หนึ่ง ในนักวิชาการชั้นอาวุโส ของสหประชาชาติ ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง การเมืองของอิสราเอล ว่า ยุทธศาสตร์ในการยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์ของอิสราเอล ในเขต เวสแบงค์ และฉนวนกกาซ่า อยู่ในพื้นฐานเดียวกัน กับ Apartheid
Richard A. Falk นักรายงาน และนักวิชาการพิเศษ ระดับอาวุโส ของสหประชาชาติ ได้ยื่นแฟ้มรายงานพิเศษเป็นเอกสาร จำนวน ๒๒ หน้า แก่ สภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมพาพันธ์ ในหัวข้อ สิทธิมนุษยชนในดินแดนปาเลสไตน์
รายงาน ได้บันทึกว่า “ เมื่อทำการพิจารณาถึงการล่าอาณานิคม และการเข้ายึดครองดินแดน ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ ทำให้เห็นว่า แนวทางการเมืองเหล่านี้ มีรูปแบบเหมือนกับการเหยียดผิว รวมทั้งการเนรเทศเผ่าพันธ์มนุษย์ ในรูปแบบการขยายผังเมือง การสร้างกำแพง และอาคารต่างๆ ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของการ ยึดครอง แผ่นดินปาเลสไตน์ และอิสราเอลยังแสดงออกชัดเจนถึงการปฏิเสธ สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองของชาวปาเลสไตน์ นั้น ”
Richard A. Falk ได้บันทึกในรายงานอีกว่า เกี่ยวกับเขตแดน ทางทิศตะวันออกของบัยตุลมุกอดดิส ว่า “ การอยู่อาศัย ของชาวปาเลสไตน์ ถูกยกเลิก และมีการบังคับให้ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ ย้ายออก จาก เขตแดนนี้” และกระบวนการทำลายที่พักอาศัยของชาวปาเลสไตน์ “ ก็คือ กระบวนการหนึ่งที่ค่อยๆ พัฒนาไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในที่สุด”
รัฐ ไซอออนิสต์อิสราเอล ปฏิเสธการหยุดขยายเมือง ด้วยการเพิกเฉย ต่อ กฎหมายของสหประชาชาติ แต่กลับยังขยายขอบเขต การยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเทลอาวีฟ จะถูกประนาม จากสหประชาชาติ ตลอดมา
นอกจาก นี้ ชาวยิว กว่า ๕ แสนคน ได้เริ่มเข้าอยู่อาศัย ในเมืองต่างๆที่ยึดมาอย่างผิดกฎหมาย กว่า ๑๒๐ เมือง นับตั้งแต่ การเข้ายึด เวสแบงค์ และฉนวนกาซ่า ในปี ๑๙๖๗ (สงคราม ๖ วัน ยิว อาหรับ )
ทั้งนี้ ฟอลก์ ยังได้ ประนามอิสราเอล ว่า “เป็นผู้กดขี่ และเป็นผู้สังหารชาวปาเลสไตน์ อย่าง ผิดกฎหมาย และกล่าวอีกว่า สหประชาชาติ จะต้องใคร่ครวญ ถึง การคว่ำบาตรอิสราเอลให้มากยิ่งขึ้น”
เขา ยังได้วิจารณ์ ในกรณีที่อิสราเอล ได้โจมตี พื้นที่ทางการเกษตรของชาวปาเลสไตน์ ในฉนวนกาซ่า ว่า “สถานะการเป็นอยู่ของประชาชนในกาซ่า นั้นเต็มไปด้วยอันตราย”
และ เสริมว่า “อิสราเอลได้ทำการละเมิด ต่อสิทธิมนุษยชนของชาวปาเลสไตน์ ทั้งในการเลี้ยงชีพหารายได้ การศึกษา และ สิทธิในการชุมนุม มาโดยตลอด”
กา ซ่า ถูกปิดล้อม ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี ๒๐๐๗ ซึ่งจากการปิดล้อมนี้ ทำให้เกิด สภาวะเสื่อมโทรมในการดำรงชีวิต และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในเขตแดนแห่งนี้