อียิปต์เชิญผู้นำอิหร่านร่วมพิธีสาบานตน ปธน.ใหม่ ไปมาหาสู่ครั้งแรกรอบ 30กว่าปี





335
อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ได้รับคาดหมายว่าจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ในสัปดาห์นี้

รอย เตอร์ส – อียิปต์ส่งเทียบเชิญประธานาธิบดี ฮัสซัน รูฮานี แห่งอิหร่าน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีของ อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ซึ่งหากเขาตอบรับ ก็จะกลายเป็นผู้นำคนที่ 2 ของเตหะรานที่เดินทางเยือนไคโร นับตั้งแต่ความสัมพันธ์ของสองประเทศดำดิ่งสู่จุดต่ำสุดในช่วงปี 1980

ซิ ซี อดีตผู้บัญชาการทหาร ซึ่งเมื่อปีที่แล้วนำกองทัพโค่นล้มอำนาจนายโมฮาเมด มอร์ซี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีคนแรกของอียิปต์ ได้รับคาดหมายว่าจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในสัปดาห์นี้ หลังผลอย่างเป็นทางการที่คณะกรรมการเลือกตั้งยืนยันเมื่อวันอังคาร (3) แสดงให้เห็นว่าเขาคว้าชัยในศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนก่อนอย่างถล่มทลายร้อยละ 96.91

อิหร่าน ยินดีต่อการลุกฮือของประชาชนชาวอียิปต์อันนำมาซึ่งการล่มสลาย ของนายฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีจอมเผด็จการ โดยมองว่ามันคือการตื่นตัวของอิสลามที่ตามมาด้วยระบอบการปกครองแบบอิสลามิส ต์ อย่างไรก็ตามครั้นที่กองทัพโค่นอำนาจนายมอร์ซี เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน เตหะรานออกมาประณามความเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่ก็ถูกตอบโต้ด้วยท่าทีที่เป็นปกปักษ์จากไคโรเช่นกัน

“เขา ได้รับเชิญทั้งใน 2 ฐานะคือประธานาธิบดีอิหร่านและประธานขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด” อีฮับ บาดาวี โฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดีอียิปต์บอกกับรอยเตอร์ส แต่ก็บอกว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีเสียงตอบรับหรือปฏิเสธมาจากฝั่งอิหร่าน

สำ นักข่าวฟาร์ส นิวส์ ของอิหร่าน รายงานว่าผู้แทนของอียิปต์ในเตหะราน ได้พบปะกับ นายโมฮัมหมัด นาฮาวันเดียน หัวหน้าคณะทำงานของนายรูฮานี และนำคำเชิญอย่างเป็นทางการของนายอัดลี มันซูร์ ประธานาธิบดีรักษาการ ส่งมอบให้กับมือ

ภาย ใต้การบริหารงานของอดีตประธานาธิบดี มอร์ซี เหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจะดูดีขึ้น ด้วยนายมาห์มูด อะมาดิเนจัด ประธานาธิบดีอิหร่าน ในขณะนั้น กลายเป็นผู้นำคนแรกของเตหะรานที่เดินทางเยือนอียิปต์ในรอบกว่า 3 ทศวรรษ พร้อมกันนั้นเขายังเรียกร้องความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับอียิปต์ และเสนอปล่อยกู้แก่ไคโร เพื่อบรรเทาภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย

สำหรับ นายรูฮานี ผู้ที่มีนโยบายการต่างประเทศทางสายกลางและก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี อิหร่านในปี 2013 ให้คำสัญญาปรับปรุงความสัมพันธ์กับชาติเพื่อนบ้านทั้งหลายในภูมิภาค

อนึ่ง อิหร่าน และอียิปต์ ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างกันในปี 1980 หลังอิหร่านไม่พอใจอียิปต์ที่ให้การรับรองกษัตริย์ชาห์ แห่งราชวงค์ปาห์เลวี ที่ถูกเตหะรานขับไล่ รวมถึงกรณีที่ไคโรให้การรับรองอิสราเอล

ขณะ เดียวกัน หนึ่งในอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติมานาน ก็คือ กรณีที่อิหร่านตั้งชื่อถนนตามนักรบอิสลามิสต์อียิปต์รายหนึ่ง ซึ่งเป็นแกนนำในการลงมือลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต ของไคโรในปี 1981 ไมนานหลังจากเขาลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกันอิสราเอล

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์