ที่มา สาส์นอิสลาม
อยาตุลลอฮ์ มุฮัมมัด อะลี ตัชคีรี เลขาธิการของที่ประชุมสูงสุดโลกอิสลาม
การ เสวนาว่าด้วยเรื่อง สำนักแนวความคิดแบบอิสลาม ซึ่งเป็นแนวความคิดตามพิธีการเสวนาตามแบบอิสลาม ซึ่งประกอบขึ้นด้วย หลักการที่กำหนดแนวทางความคิดทางด้านสังคมพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ ต่างๆ วิสัยทัศน์นี้อาจพิจารณาจากถ้อย แถลงของ อิมามโคมัยนี ที่ว่าอยู่ในฐานะที่เป็น โรงงานซึ่งผลิตมนุษย์ และ วิถีทางที่จะ นำไปสู่การปฏิรูปสงคม นอกจากนั้นแนวความคิดแบบอิสลาม อาจรวมถึงวิสัยทัศน์ในการ มองชีวิต ซึ่งแท้จริงแล้ว อิสลาม คือ ชีวิตในตัวมันเอง
ราก เหง้าของวิสัยทัศน์นี้ แท้ที่จริงแล้ว พบได้ในคัมภีร์อัล กรุอาน และในจริยวัตรของท่าน ศาสดา นอกเหนือจากนั้น การเสวนาและการอยู่รวมกันในมุมมองทางด้านวัฒนธรรมของอิสลามนั้น ย่อมอยู่ภายใต้ คุณค่าที่แท้จริงของอิสลาม ซึ่งได้รับจากคัมภีร์อัลกุรอานและหลักจริยวัตรของท่านศาสดา (ฮะดีษและซุนนะฮ์ทั้งหลาย)
ความสำคัญของการเสวนา
ความ สำคัญของการเสวนานั้น เกิดจากความจริงที่ว่า ความหลากหลายในด้านความเชื่อ และความแตกต่างหลากหลายในด้านความคิด ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวความคิดอันเป็นสากลที่ทำให้ชีวิตมีรูปแบบต่างๆ ในด้านความคิดเห็น และการประพฤติปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างในหมู่ประชาชนที่มีความคิด และการพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความคิดของตนในฐานะที่เป็นพื้นฐาน และแหล่งที่มาของความรู้ลักษณะสัมพันธภาพของเรื่องต่างๆ หรือสิ่งต่างๆ ส่วนความจริงที่สมบูรณ์สูงสุดนั่นคือสิ่งที่ถูกกำหนดโดยอัลลอฮ พระผู้ทรงผู้ทรงสูงส่ง และแก่บรรดาผู้ได้รับอำนาจพระบัญชาโดยตรงจากพระองค์ อย่างเช่น บ่าวทั้งหลายของพระองค์ ผู้ได้นามว่า ศาสดาทั้งหลาย เอาศิยาอ์ (บรรดาอิมามผู้ไร้มลทิน) และบรรดามะลาอิกะฮ์ที่สูงส่ง
นอกเหนือจาก นั้น การสนทนา หรือการเสวนาเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ยังถูกซ่อนเร้นอยู่ และโดยผ่านวิธีการเสวนานี้เองที่เราสามารถจะค้นพบความผิดพลาดและจำแนกมันออก จากสัจธรรมเพื่อที่จะปฏิเสธความผิดพลาดเหล่านั้น
ผลดังกล่าวนี้ ทำให้การเสวนาในอิสลาม เป็นการเสนอคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมประการหนึ่ง เหมือนอย่างที่มันเคยเป็นวิธีการในการเผยแผ่ในการเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้ง หลาย(ดะวะฮ์) ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ มากมาย ที่วางอยู่บนมาตรการ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยคู่สนทนา เพราะการ สนทนา หรือ การเสวนานั้น มีหลายระดับ เป็นต้นว่า การ เสวนาระหว่างรัฐบาลต่างๆ การเสวนาระหว่างชาติต่างๆ การเสวนาระหว่างกลุ่มบุคคล การเสวนาระหว่างสำนักทางนิติศาสตร์ (มัซซาฮิบ) การเสวนาระหว่างบุคคลต่อบุคคลการเสวนากับศาสนาอื่นๆ การเสวนากับอารยธรรม และวัฒนธรรมอื่นๆระดับต่างๆเหล่านี้ ก็ยอมใช้วิธีการของการของการ สื่อสารเจรจาเป็นพื้น และเป็นมาตรการ เราสามารถแบ่งการเสวนาออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ การเสวนาโดยตรง (เช่นออกโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง) อีกอย่างหนึ่งคือเสวนาโดยทางอ้อม(อย่างเช่น ผ่านระบบหนังสือพิมพ์และการรายงานข่าวสารติดต่อถึงกัน อย่างนี้เป็นต้น)
พื้น ฐานบนมาตรการของเรื่อง หรือ วัตถุเรื่องราวที่จะนำขึ้นมาสนทนากัน การเสวนาอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางด้านการเมือง และการเสวนาทางด้านวุฒิปัญญา
ส่วนประกอบของการเสวนา
มีส่วนประกอบที่สำคัญหลายอย่างสำหรับการเสวนาอย่างเช่น ฝ่ายต่างๆ ของการเสวนา เนื้อเรื่องที่จะนำขึ้นมาเสวนา วัตถุประสงค์ของการเสวนา การจัดการ และการกระทำตามความพอใจ เวลาและสถานที่ โครงการและระเบียบการ
วิธีการและการสรุป
การอยู่ร่วมกันในแง่มุมของอิสลาม
การ อยู่ร่วมกันตามแนวความคิดของอิสลาม หมายความว่าทุกฝ่ายของผู้ร่วมเสวนาย่อมมีสิทธิที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่ง ตำแหน่งของตนเอง และสามารถปฏิบัติตามแนวความเชื่อการปฏิบัติศาสนกิจของตนหรือ ประกอบกิจกรรมทางการเมืองอยู่ภายในกรอบของสิทธิของกลุ่มนั้นๆ ที่จะพึงมี และได้รับประกันในด้านเสรีภาพ และมีหลักประกันตามหลักการอิสลาม วิสัยทัศน์แบบอิสลามที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ และการใช้ชีวิตอยู่กับบุคคลอื่นๆ นั้น ย่อมวางอยู่ บนหลักสำคัญสองประการนี้คือ
• ความเหมาะสมอันประเสริฐของอิสลามในท่านกลางแสงสว่างของสถานการณ์ที่เป็นจริง
• การติดต่อทางด้านมนุษย์ธรรม ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆทางด้านศีลธรรมและความเมตตา ตลอดทั้งความเกี่ยวข้องในทุกสถาน
มีพื้นฐานอันเป็นหลักการใหญ่ที่ทำกำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่าง มุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในฐานะที่เป็นองคาพยพหนึ่ง และวิธีทางสำหรับการอยู่ร่วมกันดังนี้
• ชาติแห่งอุดมคติ ดังที่ปรากฏในอัล กรุอานว่าและฉะนั้นได้ทำให้สูเจ้าทั้งหลาย เป็นประชาชาติ สายกลาง (ยุติธรรม ) และ สูเจ้าดีที่สุดแห่งประชาชาติทั้งหลาย…….
• ระเบียบและหลักการพื้นฐาน
• ปฏิเสธทางใดๆ (ซาบิล)ที่ต่อต้านบรรดาผู้ศรัทธา
• ความระมัดระวัง และการเรียกร้องเชิญชวน(ดะวะฮ์)
• ความยุติธรรมและความเสมอภาค
• การรวมเป็นเอกภาพ และการร่วมใจสามัคคี
• ปฏิบัติตามข้อสัญญา และพันธกรณีที่สัญญาไว้
• การตอบโต้และการตอบแทน