เจ็ดปีหลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ก่อให้เกิดสุญญากาศแห่งศูนย์อำนาจ ระบบภายในจึงต้องพึ่งพาคะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มการเมืองต่างๆก็กำลังดิ้นรน ในความพยายามเพื่อเพิ่มพื้นที่ ภายใต้การควบคุมโดยอาศัยอำนาจทางทหารมากขึ้น
ในปี 2011 กลุ่มการเมืองที่ติดอาวุธ ซึ่งจากนั้นกลายเป็นที่รู้จักในฐานะกลุ่มปฏิวัติ ด้วยการสนับสนุนทางอากาศของนาโต้ ได้รุกคืบไปยังเมืองหลวงของลิเบีย และโค่นล้มรัฐบาลของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในตริโปลี โดยจากนั้น ก็มีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะยังผลประโยชน์ต่อประชาชน
แต่หลังจากช่วงเวลาสั้นๆ คำสัญญาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ การต่อสู้ทางการเมืองและทางทหารของกระแสอำนาจต่างๆและลักษณะของกลุ่มการเมืองเหล่านี้ ก็ยิ่งเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นต่อความคิดเห็นของประชาชนในลิเบียและทั่วโลก
หลังจากสี่ปีแห่งความขัดแย้งและการแทรกแซงของบางประเทศตะวันตก ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายอย่างกว้างขวางในลิเบีย ท้ายที่สุดกลุ่มการเมืองเสรีนิยมที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มอื่นๆ ก็สามารถเอาชนะกลุ่มอื่นที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มอิควานมุสลิม ในการแข่งขันทางการเมืองในเมืองหลวงลิเบียและสามารถคุมอำนาจในรัฐสภา
ด้วยชัยชนะของกลุ่มเสรีนิยมในเมืองหลวงของลิเบีย กลุ่มอิสลามนิยมที่อิงแนวคิดของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้ประกาศล้มรัฐบาลท้องถิ่นของตนและได้ประกาศให้เข้าร่วมกับรัฐบาลวะฟาก ท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นฐานในการรวมอำนาจทั่วประเทศให้มั่นคง แต่เป็นการกระทำที่ช้าไปเสียแล้ว เพราะนายพล Hiftar ได้เปลี่ยนสมการทั้งหมด 180 องศา ทั้งในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลิเบียได้ตกอยู่ในอำนาจอิทธิพลของตน
ขบวนการชาตินิยมภายใต้การนำของนายพล Hiftar (รัฐบาลของ Tabarq) มีความเข้มแข็งในด้านการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในทางตรงกันข้าม ด้วยการสนับสนุนเป็นพิเศษจากรัฐบาลอียิปต์และเอมิเรตส์ จึงสามารถประสบความสำเร็จอย่างมากในทุกเวทีและทำให้เขาใกล้ชิดกับเมืองหลวงมากยิ่งขึ้น
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา กองทัพภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล Hiftar ได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก และภาคกลางของลิเบีย และสามารถขับไล่กองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลวะฟากแห่งชาติและกลุ่มก่อการร้ายที่ใกล้ชิดกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม
ปัจจุบัน ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ของจังหวัด Sarat ได้หลุดจากการควบคุมของรัฐบาลวะฟากแห่งชาติและกลุ่มก่อการร้ายที่ใกล้ชิดกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม และกองกำลัง Hiftar ยังสามารถรุกคืบและยึดครองจังหวัด Jfareh และ Sabha อีกด้วย
ทางภาคตะวันออกของจังหวัด Jebelabad รวมถึงพื้นที่สำคัญของ Al-Shayrif ทางตอนตะวันออกของจังหวัดและส่วนต่างๆของ Wadi al-Hayah ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาล Tabarq
กองกำลังของ Hapter มีอำนาจควบคุมพื้นที่ทั้งหมดของลิเบีย มากถึง 75 เปอร์เซ็นต์และมีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในการควบคุมของรัฐบาลวะฟากแห่งชาติและกลุ่มก่อการร้ายของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลของตุรกีกาตาร์และสหรัฐอเมริกา
ชนเผ่าทางตะวันตกเฉียงใต้ของลิเบีย (Tuareg tribe) ซึ่งอยู่ภายใต้การถูกกดดันอย่างหนักในช่วงการปกครองของมูอัมมาร์ กัดดาฟี มีอำนาจมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในปัจจุบันพวกเขาได้เพิ่มพื้นที่ภายใต้การควบคุมของพวกเขาเพิ่มอีก 12% และจังหวัด Ghost ถือเป็นฐานที่สำคัญที่สุดของพวกเขา ซึ่งก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวมีส่วนร่วมกับการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายพอสมควร
กลุ่มผู้ก่อการร้ายของ ISIL สามารถแสดงศักยภาพของตนในบางเมืองของลิเบีย รวมทั้งเมืองซาเร็ตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆสูญเสียความสามารถและศักยภาพในการตอบสนองต่อกองกำลังของนายพล Hiftar และกองกำลังท้องถิ่น
ส่วนกลุ่มผู้ก่อการร้ายอื่น ๆ (al-Qaeda) แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนสำคัญในการยึดครองพื้นที่ แต่ก็ได้พิสูจน์ถึงประสบการณ์ของพวกเขาด้วยการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกว่า พวกเขามีศักยภาพพอที่จะกลายเป็นอุปสรรคปัญหาสำคัญสำหรับลิเบีย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความสับสนวุ่นวายได้เกิดขึ้นในลิเบียถึงจุดสูงสุด และถึงแม้ว่ากองกำลังของนายพล Hiftar จะกำลังพยายามฟื้นฟูเสถียรภาพให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่รัฐบาลตะวันตกยังคงเดินหน้าในการแบ่งย่อยประเทศนี้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การมีอยู่ของกลุ่มทหารรักษาการณ์หลายร้อยคน เป็นตัวเร่งแนวโน้มความเสียหายเหล่านี้
ลิเบียเป็นประเทศที่มีแหล่งพลังงานและตำแหน่งทางยุทธศาสตร์มหาศาล ทำให้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาตกเป็นเป้าหมายและเหยื่อในลำดับต้น ๆสำหรับชาติตะวันตกที่พัฒนาแล้ว และในที่สุดหลังจากที่กัดดาฟี ถูกโค่นล้ม ก็นับได้ว่า เป็นการเปิดทางให้กับพวกเขาเข้ามาปล้นทรัพย์แห่งชาติ และในปัจจุบันมีการแข่งขันกันระหว่างรัฐบาลตะวันตกในเรื่องการปล้นสะดมความมั่งคั่งของลิเบียที่กำลังดำเนินอยู่จนถึงวันนี้
Source: islamtimes