รายงาน: “เผด็จการ” โลกมากกว่า 70% ได้รับการสนับสนุนทางทหารโดยสหรัฐฯ

941
ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ขณะขึ้นเครื่อง Air Force One อิสราเอล จากซาอุอาระเบีย จุดมุ่งหมายในการเดินทางระหว่างประเทศถัดไปของเขา คือ สนามบินนานาชาติ King Khalid  - วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2560 กรุงริยาด (AP / Evan Vucci)

ประมาณสามในสี่ของรัฐเผด็จการของโลกในปัจจุบัน ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากประเทศสหรัฐอเมริกา นี่เป็นการบันทึกสถิติที่แปลกอย่างมาก สำหรับประเทศที่มักอ้างเหตุผลว่าด้วยการ “ส่งเสริมประชาธิปไตย”  และ “ขัดขวางเผด็จการชั่วร้าย” เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเมื่อต้องการเข้าแทรกแซงประเทศอื่น

ส่วนมากจากประวัติศาสตร์ชองรัฐบาลสหรัฐฯที่ผ่านมา พวกเขาได้อธิบาย หรือปกป้องการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ด้วยการให้เหตุผลว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อ “ส่งเสริมประชาธิปไตย” ในต่างประเทศ และเพื่อขัดขวางความก้าวหน้าของ “เผด็จการชั่วร้าย”

ในขณะที่วาทะกรรมนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อรุกรานประเทศอื่น จนแทบไม่มีทีท่าลดลงเลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการส่งออกฐานทัพไปประจำการทั่วโลก ก็ได้บีบบังคับให้สหรัฐฯต้องยอมรับในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่า ความพยายามในการส่งเสริมประชาธิปไตยของตน ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

ตัวอย่างเช่น เมื่อปีที่แล้ว Foreign Policy ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Why is America So Bad at Promoting Democracy in Other Countries?” (ทำไมอเมริกาจึงยอดแย่ ในเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ) ในบทความดังกล่าว ศาสตราจารย์ Stephen M. Walt ระบุว่า ความพยายามในการส่งเสริมประชาธิปไตยในต่างแดนของสหรัฐฯส่วนใหญ่ สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลว เกือบหนึ่งในสี่ของระบอบประชาธิปไตยของโลกถูกทำให้เสื่อมสภาพลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

แม้ว่า Walt จะโทษประวัติศาสตร์การแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯ สำหรับความล้มเหลวในการแพร่ขยายประชาธิปไตย อย่างไรก็ดีการวิเคราะห์ใหม่ ๆ ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุของปัญหานี้ ไม่ใช่เหตุที่ว่า ระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ถูกส่งเสริมด้วยกับวิธีการที่ “ถูกต้อง” ทว่าเป็นเพราะ ประชาธิปไตยไม่เคยเป็นสิ่งที่ สหรัฐฯ ตั้งใจจะส่งเสริมจริงๆในประเทศอื่นๆต่างหาก

จากตัวเลข: สหรัฐฯ สนับสนุน 3 จากทุกๆ 4 รัฐเผด็จการในโลก

ที่ปรึกษาอาวุโสประจำทำเนียบขาว Jared Kushner กำลังเฝ้าดูพิธีมอบฉันทะ ซึ่งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับมอบ เหรียญเกียรติยศ ‘อับดุลอาซิซ อัล ซาอุด’ ณ พระราชวัง Royal Court Palace ในกรุงริยาด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (AP / Evan Vucci)

Rich Whitney นักกฎหมายและนักเขียน ได้พยายามเปรียบเทียบระบบการให้คะแนนว่าด้วยสิทธิทางการเมืองของ Freedom House (องค์กรระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ประเมินระดับสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศต่างๆทั่วโลก) กับ การให้ความช่วยเหลือทางทหารของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งได้แก่ การฝึกทหาร การช่วยเหลือทางทหาร และการขายอาวุธให้กับต่างประเทศในปีเดียวกัน

เป้าหมายของ Whitney ตามที่ระบุไว้ คือ เพื่อบ่งชี้และตัดสินว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่อต้านเผด็จการและปกป้องระบอบประชาธิปไตยในระดับโลกอย่างแท้จริง ตามที่มักกล่าวอ้าง การวิเคราะห์ที่เป็นอิสระของเขาพบว่า สหรัฐฯได้แสดงออกถึงความตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ที่ระบุไว้ โดยสหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่เผด็จการ 39 แห่งจาก 49 ประเทศทั่วโลก กล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ มากกว่า 73% ของเผด็จการโลกกำลังได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับการวิเคราะห์ของเขา Whitney ได้ใช้คำนิยามที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เพื่ออธิบายความหมายของการปกครองแบบเผด็จการ นั่นคือ: “ระบบของรัฐบาล ที่บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มเล็ก ๆ ครอบครองอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ฉะนี้จึงมีอำนาจในการกำกับนโยบาย และมารตรการที่สำคัญระดับชาติทั้งหมด ส่งผลทำให้ผู้คนไม่มีอำนาจ เพื่อเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเหล่านั้น หรือแทนที่ผู้ที่อยู่ในอำนาจเหล่านั้น โดยวิธีการปฏิวัติหรือรัฐประหารใดๆ”

เขาเลือก รายงานประจำปีว่าด้วยระดับเสรีภาพในโลก ของFreedom House โดยอ้างว่า มันเป็นแหล่งที่มาที่ดีที่สุด สำหรับรายชื่อระบอบเผด็จการ และสังคม “เสรี” ที่ครอบคลุม อย่างไรก็ดี Whitney ได้ตั้งข้อสังเกตว่า องค์กรอิสระนี้ ได้แสดงความลำเอียงและเข้าข้างชนชั้นปกครองสหรัฐฯอย่างเห็นได้ชัด

ความลำเอียงของ Freedom House ประกอบกับผลที่ออกมาเช่นนี้ ยิ่งทำให้การวิเคราะห์ของ Whitney เป็นสิ่งพิสูจน์ความผิดของสหรัฐฯที่ดีมากขึ้น องค์กรนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลตะวันตก และแหล่งข้อมูลจากองค์กรนอกระบบรัฐบาล เช่น มูลนิธิสังคมเปิดที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก จอร์จ โซรอส (George Soros)

การแบ่งหมวดหมู่ของประเทศ เป็นเผด็จการหรือเป็นสังคมเสรีโดยองค์กรดังกล่าว คล้ายคลึงเป็นอย่างมากกับวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯจัดประเภทประเทศดังกล่าว – ดังนี้ จึงหมายความว่า การสนับสนุนทางการเงินของสหรัฐฯในระบอบเผด็จการ คือการละทิ้งการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในต่างประเทศอย่างจงใจ และเจตนา

นอกจากนี้ หลายประเทศที่ถูกขึ้นชื่อว่าเผด็จการโดย Freedom House ยังเป็นประเทศคู่แข่งทางการเมืองของสหรัฐฯ ทั้งนี้มีแนวโน้มว่าประเทศที่เป็นคู่แข่งจะถูกขึ้นบัญชีว่าปกครองโดย “เผด็จการ” แม้ว่าความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้น

ตัวอย่างเช่น ทั้งอิหร่านและซีเรีย ถูกระบุว่าเป็นประเทศเผด็จการ แม้ว่า อิหร่านจะมีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยระดับประเทศเมื่อต้นปีนี้ และประธานาธิบดีบาชัร อัล อะซาดอัล จากซีเรีย ก็ได้รับการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในปี 2014 ด้วยคะแนนโหวตสูงถึง 88.7%

รัสเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งตลอดกาลของสหรัฐอเมริกา ก็ถูกพิจารณาว่าเป็น เผด็จการ ตามที่ระบุโดย Freedom House แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเป็นประจำ ณ ที่นั่นก็ตาม หากทั้งสามประเทศนี้ถูกถอดออกจากรายชื่อประเทศเผด็จการ จะส่งผลทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา กลายเป็นผู้สนับสนุนให้แก่ 78% ของเผด็จการทั่วโลก

นอกจากนี้ ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร้ข้อกังขาอื่น ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ได้ถูกรวมเป็นเผด็จการในรายชื่อเผด็จการ ที่ถูกแบ่งประเภทโดยรายงานของ Freedom House และในการวิเคราะห์ของ Whitneyด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น อิสราเอลได้รับความช่วยเหลือทางทหารจำนวนมากถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯทุกวัน แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่า ชาวปาเลสไตน์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในพรมแดน ถูกริดรอนสิทธิในการออกคะแนนเสียง และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของค่ายกักกัน หรือกฎบังคับใช้ทางทหาร

สถานการณ์เปลี่ยนไป แต่เหตุผลยังคงเหมือนเดิม

ประธานาธิบดีบารัคโอบามาทักทายอดีตพันธมิตรของตน ผู้นำที่ถูกโค่นล้มของลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี ในระหว่างการประชุมสุดยอด G8 / G5 ใน L’Aquila ประเทศอิตาลีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (AP / Michael Gottschalk)

แม้ว่าการวิเคราะห์ด้วยกับข้อมูลของรัฐบาลเอง และข้อมูลจากคลังสมอง (think tank) ที่สนับสนุนฝ่ายตะวันตก ได้เปิดเผยว่า สหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนเผด็จการทั่วโลกอย่างทั่วถึง ทว่าการเปิดเผยดังกล่าว อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินงาน และนโยบายต่างประเทศที่ยาวนานของสหรัฐฯว่าด้วยการส่งออก และส่งเสริมปราชาธิปไตยใดๆเลย

แน่นอนว่า การสนับสนุนของสหรัฐฯต่อรัฐเผด็จการ ไม่ใช่ประเด็นใหม่: เผด็จการมากมายในยุคสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา และเอเชีย ได้รับการติดตั้งอาวุธ และได้รับการสนับสนุน ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯอย่างเต็มกำลัง แม้จะค้านกับการปกครองแบบเผด็จการของตน ทั้งนี้เพื่ออนุญาตให้สหรัฐฯ “จำกัด” บทบาทของลัทธิคอมมิวนิสต์ และอิทธิพลของสหภาพโซเวียต

ในท้ายที่สุดแล้ว “การส่งเสริมประชาธิปไตย” ไม่เคยเป็นเจตนารมณ์ที่แท้จริง แต่เป็นเพียง การอำพรางตัวเพื่อปกปิดโฉมหน้าแห่งนักล่าอาณานิคมของลัทธิวรรดินิยม ต่อประเทศที่ไม่ยอมรับ และปฏิเสธความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯเท่านั้น

ด้วยสาเหตุนี้เอง การแทรกแซงทางทหารอย่างเป็นที่สังเกตได้ของทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัฟกานิสถานอิรัก และลิเบีย จึงถูกขายให้กับประชาชนชาวอเมริกัน พวกเขาถือกำเนิดมาบนตวามต้องการ “ฟื้นฟู” ประชาธิปไตย และฉุดกระชากให้หลุดพ้นจาก “เผด็จการชั่วร้าย”

โฆษณาชวนเชื่อในลักษณะเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป เป็นเหตุผลในการแสดงความชอบธรรมของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ที่ถูกแขวนอยู่ในฐานะที่เป็นชาติแบบอย่างประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกจะขาดรุ่งริ่งก็ตาม

Source: mintpressnews