วอชิงตันได้วางแผนระยะสั้นและระยะกลางในประเทศอิรักเพื่อรักษาสถานะความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้ง –อิรบีลและกรุงแบกแดด- ไว้
ด้วยเหตุนี้ ในเรื่องของการทำประชามติแยกเอกราชของเคอร์ดิสถานนั้น อเมริกาได้เสแสร้งว่าสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวของอิรัก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับรัฐบาลกลางอิรัก แต่ทว่าเป็นการสนับสนุนในลักษณะที่มีเงื่อนงำ เพื่อให้ชาวเคิร์ดไม่สิ้นหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาสำหรับความท้าทายในอนาคต
หลังจากวิกฤติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเคอร์ดิสถานอิรักตัดสินใจที่จะทำประชามติแยกเอกราชขึ้นในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นเมื่อมองถึงปัญหาต่างๆที่ชาวเคิร์ดได้รับ เนื่องมาจากการไม่เห็นด้วยของประเทศเพื่อนบ้าน แน่นอนว่าชาวเคิร์ดจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆในระดับนานาชาติแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เป็นมหาอำนาจเพื่อไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ให้ได้
กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมานั้น หลังจากที่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่งได้จบลง และมีการจำกัดเขตพื้นที่ห้ามบินเหนือน่านฟ้าในภาคเหนือของอิรักเพื่อช่วยเหลือเคอร์ดิสถานในการสร้างเขตรัฐปกครองตนเองขึ้นมาในอิรักนั้น อเมริกาคือผู้ให้การสนับสนุนหลักของชาวเคิร์ดในระดับสากล ดังนั้นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเคิร์ด ด้วยการหนุนหลังของกรุงวอชิงตัน จึงมีการลงประชามติแยกเอกราชขึ้นมา ในขณะที่ส่วนใหญ่กลับไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ทำเนียบขาวได้แถลงการณ์ในเรื่องนี้ว่า “วอชิงตันหมดหวังกับการลงประชามติในครั้งนี้” และสิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้ ความสัมพันธ์ระหว่างเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานกับรัฐบาลกลางอิรักและประเทศเพื่อนบ้านนั้นต้องพบกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและความทุกข์ยากของประชาชนชาวเคิร์ดหนักขึ้นไปอีก” ขณะที่ “อเมริกานั้นได้สนับสนุนประเทศอิรักที่มีความเป็นประชาธิปไตยและเป็นรัฐบาลกลางอีกด้วย”
จนถึงขณะนี้ มีคำถามเกิดขึ้นมาว่าทำไมอเมริกาซึ่งมีความใกล้ชิดกับเคิร์ดและร่วมมือกับเคอร์ดิสถานมาโดยตลอด จึงไม่ออกมาสนับสนุนการทำประชามติแยกเอกราชของชาวเคิร์ด
สำหรับการวิเคราะห์ท่าทีของอเมริกาในประเด็นนี้ อันดับแรกต้องมาดูก่อนว่า ยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริกาเกี่ยวกับประเทศอิรักและเคิร์ดนั้นอยู่ในรูปแบบใด อเมริกาและพันธมิตรได้เข้ายึดครองประเทศอิรักตั้งแต่ปี 2003 โดยวอชิงตันเข้ามาดูแลอิรักเพื่อป้องกันมิให้อิหร่านเข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในอิรัก อีกทั้งยังได้สร้างรัฐบาลที่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกับชาติตะวันตกขึ้นมา
จากสถานการณ์ที่ผ่านมานั้น ชาวเคิร์ดคือเครื่องมือหลักของอเมริกาในการสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม วอชิงตันก็มีแผนการในระยะสั้นและกลางในอิรักเพื่อรักษาสถานภาพความสัมพันธ์ของตนกับอิรักและเคอร์ดิสถานเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ในเรื่องการทำประชามติแยกเอกราชของเคอร์ดิสถานนั้น อเมริกาได้เลือกที่จะเสแสร้งสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวของอิรักเพื่อให้รัฐบาลกลางอิรักพอใจในเรื่องนี้
แต่ทว่าการประกาศสนับสนุนของอเมริกานี้ได้เปิดช่องว่างไว้ด้วยเช่นกันเพื่อในอนาคตนั้นชาวเคิร์ดสามารถเข้ามาขอการสนับสนุนจากอเมริกาได้เช่นกัน ดังนั้น คำแถลงการณ์ของวอชิงตันได้เน้นย้ำถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า “การจัดทำประชามติที่ยังไม่มีความจำเป็นอันนี้มิได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเอเมริกากับเคอร์ดิสถานเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด” และกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาไม่เห็นด้วยกับทุกความรุนแรงและทุกปฏิบัติการของทุกกลุ่มที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงแนวเขตแดนขึ้นมา ในอีกด้านหนึ่งนั้น ทำเนียบขาวก็สนับสนุนให้มีการทำประชามติแยกเอกราชของชาวเคิร์ดในทางอ้อม โดยผ่านอิสราเอลเช่นกัน
แต่ทว่าการเมืองและแบบแผนระยะยาวและยุทธศาสตร์ของอเมริกาเกี่ยวกับอนาคตของอิรักนั้น แน่นอนว่าอเมริกาต้องการที่จะแยกประเทศอิรักและจัดตั้งรัฐเคอร์ดิสถานขึ้นมา ซึ่งหากสิ่งนี้สำเร็จ ผลประโยชน์ต่างๆที่อเมริกาจะได้รับนั้นมีอย่างมหาศาลเลยทีเดียว อาทิ เช่น
1.การสร้างฐานทัพของตนขึ้นมาในภูมิภาคนี้:
อเมริกาต้องการสร้างฐานทัพของตนเองเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อเข้าควบคุมแถบนี้โดยเฉพาะพื้นที่ที่ติดกับพรมแดนอิหร่าน และขณะนี้อเมริกาก็มีฐานทัพใกล้เมืองอิรบีลอยู่แล้ว และถ้าหากเคิร์ดเป็นเอกราชนั้นก็จะสามารถดูแลฐานทัพของตนอย่างอิสระได้ ซึ่งจากจุดนี้เอง วอชิงตันสามารถลดความสัมพันธ์กับฐานทัพของตุรกีลงไปได้มาก และอเมริกาก็จะมีอำนาจในการกดดันตุรกีได้มากยิ่งขึ้น
2. ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ:
เคอร์ดิสถานมีน้ำมันและแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล เป้าหมายหลักของอเมริกาในการเข้าแทรกแซงตะวันออกกลางคือ ต้องการที่จะควบคุมตลาดพลังงานของโลกซึ่งหากสำเร็จก็จะทำให้อเมริกามีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3. เคอร์ดิสถานจะเป็นตลาดใหญ่ให้บริษัทข้ามชาติของอเมริกาเข้ามาลงทุน:
เคอร์ดิสถาน ซึ่งมีรายได้หลักอย่างมหาศาลจากน้ำมัน ก็จะกลายเป็นตลาดทางการค้าและการลงทุนขนาดใหญ่ อีกทั้งบริษัทข้ามชาติอเมริกาจะเข้ามาลงทุนได้อย่างง่ายดายที่สุด
4.สร้างวิกฤติให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลาง:
การคัดค้านของรัฐบาลกลางและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิรักในการแยกเอกราชของเคอร์ดิสถานและการมีอยู่ของกลุ่มชนส่วนน้อยในแถบตะวันออกกลางโดยเฉพาะการกระจายของชาวเคิร์ดในประเทศต่างๆเช่น อิหร่าน ตุรกี และซีเรียนั้น แน่นอนว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะก่อให้เกิดคลื่นวิกฤติการณ์ต่างๆในตะวันออกกลางขึ้นมาได้ และอเมริกาจะใช้ประโยชน์จากจุดนี้ในการเข้าแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างต่อเนื่อง
Sources: http://iuvmpress.com/fa/20191
http://alwaght.com/fa/News/111398/رفراندوم-کردستان-عراق-و-پشت-پرده-اعلام-مخالفت-آمریکا