ประชาชาติอิสลามในอรุณรุ่งของโลกสมัยใหม่

1410

โดย ดร.อณัส อมาตยกุล
ที่มา http://www.dranas.net

การปฏิวัติอิสลามในศตวรรษที่ 20

 

 

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 15 โลกมุสลิมที่อ่อนล้าจากการแข่งขันกับโลกตะวันตกได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่นำ ไปสู่ความก้าวหน้าอย่างมากมายในยุโรป พอถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 16 ชาวตะวันตกก็สามารถส่งเรือออกไปค้นหาเส้นทางไปอินเดียเพื่อแย่งชิงการค้ากับ โลกมุสลิม ผลของการลงทุน การกล้าหาญเสี่ยงภัยของชาวตะวันตกในงานนี้ได้รับผลเกินความคาดหมาย นั่นคือ ชาวตะวันตกได้ค้นพบโลกใหม่ที่กลายเป็นสินทรัพย์มูลค่าเพิ่มจากความต้องการ เดิมของพวกเขาที่เพียงต้องการโค่นล้มการค้าของโลกอิสลามด้วยการค้นหาเส้นทาง สายใหม่ในการไปอินเดียและจีน พวกเขาต้องการค้นพบเส้นทางใหม่ที่สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางสำเภาของมุสลิม และเส้นทางบกหรือที่รู้จักกันในนามเส้นทางสายไหมอันเป็นเส้นทางที่บรรดาชาติ มุสลิมต่างๆยังคงมีอิทธิพลควบคุมอยู่ และมุสลิมยังมีกองทัพภาคพื้นดินหรือกองทัพบกที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ที่สามารถ สกัดความพยายามแย่งชิงของชาวตะวันตกได้ ดังนั้นเมื่อชาวตะวันตกสามารถทำการค้ากับโลกตะวันออกทั้งจีน หมู่เกาะเครื่องเทศและอินเดียได้โดยไม่ต้องผ่านดินแดนของมุสลิม หรือต้องพึ่งพาการค้าของมุสลิม ชาวตะวันตกจึงเริ่มกลายเป็นชาติที่มั่งคั่ง พวกเขาสามารถนำความมั่งคั่งเหล่านี้ไปแปรเปลี่ยนเป็นเรือเดินทะเลที่ทันสมัย ยิ่งขึ้นไปอย่างไม่หยุดหย่อน พวกเขาพัฒนา ปืนที่ทรงแสนยานุภาพ รวบรวมและสร้างองค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ใหม่ๆที่ก้าวหน้าแม่นยำ เมื่อสรรพความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการทหารบรรลุถึงความพร้อม ชาวตะวันตกก็เริ่มไล่ล่าบดขยี้กองเรือของมุสลิม และเมื่อโลกมุสลิมไม่อาจทำการค้าทางทะเลแข่งขันกับชาวยุโรปได้ มิพักต้องพูดถึงเส้นทางการค้าที่ต้องล่มสยายไปเพราะการเบียดเข้ามาแทนที่ของ การค้าทางทะเลของชาวตะวันตก กองทัพของมุสลิมอาณาจักรต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกก็เริ่มตกต่ำลง เนื่องจากความยากจนและความขาดแคลนไปแผ่ขยายไปในโลกอิสลาม มาตราฐานทางการศึกษาในศิลปวิทยาการต่างๆ หรือแม้แต่มาตราฐาน ทางศาสนา คุณธรรมและศีลธรรมของบุคคลและสังคมก็เริ่มเสื่อมโทรมลง เมื่อชาวตะวันตกหึกเหิมมากขึ้นถึงขั้นใช้เรือปืนและกำลังทางทหารเข้ารุกราน โลกมุสลิม จึงไม่มีอาณาจักรหรือรัฐมุสลิมใดสามารถต้านทานความก้าวร้าวและการรุกรานของ ชาติตะวันตกได้ ชาวตะวันตกจึงเข้ายึดครองโลกมุสลิมอย่างเบ็ดเสร็จเกือบทั้งหมดในศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกทะยอยแปรเปลี่ยนให้อาณาจักรทั้งหลายของมุสลิมกลายเป็นอาณานิคม ขึ้นตรงต่อเมืองแม่ในยุโรป ความสำเร็จดังกล่าวนี้ทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนศูนย์กลางของโลกเสียใหม่จาก โลกมุสลิมในเอเชียและแอฟริกาเหนือไปเป็นโลกตะวันตกในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปตะวันตก

 

ช่วงเวลาที่โลกมุสลิมตกต่ำถึงที่สุด

ในศตวรรษที่ 19 นี้เองที่ชาวตะวันตกสามารถครอบครองดินแดนและหมู่เกาะต่างๆ ของโลกมุสลิมจนเกือบหมดสิ้น อาณาจักรอิสลามที่เคยที่เป็นที่เกรงขามของเหล่าผู้เป็นอริกับธรรมะ กับบรรดาผู้ดื่มด่ำในโลกียะรส ( ลัซซะฮ์ อัด ดุนยา ) และบ้าคลั่งในวัตถุนิยม (มาดดีย์) ได้พังพินาศลงเบื้องหน้าแสนยานุภาพของโลกตะวันตก “ ในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมา หรือ มากกว่านั้นเล็กน้อย เราได้ประจักษ์ว่า สถานการณ์มิได้มีความปรานีต่อโลกมุสลิมเลย โดยเฉพาะในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 มุสลิมได้ทะยอยสูญเสียดินแดนของตนไม่ว่าจะทั้งส่วนที่ห่างไกลจากศูนย์กลาง ของโลกอิสลามหรือแม้จากพื้นที่ที่เป็นเนื้อในของโลกอิสลามเอง ให้แก่การโจมตีของโลกตะวันตก และดินแดนทั้งหมดในความครอบครองของมุสลิมก็ค่อยถูกกลืนกินไปโดยชาวตะวันตก ผู้มิได้เป็นมุสลิมจนหมดสิ้น เช่น บริษัทอินเดียตะวันออก ของอังกฤษได้เข้ายึดแคว้นเบงกอล และแปรเปลี่ยนเป็นรัฐแบบตะวันตกอย่างสมบูรณ์แบบ จากนั้นบริษัทของอังกฤษดังกล่าวนี้จึงค่อยๆขยายการยึดครองออกไปในส่วนต่างๆ ที่เหลือของจักรวรรดิอิสลามแห่งอินเดีย จนบรรลุถึงศูนย์กลางอำนาจอิสลามในอินเดียที่กรุงเดลฮี พวกเขาได้เข้าควบคุมการบริหารอินเดียแทนจักรพรรดิราชวงศ์มูฆัลแห่งเดลฮีเช่น เดียวกับที่รัฐบาลฮอลันดาได้เข้าควบคุมบริษัทอินเดียตะวันออกของตนในปีค.ศ. 1800 อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และส่งผลให้สามารถเข้าสถาปนาอำนาจการปกครองขึ้นเหนือชวาได้เป็นผลสำเร็จใน ทศวรรษที่ 4 ของศตวรรษที่ 19 ในปีค.ศ.1830 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองอัลจีเรียอย่างเบ็ดเสร็จหลังการทำสงครามกับบรรดามุญา ฮิดีนอยู่ราว 2 ทศวรรษ และเป็นการเปิดทางสู่การสร้างอาณานิคมตะวันตกที่กินพื้นที่กว้างขวางไปทั่ว แอฟริกาเหนือระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวรัสเซียก็ได้เร่งส่งกองทัพเข้าผนวกดิน แดนที่เป็นของมุสลิมมาแต่ดั้งเดิมในคอเคซัสและเอเชียกลาง จากนั้นจึงเริ่มสร้างอาณานิคมและให้ชาวรัสเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานปะปนกับ บรรดามุสลิม “1

ผลแห่งความสําเร็จในการครอบครองดินแดน ของโลกอิสลามและปกครองพลเมืองมุสลิมอย่างเบ็ดเสร็จสามารถทำให้ชาวตะวันตกพบ ลู่ทางที่จะทำให้ประชาชาติอิสลามพากันห่างเหินศาสนา อารยธรรมและวัฒนธรรมที่สืบทอดจากอย่างยาวนานจากปวงศาสดานบีทั้งหลาย (มิลละฮ์ อิบรอฮีม ) จากบรรดาอะห์ลิลบัยต์ (ทั้งบรรดาภริยา และวงศ์วานผู้บริสุทธ์ในครอบครัวของศาสดา) จากบรรดาสหายและสาวกผู้ได้รับการขัดเกลาจากท่านศาสดา รวมถึงบรรดาผู้สืบทอดท่านเหล่านั้นด้วยคุณงามความดี ( สลัฟ ซอลิฮ์ ) ได้อย่างน่าอัศอัศจรรย์

 

ผลของการตกเป็นอาณานิคม

การสูญเสียเส้นทางการค้าทั้งทางบก ( เส้นทางสายไหม ) และเส้นทางทะเล ( สำเภา ) รวมถึงดินแดนต่างๆของมุสลิมให้กับโลกตะวันตกและกลายเป็นอาณานิคมส่งผลให้ ประชาชาติมุสลิมต้องยากจนลง ลักษณะของมุสลิมเหล่านี้ไม่ต่างจากบรรดาผู้ดีตกยาก มุสลิมล้วนตระหนักในศิลปะวิทยาการและคุณธรรมอันสูงส่งแต่ความยากจนได้ผลักใส ให้มุสลิมไม่อาจไขว้คว้าเอาไว้ได้ หรือที่เคยครอบครองอยู่ก็ต้องมลายสูญหายไปกับการแปรเปลี่ยนของเวลา และพากันสูญเสียคุณภาพชีวิต

 

เจ้าอาณานิคมตะวันตกทำลายอารยะธรรมอิสลามในดินแดนที่ตนปกครองอย่างไร ?

เมื่อดินแดนของมุสลิมตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของเจ้าอาณานิคมตะวันตก การค้าและการผลิตของโลกมุสลิมต้องยุติลง บ้านเมืองของมุสลิมกลายเป็นย่านเมืองเก่าที่เสื่อมโทรม ขณะที่เจ้าอาณานิคมพากันปลูกสร้างบ้านเรือน ทำเนียบ กระทรวง ทบวงกรม และย่านการค้าอย่างหรูหรา สะอาดสะอ้าน และทันสมัย การศึกษาของโลกมุสลิมล้าหลัง ต้องนั่งเรียนกับพื้นในอาคารที่เก่าซอมซ่อ และศึกษาทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และตรรกะที่ตกทอดมาจากพวกกรีกเมื่อ 2,300 กว่าปี แตกต่างจากโรงเรียนของเจ้าอาณานิคมตะวันตกที่ทยอยเปิดขึ้นเพื่อรองรับ กุลบุตรกุลธิดาของเจ้าใหญ่นายโตมุสลิมซึ่งล้วนกลายเป็นพลเมืองในอาณานิคม ตะวันตก เด็กๆในโรงเรียนแบบตะวันตกสวมใส่เครื่องแบบที่โก้หรู ผูกหูกระต่าย หรือ เนคไท และมีสูทตะวันตกทับไว้ภายนอก สรรพวิชาที่เล่าเรียนก็เต็มไปด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นในยุโรป หลังศตวรรษที่ 17 ชนรุ่นใหม่ในโลกมุสลิมเหล่านี้ซึมซับวิถีชีวิตแบบตะวันตกที่สร้างขึ้นบน ปรัชญาวัตถุนิยมและมนุษย์นิยม พร้อมวิธีคิดและวิธีมองโลกที่ห่างไกลจากวิถีของมิลละฮ์ อิบรอฮีม ( ศรัทธาในอัลลอฮ์ และการปกครองของพระองค์ผ่านการใช้ชะรีอะฮ์บนหน้าแผ่นดิน ฯลฯ ) เมื่อชนรุ่นเก่าที่ได้รับการขัดเกลาเลี้ยงดู ( ตัรบียะฮ์ ) แบบอิสลามมาพากันทยอยแก่ชราและล้มตายไปพร้อมกับวิถีชิวิตและอารยธรรมแบบ อิสลาม ชนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา และชุบเลี้ยงมาแบบตะวันตกจึงได้เติบใหญ่ขึ้นและทยอยเข้ามารับภาระบริหารดิน แดนมุสลิมที่เป็นอาณานิคมภายใต้การอบรมฝึกฝนของเจ้าอาณานิคมตะวันตก เหตุการณ์เป็นเช่นนี้อยู่จากคนรุ่นแล้วรุ่นเล่าจึงเข้าสู่ศตวรรษที่ 20

 

อารยะธรรมตะวันตกเข้าแทนที่อารยะธรรมอิสลาม

ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งศตวรรษภายใต้การ ปกครองของเจ้าอาณานิคมตะวันตก ทุกสิ่งอย่างที่โลกอิสลามได้สั่งสมมาไม่ว่าจะเป็นความมั่งคั่ง ความศิวิไลซ์ วัฒนธรรม และอารยธรรมได้หมดสิ้นลง บรรดาข้าราชการ เจ้าขุนมูลนายมุสลิมพากันละทิ้งเครื่องแต่งกายที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของตน เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ได้เปลี่ยนจากการนั่งกับพื้น หรือ นั่งบนตั่งมาเป็นเฟอร์นิเจอร์สำนักงานตะวันตก ตามพระราชวังและคฤหาสน์ของผู้มีอันจะกินก็เปลี่ยนจากนั่งบนพรมมานั่งบนเก้า อี้หลุยส์ที่เหยียบอยู่บนพรมอีกทีหนึ่ง ไม่มีใครรับประทานอาหารด้วยมือตามแบบฉบับของศาสดา และอะห์ลุล บัยต์ของท่านอีกต่อไป โดยเฉพาะในงานรัฐพิธีที่มีทูตานุทูตตะวันตกร่วมอยู่ด้วย และต่างพากันมองว่าเป็นวัฒนธรรมที่ล้าหลังและด้อยกว่าด้วยมาตราฐานและความ คลาสสิกเมื่อเทียบกับมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก บรรดากองทัพของโลกมุสลิมต่างได้รับการปฏิรูปขึ้นบนบรรทัดฐานของตะวันตก โดยสิ่งที่ติดตามมากับเทคโนโลยีทางการทหารที่เราควรยอมรับว่ามีประโยชน์ก็ คือเครื่องแบบทหารตะวันตกที่มากไปด้วยเครื่องยศที่ขัดแย้งกับจิตวิญญาณศอฮา บะฮ์และอะห์ลุลบัยต์ ที่ล้วนพากันละทิ้ง อัตตา ( นัฟซ์ ) ความมีอัตตาสูง หรือ อีโก้ ( อะนานียะฮ์ ) การโอ้อวด ( ชิรก์ คอฟีย์ ) ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างอันน้อยนิดที่โลกมุสลิมต้องแลกมาด้วย ราคาอันแพงแสนแพงเพียงเพื่อที่ตํารวจและทหารในโลกมุสลิมจะสามารถมีหมวกที่ โก้หรูอย่างชาวตะวันตกผู้ยะโสและอหังการต่ออัลลอฮ์ หรือ เพียงเพื่อนักการทูตในโลกมุสลิมจะได้มีโอกาสใช้พิธีการทูต (โปรโตคอล) อย่างพวกเจ้าอาณานิคมในยุโรปแทนการใช้วิถีทางการทูตอย่างรัฐของท่าน อลี รฏิ ฯ “ การตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกนำไปสู่การรับเอาวัฒนธรรมที่สามารถทำให้ดู ประหนึ่งเป็นผู้ทันสมัยและคับคล้ายชาวตะวันตกมากขึ้น และเป็นการปูทางให้มุสลิมสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีตะวันตกได้บ้าง “2

เมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 20

หลังสงครามโลกครั้งที่เสร็จสิ้นลง ชาติตะวันตกเจ้าอาณานิคมจำนวนมากต้องบอบช้ำจากสงคราม การระดมสรรพกำลังจากดินแดนอาณานิคมมาช่วยทำสงครามจำเป็นที่เจ้าอาณานิคมต้อง ให้คำมั่นสัญญายินยอมที่จะให้เอกราชแก่อาณานิคมทั้งหลายของตนภายหลังสงคราม ยุติลงซึ่งเป็นผลให้ดินแดนมุสลิมทยอยได้รับเอกราชและกลายเป็นชาติรัฐสมัย ใหม่ปรากฏขึ้นบนแผนที่โลก แต่รัฐชาติมุสลิมที่ทยอยเกิดขึ้นหลังการได้รับเอกราชเหล่านี้ล้วนผิดแผกไป จากรัฐมุสลิมก่อนการตกเป็นอาณานิคมตะวันตก ด้วยรัฐชาติเหล่านี้กลับกลายเป็นชาติตะวันตกบนดินแดนเดิมของรัฐอิสลามอย่าง แทบไม่มีสิ่งใดแตกต่าง บรรดาคนที่สืบทอดอำนาจการปกครองจากเจ้าอาณานิคมตะวันตกก็เป็นเพียงคนในท้อง ถิ่นที่ได้รับการศึกษาและเลี้ยงดูมาอย่างชาวตะวันตก เมื่อผู้คนเหล่านี้ก้าวเข้ามารับหน้าที่บริหารบ้านเมืองในโลกมุสลิมพวกเขา จึงบริหารจัดการดินแดนในโลกมุสลิมตามที่ได้รับการฝึกฝนมา และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งของการที่ได้รับการฝึกฝนมาก็คือวิถีและวัฒนธรรมที่ขัด แย้งกับคุณค่าและจิตวิญญาณแบบอิสลาม ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ 6 ของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเราจึงพบว่าโลกมุสลิมไม่อาจรวมตัวกันได้อย่างแท้จริง โดยนัยยะของคำว่า “ แท้จริง “ ก็คือการรวมตัวกันได้ประหนึ่งเรือนร่างเดียวกัน หรือแต่ละส่วนของประชาชาติอิสลามต่างประสานกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหมือนส่วนต่างๆของอาคารที่เชื่อมต่อกันอย่างกลมกลืนและแน่นแฟ้นดังที่ปรากฏ ในอัลฮะดีษ ไม่เพียงเท่านั้นการปกครองของบรรดามุสลิมผู้เป็นตัวตายตัวแทนของ จักรวรรดินิยมตะวันตกจำนวนไม่น้อยที่ได้กระทำย่ำยีต่อประชากรมุสลิมในดินแดน ของตน ต่อมาตุภูมิ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ในบางรัฐบาลมุสลิมของบางประเทศถึงขนาดกระทำการอันไม่บังควรต่อศาสนาอิสลาม เสียด้วยซ้ำ โลกมุสลิมส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 6-8 ของศตวรรษที่ 20 จึงต่างต้องเผชิญกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองที่เต็มไปด้วยปัญหา ในช่วงเวลาดังกล่าวโลกมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกอาหรับยังได้รับบะลาอ์ (การทดสอบ) ให้ต้องทำสงครามกับอิสราเอล แบกรับความอดสูจากความพ่ายแพ้ สูญเสียอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม )และดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่รัฐไซออนนิสต์ ยิ่งไปกว่านั้นโลกอาหรับอิสลามยังต้องแบกรับผู้ลี้ภัยอาหรับปาเลสไตน์ จำนวนนับล้านเข้าไว้ในส่วนต่างๆของดินแดนของตน ตลอดเวลาหลายทศวรรษของศตวรรษที่ 20 มุสลิมจำนวนมากพากันมองหาลู่ทางที่จะกำจัดมลทิลที่เจ้าอาณานิคมตะวันตกทิ้ง ไว้ในโลกมุสลิมและขับเคลื่อนนำพาประชาชาติกลับสู่วิถีที่เที่ยงตรงของบรรพชน อิสลาม
การปฏิวัติ

ในบรรดานักคิดและนักเขียนมุสลิมจำนวนไม่ น้อยได้เคยนึกถึงฤทธ์ของการปฏิวัติในวัฒนธรรมการเมืองตะวันตกที่สามารถ เปลี่ยนแปลงสังคม การเมืองและรัฐชาติในโลกตะวันตกได้ แต่แม้กระนั้นนักวิชาการมุสลิมจำนวนมากก็ยังคงถกเถียงกันถึงที่มาของคำว่า “ การปฏิวัติ ” ว่ามีหลักฐาน แนวคิด และวิธีการอะไรบ้างจากคำสอนในศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่พากันมีความเห็นว่าคำ ว่า “ การปฏิวัติ ” นั้นจริงๆแล้วเป็นคำวิชาการสมัยใหม่ จากพื้นฐานสังคมการเมืองแบบยุโรปหรือโลกตะวันตก และที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีแม่แบบที่แท้จริงจากการปฏิวัติของฝรั่งเศส นอกนั้นแล้วเราก็ไม่อาจมองย้อนหาร่องรอยที่เป็นรูปธรรมและค่อนข้างสมบูรณ์ แบบจากคลังประวัติศาสตร์ของเราได้ สิ่งที่ภาษาอาหรับสามารถจัดหาให้เราได้เห็นร่องรอยบ้างก็คือคำ “ เษารอฮ์ “ ที่หมายถึงการฟุ้งกระจายของฝุ่น ส่วนในภาษาฟารซีย์เราใช้คำว่า “ อินกิลาบ “ ซึ่งหมายถึงการพลิกเปลี่ยน หรือ พลิกผัน ส่วนในภาษาตุรกี เราใช้คำว่า “ อิคค์ติลาล “ ที่หมายถึง ความสับสนวุ่นวาย

แนวคิดที่เกี่ยวกับ “ อินกิลาบ หรือ การปฏิวัติ ” ในหมู่ปัญญาชนชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 20

ปัญญาชนมุสลิมต่างพากันหาลู่ทางจัดการกับ สิ่งที่ครอบงำสติปัญญามุสลิมอันเป็นผลมาจากศึกษาแบบตะวันตก ความจำกัดของความสามารถในการบริหารจัดการและสร้างสมดุลระหว่างปรัชญาและรูป แบบการศึกษาตะวันตกกับคุณค่าและหลักศรัทธาในศาสนาอิสลามของมุสลิม และอิทธิพลของการปกครองของเจ้าอาณานิคมตะวันตกที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตัวอย่างของวิริยะและความพยายามที่มีขึ้นในโลกของมุสลิมชีอะฮ์เช่นกรณีของ อิหร่านในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดมีการปฏิวัติทางวัฒนธรรมขึ้นในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1905-1909 ได้มีการใช้คำว่า “ อินกิลาบ หรือ อินกิลอบบ์ ” ในความหมายของการปฏิวัติบ้างแล้ว จากนั้นความคิดได้รับการขัดเกลาให้แหลมคมและมีความเป็นอิสลามมากขึ้นโดย ท่าน อลี ชะรีอะตีย์ (1933-1977) ผู้เป็นหนึ่งในปัญญาชนชาวอิหร่านที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่ง และทั้งหมดในประสบการณ์ของอิหร่านมาสมบูรณ์ลงที่ อยาตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ อัล มูซาวีย์ โคมัยนีย์ (1902-1989)

แนวคิดที่เกี่ยวกับ “ การปฏิวัติ ” ในหมู่ปัญญาชนซุนหนี่ในศตวรรษที่ 20

ในส่วนของโลกซุนหนี่ ได้ปรากฏแนวความคิดที่ต่อต้านผู้ปกครองที่ไร้ความเป็นธรรมได้รับการเผยแผ่ ออกไปจากข้อเขียนอันเป็นความคิดของ อบุล อะอ์ลา เมาดูดีย์ (1903-1979) หนึ่งในนักคิดอิสลามแห่งอินเดีย-ปากีสถาน และซัยยิด กุฏบ์ (1906-1966) แห่งอียิปต์ ในส่วนหลักฐานที่อุลามาอ์ซุนหนี่ทั้งสองใช้อ้างอิงก็คือ “ การญิฮาด “ จากฟัตวาของ อิบนิ ตัยมียะฮ์ ที่มีต่อพวกมองโกลที่เข้ามาปกครองโลกมุสลิมในเวลานั้น

ข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดเกี่ยวกับ “ การปฏิวัติ “

สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นข้อแตกต่างระหว่าง แนวคิดเกี่ยวกับ “ การปฏิวัติ “ ของเมาดูดีย์-ซัยยิด กุฏบ์ กับ ชะรีอะตีย์และโคมัยนีย์ก็คือ “ อัล อินติซอรร์ “ หรือ การรอคอยการกลับมาของอิมาม มะห์ดี ดังสามารถเห็นได้จากงานของชะรีอะตีย์ที่เรียกร้องให้ศรัทธาชนเปลี่ยนแปลง ความชั่วร้ายอันจะเป็นการเตรียมแผ้วถางทางให้แก่การกลับมาของอิมาม มะห์ดีย์

การปฏิวัติในอิหร่าน ปี ค.ศ. 1979

แน่นอนว่าบทความนี้ย่อมไม่อาจสมบูรณ์ได้ หากปราศจากการกล่าวว่า การปฏิวัติที่ส่งผลอย่างกว้างขวางและมากสุดในประวัติศาสตร์ของโลกมุสลิมใน ศตวรรษที่ 20 ก็คือการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในอิหร่านเพื่อโค่นล้มชาฮ์ ปาห์เลวีย์ ผลของการปฏิวัติดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงอิหร่าน สร้างผลกระทบแก่ภูมิภาคตะวันออกลาง และความหวาดระแวงในหมู่ชาติตะวันตกอย่างชนิดที่โลกไม่ได้เห็นปรากฏการณ์ใน ทำนองนี้มาราว 200 ปี การปฏิวัติยังได้ส่งผลต่อการสูบฉีดโลหิตแห่งเรือนร่างของประชาชาติให้กลับ ไหลเวียนหลังความอิดโรย เกิดการตื่นตัวไปทั่วโลกอิสลามและแม้แต่กับมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยในยุโรป อเมริกาและเอเชีย

การปฏิวัติควรเป็นเช่นเตาหลอมโลหะมิใช่เป็นเพียงเช่นพลุที่เพียงส่องแสงชั่วครู่ยาม

การปฏิวัติแห่งศตวรรษที่ 20 ต้องถือเป็นสมบัติและอมานะฮ์ของมุสลิมชีอะฮ์ก่อนเป็นลำดับแรกก่อนที่จะ เคลื่อนผ่านความเป็นเจ้าของและอมานะฮ์ไปยังมุสลิมซุนหนี่ ดังนั้นการปฏิวัตินี้จึงควรได้รับการสานต่อในเจตจำนงค์ (นียะฮ์) ความแน่วแน่ ( อัซม์) การยึดมั่น (ตะมัสซุก) ความเสมอต้นเสมอปลาย (อิสติกอมะฮ์) และความบริสุทธ์ใจ (อิคลาศ) จากชาวอิหร่านเป็นลำดับแรกและจากมุสลิมชีอะฮ์ด้วยกันเองก่อนเป็นลำดับถัดไป ก่อนที่จะพยายามหยิบยื่นไปให้มุสลิมซุนหนี่ได้เห็นผลงาน หรือตระหนักในความสำเร็จของผลงานนี้

ในฐานะของนักวิชาการซุนหนี่ผมได้กล่าวมา แล้วถึงพิษภัยและมลทิลของตะวันตกที่มีต่อโลกมุสลิม การปฏิวัตินี้ก็ได้เคยสำแดงเดชมาให้ประจักษ์แล้วในการกำจัดมลทิลของโลกตะวัน ตก เพียงแต่โลกมุสลิมของเราใบนี้ใหญ่โตประหนึ่งภาชนะเงินขนาดใหญ่ที่จมอยู่ใน ปลักโคลนมายาวนาน ซึ่งก็คือการยึดครองของตะวันตก การชำระสะสางโลกมุสลิมใบนี้จึงต้องใช้เวลาที่ยาวนาน พวกท่านต้องไม่ปล่อยให้การปฏิวัตินี้เป็นเพียงพลุขนาดใหญ่ที่ส่องแสงสว่าง วาบไปทั่วนภาในเวลาสั้นๆ หากแต่ต้องช่วยกันรักษาถ่านไฟแห่งการปฏิวัตินี้ให้มีอายุยืนนานเพียงพอ ประหนึ่งเตาถลุงโลหะที่จะขัดเกลาอิหร่าน และสังคมชีอะฮ์ให้งดงามหมดจด เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจและพันธกิจนี้แล้วจึงพึงขยายไปยังโลกมุสลิมในส่วนที่ เหลือต่อไป ดังที่ อายะตุลลอฮ์ มะหมูด ฏอเลกอนีย์ กล่าวไว้ว่า “ การปฏิวัติของอิหร่านได้เปลี่ยนแปลงโลก ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ เป็นการลุกฮือแบบใหม่ การปฏิวัตินี้ได้ทำลาย” ฏอฆูต “ ลงไปแล้วและได้กำจัดลัทธิการบูชาบุคคล แต่ภารกิจของการปฏิวัตินี้ยังไม่เสร็จสิ้น….”3

 

การปฏิวัตินี้เพรียกหา ผู้อาสาเข้ามาสานต่อพันธกิจ

ในองค์ความรู้แบบซุนหนี่เรามองว่าศาสนา นี้ย่อมมีผู้มาฟื้นฟูทุกร้อยปี การปฏิวัตินี้เกิดขึ้นมาในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 บัดนี้โลกของเราได้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว สาส์นและสาระของการปฏิวัติสมควรจะได้รับการสืบทอดมาอย่างยั่งยืนในศตวรรษ ใหม่นี้แต่การสืบทอดทุกอย่างมาได้นั้นจำต้องมีชนแต่ละรุ่นที่สืบทอดกันมา ด้วยอมานะฮ์และความบริสุทธ์ใจ สาส์นและสาระของการปฏิวัติจึงจะสามารถส่องประกายและพลังงานได้ในปัจจุบัน สมัย ในแนวคิดทำนองนี้เราต้องยอมรับว่าการปฏิวัติเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดมาจากคำสอน ของศาสนาอันยิ่งใหญ่นี้และตัวบุคคลของศาสนาคือบรรดาศรัทธาชนเป็นผู้กระทำให้ ลุล่วงไปด้วยพระประสงค์ (มะชีอะติลลาฮ์) เมื่อเปรียบเทียบเช่นนี้เราจึงสามารถทำความเข้าใจได้ว่าศาสนานั้นเป็นสิ่ง อลังการมหึมาย่อมมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งดังนั้นจึงสามารถรอคอยให้ครบร้อยปี จึงมีผู้ได้รับการคัดสรรค์ให้เข้ามาฟื้นฟูอิสลามบริษัทให้กลับมากระปรี้กระ เปร่าอีกครั้งหนึ่งได้ หากแต่การปฏิวัตินั้นเป็นผลแห่งอมัลและความวิริยะของสาธารณชนผู้ศรัทธาและอิ คลาศจึงมีโครงสร้างกายาที่บอบบางกว่าตัวศาสนาดังนั้น การปฏิวัติจึงควรมี”มุญัดดิด”เข้ามาเป่าวิญญาณและสูบฉีดโลหิตของศรัทธาชน รุ่นต่อๆมาให้มีชีวิตชีวาเฉกเช่นที่เคยเป็นมาในช่วงทศวรรษแรกของการปฏิวัติ อันลือลั่นนี้ และในทศวรรษถัดๆไปก็ต้องมีการส่งต่อไปยังยุวชนคนรุ่นต่อๆไป แต่ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขัดเกลาตน (ตาร์บียะฮ์) และได้รับการฝึกฝนตนให้ปรีเปรมด์ (ริฎออ์) ที่สืบสานต่อภารกิจและพันธกิจนี้ มิฉะนั้นแล้วความเฉื่อยชาก็จะเข้ามาแทนที่ความกระฉับกระเฉง ความอ่อนล้าก็จะเข้ามาแทนที่ความแข็งแกร่ง ความต้องการดุนยาก็จะเข้ามาแทนที่ความต้องการอาคิรอฮ์ รวมถึงความเบื่อหน่าย ชิงชังต่อการปฏิวัตินี้ (ที่อาจเกิดขึ้นในชีอะฮ์รุ่นหลังๆที่ไม่ได้รับการตาร์บียะฮ์ หรือ รับการอบรมบ่มสร้างมาเพื่อการนี้) และความอวิชชา (ญาฮิลียะฮ์ ) ก็จะเข้ามาแทนที่อิสลามได้ในที่สุด และทั้งหมดที่พรรณามานี้เป็นสิ่งที่ออกมาจากความอิคลาศ (บริสุทธ์ใจ) ในนะศีฮะห์ (ข้อคิดข้อเตือนใจ)ของผู้เขียน ….วะมา เตาฟีกีย์ อิลลา บิลลาฮ์

บรรณานุกรม

Kedourie, Elie. Islam in the Modern World and other studies, New york : Mansell Publishing , 1980

Cooper, William W. Challenges of the Muslim World : Present future and Past, The Nederlands : Elsevier

Kramer, Martin (edited). Shi’ism Resistance, and Revolution , Great Britain : Mansell Publishing Ltd. 1987

1

Kedourie, Elie. Islam in the Modern World and other studies, New york : Mansell Publishing , 1980 : 1

2

Cooper, William W. Challenges of the Muslim World : Present future and Past, The Nederlands : Elsevier, xxi

3 Kramer, Martin (edited). Shi’ism Resistance, and Revolution , Great Britain : Mansell Publishing Ltd. 1987 : 82