ปีที่แล้วตัวเลขอยู่ที่ 8 คน และลดลงมาที่ 6 จนกระทั่งตอนนี้อยู่ที่ 5 คน
ในขณะที่ชาวอเมริกันกำลังถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับเรื่องประธานาธิบดีคนใหม่ของพวกเขา นายโดนัลด์ ทรัมป์ – บรรดาผู้ที่ร่ำรวยอย่างสุดขีด ก็กำลังเสวยสุขอยู่บนกองเงินกองทองของพวกเขา และความหายนะจากความไม่เท่าเทียม และการกระจายรายได้ที่ฝืดเคืองก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
งานวิเคราะห์ชิ้นหนึ่ง ในปี 2016 พบว่า ประชากรที่ยากจนที่สุดในโลก จำนวนห้าสิบล้านคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดรวมกันประมาณ 4.1 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ภายหลัง วันที่ 06/08/17 เป็นต้นมา คนร่ำรวยที่สุดของโลก ห้าคน กลับมีทรัพย์สิน รวมกันมากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละคนจะครอบครองจำนวนทรัพย์สินมากพอ ต่อการกระจายไปยังประชากรอื่นๆได้ประมาณ 750 ล้านคน
ทำไม ! เราจึงปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คน ได้ครอบครองส่วนมากของความมั่งคั่งที่มีในโลกใบนี้ ?
ส่วนมากของคนที่ร่ำรวยมาก รวยสุดขีด คือ ชาวอเมริกัน เพียงไม่กี่คน แม้ว่าชาวอเมริกันนับล้านชีวิต จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การสร้างอินเทอร์เน็ต ทำการพัฒนาและให้ทุนสนับสนุน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ ทว่าพวกเขากลับปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คนได้รับความดีความชอบนั้น (เครดิต) ไปพร้อมกับเม็ดเงินมหาศาล กว่าหลายร้อยพันล้านดอลลาร์
ผู้ที่เห็นดีเห็นงามด้วยกับช่องว่างระหว่างความมั่งคั่งที่เกินจะควบคุมได้นี้ ยืนกรานว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ นั่นเป็นเพราะ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ปกครองด้วย หลักการบริหาร’meritocracy’ ที่เน้นความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า หลักบริหารเช่นนี้ส่งผลทำให้สังคม เชิดชู และให้ค่า “คนเก่ง” เป็นสำคัญ ฉะนี้คนที่ร่ำรวยมากๆ จึงมีสิทธิ์สมบูรณ์ที่จะครอบครองสิ่งที่พวกเขามีอยู่ (มือใครยาว สาวได้ สาวเอา) พวกเขาให้ความสำคัญกับทัศนะของนักลงทุนอภิมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ที่ว่า “ความอัจฉริยะของเศรษฐกิจอเมริกัน (คือ) การให้ความสำคัญกับหลักบริหาร meritocracy และระบบการตลาด และหลักนิติธรรมได้ช่วยให้คนรุ่นหลังมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าพ่อแม่”
ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนรุ่นลูกไม่ได้มีชีวิตที่ดีไปกว่าพ่อแม่ของพวกเขา ในช่วงแปดปี นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ (วัดจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่นิยมใช้เป็นตัวแทนตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาทั้งหมด) มีมากกว่าสามเท่า โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 8 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ เป็นเกือบ 25 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ ซึ่งส่วนมากของเงินจำนวนนี้ แน่นอนตกอยู่ในกระเป๋าสตางค์ของชาวอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุด ในปี 2016
คนที่ร่ำรวยที่สุด 1% ได้ยึดเอาความมั่งคั่ง จำนวนเกือบกว่า 4 ล้านล้านเหรียญ จากประชากรส่วนที่เหลือของประเทศ ไว้กับตัวเองเพียงคนเดียวอย่างมีประสิทธิภาพ เกือบครึ่งหนึ่งของการโอนความมั่งคั่ง (1.94 ล้านล้านดอลลาร์) มาจากประชากรที่ยากจนที่สุดของชาติ 90% – นั่นคือ ชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงาน ชี้ให้เห็นว่า เงินจำนวนกว่า 17,000 ดอลลาร์ จากค่าใช้จ่ายในบ้านและเงินฝากออมทรัพย์ต่อครัวเรือน ของประชาชนชนชั้นแรงงาน จนถึงชนชาติกลาง ได้สูญหายไปอยู่กับคนที่ร่ำรวยที่สุด
นอกจากนี้ ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง บิล เกตส์ (Bill Gates) เจ้าของ Microsoft มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้ง Facebook และ เจฟ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้สร้าง Amazon ไม่ได้ทำอะไรมากมายเลย เมื่อคำนึงถึงแรงงานของคนอื่นๆภายในชาติ เพราะ ทุกๆเทคโนโลยีสมัยใหม่ เริ่มต้นด้วยภาษีดอลลาร์ของประชาชน สถาบันวิจัยของประชาชน และเงินสมทบที่ประชาชนมอบให้แก่บริษัท
ทำไมเราปล่อยให้คนร่ำรวย สอนวิธีดำเนินชีวิตให้แก่เรา? โดยเฉพาะ บิล เกตส์ !
ในปี 1975 เมื่ออายุได้ 20 ปี บิล เกตส์ ก่อตั้ง Microsoft กับเพื่อนซี้ บัดดี้โรงเรียนมัธยมคนหนึ่ง คือ พอลล์ แอลลัน (Paul Allen) ณ ตอนนั้น ระบบปฎิบัติการ CP/M ของ แกรี คิลดัล (Gary Kildall) คือ มาตรฐานทางอุตสาหกรรม แม้แต่ บริษัทของเกตส์ ก็ใช้ ระบบนี้ ทว่า คิลดัล คือ นักประดิษฐ์ เขาไม่ใช่นักธุรกิจ และเมื่อ IBM เรียกหาระบบปฏิบัติการ สำหรับ เครื่อง PC ใหม่ของบริษัท เขาก็ต้องสูญเสียโอกาสทองนั้นไป ด้วยความชักช้าของเขาเอง ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ต้องหันหน้าเข้าพึ่งเกตส์ แม้ว่า บริษัท Microsoft ที่เพิ่งได้รับการก่อตั้งใหม่ จะไม่มีศักยภาพเพียงพอบรรลุถึงซึ่งความต้องการของ IBM ได้ แต่เกตส์ และแอลลัน ก็มองเห็นโอกาสจากจุดนั้น พวกเขาจึงรีบซื้อสิทธิ์ในระบบปฏิบัติการของ บริษัทอื่นในท้องถิ่น ซึ่งเป็นระบบที่มีพื้นฐานมาจาก ระบบ CP/M ของ คิลดัล เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ คิลดัล ต้องการที่จะดำเนินคดีฟ้องร้องไปยังบริษัท Microsoft แต่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น คิลดัลจึงถือ เป็นผู้ผลิตอีกหนึ่งราย ที่ถูกฉกชิงทรัพย์สินทางปัญญาไปอย่างช่วยไม่ได้
ข้อสรุปที่ได้ คือ บิล เกตส์ ฉกฉวยความฉลาดของคนอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ชายที่ร่ำรวยที่สุดโนโลก และ ณ ปัจจุบัน ด้วยทรัพย์สินจำนวนมากมายมหาศาลของเขา ประกอบกับ ความเชื่อปรัมปราเรื่อง ระบบคุณธรรม ทำให้หลายๆคน มองหาเขา ในฐานะทางออก สำหรับการแก้ปัญหาในด้านที่สำคัญหลายๆอย่าง เมื่อคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น โอกาสทางการศึกษา และการผลิตอาหารโลก
วอร์เรน บัฟเฟตต์: เรียกร้องให้มีการเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น (ตราบเท่าที่ บริษัท ของตัวเองไม่จำเป็นต้องจ่ายมัน)
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้สนับสนุนให้ขึ้นภาษีกับคนรวย และภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสม ทว่าบริษัท Berkshire Hathaway ของเขากลับใช้ “จำนวนเงินสมมุติ” ในการ ‘จ่ายภาษี’ ในขณะที่ความเป็นจริง เขาชะลอการจ่ายภาษีมากถึง $ 77 พันล้านเหรียญในการเสียภาษีจริง
เจฟ เบโซส์: ทำเงินได้ 50 พันล้านเหรียญในเวลาน้อยกว่าสองปี แต่กลับต่อสู้กับการจ่ายภาษีมาตลอดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
นับตั้งแต่ปลายปี 2015 เจฟ เบโซส์ได้สะสมทรัพย์สมบัติจำนวนมากพอ จะครอบคลุมงบประมาณที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จำนวน 5 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งสามารถให้บริการแก่ชาวอเมริกันได้กว่าจำนวนห้าล้านคน เจฟ เบโซส์ ผู้ซึ่งได้รับผลกำไรอย่างมากจาก อินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐาน ที่สร้างขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยน้ำพักน้ำแรงของคนจำนวนมาก และด้วยกับเงินภาษีจำนวนมากของประชาชน ได้ใช้ ‘แหล่งหลบเลี่ยงภาษี’ (tax havens) และ ล็อบบี้ยีสต์ (lobbyists) ค่าตัวสูง คนกลางที่คอยประสานผลประโยชน์ และเจรจาต่อรอง เพื่อให้เขาสามารถหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ที่บริษัทของเขาค้างชำระอยู่
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับที่ 6 และติดอันดับ 4 ในอเมริกา)
ขณะที่ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก กำลังพัฒนาเวอร์ชั่น เครือข่ายโซเชียลเนตเวิร์ค ของเขา ที่ Harvard นักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อดัม โกลด์เบิร์ก (Adam Goldberg) และ เวย์น ติง (Wayne Ting) ได้สร้างระบบที่เรียกว่า Campus Network ซึ่งมีความทันสมัยมากกว่าเวอร์ชั่นรุ่นก่อน ๆ ของ Facebook ทว่านาย ซักเคอร์เบิร์ก มีชื่อเป็นเด็กนักเรียนของ Harvard และมีการสนับสนุนทางการเงินที่ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการกล่าวว่า ซักเคอร์เบิร์ก ได้แฮ็กเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของคู่แข่ง เพื่อขอประนีประนอมข้อมูลผู้ใช้ จึงทำให้เขามีโอกาสเฉิดฉายได้อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขณะนี้ ด้วยกับเงินจำนวนมหาศาลถึงพันล้านที่เขาครอบครองอยู่ เขาได้สร้างมูลนิธิเพื่อ “การกุศล” ขึ้นมา ซึ่งในความเป็นจริง มันคือบริษัท ที่ได้รับการยกเว้นภาษี มันทำให้เขาสามารถบริจาคเงินทางการเมือง หรือขายทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่ต้องเสียภาษี
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้สวยสำหรับเด็กหนุ่ม ซักเคอร์เบิร์ก ไม่มีอะไรเหลือให้เขาทำแล้ว นอกจาก การเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯเท่านั้น
สัญญาที่บิดพริ้ว ของ ‘ธุรกิจการกุศล‘หรือ กุศลอำพราง
ปัจเจกบุคคลที่มีความร่ำรวยสุดขีด ได้ให้คำมั่นสัญญาจะใช้ความมั่งคั่งของพวกเขาช่วยเหลือ ประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านการบริจาค การกุศล และการให้เพื่อสังคม ธุรกิจการกุศล หรือ กุศลอำพราง ที่เป็นการนำเงินหรือทรัพย์สินมาเป็นทุนหาดอกผลแล้วนำไปให้ความช่วยเหลือแก่สังคมโดยที่เงินต้นยังคงอยู่
เศรษฐีชาวอเมริกันทั้งหมดทำเงินของพวกเขาได้ ก็เพราะการวิจัย นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นรากฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ของเรา พวกเขาได้รับความดีความชอบ พร้อมด้วยความมั่งคั่งมหาศาล สำหรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากสังคมมากกว่าจากบุคคลเพียงไม่กี่คน มันจึงไม่ควรเป็นการตัดสินใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในแง่ของการใช้และแบ่งสรรปันส่วนความมั่งคั่งนั้น เงินจำนวนมาก จากรายได้และความมั่งคั่งของคนในชาติประจำปี ควรจะถูกสัญญา ให้นำไปใช้สำหรับการศึกษา เสริมปัจจัยสี่ และโครงสร้างพื้นฐาน นั่นคือสิ่งที่ ชาวอเมริกัน และพ่อแม่ และปู่ย่าตายายควรได้รับ หลังจากที่ได้ทำงานอย่างขยันขันแข็งมามากว่าครึ่งศตวรรษ
—
ผู้เขียน: Paul Buchheit เคยสอนเศรษฐศาสตร์ อยู่ที่มหาวิทยาลัย De Paul และยังได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ ในด้านการพัฒนาภาษาและวิทยาศาสตร์ด้านความรู้ความเข้าใจ เขาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้พัฒนาด้านเว็บไซต์เพื่อความยุติธรรมทางสังคมและเพื่อการศึกษามากมาย (เช่น UsAgainstGreed.org, RappingHistory.org, YouDeserveFacts.org) และเป็นบรรณาธิการของ American Wars: Illusions and Realities (Clarity Press) นอกจากนี้ เขายังเป็นเจ้าของผลงานหนังสือ “Disposable Americans” (2017) เขาเป็นผู้สนับสนุนความยุติธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ ผู้อ่านสามารถศึกษาและเยี่ยมชม บทความ วิดีโอ และบทกวี ของเขา ได้ที่ YouDeserveFacts.org
Source: truth-out.org