ในการสัมภาษณ์กับ Washington Post มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย และผู้นำโดยพฤตินัย มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน ได้กล่าวหา สหรัฐและพันธมิตร ว่าด้วย แรงกดดันของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศซาอุดิอารเบีย ในการบีบบังคับให้ทำการส่งออก “ลัทธิวะฮาบีย์” – อุดมการณ์สุดโต่งหัวรุนแรง ในช่วงสงครามเย็น เพื่อเป็นหนทางตอบโต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตในโลกมุสลิม
คำประกาศของซัลมาน เป็นความจริงอย่างชัดเจน เมื่อสหรัฐฯได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประคับประคองระบอบกษัตริย์ในโลกอาหรับ โดยการแลกกับการสูญเสียรัฐบาลชาตินิยมอาหรับแบบเซคิวลาห์ ที่รูปแบบการปกครอง และการต่อสู้เชิงภูมิศาสตร์การเมือง เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติภายหลังจากการล่าอาณานิคมของพวกเขา ได้ดึงพวกเขาให้ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตโดยอัตโนมัติ
ในช่วงของการแทรกแซงทางการเมืองของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้นามรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของอัฟกานิสถานในยุคปี 1980 สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับริยาด เพื่อสนับสนุนทางการเงิน และติดอาวุธให้แก่บรรดานักรบมุจาฮิดินมุสสิม ซึ่งในท้ายที่สุด ได้กลายพันธุ์มาเป็นกองกำลังอัลกออิดะห์ในปัจจุบัน
ซาอุดิอาระเบียยังคงเป็นจำเลย ในข้อหา ระดมทุนสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายทั่วตะวันออกกลาง หรือ เหล่าบรรดาผู้คลั่งไคล้แนวคิดแบบตักฟีรี (พวกอัตตานิยมบริภาษ) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุดมการณ์ความเชื่อวะฮาบีย์ (Wahhabism)
อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน ได้กล่าวโทษกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยส่อความว่า มันเป็นความผิดพลาด ที่ริยาดได้ช่วยสหรัฐฯในการเผยแพร่ลัทธิวะฮาบีย์ คำประกาศนี้ค่อนข้างจะย้อนแย้ง เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ลัทธิวะฮาบีย์ ยังคงเป็นแนวคิด หรือ อุดมการณ์ทางความเชื่ออย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย
คำประกาศนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นแม้แต่น้อยว่า มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน มีความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจของประชาคมโลกที่มีต่อ Soft Power (อำนาจที่เกิดจากการสร้างเสน่ห์หรืออำนาจในการโน้มน้าว ด้วยทรัพยากรเชิงอำนาจที่สำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายต่างประเทศ) ของประเทศซาอุดิอารเบีย ขณะที่ ณ จุดสิ้นสุดของสเปกตรัมอีกด้านหนึ่ง บ่งบอกเราว่า เขาพยายามที่จะลดท่อนอำนาจของนักการศาสนาวะฮาบีย์ภายในประเทศ ผู้ที่เป็นเสมือนท่อนซุงขนาดใหญ่ ซึ่งขว้างกั้นการรวบรวมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จของเขา
ตามที่ Washington Post ระบุ มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน กล่าวว่า ในวันนี้ ซาอุดีอาระเบียมิได้ให้การสนับสุนนทางการเงินเพื่อแพร่กระจายลัทธิวะฮาบีย์ ในต่างประเทศ แต่ความพยายามดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินการโดย “มูลนิธิต่างๆที่มีฐานในซาอุดีอาระเบีย” ซึ่งมิได้มีสัมพันธ์กับกิจการของรัฐ
ในความเป็นจริง มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน ดูเหมือนจะไม่เป็นผู้ที่มุ่งมั่นในอุดมกาณ์ ไม่ว่าจะพิจารณาจากด้านใด แม้ว่า ประวัติในวัยเด็ก และการวางตัวที่เป็นสากลของเขา จะบ่งบอกว่าเขาไม่ใช่พวกฝักใฝ่ฝ่ายขวา เมื่อพิจารณาจากลักษณะพฤติกรรมภายนอก ในความเป็นจริง มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน มีความกระตือรือร้นที่จะลดท่อนอำนาจของนักการศาสนาในซาอุดีอาระเบีย เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของเขาเอง ในวิสัยทัศน์ การปฏิรูป 2030 ที่มีความทะเยอทะยานของเขา ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางเศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียให้มีความหลากหลายมากขึ้นในแนวทางของบรรดานักการศาสนา ผู้ที่อำนาจครอบครองส่วนใหญ่ พึ่งพิงอยู่กับรัฐซาอุดิอาระเบีย ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจปีโตรขนาดใหญ่ ซึ่งความมั่งคั่งจากธุจกิจพลังงาน มากเกินความมั่งคั่งของผลผลิตในด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์และการประกอบการ
สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า เกี่ยวกับคำประกาศของมกุฎราชกุมาร คือ การที่เขาได้ประณามไปยังสหรัฐฯอย่างเปิดเผย สำหรับการแพร่กระจายของลัทธิวะฮาบีย์ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับหนึ่งในสื่อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ
ในแง่หนึ่งใครก็ตามสามารถหาเหตุผลอธิบายว่า การกระทำนี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนของมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน เพื่อชนะใจประชาชนชาวอเมริกันในวงที่กว้างขึ้น ผู้ซึ่งความเข้าใจของพวกเขาที่มีต่อซาอุดิอาระเบีย ยังคงเป็นไปในเชิงลบ พวกเขามองซาอุฯอย่างเสียหายมากกว่า กลุ่มผู้ปกครอง และชนชั้นสูงของสหรัฐฯเอง อันที่จริง ในขณะกำลังแข่งขันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เองก็ได้เคยตำหนิ ผู้นำสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ในการช่วยเหลือซาอุดิอารเบีย ทำการแพร่กระจาย และส่งออกพวกหัวรุนแรง และลัทธิการก่อการร้าย ฉะนี้ จึงอาจทำให้ใครก็ตามเข้าใจได้ว่า การสัมภาษณ์ครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาของ “มูฮัมหมัดบินทรัมป์” ซึ่งแสดงความแตกต่าง ผิดแผกไปจาก เจ้าหน้าที่ทางการซาอุดีอาระเบียก่อนหน้านี้ และความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของพวกเขากับคู่แข่งภายในประเทศของทรัมพ์ ประกอบด้วย คลินตัน และพรรคพวกของบุช ทว่าในระยะยาว มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน กำลังส่งสาส์นว่า ภายใต้การปกครองของเขา ซาอุดีอาระเบียจะไม่สานต่อชนิดของความสัมพันธ์เยี่ยงทาสผู้รับใช้ ตามที่เป็นที่ยอมรับกันกับสหรัฐ เหมือนที่มันเคยเป็นในช่วงสงครามเย็น
มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คำประกาศเหล่านี้ของมกุฎราชกุมาร เกิดขึ้นไม่กี่วันภายหลังจาก การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Petroyuan (ปิโตรหยวน) ของจีน อย่างเช่นที่ทุกๆแนวโน้มในประวัติศาสตร์ได้เคยบ่งชี้ เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ และอิทธิพลสูงที่สุดในโลก มีอำนาจควบคุมสกุลเงินที่จะนำมาใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เป็นกรณีเดียวกันเมื่อคำนึงถึงเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมื่อขณะนี้ประเทศจีนกำลังเตรียมตัวจะขึ้นแซงหน้าสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ เงินดอลลาร์ย่อมถูกแทนที่ด้วยเงินหยวนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การออกสัญญาซื้อขายน้ำมันในอนาคตด้วยปิโตรหยวนของจีน เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่สุด ไม่เพียงเท่านั้น จีนยังกระตือรือร้นที่จะผลักดันตนเองไปสู่การเป็นผู้อุปโภคพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก และนั่นให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า จีนย่อมต้องการซื้อน้ำมันจากประเทศต่างๆ เช่น ซาอุดิอารเบีย ด้วยสกุลเงินของตนเอง ในอนาคต และเป็นไปได้ว่า จะเป็นอนาคตอันใกล้นี้
ดูเหมือนว่า มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย จะเข้าใจวิถีนี้ในตลาดพลังงานของโลก นอกจากนี้ เขายังตระหนักดีว่า เพื่อที่จะสามารถต่อรองความกดดันอย่างมากมายของสหรัฐฯ ที่จะมีต่อริยาด ในการบังคับซาอุดีอาระเบียให้หลีกเลี่ยงการใช้ปิโตรหยวน ริยาดจำเป็นต้องมีคู่ค้าที่มีศักยภาพอื่น ๆ ณ ที่นี่ รวมถึงจีนด้วย
เหนือสิ่งอื่นใด ปิโตรหยวนจะมีความสามารถในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของซาอุดิอาระเบีย โดยการจำกัด คุณลักษณะเชิงลบระหว่างประเทศ ตามที่มูฮัมหมัดบินซัลมานเอง ได้อธิบาย ในฐานะที่เป็นรัฐบริวารของสหรัฐในช่วงสงครามเย็น มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน ยอมรับว่า ความสัมพันธ์ของประเทศของเขากับสหรัฐฯนั้น เป็นไปในรูปแบบของการยอมจำนนรับใช้
จีน-ไม่ทำการเรียกร้องทางการเมือง เราไม่ต้องพูดถึงความต้องการทางภูมิศาสตร์การเมืองจากประเทศคู่ค้า ทว่าจีน มีความกระตือรือร้นที่จะลดหย่อนความตึงเครียดระหว่างคู่ค้าทั้งหมด โดยมีพื้นฐานวางอยู่บนหลักการที่ทุกฝ่ายล้วนได้รับผลประโยชน์อย่างสันติ ผ่านความมั่งคั่ง ตามที่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิงได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในหลายๆโอกาส
ดังนี้ ใครๆก็สามารถเข้าใจได้ว่า นโยบายของจีน ที่ไม่ฝักใฝ่การแทรกแซงกิจการประเทศอื่น กำลังมีอิทธิพลไม่มากก็น้อยต่อ ซาอุฯ คู่ค้าที่มีศักยภาพในอนาคต ในทางตรงกันข้ามกับนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งมักจะแทรกแซง และกดดันคู่ค้า หรือ พันธมิตรของตน ไม่ว่ามุมมองทางอุดมการณ์ของมกุฏราชกุมาร มูฮำหมัด บิน ซัลมาล คืออะไร อย่างไรก็ดี มันเป็นที่ชัดเจนว่า เขารู้ทิศทางของลมในวันนี้ – คือ มันพัดไปทางประเทศจีน
Source: eurasiafuture.com