สหรัฐฯดำเนินยุทธศาสตร์ขยายฐานทัพ: ส่งออกทหารกว่าสองแสนนาย ประจำการ 177 ประเทศทั่วโลก!

1441

ขณะนี้ สหรัฐอเมริกากำลังขยายฐานทัพไปรอบโลก โดยได้ใช้กำลังพลทหารประมาณ 200,000 นาย ประจำการอยู่ในกว่า 177 ประเทศทั่วโลก และได้มีการจัดตั้งฐานทัพกว่าหลายร้อยฐานในต่างประเทศเหล่านั้น ตัวเลขนี้อาจสูงมากกว่า 1,000 สถานที่ หากคำนวณรวมคลังสินและค่ายทหาร

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐฯอาจต้องขยายฐานทัพของตนให้มากขึ้นกว่าเดิมในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากการปรากฏและการมีส่วนร่วมของตนในความขัดแย้งด้านกำลังอาวุธกำลังพุ่งสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม กระทรวงกลาโหมได้วางแผน ที่จะดำเนินการโจมตีทางอากาศไปยังรัฐอิสลาม (IS) ในฟิลิปปินส์

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะขับไล่กองกำลังก่อการร้าย IS ผู้ที่ได้ยึดครองเมือง มาราวี ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ในเดือนพฤษภาคม ส่งผลทำให้ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte แห่งฟิลิปปินส์ ประกาศบังคับใช้กฎอัยการศึกในเขตมินดาเนาทางตอนใต้ทั้งหมด และขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ขณะที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษเฉพาะกิจกองเรือ (Joint Special Operations Task Force) ได้เข้าร่วมการรบ
เพียงสามวันก่อนหน้า (เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม) กระทรวงกลาโหมได้รายงานว่า มีกองกำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (SOF) ได้ยกทัพเคลื่อนไปยังเยเมน เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการที่กำลังดำเนินอยู่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะในคาบสมุทรอาหรับ (AQAP) มีการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก Bataan พร้อมกับเหล่าทหารเรือที่ประจำการพลรบฝ่ายบกหลายร้อยนายกำลังปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาค ทั้งนี้การปิดฉากการสู้รบใน AQAP ในปัจจุบันยังไม่ถูกชี้ขาด

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม สหรัฐฯได้รายงานว่า จะส่งทหารนาวิกโยธินหลายสิบคนไปยังจังหวัด Helmand ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน กองทัพ Gen. John Nicholson ในฐานะผู้บัญชาการของสหรัฐฯในประเทศนั้น ได้ดำเนินการล็อบบี้ให้มีนายทหารรักษาการกว่า 3,000 ถึง 5,000 เพิ่มเติม นอกเหนือจากสมาชิกพลทหารของสหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ในพื้นที่แล้วกว่า 8,400 นาย

ในเดือนมิถุนายนสหรัฐอเมริกาเพิ่มขนาดของกองกำลังที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติงานพิเศษ ที่ฝังตัวอยู่กับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย ในขณะที่กลุ่มดังกล่าวได้เตรียมการบุกรุกเมืองรัคคา ประเทศซีเรีย เชื่อว่ามีสมาชิกพลทหารสหรัฐฯประมาณ 1,000 นายกำลังปฏิบัติการอยู่ ณ ที่แห่งนั้น

SOF มีบทบาทพิเศษในการปฏิบัติใช้นโยบาย “ที่นี่ ที่นั่น และทุกแห่ง” ในปี 2016 ทีม US SOF ได้ดำเนินภารกิจใน 138 ประเทศ – หรือประมาณร้อยละ 70 ของประเทศทั่วโลก

คำสั่งปฏิบัติการพิเศษได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจหลัก 12 ภารกิจ เมื่อปีที่แล้ว US SOF  ได้ยกทัพไปยังประเทศในเขตแอฟริกาใต้กว่า 32 ประเทศ  ซึ่งคิดเป็นบริเวณกว่า 60% ในทวีปดังกล่าว

หน่วยรบพิเศษ Navy SEALs หน่วยรบพิเศษ Green Berets และผู้ปฏิบัติการพิเศษอื่น ๆ ขณะนี้กำลังดำเนินการภารกิจเกือบ 100 ภารกิจใน 20 ประเทศของทวีปแอฟริกา พวกเขาได้รับคำสั่งให้ยกทัพไปยังลิเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอนาคตที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะภายหลังจากการมีส่วนร่วมของนาโตนำโดยสหรัฐฯเมื่อปี 2011

รอยเท้าของสงครามนำโดยสหรัฐฯเติบโตขึ้นในตะวันออกกลาง โดยไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดลง ในคำพูดของโดนัลด์ ทรัมป์ ณ ที่ประชุม Conservative Political Action Conference (CPAC)  เขาได้กล่าวว่า การปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯในตะวันออกกลางกว่า 15 ปีที่ผ่านมา เป็นเพียงการผลาญเงินอย่างเปล่าประโยชน์จำนวนมาก โดยไร้ขอบเขตที่จะเข้าใจได้ มันเป็นเงินจำนวนกว่า 6 พันล้านล้านดอลลาร์ และความจริงแล้ว สงครามและการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในภูมิภาคกลับอยู่ในรูปแบบที่เลวร้ายยิ่งกว่า ก่อนที่ปฏิบัติการทหารจะได้รับคำสั่งให้เข้าไปยังสถานที่ต่างๆเสียด้วยซ้ำ

คำพูดของทรัมป์ชี้ให้เห็นว่า นโยบายดังกล่าวนี้เป็นเรื่องผิดพลาด และตัวประธานาธิบดีก็เข้าใจสิ่งนี้เป็นอย่างดี แต่สหรัฐฯก็ยังคงดำเนินยุทธศาสตร์ซ้ำๆเดิมๆ แถมยังขยายให้มันใหญ่กว่าเดิม!

การปรากฏตัวในยุโรปกำลังเพิ่มขึ้น กองกำลังทหารสหรัฐฯกำลังยกทัพไปยังประเทศที่พวกเขาไม่เคยปรากฏตนมาก่อน เช่น ในนอร์เวย์ และเอสโตเนีย และการขยายตัวที่ว่า ไม่ใช่แค่การขยายฐานทัพทหาร แต่ยังเป็นในเชิงของโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่มีราคาแพงอีกด้วย

กองทัพต้องการให้มีการฝึกซ้อมรบที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมในยุโรป เพื่อเร่งการปรากฏของตน และขยายโครงสร้างพื้นฐานที่นั่น ในระหว่างการเดินทางครั้งล่าสุดในต่างประเทศของรองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์ กล่าวว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯจะใช้เครื่องบินไอพ่นเป็นสองเท่า จากที่ใช้ในระหว่างการฝึกซ้อมรบรัสเซีย Zapad-2017 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกันยายน

กองทัพสหรัฐกำลังเรียกร้องสถานะที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมของตนในภูมิภาคยุโรป นายพลจัตวาประจำกองทัพอากาศ John Healy ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการของสหรัฐฯในยุโรปกล่าวว่า เขาต้องการการซ้อมรบแบบหนึ่งที่จะมีส่วนสำคัญในการทดสอบความพร้อมของ NATO เพื่อปะลองกับรัสเซียบนเวทีโลก โดยเขากล่าวว่า “สิ่งที่เรากำลังดำเนินการไปสู่ ในท้ายที่สุด ก็คือโปรแกรมการซ้อมรบแบบรวมทั่วโลก เพื่อที่เราจะได้ทำงานอยู่บนบทเพลงเดียวกัน ในการซ้อมรบแบบรวมกันระดับโลก” ผู้นำทางทหารเชื่อว่าการซ้อมรบควรรวมถึงอาณาบริเวณทั้งหมดของสงคราม ทั้งทางอากาศ ทางอวกาศ และไซเบอร์ และควรจะนำคำสั่งรบทั้งเก้าของสหรัฐฯเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีทรัมป์ การโจมตีด้วยโดรนทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 432% จากเมื่อกลางเดือนมีนาคม ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากพลเรือน อันเป็นผลมาจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯในอิรักและซีเรียเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะที่สงครามกับอิหร่านก็ดูเหมือนจะใกล้เข้ามาเต็มที การโจมตีเกาหลีเหนือก็เป็นอีกแผนการหนึ่งที่เตรียมไว้ นอกจากนี้ ยังมีแผนจะใช้จ่ายเงินกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อหนุนเสริมการมีอยู่ของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในอีกห้าปีข้างหน้า โดยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร ดำเนินการฝึกซ้อมเพิ่มเติม และยกทัพบก และทัพเรือเข้าประจำการในภูมิภาคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ทำให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์บอกว่าเขาจะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงความขัดแย้งในต่างประเทศ แทนที่จะลงทุนไปกับสงคราม เขาจะใช้เงินเพื่อสร้างถนน สะพานและสนามบิน แต่มันก็มีช่องทางให้เขาบิดพลิ้วคำพูดอยู่ดี เพราะเขาสัญญาว่าจะอยู่ห่างจากความขัดแย้งอื่น ๆ ทั้งหมด ยกเว้นที่มาจากกองกำลัง IS

ทุกคนคิดว่าเขาหมายถึงการโจมตีทางอากาศในตะวันออกกลางเท่านั้น ทว่าตอนนี้ ดูเหมือนประธานาธิบดี หมายความถึงการโจมตีภูมิภาคอื่นๆเช่นกัน  เพราะ IS มีอยู่ทั้งในอัฟกานิสถานและแอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ พวกผู้ก่อการร้ายก็ได้ปฏิบัติการโจมตีในอิหร่าน

IS ได้แสดงความรับผิดชอบสำหรับเหตุโจมตีของผู้ก่อการร้ายในยุโรป ปฏิบัติการจิฮาดิสในรัสเซียและเอเชียกลาง การปรากฏตัวของพวกเขากำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พวกเขามีอยู่ในเกือบทุกหนแห่ง เพื่อเป็นข้ออ้างในการรุกรานของสหรัฐฯ หรือการเตรียมการสงครามในเกือบทั่วทุกมุมโลก

ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด แท้จริงสหรัฐอเมริกามีความข้องเกี่ยวกับ “จุดร้อน” หรือ พื้นที่ที่มีความขัดแย้งทั้งหมดบนแผนที่โลก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงมุ่งมั่นขยายการมีส่วนร่วมทางทหารและอื่นๆของตนในฟิลิปปินส์ โซมาเลีย อัฟกานิสถาน เยเมน และเพิ่มเติมกองกำลังทหารเรือ และกองทัพอากาศของตน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อกรกับจีน – ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามของ IS เช่นเดียวกันกับแผนการหนุนเสริมกองกำลังในทวีปยุโรป

นักวิชาการในไทย อย่างอาจารย์ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ‘อเมริกากำลังดำเนินยุทธศาสตร์ขยายฐานทัพไปทั่วโลก’ บนเพจเฟสบุ๊ก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อาจารย์ ปฐมพงษ์ ได้โพสต์ข้อความระบุ อเมริกาอาจมีแผนจะใช้กองทัพ เพื่อคุ้มครองสกุลเงินดอลลาร์ของตน “อเมริการู้แน่นอนว่าเงินสกุลเปโตรดอลล่าร์กำลังจะถูกเลิกใช้ในหลายๆ ประเทศ จึงต้องส่งกำลังทหารไปประจำประเทศต่างๆ มากขึ้นเพื่อเอาไว้ข่มขู่ประเทศที่ฐานทัพของตนอยู่ใกล้ๆ ประเทศไหนเลิกใช้ดอลล่าร์ อาจจะโชคดีถูกหวยมีสภาพเป็นดั่งอิรักหรือซีเรียไปก็ได้”

นอกจากนี้ ยังเตือนให้ประเทศไทย ระมัดระวัง โดยอ้างว่า เป็นไปได้ที่ขณะนี้สหรัฐฯเองก็กำลังพยายามขยายฐานทัพเข้ามาในไทย “โดยผ่านการขอขยายที่สถานทูตเพื่อเพิ่ม *สำนักงานกองทัพอากาศ* และ *สำนักงานปราบยาเสพติด*” อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเชียงใหม่ ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีอะไรน่ากังวล แต่ทว่ามัน “อาจลามปามไปเป็นกองทัพทหาร/ตำรวจขนาดย่อยขึ้นมาในอนาคตได้

ไม่ว่าค่าใช้จ่ายทางทหารจะสูงแค่ไหน ทหารสหรัฐฯก็จำเป็นต้องลงทุนกับสงครามอย่างยืดเยื้อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ไม่มีใครสามารถวาดวงกลมเพื่อจำกัดขอบเขตของสงครามนี้ IS ไม่ได้เป็นเพียง “ผู้ก่อการร้าย” แต่เป็น “อุดมการณ์” ที่ไม่อาจจัดการกับมันได้ ด้วยการส่งทหารในเครื่องแบบไปประจำการรอบโลก ไม่ว่าจะมองในมุมใด การต่อกรกับ IS ก็เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อแสวงหาความชอบธรรมในการรุกรานชาติอื่นของสหรัฐฯ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีหนี้สาธารณะอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าศัตรูของพวกเขาเป็น IS จริง หน่วยสืบราชการลับ และความพยายามทางทหารของสหรัฐฯก็ควรมุ่งเน้นไปยังภารกิจเพื่อโจมตีพวกเขาอย่างจริงจัง ไม่ใช่การออกคำสั่งให้ดำเนินยุทธศาสตร์ขยายฐานทัพไปทั่วโลกอย่างยิ่งใหญ่ในเวลาเดียวกัน
_______

Reprinted with permission from the Strategic Culture Foundation.

Source:ronpaulinstitute.org