ส่องวิถีชีวิติของมุสลิมในเดือนรอมฎอนใน 6 ประเทศที่กำลังเกิดสงคราม

603

iqna  – ชาวมุสลิมนับพันคนในพื้นที่ที่เกิดสงครามกำลังถือศีลอดเดือนรอมฎอนในสภาพที่ยากลำบากและเดือดร้อนอย่างมาก

ในขณะที่มวลมุสลิมจำนวนมากทั่วทุกมุมโลกมีความปิติสุขและได้เฉลิมฉลองต้อนรับเดือนรอมฎอันจำเริญ  ขณะเดียวกันนั้นยังมีชาวมุสลิมอีกนับพันคนในพื้นที่ที่เกิดสงครามกำลังถือศีลอดเดือนรอมฎอนในสภาพที่ยากลำบากและเดือดร้อน

ในขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศกลับนิ่งเฉยต่อกับทุกการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งพวกเขาพอใจด้วยเพียงแค่การประชุมหารือและ ออกแถลงการณ์โดยที่ไม่มีผลใด ๆเกิดขึ้น

เดือนรอมฎอนในปาเลสไตน์

มุสลิมในปาลเสไตน์ต้องเผชิญกับความยากลำบากในเดือนรอมฎอน  รัฐเถื่อนอิสราเอลได้ทำการปิดล้อมปาเลสไตน์ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของพวกเขามีความยากลำบากอย่างหนัก ในขณะที่ต้อนรับเดือนรอมฎอนพวกเขาได้มองหาวิธีที่จะสิ้นสุดความยากลำบากของพวกเขาที่กำลังประสบอยู่

โดยนิสัยของรัฐเถื่อนอิสราเอลแล้ว เมื่อถึงเดือนรอมฎอนก็จะกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวดมีการสั่งห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมดำเนินการตามพิธีกรรมทางศาสนา

ฉนวนกาซ่าเข้าสู่เดือนรอมฎอนในสภาพที่ เกือบระยะเวลา 11 ปี ที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากมากที่ถูกปิดล้อมอย่างอยุติธรรม

ตลาดในเขตพื้นที่ดังกล่าวกำลังตกอยู่ในสภาพของภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากราคาที่สูง ขาดลูกค้า ความยากจนที่เพิ่มขึ้นและผู้ซื้อจะใช้หลักการพอเพียงในการซื่อสิ่งจำเป็นในชีวิตเท่านั้น

ในขณะที่อิสราเอลมีการดำเนินการตามนโยบายบอยคอรต์และปิดล้อมที่ครอบคลุมทุกด้านอีกทั้งแม้แต่สิ้นค้าบางอย่างก็ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าสู่กาซ่า

พื้นที่อื่น ๆในดินแดนปาเลสไตน์ก็ต้อเผชิญกับความทุกข์ทรมานและการถูกกดขี่เช่นกัน  โดยเฉพาะการสั่งห้ามไม่ให้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา  สั่งห้ามไม่ให้เข้าไปยังมัสยิดอัลอักศอซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งความถูกกดขี่โดยรัฐเถื่อนอิสราเอล

เดือนรอมฎอนในซีเรีย

วิกฤตซีเรียได้เข้าสู่ปีที่เจ็ดและประชาชนในประเทศนี้กำลังประสบกับความยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์เนื่องจากเพลิงไฟแห่งสงครามโดยผู้ก่อการร้ายตักฟีรีย์

ตามรายงานของสหประชาชาติเผยว่า ประชาชนชาวซีเรียหลายพันคนต้องทนทุกข์ทรมานและเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหาร

ด้วยการติดอาวุธให้กับผู้ก่อการร้ายตักฟีรีย์  และการขยายวงกว้างแห่งการเข่นฆ่าและความรุนแรงในหมู่กลุ่มติดอาวุธทำให้ซีเรียกำลังเผชิญวิกฤติในภาคเกษตรกรรมและสิ่งนี้ได้นำไปสู่การลดลงของการผลิตอาหารที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวซีเรีย

เดือนรอมฎอนในอิรัก

เกือบสองศตวรรษที่ประชาชนในประเทศนี้ตกอยู่ภายใต้กองเพลิงแห่งสงคราม จากสงครามอ่าวจนถึงการเข้ามาของอเมริกาในประเทศนี้และขณะนี้กลุ่มก่อการร้ายไอซิสก็ได้ยึดเมืองโมซูลซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของอิรัก

ภัยคุกคามต่างๆ และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในอิรักด้วยการติดอาวุธของกลุ่มก่อการร้าย อีกทั้งการเข่นฆ่าสังหารและเหตุระเบิดที่ได้เพิ่มขึ้นสูงในปีที่ผ่านมา

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ประชาชนไม่สามารถที่จะปฏิบัติตนตามหลักการศาสนาอิสลามในช่วงเดือนรอมฎอนได้อย่างปลอดภัย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีในประเทศทำให้ราคาน้ำมันลดลง ปัญหาทางการเมือง ขาดสิ้นค้าในตลาดอิรักและเพิ่มขึ้นของราคาอาหารที่เกิดจากพลพวงเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าว

ชาวมุสลิมในเมืองโมซูลที่ในบางพื้นที่เล็กๆถูกไอซิสยึดครองทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าวต้องเผชิญกับความเดือดร้อนและความยากลำบากในการใช้ชีวิต

แม้พวกเขามีความหวังว่าในเดือนรอมฎอนปีนี้จะได้ลิ้มรสรสชาติของชัยชนะแต่จนถึงบัดนี้ก็ยังคงอาศัยอยู่ในสภาพที่ยากลำบากในการตกเป็นเชลยของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส

ในพื้นที่เหล่านี้ไอซิสมีการสั่งห้ามผู้คนในการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอนในการต้อนรับเดือนรอมฎอนเช่นตกแต่งบ้าน จัดเตรียมอาหารทำขนมและพิธีกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา

ประชาชนจำต้องนิ่งเงียบเพราะกลัวการลงโทษอย่างรุนแรงต่อหน้าสาธารณชนจากกลุ่มก่อการร้ายไอซิสเพื่อไม่ให้คนอื่นทำเป็นแบบอย่าง ทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสภาพแห่งความโดดเดียวและความหวาดผวาในเดือนรอมฎอน

เดือนรอมฎอนในพม่า

ชาวมุสลิมในพม่าถือเป็นชนกลุ่มน้อย ตามที่สหประชาชาติได้รายงานระบุว่าประชาชนมุสลิมชนกลุ่มน้อยในประเทศต้องเผชิญกับความเดือดร้อนและความยากลำบากมาก

อย่างไรก็ตามความยากลำบากสำหรับพวกเขายิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอน นอกจากที่ชาวมุสลิมถูกขับไล่ออกจากบ้านของพวกเขาแล้วยังถูกบังคับให้ย้ายถิ่นอาศัยจากการถูกก่ออาชญากรรมที่โหดร้ายโดยกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรง

ตามที่สหประชาชาติได้รายงาน  ชาวโรงฮิงญาเกือบ 300,000 คนได้หนีเข้าไปยังประเทศบังคลาเทศและประมาณ 24,000 คนได้หลบหนีไปยังประเทศมาเลเซีย

เดือนรอมฎอนในบาห์เรน

รายงานระบุว่าประชาชนชาวบาห์เรนได้รับความเดือนร้อนมานานหลายปีมาแล้วจากการปกครองแบบเผด็จการของอัลคาลิฟา  พวกเขาได้ทำการเรียกร้องเสรีภาพ การเลือกปฏิบัติของรัฐบาล แต่กลับถูกคุมขังและทรมานพี่น้องชีอะฮ์อย่างต่อเนื่อง

พวกเขาเข้าสู่เดือนรอมฎอน ในขณะที่เชคอิซา กอซิม ผู้นำนักสู้ของพวกเขาถูกปิดล้อมและกักขังบริเวณ และพวกเขาถูกกองกำลังของรัฐบาลบาห์เรนโจมตีและคุกคามซ้ำแล้วซ้ำอีก

กองกำลังของรัฐบาลบาห์เรนได้โจมตีบ้านของอยาตุลลาห์ อีซา กอซิม  ในเมือง  diraz และปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนที่ออกมาปกป้องผู้นำทางจิตวิญญาณของพวกเขาที่ได้รวมตัวกันหน้าบ้านของผู้นำ อันสร้างความเดือดร้อนทุกข์โศกให้กับครอบครัวของชาวบาห์เรนในวาระเข้าสู่เดือนรอมฎอน ทำให้องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ออกมาแสดงปฏิกิริยาต่อการใช้ความรุนแรงของระบอบการปกครองบาห์เรนกับบรรดาชุมนุมอย่างสันติวิธีในพื้นที่เมือง”diraz”ด้วยการเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเร่งด่วนในเรื่องนี้และลงโทษผู้กระทำผิดที่ได้ทำการฆ่าผู้สนับสนุนเชคอีซากอซิม

เดือนรอมฎอนในเยเมน

บางทีอาจจะกล่าวได้ว่าชาวเยเมนเป็นหนึ่งในหมู่ชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่มากที่สุด เนื่องจากไม่มีใครสนใจที่จะรับฟังเรื่องราวความทุกข์โศกแห่งการถูกกดอย่างอย่างโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับพวกเขา ในขณะที่วิกฤตในเยเมนมักถูกกล่าวถึงในข่าวเกือบทุกวัน ที่มีการกล่าวถึงการขาดสารอาหารของบรรดาเด็กๆ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเช่นอหิวาตกโรคและพวกเขา ถูกฆ่ารายวันจากเหตุสงครามที่อยุติธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่องค์กรระหว่างประเทศก็ไม่เคยสนใจคำพูดเหล่านี้และไม่ได้ดำเนินการใดๆเพื่อดับทุกข์ของชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่ของประเทศนี้เลย

ชาวมุสลิมเยเมนเริ่มเข้าสู่เดือนรอมฎอนในสภาพที่หิวโหย ชาวเยเมนใช้ชีวิตในเดือนรอมฎอนในสภาพผู้ป่วย ด้วยเสียงปืนครกและระเบิดและเสียงของหลังคาบ้านที่พังและทรุดตัวลงมาได้ปลุกให้พวกเขาตื่นขึ้นมาในยามรุ่งสาง  และชาวเยเมนทำการละศีลอดด้วยความทุกข์ระทมจากการสูญเสียเด็กๆของพวกเขาไป โดยน้ำมือของเพื่อนบ้านของพวกเขาที่อ้างตนว่าเป็นชาวมุสลิมที่กำลังทำลายและสร้างความหายนะให้กับแผ่นดินบ้านเกิดของพวกเขา