“ลายนิ้วมือ” ของซาอุฯในสถานการณ์พม่า

904

จากการตรวจสอบเหตุการณ์ในพม่าพบว่าความขัดแย้งในเมืองอะรากัน ได้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว  และล่าสุดความขัดแย้งได้ปะทุ ก่อนวันอีดอัฎฮา ( Eid al-Adha) และมีปรากฏการณ์บางอย่างแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของรัฐอาหรับในสถานการณ์นี้

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาความทุกข์ทรมานของชาวมุสลิมในพม่ากลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งของประเทศอิสลาม  สื่อตุรกีได้เผยแพร่และสะท้อนข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว  มีการนำเสนอภาพประกอบที่อ้างว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมในอะรากัน  อย่างกว้างขวางและรวดเร็วบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในตุรกี

ข้อเท็จจริง ภาพเหล่านี้ถูกนำเสนอคล้ายกับกรณีในอดีตที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในซีเรียที่ได้รับการตีพิมพ์ในช่วงเวลาสุดท้ายของการปลดปล่อยอาเลปโป  เมื่อมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของภาพต่างๆเหล่านี้  จึงเป็นที่แน่ชัดว่า มีภาพที่ถูกตัดต่อขึ้นมา  ผสมปนเป ทั้งๆที่บางภาพเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างห้วงเวลา ต่างสถานที่กัน

ประเด็นนี้ ทำให้เกิดคำถามในใจขึ้นมาว่า “ใช่…. พวกเขาถูกฆ่าตายในเมืองอะรากัน  และพวกเขาต้องอพยพและหนีออกจากบ้านของพวกเขา  แต่ทำไมเหตุการณ์ดังกล่าวมันจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่โตที่มีการพาดหัวข่าวของทุกสำนักข่าว และทำไมข้อเท็จจริงเหล่านี้จึงถูกอุปโลกน์ขึ้นมาในรูปแบบของแคมเปญปลอมด้วย ”

การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อเท็จจริง :จากการตรวจสอบเหตุการณ์ในพม่าพบว่า การสังหารหมู่ชาวมุสลิมในเมืองอาระกันเกิดขึ้นหลังจากที่ “กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน” หรือ “อาร์ซา” (Arakan Rohingya Salvation Army – ARSA)  ได้บุกโจมตีสถานีตำรวจพม่า  ซึ่งถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของประเทศอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย ในการยึดและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ โดยการอพยพประชาชนในพื้นที่เหล่านี้ออกไป

กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน” หรือ “อาร์ซา” (Arakan Rohingya Salvation Army – ARSA) ซึ่งบุกโจมตีสถานีตำรวจพม่าอันเป็นผลต่อการสังหารหมู่ชาวมุสลิมนั้น มี Ata-Allah Abu Ammar Joununi เป็นหัวหน้า เขา  เป็นชาวโรฮิงญา เกิดที่ปากีสถาน เติบโตในนครเมกกะและมีสัญชาติซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นไปได้สูง ที่รัฐบาลริยาดจะให้การสนับสนุนกองทหารอาสาสมัครนี้  เพื่อหวังผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการยึดครองพื้นที่ของชาวอาระกันที่มีทรัพยากรใต้ดินมหาศาล และกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา

โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ก่อรัฐประหารเงียบขึ้นมาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย  เพื่อดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ “วิชั่น 2030” ของซาอุดิอาระเบีย พยายามใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าจากกองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน” หรือ “อาร์ซา” (Arakan Rohingya Salvation Army – ARSA)  จากการลงทุนของรัฐบาลริยาดมากว่า 8 ปีในอาระกัน    จากเอกสารลับที่ถูกเผยแพร่ออกมาจากสำนักพระราชวังซาอุดิอาระเบียนั้น  กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน” หรือ “อาร์ซา” (Arakan Rohingya Salvation Army – ARSA)   ได้รับคำสั่งตรงจากริยาด ในการโจมตีสถานีตำรวจพม่า  25 ครั้ง  และด้วยการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่าเกือบ 500,000 คน ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2552  (2009) นำมาซึ่งอิทธิพลของซาอุฯในเมืองอาระกัน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซาอุดีอาระเบียได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่ออาบูอัมมาร์ (Ata-Allah Abu Ammar Joununi )เพื่อให้มีอิทธิพลในอาระกัน

หมู่บ้าน Rohingya กลายเป็นโรงแรมของ UAE

ตามเอกสารและข้อมูลที่ได้รับ  สื่อทุกแขนงและสถานีโทรทัศน์ในภูมิภาคนี้ถูกสร้างขึ้นโดยริยาด   มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ในวิสัยทัศน์แผนพัฒนาซาอุดิอาระเบีย 2030  มีแผนจะเปลี่ยนภูมิภาคอาระกันซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรใต้ดินและความมั่งคั่งให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดมนุษย์   เว็บไซต์ (MEE) รายงานว่าการลงทุนในการใช้ประโยชน์และควบคุมน้ำมันและก๊าซของซาอุดิอาระเบียไม่ได้จำกัดแค่ในอ่าวเบงกอลเท่านั้น  แต่ทว่าบริษัทน้ำมัน Aramco ซึ่งเป็น บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของซาอุดีอารเบีย ( Al Saud ) ได้ยึดตลาดพลังงานของประเทศพม่าอีกด้วย

นอกจากนี้โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ได้เชิญชวนและส่งเสริมให้พันธมิตรของตนในภูมิภาคคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้ามาลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรใต้ดินของประเทศพม่า และอีกด้านหนึ่งก็ได้กว้านซื้อที่ดินของชาวโรฮิงญา  ขณะที่ บริษัท อัล – มาร์วาน  อาบูดาบี ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลพม่าในการสร้างทางหลวงและโรงแรมในอาระกัน จากการกว้านซื้อที่ดินเหล่านี้

Anh Gilman สมาชิกกรมการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เชื่อว่า  “ราชวงศ์ซาอูด ต้องการนำชาวโรฮิงยาไปยังประเทศของตนเอง (ผนวกโรฮิงยากับซาอุดิอาระเบีย) และสร้างเป็นพื้นที่มั่นคงทางอาหารของซาอุฯและเพื่อแก้วิกฤติเศรษฐกิจของตนด้วยการยึดและปกครองเหนือดินแดนแห่งนี้”

ดังนั้นหากมีการพิจารณาประเด็นเรื่องพม่าจากมุมมองนี้  การวิเคราะห์ปริศนาและการวิเคราะห์วิกฤตินี้ก็จะทำให้มันมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

http://akharinkhabar.ir/analysis/3719573

https://www.tasnimnews.com/fa/news/1396/06/15/1511374/%D8%A7%D8%AB%D8%B1-%D8%A7%D9%86%DA%AF%D8%B4%D8%AA-%D8%B9%D8%B1%D8%A8%D8%B3%D8%AA%D8%A7%D9%86-%D8%AF%D8%B1-%D8%AD%D9%88%D8%A7%D8%AF%D8%AB-%D9%85%DB%8C%D8%A7%D9%86%D9%85%D8%A7%D8%B1