IAEA ปฏิเสธคำร้องอิสราเอล กรณี ร้องเรียนอิหร่าน

449

เพรส ทีวี – IAEA ได้ปฏิเสธ ข้อหาของอิสราเอล ที่กล่าวหาอิหร่าน ว่า มีการเคลื่อนไหวทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ โดยIAEAระบุว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆที่บ่งชี้ ถึงการอำพราง โครงการเพิ่มสมรรถณะแร่ยูเรเนียมหรือพลังงานนิวเคลียร์ของเตหะรานแต่อย่าง ใด”

เมื่อ วันที่ ๒๘  กุมพาพันธ์ที่ผ่านมานี้ นาย กีล โทโดร โฆษกประจำ องค์กร IAEA ได้ออกแถลงการณ์ว่า “จนถึงขณะนี้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ ยังไม่มีข่าวกรองใหม่ที่ระบุถึง การบิดเบือนอำพราง โครงการเพิ่มสมรรถณะแร่ยูเรเนียมนิวเคลียของอิหร่านเพื่อใช้ในทางทหารแต่ อย่างใด”

การ ออกมาเปิดเผยครั้งนี้ สืบเนื่องจาก ข้อเรียกร้องของอิสราเอล ต่อ IAEA ที่พยาพยามนำเสนอข่าวกรองทุกรูปแบบในการพิสูจณ์ว่า โครงการเพิ่มสมรรถณะแร่ยูเรเนียม  คือ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยทางเทลอาวีฟ ได้เรียกร้องให้ทำการตรวจสอบมาตลอด หลังจากสำนักข่าวรอยเตอร์ได้นำเสนอข้อมูลบางประการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

โดย ทางรอยเตอร์ ได้อ้างในรายงานข่าวของตนเอง ว่า “เมื่อปีที่แล้ว ทางฝ่าย IAEA มีความกังวลใจต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้กระบวนการเจรจาในโครงการพลังงาน นิวเคลียร์ของอิหร่านอาจต้องล้มเหลว และมีความเป็นไปได้ที่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านจะชะลอความคืบหน้าลง โดยนาย กีล เห็นว่า โครงการพลังงานิวเคลียของอิหร่าน “คือสิทธิ และความชอบธรรมประการหนึ่ง” และ กล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาว่า  “ประเด็นที่ได้มาจากข้อมูลเหล่านี้ ไม่มีน้ำหนักพอที่จะหยิบมาพิจารณาในเชิงการเมือง แต่อย่างใด” นาย กีล โทโดร กล่าวในที่สุด

ทั้งนี้ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน  ได้ย้ำเตือนหลายต่อหลายครั้ง ว่า โครงการพลังงานนิวเคลียของประเทศตนนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์ใช้ในการทหาร  และยังไม่เคยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่ในโครงการนี้ มีการปิดบังอำพรางการทำงาน ให้บิดเบือนจากเป้าหมายของโครงการนี้แต่อย่างใด

ใน ขณะที่ เทลอาวีฟ ได้กล่าวหาแก่อิหร่าน ว่า โครงการเพิ่มสมรรถณะแร่ยูเรเนียมหรือนิวเคลีย คือ อาวุธมหันตภัยร้ายแรงอันหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมีประสิทธิภาพสามารถสร้างแรงระเบิดได้ ไกล ๒ ถึง ๔ ร้อยกิโลเฮกอะตอม

ปัจจุบัน กระบวนการเจรจา ระหว่างอิหร่าน และสมาชิก อีก ๕ ประเทศ อาทิ รัซเซีย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา และเยอรมัน จะยังคงมีต่อไปเพื่อจัดการบทบาทที่ไม่ชัดเจนของตะวันตก ในกรณีโครงการพลังงานนิวเคลียของอิหร่าน นอกจากนี้ ตัวแทนของเตหะราน และอีก ๖ ประเทศ ยังได้ร่วมลงนามในสนธิ สัญญาความร่วมมือ ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน เมื่อปีกลายที่ เจนีวา และได้เริ่มกระบวนการนี้อีกครั้งเมื่อ  ๒๐ มกราคม ๒๐๑๔ ต้นปีนี้ ซี่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้ความพยายามในการให้ความร่วมมือเพื่อหาข้อยุติ ในกรณีโครงการเพิ่มสมรรถณะแร่ยูเรเนียมหรือพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านใน ครั้งนี้