ในสัปดาห์นี้ประเด็นที่น่าจับตามองในโลกตะวันออกกลาง ได้แก่ เนทัน ยาฮู หาเสียง ยึดปาเลสไตน์ จอร์แดน และเลบานอน
วันที่ 11 กันยายน 2562 เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้ประกาศหาเสียงในเมืองเทลอาวิฟ โดยใช้นโยบายยึดที่ดินปาเลสไตน์ โดยในรอบนี้ นายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงว่าถ้าหากเขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เขาได้ให้สัมภาษณ์ในการหาเสียง “ถ้าหากข้าพเจ้าได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ข้าพเจ้าจะขยายอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลไปถึงหุบเขาของจอร์แดน และทางเหนือของบาห์เรน และส่วนหนึ่งของเวสแบงก์” แน่นอนการหาเสียงครั้งนี้ มีกระแสตอบกลับมาอย่างรุนแรง เพราะมันคือการประกาศตรงๆว่า “ถ้าคุณเลือกผม ผมจะยึดที่ดินของประเทศคนอื่น” แต่น่าตกใจคือ หลังจากกระแสต่อต้านจากๆนานาชาติ โหมกระพือ เนทัน ยาฮู ก็ออกมาแถลงการณ์อีกครั้ง เขาใช้คำว่า “นี่เป็นโอกาสเพียงครั้งเดียวที่หาได้ยากยิ่งในการวางระบบบริหาร ชายแดนตะวันออก ซึ่งจะปล่อยให้หลุดมือไปไม่ได้ เพราะในมุมมองของเนทัน ยาฮู สงครามตั้งแต่ปี 1967 จนมาถึงปัจจุบัน อิสราเอลไม่เคยมีโอกาสแบบนี้ และถ้าจะมีอีกก็คงในอีก 50 ปี ข้างหน้า ซึ่งเหตุผลคลาสสิคที่อิสราเอลใช้ในการรุกราน และเข้ายึดจนติดหู คือ “เพื่อความปลอดภัย” และในครั้งนี้ เนทัน ยาฮู ก็ใช้เหตุผลนี้เช่นเดียวกัน
บทวิเคราะห์ : นักวิเคราะห์ทั่วโลกมองนโยบายการหาเสียงลักษณะนี้ เป็นการประกาศ “การรุกรานในนามของความปลอดภัย”และคาดว่า จะเกิดกระแสการประท้วงและกระแสสังคมอย่างต่อเนื่องจนถึงวาระการเลือก เพราะคงไม่มีใครชอบที่ประเทศเพื่อนบ้านจะหาเสียงโดยสัญญาว่าจะยึดประเทศของตนเอง อัลจาซีร่า วิเคราะห์ว่า ท่าทีของทรัมป์ แสดงถึง การสนับสนุนนโยบายทางการเมืองของอิสราเอลในระยะสั้น แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าในระยะยาวสหรัฐจะมีแนวทางการดำรงความสัมพันธ์กับอิสราเอลในลักษณะใด ส่วน Sputnikmews ของรัสเซียภาคภาษาฟารซี วิเคราะห์ว่า การหาเสียงของ เบนจามิน เนทันยาฮู คือ การเมืองที่เป็นศัตรูกับโลก และยังเป็นการทดสอบความคิดของประชาชนทั่วโลกด้วยเช่นเดียวกันว่า พวกเขาจะยอมรับเรื่องแบบนี้ได้หรือไม่ ? BBC วิเคราะห์ คำสัญญาของเนทันยาฮูเป็นคำสัญญาที่อันตรายอย่างยิ่งยวด ส่วนนักวิเคราะห์ทั้งฝั่งอิสราเอล บางส่วนมองว่า เนทันยาฮูกำลังขายฝัน แต่หากเขาทำจริง เราจะได้เห็นการนองเลือดที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งอิสราเอล ซึ่งอัลจาซีร่า วิเคราะห์ว่า จากท่าทีของ ทรัมป์ แสดงถึง การสนับสนุนนโยบายทางการเมืองของอิสราเอลในระยะสั้น
อิหร่าน ยังคงยืนยัน ไม่เจรจากับ สหรัฐ หากไม่เลิกคว่ำบาตร
ทางด้านสถานการณ์ในอิหร่าน ยังคงอยู่ในเรื่องของการเจรจา ซึ่ง ปธน.ทรัมป์ ต้องการดึงอิหร่าน เข้ามานั่งโต๊ะเจรจาเรื่องพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง ซึ่ง ปธน.ฮะซัน รูฮานี ออกแถลงการปฏิเสธที่จะเจรจา ตราบใดที่ตะวันตกยังคงคว่ำบาตรอิหร่าน และละเมิดสิทธิประชาชนชาวอิหร่าน หรือ กล่าวในอีกบริบทหนึ่ง อิหร่าน จะเจราก็ต่อเมื่อสหัรฐเลิกคว่ำบาตร ซึ่งหลังจาก ปธน.อิหร่าน ส่งสาส์นออกไป ปธน.สหรัฐ ก็ส่งสาส์นตอบกลับมา อิหร่านต้องมาเจรจา แต่เราไม่ผ่อนปรน หรือ ยกเลิกการคว่ำบาตรใดๆ
บทวิเคราะห์ : ในด้านหนึ่งการแสดงจุดยืนของอิหร่าน สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของ ทรัมป์ และในอีกด้านหนึ่ง สหรัฐควรเปลี่ยนนโยบายการเมืองระหว่างประเทศตั้งนานแล้ว เพราะในข้อเท็จจริง มีการเจรจามานานจนเกือบจะ 40 ปี แต่ก็ไม่ประสบผล ซึ่งการที่ทางอิหร่านแสดงท่าทีหน่ายที่จะเจรจา จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ “เจรจากี่ครั้งตะวันตกก็คว่ำโต๊ะเองเสียทุกครั้ง” นอกจากนี้ ความล้มเหลวในการประชุม G7 การลอยตัวเป็นอิสระของรัสเซีย และการประท้วงฮ่องกงยังแสดงถึง อำนาจที่ลดลงและไม่อาจควบคุมของสหรัฐ นอกจากนี้ ทางฝั่งยุโรปเองก็เริ่มสนับสนุนข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ซื่อตรง และมีเกียรติกับอิหร่าน โดย นายกรัฐมนตรีเยอรมัน แองเจลา เมอร์เคล ออกมาให้การสนับสนุน และแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน นี่อาจเป็นการแสดงถึง ลมเปลี่ยนทิศ และการลดอำนาจของสหรัฐในอีกวาระหนึ่ง
สองมุม หญิงอิหร่านเผาตัวเอง #เด็กหญิงสีฟ้า
จากที่มีรายงานข่าวการเสียชีวิตของ นางสาวซาฮาร์ โคดายารี ซึ่งได้จุดไฟเผาตัวเอง เพื่อทำอัตวินิบาตกรรม เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งสำนักข่าวจากทางฝั่งตะวันตก เสนอข่าวอย่างพร้อมเพียงกันไปในทิศทางเดียวกัน สื่อถึงความไม่ยุติธรรม เรื่องนี้กลายเป็นกระแสลุกฮือในโซเซียลมีเดีย จนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงระบบกฎหมายในอิหร่าน
บทวิเคราะห์ : สำนักข่าวIRIB หลังตรวจสอบพบว่าข้อเท็จจริงเป็นคนละม้วนกับสื่อนอกประโคมข่าว เริ่มจากข้อความที่ปล่อยแชร์กันว่า “เด็กผู้หญิงคนนี้ เผาตัวเอง เพราะถูกศาลพิพากษา จำคุก 6 เดือน” พิธีกรจึงเปิดเสียงสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้เป็นพ่อ พ่อของซาฮาร์ ตอบว่า ยังไม่มีการพิจารณาคดี ลูกสาวของเขายังไม่ได้ขึ้นศาลเลยด้วยซ้ำ ตั้งแต่ข้อความแรกที่ถูกปล่อยออกมา จึงยังไม่มีการตัดสินพิพากษาใด เพราะศาลได้เลื่อนการพิจารณาคดี แม้แต่รูปที่ถูกนำมาใช้ ก็ไม่ใช่รูปของ ซาฮาร์ โคดายารีย์ ซึ่งเจ้าของภาพก็ได้ออกมาข้อร้องให้หยุดเอารูปของเธอไปใช้ในทางที่ไม่ดี ส่วนคดีที่เธอถูกฟ้องร้อง ไม่ใช่คดีผ้าคลุมผม แต่เป็นคดีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และจากบทสัมภาษณ์ผู้เป็นพ่อระบุว่า นางสาวโคดายารี เป็นโรคซึมเศร้า เธอเคยรับยารักษา และหยุดกินยาไปประมาณหนึ่งปี เพราะหมอวินัจฉัยว่า ตัวยาจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้จากบทสัมภาษณ์ยังชี้อีกว่า นางสาวโคดายารี เคยพยายามทำอัตวินิบาตกรรมมาก่อน ต่อมาหลังเข้ารับการบำบัดก็ไม่แสดงอาการที่สื่อถึงการทำร้ายตัวเอง จนกระทั่งเหตุการณ์นี้ ซึ่งผู้เป็นพ่อถึงกับออกรายการชี้แจงว่า การตายของลูกสาวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองของต่างชาติ และมันเป็นเรื่องที่ถูกทำให้เกินความเป็นจริง
source: aljazeera
– reuters
– npr
– presstv