สหรัฐอเมริกาได้ออกมายืนยันอีกครั้งหนึ่ง จากการปรากฏตัวในอัฟกานิสถานนั้น เป็นไปด้วยความต้องการเพิ่มกองกำลังของตนอีกครั้ง
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมว่า อาจจะส่งกองทัพสหรัฐฯเข้าไปเพิ่มในอัฟกานิสถาน และสร้างฐานปฏิบัติภารกิจของสหรัฐฯในอัฟกานิสถานอย่างถาวร ทั้งนี้ในแง่ของยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้
ในปี 2010 ตามข้อตกลงระหว่างนาโต้และอัฟกานิสถานในการประชุมสุดยอด NATO ในลิสบอน ได้ระบุให้กองกำลังต่างชาติออกจากอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ปี 2011-2014 และจากนั้นค่อยๆมอบหน้าที่ให้กับกองกำลังรักษาความปลอดภัยในประเทศ ในการรักษาความปลอดภัยในอัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ไม่มีขั้นตอนดำเนินการทางภาคปฏิบัติเพื่อถอดถอนกองกำลังสหรัฐฯออกจากอัฟกานิสถานแล้ว ทว่ายังมีเจตนาที่จะเพิ่มกองกำลังรบเหล่านี้มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาตามยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ การกระทำดังกล่าว จึงถือเป็นการยืดเวลาเพื่อตรึงกองกำลังในอัฟกานิสถานให้ยาวนานไปอีก ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะถูกนับว่า เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน
ในยุทธศาสตร์ใหม่ของทรัมป์ ชี้ว่า สหรัฐฯ จะเพิ่มความเข้มข้นในการต่อสู้กับอัลกออิดะห์และผู้ก่อการร้ายของไอซิสมากขึ้น และจะสกัดกั้นกลุ่มคลั่งไคล้ในอัฟกานิสถาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไอซิสเป็นโปรเจ็กอเมริกันที่สหรัฐฯกำลังดำเนินการใช้ประโยชน์เหนือประเทศจีน รัสเซีย เอเชียกลางและคอเคซัส
ในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ปากีสถานได้รับการแนะนำว่าเป็นสปอนเซอร์หลักของกลุ่มตอลิบาน และเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการรักษาความปลอดภัยอัฟกานิสถาน ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯนี้นอกจากสร้างความพึงพอใจแก่ชาวอัฟกานิสถานแล้ว ยังถือว่าเป็นประเด็นที่มีประสิทธิผลต่อการก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ระหว่างอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ในทางกลับกัน ทรัมป์ยังได้ให้สัญญากับอินเดียว่าจะให้สัมปทาน นอกจากนี้สหรัฐฯยังพยายามกระตุ้นให้ประเทศอินเดียเพิ่มการลงทุนในอัฟกานิสถานมากขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวของทรัมป์เช่นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน ดังนั้น ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ ก็คือ การสร้างความขัดแย้งระหว่างปากีสถานและอัฟกานิสถาน รวมทั้งอินเดียและปากีสถาน ซึ่งดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้นทุกวัน
เมื่อช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอัฟกานิสถานกับกลุ่มคนในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในวันนี้ ผู้คัดค้านในตุรกีกำลังเพ่งเล็ง เพื่อจัดตั้งพันธมิตรใหม่ ในการช่วยเหลือประเทศอัฟกานิสถาน ตอลิบานถือว่านี้คือโอกาสของพวกเขาในการบ่อนทำลายรัฐบาลกลางจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
แน่นอนว่าประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าการที่กองกำลังต่างชาติประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานย่อมเป็นภัยคุกคามระดับภูมิภาค ดังนั้นการสนับสนุนของรัฐบาลอัฟกานิสถาน ต่อการปรากฏตัวของทหารสหรัฐฯอาจส่งผลกระทบในแง่ลบต่อความสัมพันธ์ของกรุงคาบูลกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค
โดยรวมแล้ว ความต่อเนื่องของการมีอยู่ทางทหารของสหรัฐฯในอัฟกานิสถานนั้น ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการดำเนินการในระดับภูมิภาค และกลยุทธ์ของทรัมป์จะอยู่ในทิศทางซึ่งไม่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างสันติภาพ ทว่าเป็นการสร้างขัดแย้ง การแข่งขันและสงคราม ในอัฟกานิสถาน และแม้แต่ในภูมิภาค
วันนี้ประชาคมระหว่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้านต้องมีความละเอียดอ่อน และระมัดระวังเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงของสหรัฐฯซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหม่ และเพื่อป้องกันและสกัดกั้นไม่ให้เกิดความพยายามอย่างจริงจังและประสานงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เอารัดเอาเปรียบของทำเนียบขาว
บทความโดย
Mohsen Pakayin
ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอดีตเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำกรุงเทพมหานคร
Source: jamejamonline