กองกำลังพิเศษสหรัฐฯ ออกแนวทางใหม่เพื่อการโค่นล้มรัฐบาลต่างประเทศ

764
ทหารกองโจรเล็งระบบขีปนาวุธพื้นผิวสู่อากาศของสหรัฐอเมริกาที่สร้างโดย Stinger ไปยังเครื่องบินที่ผ่านใกล้ฐานกบฏในเทือกเขา Safed Koh ในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1988 - ROBERT NICKELSBERG / LIAISON - via Newsweek

“กองกำลังพิเศษสหรัฐฯ ออกแนวทางใหม่เพื่อการโค่นล้มรัฐบาลต่างประเทศ” – ไม่ได้ล้อเล่น นี่ไม่ใช่หัวข้อที่เราเขียนขึ้นมาเอง แต่เป็นการพาดหัวของ Newsweek: “ สถาบันศึกษากองกำลังพิเศษสหรัฐฯ เผยแพร่แนวทางใหม่สำหรับการโค่นล้มรัฐบาลต่างประเทศ” (US Special Forces School Publishes New Guide For Overthrowing Foreign Governments)    

และเท่าที่เรารับรู้ Newsweek คือ สื่อกระแสหลักเจ้าเดียว ที่นำเสนอข้อเท็จจริงที่ว่า กองกำลังทหารสหรัฐฯในขณะนี้ กำลังอภิปรายศักยภาพของตนในการส่งเสริมปฏิบัติการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองที่ซ่อนเร้น ทั้งในอดีต และอนาคตอย่างเปิดเผย

ข้อมูลศึกษากว่า 250 หน้า ภายใต้ชื่อ “Support to Resistance: Strategic Purpose and Effectiveness” จัดทำโดย มหาวิทยาลัยปฏิบัติการพิเศษร่วม ภายใต้คำสั่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐอเมริกา (The Joint Special Operations University under US Special Operations Command) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการอย่างเป็นทางการของกองทัพ ที่คอยดูแลภารกิจการลับและซ่อนเร้น ภายนอก MacDill AFB รัฐฟลอริดา

อนึ่ง หน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐอเมริกา หรือ USSOCOM (US Special Operations Command) คือ หน่วยผสมระหว่างกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการแทรกแซงภารกิจโค่นล้มรัฐบาลต่างประเทศ 

รายงานชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมผลงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเข้าไปก้าวก่ายโค่นล้มรัฐบาลชาติอื่นๆ เพื่อสรุปเป็นบทเรียน สำหรับกองทัพสหรัฐฯนำไปใช้ศึกษาและวิเคราะห์หาวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการโค่นล้มรัฐบาลชาติอื่นต่อไป

 “ผลงานชิ้นนี้ จะทำหน้าที่เป็นข้อมูลอ้างอิงมาตรฐาน เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวต่อต้าน เพื่อเป็นประโยชน์แก่หน่วยปฏิบัติการพิเศษต่างๆ และความเป็นผู้นำพลเรือน” – รายงานชี้แนะ

รายงานการศึกษาดังกล่าว ได้สรุปเหตุการณ์ที่รัฐบาลอเมริกาทำการส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อาทิ CIA เข้าไปแทรกแซงในประเทศต่างๆ รวมทั้งสิ้น 47 กรณี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484-2546 (ค.ศ. 1941-2003) อย่างไรก็ดี รายงานเน้นให้ความสนใจเป็นพิเศษไปยังสงครามเย็น แต่มันก็ไม่ได้รวมเอาการรัฐประหารที่พิจารณนาว่าขาด “ขบวนการต่อต้านที่ถูกกฎหมาย” เข้าไปด้วย – เช่นกรณีของ ‘ปฏิบัติการ AJAX’ ในปีพ. ศ. 2496 (1953) ซึ่ง CIA ได้โค่นล้มนายกรัฐมนตรี Mohammad Mosaddegh ผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของอิหร่าน

ถึงแม้จะมีการกล่าวเน้นถึง หายนะที่น่าอับอาย เช่น กรณีบุกอ่าวคิวบาของ CIA แต่ทว่ารายงานทางการทหารสหรัฐฯ กลับพบว่า ในบรรดาการแทรกแซงที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ สหรัฐฯยังคงประสบความสำเร็จอยู่เป็นส่วนมาก

กล่าวคือ ในจำนวน 47 กรณี มี 23 กรณีที่สหรัฐฯเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองและประสบความสำเร็จ อีก 20 กรณีนั้นล้มเหลว โดยที่ 2 กรณีเป็นการประสบความสำเร็จบางส่วนการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชาติอื่น ส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 29%

ประเทศที่สหรัฐฯเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง มีตั้งแต่ประเทศไทย อิรัค อาฟกานิสถาน เซอร์เบียร์ โคโซโว กัมพูชา โปแลนด์ เวียตนามเหนือ คิวบา ทิเบต อินโดนีเซีย นิคารากัว คูเวต ฟิลิปปินส์ อาฟริกาเหนือ เมียนมาร์ กรีซ นอร์เวย์ อิตาลี โดยรายงานบอกว่าประเทศที่อเมริกาโค่นรัฐบาลแล้วประสบความสำเร็จ ได้แก่ อาฟกานิสถาน อินโดนีเซีย เซอร์เบียและอิรัค

 “สิ่งหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในกรณีที่ได้รับการตรวจสอบทั้งหมด 47 กรณี คือข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐที่เป็นเป้าหมายถูกปกครองโดยกองกำลังที่ไม่เป็นมิตร หรือโดยระบอบเผด็จการ” ผู้เขียนนายทหาร เออร์วิน ระบุว่า การโค่นล้มรัฐบาลชาติอื่นของสหรัฐฯ นั้นเป็นไปเพื่อเผยแพร่ระบอบประชาธิปไตย 

ขณะที่การศึกษาดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่การอภิปรายปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประวัติศาสตร์ แต่ส่วนหนึ่ง ก็ได้ให้คำใบ้สำหรับแผนการในอนาคต โดยกล่าว่า “รัสเซียและจีนได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายอำนาจอย่างไม่เกรงกลัว”  

 

โดย: By Zero Hedge

ที่มา: https://www.globalresearch.ca