“ทรัมป์” ส่งกองกำลังคุมอัฟกานิสถาน แม้ภายหลังประกาศให้ “วิกฤติการณ์เสพฝิ่น” เป็นภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ!

529
สิบโท Mark Hickok ทหารช่างวัย 23 ปีจากโอลเมิร์ด รัฐโอไฮโอ ขณะลาดตระเวนทุ่งฝิ่นในจังหวัด Helmand อัฟกานิสถาน (ภาพหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ)

เดือนสิงหาคม 2017 – หลังจากการมาถึงของหัวหน้ายุทธศาสตร์ Steve Bannon – หนึ่งจากคนใน “วงใน” ไม่กี่คนของของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ณ ตึกตรงข้ามกับ “อาคารจักรวรรดิ์” อเมริกัน – หลายคนคาดการณ์ว่า มันเป็นเรื่องของเวลาเท่านั้น ก่อนที่รัฐบาลทรัมป์จะตัดสินใจเลือกหนทางที่รุนแรงมากขึ้น สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ในเวลาน้อยกว่าสองวันต่อมา เลขานุการของกระทรวงกลาโหม James Mattis ภายหลังจากกระบวนการตรวจสอบ ที่มีความ “เข้มงวดพอสมควร”  ประกาศว่า ทรัมป์ได้ทำการตัดสินใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในประเด็นเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ” สำหรับประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งเงื่อนไขของมันดูเหมือนจะถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายอย่างมีนัยยะสำคัญ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นสำหรับสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากนโยบายการยึดครองอัฟกานิสถานของสหรัฐฯ ณ ปัจจุบันนี้ กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 17 แล้ว

ในรายการออกอากาศทางโทรทัศน์เมื่อค่ำวันจันทร์ ทรัมป์ได้แสดงความเป็นเจ้าของเหนือ สงครามที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเรียกมันว่า “ของเน่าเสียที่สมบูรณ์แบบ”  ต่อคนทั้งประเทศ ในคำพูดของเขา ทรัมป์ได้ให้สัญญาอย่างคลุมเครือเกี่ยวกับ “ชัยชนะ” เหนือลัทธิการก่อการร้าย และกล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับ “การถอนตัวอย่างรวดเร็ว” ของกองกำลังสหรัฐฯออกจากอัฟกานิสถาน – แนวคิดเดียวกัน ที่ครั้งหนึ่ง เขาเคยให้การสนับสนุน – แม้ว่าจะไม่มีการระบุระดับหน่วยทหารที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ สำนักข่าว Reuters ได้เขียนอ้างถึง เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯที่ไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งเขาได้ให้การระบุว่า ทรัมป์ ได้อนุมัติส่งทหารจำนวน 4,000 นายไปยังอัฟกานิสถาน

รายงานต่างๆก่อนหน้านี้ระบุว่า ตัวเลขอยู่ที่ 3,000 ถึง 50,000 นาย นั่นหมายความว่า กำลังทหารอาจมีมากขึ้นในระหว่างนี้ รายงานล่าสุดได้ชี้ให้เห็นว่า ทรัมป์ได้รับการผลักดันให้เข้าไปพัวพันกับอัฟกานิสถานอย่างลึกล้ำมากขึ้น โดยนักการเงินมหาเศรษฐี และผู้บริหารด้านเคมี ในความต้องการสกัดแร่สำรองที่สำคัญเป็นอย่างมากของอัฟกานิสถาน

อย่างไรก็ตาม ความย้อนแย้งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ กรณีที่ทรัมป์ตัดสินใจ ยูเทิร์นให้สหรัฐฯย้อนกลับไปมีส่วนร่วมทางทหารในอัฟกานิสถาน หรือ ความสนใจที่เป็นไปได้ของเขา เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ของประเทศอื่น ๆเท่านั้น อันที่จริง เรื่องที่น่าหนักใจมากกว่า อาจเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ทรัมป์ได้ประกาศส่งออก กองกำลังสหรัฐฯ เพื่อเข้าไปคุ้มครองแหล่งผลิตฝิ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน หลังจากที่ตนได้ประกาศให้วิกฤติการณ์เสพฝิ่นภายในประเทศ (domestic opioid crisis) เป็น “ภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ”

แน่นอนว่า วิกฤตการใช้ฝิ่นในสหรัฐฯ ไม่ได้เป็น “นักฆ่า” กระจอก เนื่องจากการเสพยาจากสารสกัดฝิ่น ณ ปัจจุบันนี้ มีสถิติคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า ที่มาจากคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน และอุบัติเหตุรถชนรวมกันเสียอีก ในปี 2015 พลเมืองสหรัฐฯเสียชีวิต 142 รายทุกวัน จากการใช้ยาเกินขนาด และจำนวนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปีต่อมานับแต่ปีนั้น สามารถมองเห็นได้ว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ซับซ้อน แต่กระนั้น ก็ไม่มีการปิดบังประการใดว่า การใช้ยาเสพติสกัดฝิ่นอย่างผิดกฎหมายในสหรัฐฯ เริ่มก่อตัวขึ้น นับจากช่วงที่สหรัฐฯรุกรานและยึดครองอัฟกานิสถานในปี 2011

เมื่อไม่กี่เดือนก่อนการบุกรุกของสหรัฐฯ กลุ่มตอลิบานแห่งอัฟกานิสถานได้มีข่าวขึ้นพาดหัว สำหรับผลงาน “ยุติการค้าฝิ่นรายใหญ่ของประเทศ” หลังจากที่ผู้นำของตน ได้ทำให้การปลูกฝิ่นในประเทศไม่มีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ทั้งนี้ก่อนที่จะมีการสั่งห้ามการผลิตฝิ่นอย่างจริงจัง อัฟกานิสถานได้มีการผลิตฝิ่นอยู่ประมาณร้อยละ 75 ของเฮโรอีนทั่วโลก

หลังจากการรุกรานของสหรัฐฯ การผลิตฝิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตัวเลขจากจำนวน 185 ตัน ในปี 2000 เพิ่มเป็น 3,400 ตันในปี 2002 ขณะที่เกือบ 17 ปีต่อมา จำนวนการผลิตฝิ่นประจำปีของประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของเฮโรอีนทั่วโลก ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯอ้างว่า ได้ทุ่มเม็ดเงินกว่า 8.4 พันล้านเหรียญให้กับโปรแกรมต่อต้านยาเสพติดในอัฟกานิสถาน การเพิ่มขึ้นของงบประมาณตรงนี้อยู่ภายใต้การดูแล โดยกองกำลังสหรัฐฯ โดยตรง ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์ไร่ปลูกฝิ่นในชนบทของอัฟกานิสถานอย่างเปิดเผย

ความเป็นผู้นำทางทหารของสหรัฐฯในการกำกับดูแลการยึดครองอัฟกานิสถาน ได้รับการยืนยันมานานแล้วว่า พวกเขาทำหน้าที่ตรงนี้ ในความจำเป็นต้อง “อดทน” หรือ “ประนีประนอม” กับพื้นที่ปลูกฝิ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในท้องถิ่นลุกขึ้นต่อต้านสหรัฐฯ ในการให้สัมภาษณ์ในปี  2010 พันโท Brian Christmas เจ้าทำหน้าที่กำกับดูแลกลุ่มนาวิกโยธินในจังหวัด Helmand บอกกับสำนักข่าว Fox News ว่า การปลูกฝิ่น เป็น “ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม” และมันจำเป็นต้องถูกยอมรับ เขายังกล่าวต่ออีกว่า นาวิกโยธินในอัฟกานิสถานได้มอบ “ความปลอดภัย” และ “ทรัพยากร” ต่างๆแก่บรรดาผู้ปลูกฝิ่นในอัฟกานิสถาน (คลิป| A U.S. Marine tells FOX News U.S. soldiers provide “security” and “resources” to Afghan opium farmers)

ข้ออ้างเรื่อง “วัฒนธรรม” นี้กำลังซ่อนเร้นสิ่งอื่นอย่างชัดเจน มันยากที่จะอธิบาย หากทั้งหมดเป็นประเด็นเรื่อง “วัฒนธรรม” จริงๆ แล้วทำไมรัฐบาลสหรัฐฯจึงไม่มีปัญหา กรณีการฉีดพ่นสารวัชพืช ที่มีส่วนประกอบของสารก่อมะเร็ง glyphosate ในพื้นที่เพาะปลูกของโคลัมเบีย ในความพยายามที่จะยุติการปลูกพืชโคคา ทั้งๆที่ความเป็นจริง พืชโคคา ก็มีความสำคัญเชิงวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมแอนเดียนเช่นเดียวกัน

นอกเหนือจากการที่กองกำลังสหรัฐฯ กำลังทำหน้าที่พิทักษ์เขตปลูกฝิ่นในอัฟกานิสถาน ภายใต้ข้ออ้างเรื่องความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯยังได้สร้างโรงงานผลิตฝิ่นในอัฟกานิสถานอย่างเป็นที่สังเกตได้ และกรณีเกี่ยวข้องที่มีสัมพันธ์คลุมเครืออื่นๆ ตัวอย่างเช่น กรณีของ พี่ชายของนาย Hamid Karzai ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน  นาย Ahmed Wali Karzai อยู่ในบัญชีเงินเดือนของ CIA มานานกว่าแปดปี แม้ภายหลังจากที่เขาถูกแฉโดย The New York Times สำหรับการอนุมัติ (ด้วยตนเอง) ให้มีการปล่อยเฮโรอีนจำนวนหลายตัน ที่ถูกยึดกุมโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงอัฟกานิสถาน

นานแล้วที่ CIA มีส่วนร่วมในวงการค้ายาเสพติดระดับโลก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 CIA ร่วมมือกับตัวแทนผู้ค้าฝิ่นในลาวและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเมืองต่อต้าน “ลัทธิคอมมิวนิสต์”

นอกจากนี้ ยังมีรายงานพฤติกรรมที่เสื่อมเสียยิ่งกว่า นั่นคือบทบาทของ CIA ในการนำเข้าโคเคนจาก Nicaraguan Contras (ขบวนการติดอาวุธฝ่ายขวา  CONTRAS ที่สหรัฐอยู่เบื้องหลัง) ไปยังลอสแอนเจลิส เพื่อช่วยในการระดมทุนเพื่อก่อสงครามกลางเมืองภายในอเมริกากลาง และกำหนดจุดเริ่มต้นของ “สงครามยาเสพติด” ที่บ่อนทำลายบ้านเมือง ดังนั้นการยึดครองอัฟกานิสถานจึงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากข่าวลือที่มีมานาน ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า CIA เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยส่งออกฝิ่นของอัฟกันไปยังที่อื่นๆ

สิบโท James K. Peters ยืนอยู่ในทุ่งปลูกฝื่น ขณะเดินลาดตระเวนที่ Sangin, อัฟกานิสถาน วันที่ 19 พฤษภาคม 2011 (ภาพหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ)

(ข้ออ้างเรื่อง) “ความอดทน” ของสหรัฐฯในการค้าฝิ่นในอัฟกานิสถานไม่ได้ดำเนินมา โดยปราศจากผลกระทบต่อภายในประเทศสหรัฐฯที่ร้ายแรงยิ่ง ในระหว่างปี 2005 ถึง ปี 2015 การใช้เฮโรอีนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในหมู่ผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ในสหรัฐอเมริกา ประเด็นดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการผลิตฝิ่นของอัฟกานิสถานอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยความที่กองทัพสหรัฐฯกำลังยึดครองอัฟกานิสถานอย่างแข็งขัน และทำเป็น “ตาบอด” ต่อการเพาะปลูกและการส่งออกพืชผลฝิ่น อีกทั้งด้วยกับการผูกขาดทางอุตสาหกรรม ในการสงวนสิทธิผู้จัดหาสินค้าและบริการในตลาดโลก ฉะนี้ ความเชื่อมโยงระหว่างบทบาทของสหรัฐฯ “ณ ที่นั่น” และผลกระทบของมัน “ยังที่บ้านตนเอง” จึงเป็นสิ่งที่ยากจะมองข้าม ไม่มีทางที่จะแยกความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตฝิ่นของอัฟกานิสถาน ออกจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเสพติดฝิ่นในสหรัฐอเมริกา

การตัดสินใจของทรัมป์ เพื่อส่งกองกำลังสหรัฐฯไปยังอัฟกานิสถาน และลดความเป็นไปได้ในการ “ถอนตัวออกจากประเทศอย่างรวดเร็ว” ไม่ได้บอกเราเพียงแค่ ทรัมป์กำลังดำเนินสงครามที่ยาวนานและสิ้นเปลืองที่สุดเท่านั้น – ทว่าเขากำลังใช้เงินผู้เสียภาษีอากร และชีวิตของชาวอเมริกัน เพื่อเฝ้าระวัง “สาร” ที่มีส่วนผิดชอบในการระบาดของยาเสพติดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯอีกด้วย!

Source: mintpressnews
เขียนโดย Whitney Webb