เปิดรายงาน เบื้องหลังการใช้อาวุธเคมีของไอซิสในอิรักและซีเรีย

529

ในปี 2016  ซีมัวร์ เฮิร์ช สื่อมวลชนชื่อดังชาวอเมริกัน ได้รายงานถึงกรณีที่ นางฮิลลาลี คลินตัน เคยมีคำสั่งเคลื่อนย้ายสารเคมี โดยเฉพาะ ก๊าซซารีน จากลิเบียไปยังซีเรีย โดยผ่านเส้นทางตุรกี จากจุดนี้เอง ที่ชี้ให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย 

ตามรายงานจากสถาบันนานาชาติ ระบุว่า  ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปี 2016 ไอซิสได้โจมตีอิรักและซีเรียด้วยอาวุธเคมีอย่างน้อย 52 ครั้ง   ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เผยว่า การใช้อาวุธเคมีไม่ได้จำกัดแต่เพียงกลุ่มก่อการร้ายไอซิสเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวหน้ากลุ่มอัลนุศเราะฮ์ ที่มีอาวุธเคมีในครอบครอง และใช้อาวุธเคมีที่มีอันตรายนี้เช่นเดียวกับไอซิส

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิรัก ถือว่าการโจมตีเหล่านี้ไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล ทั้งนี้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนและกำลังพลของเขา อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์โจมตีได้เกิดขึ้นหลายครั้งในซีเรีย และในขณะที่ได้รายงานไปยังสัมพันธมิตรระหว่างประเทศ ถึงกรณีการใช้อาวุธเคมีของกลุ่มไอซิส และกลุ่มกบฏต่างๆที่เกี่ยวพันธ์กับการก่อการร้ายดังกล่าว ทว่ารายงานเหล่านี้กลับไม่ได้รับความสนใจ

ในปี2017  ประเด็นนี้กลับได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ  เนื่องจาก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีเหตุการณ์โจมตีด้วยสารเคมีครั้งเลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นใน Khan Sheikhon  ประเทศซีเรีย  ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ปรากฎรายงานข่าวตามมามากมาย ถึงกรณีการใช้สารเคมีของไอซิส โดยเฉพาะในปฏิบัติการยึดเมืองโมซูล

ตามการพิจารณาตรวจสอบ พบว่ามีการใช้อาวุธเคมีจริง ไม่ว่าจะในอิรักหรือซีเรีย มีการใช้อาวุธเคมีตั้งแต่ระดับขั้นที่มีความรุนแรงต่ำ จนไปถึงระดับความรุนแรงสูง รวมทั้งแก็สพิษและสารอันตรายอื่นๆ เช่น คาร์บอน คลอรีน มัสตาร์ด และซาริน ทั้งนี้ ประเด็นต่างๆเหล่านี้ ได้นำไปสู่คำถามที่มากมาย ขณะที่เราก็พยายามหาคำตอบที่กระจ่างชัดว่า ทำไมพวกไอซิสถึงได้ใช้อาวุธเคมีเหล่านี้

ทำไมการใช้อาวุธเคมีสำหรับกลุ่มก่อการร้ายไอซิสจึงเป็นเรื่องท้าทาย ?

การตอบคำถามนี้ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้ยาก ประการแรก สำหรับบรรดาผู้ก่อการร้าย เช่นไอซิส ซึ่งการก่อตัวของพวกเขา เป็นไปเพื่อปฎิบัติการสร้างความหวาดกลัว และแพร่ขยายความรุนแรงป่าเถื่อน ฉะนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ ที่พวกเขาจะใช้อาวุธเคมี เพราะแน่นอนว่า อาวุธเคมีเหล่านี้ถือเป็นประเภทอาวุธที่ตอบสนองไปยังภารกิจของพวกเขาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากว่าสามารถสร้างความหวาดกลัวต่อรัฐบาลและประชาชนได้

อีกด้านหนึ่งคือ การโจมตีด้วยอาวุธเคมีนั้นมีรายจ่ายน้อย แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่ายตรงกันข้าม กลับต้องใช้งบประมาณเป็นอย่างมากในการกำจัดหรือทำลายอาวุธเคมีที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งมันจะส่งผลเสียในระยะยาวต่อภูมิภาค นอกจากนี้ การกำจัดร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ของอาวุธเคมี ยังต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี เช่น การคัดกรองน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการทำความสะอาดผืนดินที่จำเป็นอื่่นๆอีก  ดังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า การโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง และมีผลกระทบทางจิตวิทยาที่ร้ายแรง

และประการที่สามคือ การโจมตีด้วยอาวุธเคมี ส่งผลให้เกิดความสับสนวุ่นวาย สามารถทำลายขวัญและกำลังใจในหมู่ประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดผลลบกับฝ่ายตรงข้ามและเป็นเหตุให้การรุกคืบต้องหยุดชะงัก ทั้งยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ก่อการร้ายเพื่อซื้อขายอาวุธอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่กลุ่มต่างๆกำลังเผชิญกับความอ่อนเอ และสิ่งที่สามารถปกป้องไอซิสจากการถูกทำลายได้ ก็คือการใช้อาวุธเคมีต่างๆเหล่านี้ ดังนั้นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายด้วยอาวุธประเภทนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจและมีความสำคัญสำหรับพวกเขา

วัตถุเคมี เป็นอย่างไรและพวกเขาเอามาจากไหน ?

คำถามนี้ มีสมมุติฐานต่างๆหลายประการ สมมุติฐานที่1 ชี้ให้เห็นว่า วัตถุเคมีที่เราพูดถึงอยู่นั้น คืออาวุธเคมีที่สามารถสร้างขึ้นมาได้อย่างง่ายๆ ซึ่งกลุ่มไอซิส หรือผู้เชี่ยวชาญของพวกเขาได้สร้างอาวุธเหล่านี้ขึ้นมาเอง สมมุติฐานนี้ มีความถูกต้องในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี แก๊สพิษ เช่น ซารีน ไม่อาจผลิตขึ้นมาได้ง่ายๆ  จึงเป็นไปได้ว่า อาจมีสมมุติฐานอีกสองข้อที่ควบคู่กับสมมุติฐานข้อแรกนี้

สมมุติฐานที่2 คือ ไอซิสได้บุกเข้าไปในศูนย์กลางของอิรักและซีเรีย ซึ่งศูนย์กลางที่พวกเขาบุกเข้าไปนั้น เป็นสถานกักเก็บและผลิตสารวัตถุเคมี  ในการนี้ เมื่อปี 2014 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิรักได้ยืนยันว่า ไอซิสได้เข้ายึดครองสถานที่ในชานเมืองแบกแดด ซึ่ง ณ สถานที่นั้นมีการเก็บจรวดจำนวน 2500 ลูกที่มีแก๊สซารีน  ส่วนในซีเรียก็มีความเป็นไปได้ในลักษณะนี้เช่นกัน กล่าวคือ ผู้ก่อการร้ายได้เข้าไปยึดครองแหล่งสะสมและเก็บวัตถุเคมี และเหตุการณ์ในคอน ชัยคูน คือ ข้อพิสูจน์ถึงสมมุติฐานอันนี้

สมมุติฐานที่3 คือ มีการขนย้ายอาวุธเหล่านี้จากประเทศอื่นเพื่อส่งมอบให้ผู้ก่อการร้าย บนพื้นฐานดังกล่าว ในปี 2015 สมาชิกสภาตุรกีคนหนึ่งเคยประกาศถึงกรณีที่มีการส่งอาวุธเคมีให้กับไอซิส อีเรน เออร์เดม ได้นำเสนอเรื่องนี้พร้อมทั้งแสดงหลักฐานในที่ประชุมรัฐสภาตุรกี   เช่นเดียวกันนี้ในปี 2016 ซีมัวร์ เฮิร์ช สื่อมวลชนชื่อดัง ชาวอเมริกัน ได้รายงานตามที่ได้รับการยืนยันว่า นาง ฮิลลาลี คลินตัน ได้ออกคำสั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายสารเคมี โดยเฉพาะ ก๊าซซารีน จากลิเบียไปยังซีเรีย โดยผ่านเส้นทางตุรกี จากจุดนี้เอง ที่ชี้ให้เห็นว่า อเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย

สาเหตุของการนิ่งเงียบของพันธมิตรตะวันตก

ปัจจัยที่ทำให้ตะวันตกมีปฎิกิริยาที่นิ่งเงียบต่อการใช้อาวุธเคมีของผู้ก่อการร้าย มีหลายกรณีด้วยกัน  โดยเหตุผลหนึ่งที่อเมริกาโจมตีอิรัก ก็เพื่อต้องการกำจัดอาวุธเคมีร้ายแรงต่างๆภายในประเทศนี้ ทว่าในทางกลับกัน หลังจากที่ได้คำนึงถึงในบริบทของปัจจุบัน ที่ซึ่งเราได้ประจักษ์แล้วว่า ไอซิสครอบครองอาวุธเคมีในแผ่นดินอิรัก สิ่งนี้ได้สื่อให้เราทราบว่า ปฏิบัติการของอเมริกาที่ผ่านมานั้นล้มเหลวอย่างชัดเจน  ทั้งนี้ทั้งนั้น อเมริกาเองก็พยายามที่จะปกปิดความล้มเหลวของตน ในการป้องกันไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายเข้าถึงและครอบครองอาวุธเคมีและยุทโธปกรณ์ต่างๆ

ประการที่สอง ในปี 2013 เกิดเหตุการณ์โจมตีด้วยอาวุธเคมีในชานเมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รัฐบาลซีเรียถูกใส่ร้ายจากชาติตะวันตกและอเมริกา อันเป็นการใส่ร้ายที่ไม่อาจพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงตามที่พวกเขาแอบอ้างได้แต่อย่างใด

บัชชาร์ อัลอัสซาด ได้แสดงถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ตามข้อตกลงทั้งหมด เขาได้เคลื่อนย้ายอาวุธเคมีออกนอกประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า แก๊สพิษหรืออาวุธชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซซารีน และอื่นๆที่ไอซิสครอบครองนั้น มีต้นตอมาจากต่างประเทศ และถูกจัดเตรียมโดยบรรดาผู้สนับสนุนพวกเขา ในประเด็นนี้ ได้มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้การยอมรับถึงการสนับสนุนจากตะวันตกและพันธมิตรของพวกเขาในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาที่เป็นหัวโจกในการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ด้วยประการฉะนี้ ก่อนที่เหตุการณ์ คอน ชัยคูน จะกลายเป็นกระแสระดับโลก ตะวันตกจึงมีท่าทีนิ่งเงียบและเฉยเมยต่อการโจมตีด้วยอาวุธเคมี

ส่วนกรณีที่สามคือ อาวุธเคมีถูกใช้ให้เป็นกลไกในการกดดันรัฐบาลบัชชาร์ อัสซาด เหมือนกับในปี 2013 ที่บัชชาร์ อัสซาด ถูกกล่าวหาว่าใช้อาวุธเคมี   และในเหตุการณ์ คอน ชัยคูน ก็เช่นกัน พวกเขาได้กระทำการใส่ร้ายป้ายสีรัฐบาลซีเรีย โดยปราศจากการสืบสวนหาข้อเท็จจริงใดๆก็ตาม

อย่างไรก็ดี หลายวันก่อน โฆษกกระทรวงต่างประเทศของรัสเซีย ได้เปิดเผยถึงแผนปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายโดยระบุว่า การใช้อาวุธเคมีนั้น เป็นการเปิดทางให้กับอเมริกา เพื่อนำไปใช้เป็นข้ออ้างโจมตีฐานที่มั่นต่างๆของรัฐบาลซีเรีย นอกจากนี้ ทางโฆษกของรัสเซียยังได้เปิดเผยถึง กรณีที่มีการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์และวัตถุเคมีจากเมืองโมซูล ประเทศอิรัก ไปยังเมืองรักกาห์ ประเทศซีเรีย  โดยชี้ว่า หากลองพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เมืองนี้ถูกปิดล้อมโดยกองกำลังพันธมิตร ก็จะพบว่า ความเป็นไปได้ในการเคลื่อนย้ายอาวุธจำนวนมาก ผนวกกับการไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆของอเมริกา ย่อมเป็นสองสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า อเมริกาไม่เพียงแต่จะนิ่งเฉยเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายอีกด้วย

Source: alwaght.com