั้น)
สุดท้าย เนื้อเรื่องที่ไม่ถูกบอกเล่าในประวัติความกล้าหาญของฝรั่งเศสก็คือ ความสัมพันธ์อันขมขื่นระหว่างการสถาปนาฝรั่งเศสกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม อิสลามถูกทำให้เป็น “คนอื่น” ไปในฝรั่งเศสและทั่วยุโรป เหมือนที่เป็นในสหรัฐฯ แต่ในฝรั่งเศส มันอยู่ในระดับต่อไปแล้ว
ใน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ความดึงดันในการต่อต้านมุสลิมได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งคราว โรงเรียนของรัฐห้ามสวมฮิญาบ ผ้าคลุมหน้าก็ถูกห้ามไปด้วย และหลังจากเกิดกระแสความนิยมต่อพรรคชาตินิยมต่อต้านมุสลิมของมารีน เลอ แปง ซาร์โกซี่และคณะได้จัดให้มีการ “สนทนาระดับชาติ” เกี่ยวกับอิสลามขึ้น
จาก รายงานฉบับหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ กระแสความเกลียดกลัวอิสลามได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในฝรั่งเศส… เห็นได้ชัดว่าอัลกออิดะฮ์ในเยเมน องค์กรต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส กำลังเล่นเกมยั่วยุทางการเมืองของมันเอง มันต้องการที่จะ “เสี้ยมความขัดแย้งให้แหลมคมยิ่งขึ้น” และส่งเสริมการต่อสู้ระหว่างมุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในฝรั่งเศสให้หนัก หน่วงขึ้น มีคนจำนวนมากเหลือเกินที่เต็มใจจะใช้แผนการเช่นนั้น กลุ่มหัวรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย เกาะกินซึ่งกันและกันเหมือนกับปลิง
แล้วทำไมผมจึงไม่เป็นชาร์ลี เอบโด? ทำไมผมจึงไม่สามารถรู้สึกดีกับกระแสแฮชแท็ก #JeSuisCharlie ได้?
ผม ไม่สามารถโกหกได้ทั้งที่สติดีแล้วบอกว่า บรรดาผู้ถูกฆ่าเหล่านั้นเป็น “ผู้พลีชีพเพื่อเสรีภาพในการพูด” ผมเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการสังหารหมู่ เป็นความน่าชัง และเป็นผลมาจากวิธีการเยาะเย้ยขององค์กรต่างชาติหัวรุนแรงที่ปลอมตัวมาภาย ใต้ธงของอิสลาม ในเมื่อทั้งหมดที่พวกเขาต้องการให้ได้มาคืออำนาจ ส่วนการประณามสาปแช่งเป็นของชาวมุสลิมผู้ต้องรับเคราะห์เพราะการกระทำของพวก เขา
ในขณะเดียวกันกับที่ผู้ก่อการร้ายในรูปแบบกึ่งทหารกลุ่มนี้ กำลังจัดการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมุสลิมฝรั่งเศสที่ชื่ออาห์เมด เมราเบต ผู้ซึ่งเป็นคนแรกที่เข้าไปช่วยในเหตุการณ์ที่สำนักงานเอบโด นักเรียนตำรวจมุสลิมชาวเยเมน 35 คน ถูกระเบิดโดยอัลกออิดะฮ์ แต่ทว่าไม่มีใครถือว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้?
ผมไม่ สามารถพูดได้ว่า “JeSuisCharlie” เพราะผมรู้ว่า หนังสือพิมพ์เพื่อเสรีภาพยุคใหม่ฉบับนี้สนับสนุนอะไร : การพูดในเชิงเหยียดชาติพันธุ์, เหยียดเพศ และสร้างความเกลียดกลัวอิสลาม ลองดูตัวอย่างเพียงเล็กน้อยจากจำนวนมากมายของมันนั่นเป็นภาพที่แสดงถึงมุสลิมอาหรับที่มีรอยยิ้มอวดดีเซ่อซ่าและจมูกเหมือนตะขอ ที่คาดหวังได้จากพวกเหยียดชาติพันธุ์ หรือดูตัวอย่างฉบับหลังจากเด็กสาวชาวไนจีเรียถูกโบโกฮารัมลักพาตัวไป
เด็กสาวถูกนำเสนอเป็นภาพที่กำลังร้องว่า “เอามือออกไปจากเช็คสงเคราะห์ของเรานะ!” เป็นการอ้างอิงถึงการเหยียดชาติพันธุ์ที่ไม่ค่อยแนบเนียนเท่าไหร่ต่อชนกลุ่ม น้อยที่ยากจน ซึ่งพบได้ทั่วไปในโลกตะวันตก ไม่เฉพาะในฝรั่งเศส
หรือลองดูตัวอย่างนี้ ผมสงสัยว่ามันจะพูดอะไรได้?
การหลอกลวงของชาร์ลี เอบโด เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดจะต้องถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน มันได้ไล่นักเขียนการ์ตูนคนหนึ่งออกเนื่องจากมีเจตนาในการต่อต้านยิว เพราะเขียนล้อเลียนลูกชายอดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสผู้ซึ่งเปลี่ยนไปนับถือ ศาสนายิว ดังที่นักข่าวของ NBC ชื่อ อัยมัน มุห์เยลดีน ได้เขียนไว้ว่า
เอบโดได้ไล่นักเขียนการ์ตูนคนหนึ่งออก และกล่าวหาว่าเขาเป็นพวกต่อต้านยิว เพราะเขาได้ล้อเลียนลูกชายของอดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เปลี่ยนไปนับถือ ศาสนายิว ทำไมการล้อเลียนบุคคลที่มีชีวิตอยู่จึงถือเป็นการพูดด้วยความเกลียดชังต่อ ต้านยิว แต่การล้อเลียนบุคคลสำคัญทางศาสนาจึงไม่เป็นไร? ใครเป็นคนตัดสินว่าอะไรคือการต่อต้านยิว และใครตัดสินว่าอะไรคือความเกลียดกลัวอิสลาม?
นี่ไม่ใช่ หนังสือพิมพ์ที่ประวัติในการใช้คำพูดด้วยความเกลียดชังและการหลอกลวงของมัน ควรจะถูกล้างให้ขาวสะอาดจนเป็นอนุสาวรีย์ผู้พลีชีพเพื่อเสรีภาพในการพูดไป ได้ ถ้อยคำเย้ยหยันของมันมีเป้าหมายเพื่อทำลายผู้ถูกกดขี่ และเพื่อผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ
สุดท้ายนี้ ผมขอย้ำอีกครั้งว่าไม่มีความชอบธรรมใดๆ สำหรับการสังหารหมู่ในปารีสหรือในเยเมนที่กระทำการโดยอัลกออิดะฮ์ ผมหวังว่าผู้กระทำผิดจะถูกจับกุมและถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว เพื่อที่ครอบครัวเหล่านั้นจะได้รู้สึกสงบและคลายความทุกข์ไปได้บ้าง
อย่างไร ก็ตาม ในกระบวนการนั้น ชาวมุสลิมไม่ควรที่จะถูกปฏิเสธและถูกลบความเป็นตัวตนของพวกเขาไป ด้วยการถูกขอให้ประณามซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อการกระทำที่พวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยว ข้องใดๆ แต่ถูกถือว่ามีความผิดเพียงเพราะพวกเขาปรากฏตัวอยู่ตรงนั้น
**เพิ่มเติม : เมห์ดี เป็นนักวิจารณ์และนักเขียนคอลัมน์ ได้เขียนประเด็นเพิ่มเติมที่ผมนำมารวมไว้ด้วยการอนุญาตของเขา – (Garibaldi) :
มีประเด็นที่มีค่ามากมายในบทความนี้ แต่ยังขาดหายไปบางประเด็น
ผม ไม่เคยเชื่อว่าผมจะต้องเขียนอะไรเพื่อปกป้องชาร์ลี ที่จริงแล้วผมเป็นนักวิจารณ์เนื้อหาของมัน ส่วนภาพล้อเลียนนั้น ผมยักไหล่และเลือกที่จะไม่ใส่ใจกับมันหรือวิพากษ์วิจารณ์มัน เหมือนกับมุสลิมส่วนใหญ่ ผมวิจารณ์ภาพวาดอื่นๆ ที่ไม่เคยสร้างความแตกต่างระหว่างมุสลิมกับพวกหัวรุนแรงเลยมากกว่า ดังนั้น ชาร์ลี เอบโดมีมุมมองเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดเถียงด้านเดียว และไม่ซื่อสัตย์ ช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดคือสมัยที่ Philippe Val เป็นประธาน เขาทำสงครามอย่างจริงจังกับอิสลาม และนับตั้งแต่ที่เขาออกไป ท่วงทำนองนั้นได้ปรากฏขึ้นทีละน้อย ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาวาดการ์ตูนเกี่ยวกับไอซิซ ที่ผมเห็นว่าตลก
ทีนี้ ขณะที่พนักงานในชาร์ลี เอบโดไม่ใช่วีรบุรุษแห่งเสรีภาพในการพูดที่บางคนอยากให้เป็น พวกเขาก็ไม่ใช่พวกเหยียดชาติพันธุ์เหมือนที่คนอื่นๆ บรรยาย ผลงานและรูปแบบของพวกเขาเป็นแบบฝรั่งเศสที่ผสมผสานกับอารมณ์ขันที่ไม่ยั้ง คิด มีความเผ็ดร้อนแบบซ้ายจัด ต่อต้านศาสนาแบบเลยเถิด ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ทุกคน (ตั้งแต่แคธอลิกไปจนถึงยิว พวกเขายังโจมตีอิสราเอล และทุกฝ่ายด้วย) ผมไม่เคยซื้อชาร์ลี และคิดว่าโดยทั่วไปแล้วมันไม่ตลก เหมือนกับมุสลิมส่วนใหญ่ ผมจะเฉยๆ กับมัน และบางครั้งโพสต์คำวิจารณ์บนหน้า FB ของผม ส่วนหนึ่งในงานของพวกเขาเป็นการฉวยโอกาส เหมือนการตีพิมพ์การ์ตูนเมื่อมีความตึงเครียดเกิดขึ้นเนื่องจากงานภาพยนตร์ ในยูทูปเมื่อปี 2011
อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้ามไป นั่นก็คือ ชาร์ลีเป็นที่ผสมปนเปกันของนักหนังสือพิมพ์ที่มีความรู้สึกต่างๆ กัน เช่น
– Sine ถูก Philppe Val ไล่ออกเพราะเชื่อว่าเป็นพวกต่อต้านยิว และผลงานของเขา ซึ่งช่วงแรกต่อต้านไซออนิสต์อย่างยิ่ง แต่เปลี่ยนเป็นเชิงเกลียดกลัวอิสลามด้วยเหมือนกัน
– Cabu ซึ่งหลายคนที่ผมรู้จักบอกว่าเขาเป็นคนน่ารักมาก เปิดกว้างต่อการพูดคุย และไม่มีอคติในเชิงเหยียดชาติพันธุ์กับใครเลย
– Wolinski เป็นนักนิยมอนาธิปไตยแบบยุค 70s และไม่ค่อยสนใจในอิสลาม
– Charb เป็นคนที่เชื่อฝังหัวในเรื่องเสรีภาพในการพูดจนถึงขนาดเป็นคนหัวรั้น แต่เขาเป็นคนซับซ้อน มีข่าวลือว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการไล่ Sine ออก ผมคิดว่าเขาเป็นพวกเกลียดกลัวอิสลาม แต่ต้องประหลาดใจที่ได้ยินเขาพูดอย่างมีเหตุผลระหว่างการอภิปรายเกี่ยวกับ ความเกลียดกลัวอิสลาม ซึ่งเขาใช้คำพูดแรงๆ ต่อนักวิจารณ์ที่เป็นพวกเกลียดกลัวอิสลาม
Bernard Maris เป็นคนที่ผมอาลัยที่สุดจากพวกเขาทุกคน เขาเป็นคนประหยัดตัวจริงและตลกมาก ไม่ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยกับเขาไปทุกเรื่อง แต่เพื่อนๆ ชาวอัลจีเรียหลายคนพูดถึงเขาด้วยความรัก เป็นคนมีเหตุผลและน่ารักเหมือนที่เกือบทุกคนรับรอง
– คนที่ถูกยิงไม่ได้มีเพียงตำรวจมุสลิมที่ชื่ออาห์เมดเท่านั้น แต่ยังมีมุสตอฟาด้วย Zineb El Ghazoui นักหนังสือพิมพ์ชาวโมรอคโค (ที่ผมไม่ชอบจริงๆ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น) เป็นพนักงานคนหนึ่ง แต่ไม่อยู่ที่นั่นระหว่างเกิดเหตุกราดยิง
ขณะที่มีเหตุผลสมควร ที่จะวิจารณ์ชาร์ลี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นช่างน่าสยดสยอง โดยส่วนตัวผมยังตกตะลึงไม่หาย ผมมีเพื่อนหลายคนที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอัลจีเรีย และสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พวกเขานึกถึงนักหนังสือพิมพ์มากกว่า 100 คนที่ถูกฆ่าในช่วงปี 1990 สัตว์โลกที่ทำเรื่องนั้นได้สร้างความเสื่อมเสียให้แก่ชาวมุสลิม และไม่สมควรที่จะถูกเรียกเช่นนั้น เสรีภาพในการพูดไม่ใช่หัวข้อที่จะถกเถียงกัน มันไม่มีเงื่อนไข ไม่ต้องกล่าวถึงเลยว่า การโจมตีครั้งนี้จะเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยากับมุสลิม…อีก
ผม อยู่ในเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 2005 ตอนที่แวนโกะถูกฆาตกรรม ผมไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร แต่ผมได้เห็นผลที่เกิดขึ้นตามมาสำหรับชาวมุสลิม เราต้องต่อสู้เหมือนกับวิลเดอร์ แต่เราไม่ควรจะปล่อยการปกป้องเสรีภาพในการพูดให้กับพวกเกลียดกลัวอิสลามหรือ พวกเหยียดชาติพันธุ์อื่นๆ นี่คือเหตุผลที่ผมเข้าร่วมในการชุมุมและจะร่วมเดินขบวนวันอาทิตย์ด้วย ผมมีความสุขที่ได้เห็นพวกเกลียดกลัวอิสลามและพวกชอบยั่วยุถูกไล่ออกไปจากการ ชุมนุมเมื่อวันพุธ เสรีภาพในการพูดไม่ควรจะถูกปล่อยให้นักเกลียดกลัวอิสลามออกมาปกป้อง มิฉะนั้นมันจะเป็นหายนะสำหรับชาวมุสลิม
ดังนั้น ในขณะที่ผมไม่ได้ลงชื่อเห็นด้วยกับ Iamcharlie แต่ผมสนับสนุนข้อความของมัน การสนับสนุนชาร์ลีไม่ใช่การเห็นด้วยกับกองบรรณาธิการหรือเรื่องราวของมัน แต่มันเป็นการดำเนินไปตามมาตรฐานและแสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิมก็เป็นเหมือน พลเมืองฝรั่งเศสคนอื่นๆ ทั้งหมด พวกเขามีความหวังเหมือนกัน มีสิทธิ์เหมือนกัน และเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ร้ายนี้ด้วยเหมือนกัน
แปลจากบทความต่างประเทศ
เขียนโดย Garibaldi
ที่มา http://www.loonwatch.com