parstoday – ในวิกฤตกาตาร์ ตุรกีไม่เพียงแต่ปฏิเสธคำชี้ขาดจากซาอุดิอาระเบียและพันธมิตร แต่ทว่ากลับส่งกองกำลังทหารเข้ากาตาร์มากขึ้น
Al-Monitor เขียนบทวิเคราะห์ ภายใต้หัวข้อ “ในปริศนาข้อพิพาทกาตาร์ – สถานะของตุรกีอยู่ตรงไหน?” ว่า หลังจากที่สี่ชาติอาหรับ บาห์เรน อียิปต์ ซาอุดีอาระเบียและยูเออี ได้ตัดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับกาตาร์ภายใต้ข้ออ้างในการสนับสนุนกลุ่มสุดโต่งและกลุ่มก่อการร้ายและเป็นพันธมิตรกับประเทศอิหร่าน จึงได้ทำการคว่ำบาตรกาตาร์พร้อมกับยื่นเงื่อนไข 13 ข้อเป็นทางเลือกสำหรับกาตาร์
หนึ่งในข้อบังคับเรียกร้องสำหรับการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ คือการปิดฐานทัพทหารร่วมกันระหว่างตุรกีและกาตาร์ที่ตั้งอยู่ในดินแดนของกาตาร์ และดูเหมือนว่าการที่ทหารตุรกีเข้าไปประจำการในกาตาร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยิ่งสร้างความซับซ้อนและก่อให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นสำหรับพันธมิตรที่ได้ตัดความสัมพันธ์กับโดฮา
ตุรกีถือว่าการกำหนดเป้าหมายของพันธมิตรที่ใกล้เคียงที่สุดในคณะมนตรีความร่วมมืออ่าวเปอร์เซียเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและขัดกับค่านิยมอิสลาม ทางด้านเออร์โดกาน ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวว่า ความต้องการที่จะให้ปิดฐานทัพทหารนั้นถือเป็นการละเมิดกฎหมายต่างประเทศ
คำชี้ขาดนี้แสดงให้เห็นว่า ในมุมมองของทั้งสามประเทศในอ่าวเปอร์เซีย หลังจากที่ลงโทษกาตาร์ด้วยการคว่ำบาตรนั้น ทางด้านตุรกีก็พยายามประคับประคองราชวงศ์อัลษานี พร้อมกับสร้างแรงกดดันต่อราชวงศ์และครอบครัวอัลษานี ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตน
ตุรกีไม่เพียงแต่ปฏิเสธคำชี้ขาดจากซาอุดิอาระเบียและพันธมิตร แต่ทว่ากลับส่งกองกำลังทหารเข้ากาตาร์มากขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เห็นรถถังของตุรกีแล่นผ่านในกรุงโดฮาเมืองหลวงของกาตาร์ แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ ยิ่งจะก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศมุสลิมสุนหนี่ในตะวันออกกลาง ให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น
ตุรกี ซาอุดีอาระเบียและกาตาร์เป็นประเทศที่มีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นมุสลิมนิกายสุนหนี่ นอกจากนี้ตุรกีและกาตาร์ยังมีไมตรีกับกลุ่มอิสลามสุนหนี่ เช่น กลุ่มภราดรภาพมุสลิม โดยในมุมมองของซาอุดิอาระเบีย เอมิเรตส์และอียิปต์นั้นว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
ผลการปรากฏตัวของทหารตุรกีในกาตาร์
หากคูเวตและชาติอื่นๆที่เป็น “ตัวกลาง” ไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อพิพาทได้ การปรากฏตัวทางทหารของตุรกีในกาตาร์ก็จะทำให้สถานการณ์มีความวิกฤตมากขึ้น
(กาตาร์เชื่อว่า) การปรากฏตัวของทหารอเมริกาในกาตาร์จะเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการอยู่รอดของประมุขกาตาร์ และสามารถยับยั้งปัจจัยหลักจากการโจมตีใด ๆ โดยซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งฐานทัพทหารอเมริกาใน กาตาร์อยู่ในเขตพื้นที่ AlUdeid
สถานการณ์ในวันนี้ ทั้งนักการทูตคนปัจจุบันและอดีตนักการทูตของตะวันตกต่างแสดงความกังวลว่า ความคัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างประเทศในคณะมนตรีความร่วมมืออ่าวเปอร์เซียนั้น สามารถนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารได้ และปัญหานี้ได้สร้างปัญหาสำคัญอีกส่วนหนึ่งสำหรับนโยบายต่างประเทศของตุรกีในตะวันออกกลางควบคู่กับอิรักและซีเรีย มันไม่แน่ชัดเจนว่าหากความไม่แน่นอนนี้ยังคงดำเนินการอยู่เช่นนี้ การปรากฏตัวของทหารตุรกีในกาตาร์จะส่งผลกระทบต่อความสมดุลของอำนาจในอ่าวเปอร์เซียเช่นไร
หากไม่คำนึงว่าทหารตุรกีในกาตาร์ มีความสามารถทางทหารที่จะยับยั้งและรับมือการเผชิญหน้าและการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่การปรากฏตัวของพวกเขาสำหรับการสนับสนุนทางการเมืองและศีลธรรมต่อครอบครัวอัลษานีนั้นคือความเสี่ยงต่อรัฐสมาชิกความร่วมมืออ่าวเปอร์เซีย ที่อาจเป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการบีบบังคับในเรื่องนี้
การเข้าไปประจำการอย่างรวดเร็วของทหารตุรกีในกาตาร์ หลังจากที่วิกฤติทวีความรุนแรงมากขึ้น ถือเป็นการส่งสาส์นจากอังการาให้กับโดฮาว่ากาตาร์ไม่ควรถูกกดดันจากเพื่อนบ้าน
แม้ว่าจะมีการประท้วงจากฝ่ายค้านในตุรกีที่เตือนว่าการปรากฏตัวของทหารตุรกีในกาตาร์ แม้นว่าเป็นการแสดงความเป็นมิตรไมตรีกับโดฮา แต่ถือเป็นการกระทำที่อันตราย ทั้งนี้อังการาเชื่อมั่นว่า การป้องกันแรงกดดันจาก ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ที่มีต่อกาตาร์นั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติตุรกี
เออร์โดกานถือว่าความปลอดภัยของกาตาร์คือความปลอดภัยของตุรกี
สำหรับอังการาแล้ว การเป็นมิตรและมีความเป็นปึกแผ่นกับโดฮานั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ หากพิจารณาจากความขัดแย้งระดับภูมิภาคหลายแห่งทั้งในลิเบีย ซีเรีย อียิปต์และเคริด์ดิสถานอิรัก
ทั้งสองประเทศเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มอิสลามนิยมสุนหนี่ทั่วตะวันออกกลาง โดยที่ตุรกีต้องการดึงการลงทุนจากกาตาร์มากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจประเทศของตน
บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของตุรกีซึ่งเป็นเครื่องมือของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังมองหาผลกไรที่ร่ำรวยมากขึ้นกับกาตาร์ ตุรกีถือว่ากาตาร์เป็นตลาดที่สำคัญสำหรับอาวุธ และมองว่าโดฮาเป็นประเทศอาหรับชาติแรกที่มีฐานทหารตุรกีในประเทศ และตระหนักว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของตนในตะวันออกกลางและแอฟริกา
หากไม่คำนึงว่าข้อพิพาทนี้จะมีการดำเนินการไปในทิศทางใด ตุรกีก็พร้อมเสมอที่อยู่ข้างกาตาร์และป้องกันภัยคุกคามที่เป็นประวัติการณ์ที่มีต่ออำนาจอธิปไตย ความเป็นอิสระของรัฐอ่าวเปอร์เซียและการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของตนกับกาตาร์ให้ไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น
ประมุขของกาตาร์เป็นผู้นำต่างชาติรายแรกที่ได้ต่อสายโทรศัพท์คุยกับเออร์โดกาน หลังจากที่ทำการรัฐประหารล้มเหลวในตุรกีเมื่อประมาณเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า องค์ประกอบในคณะมนตรีความร่วมมืออ่าวเปอร์เซีย (คือสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์) เป็นผู้ชี้นำไปสู่การรัฐประหาร อังการาเห็นว่าโดฮาเป็นเหยื่อของการสมรู้ร่วมคิด ในภูมิภาค ซึ่งกล่าวสรุปง่ายๆคือ เออร์โดกานให้ความสำคัญเกี่ยวกับกาตาร์เป็นพิเศษ เพราะ “ความปลอดภัยของประมุขกาตาร์มันเชื่อมโยงกับความปลอดภัยของตุรกี “