อเมริกา ประสบ “ภาวะวิกฤติ” และขาดความพร้อมที่จะรับมือกับไวรัสโคโรนา

264

ด้วยการระบาดของไวรัสโคโรนาและยอดผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น  ทำให้สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์ และบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนเตือนว่าประเทศยังไม่พร้อมที่จะต่อสู้กับไวรัสโคโรนา  

เนื่องจากผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นในสหรัฐอเมริกา  เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯในรัฐต่างๆได้ออกมาเตือนถึงปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์

ซีเอเอ็น  รายงาน ว่า   ดร. เมแกน รานิ (Megan Rani) แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินชาวอเมริกันกล่าวเกี่ยวกับการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ว่า : “ถ้าเราไม่เพิ่มจำนวนหน้ากากอานามัยและเครื่องตรวจที่มีอยู่  ไม่ช้าหรือเร็วพนักงานแนวหน้าส่วนใหญ่ของเราก็จะติดเชื้อไวรัส (โคโรนา)”

เขากล่าวเสริมว่า  “ เรามีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และเรานำอุปกรณ์ดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง – ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐกำลังทำข้อเสนอดังกล่าว แต่นั่นเป็นเพียงเพราะเราไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ   ในเวลาปกติสิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน»

ในนครนิวยอร์กซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในสหรัฐอเมริกา  นาย บิล เด บลาซิโอ  นายกเทศมนตรีนิวยอร์ก ได้ขอความช่วยเหลือจากทรัมป์ว่าเขามีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับสองสามสัปดาห์ถัดไปเท่านั้น

นาย บิล เด บลาซิโอ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กซิตี้ ออกมาเตือนในวันอาทิตย์ที่ 22 มี.ค. 2563 ว่า อีกประมาณ 10 วันจะเกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์สำคัญขึ้นในเมือง ซึ่งจะทำให้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เลวร้ายลงไปอีก

“อีกราว 10 วันเราจะได้เห็นการขาดแคลนเป็นวงกว้าง” นายเด บลาซิโอบอกกับสื่อท้องถิ่นอย่าง NBC “หากเราไม่หาเครื่องช่วยใจมากกว่านี้ ผู้คนจะล้มตาย” “ชาวอเมริกันทุกคนสมควรได้รับความจริงอย่างตรงไปตรงมา สถานการณ์มีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ และที่จริง เดือนเมษายนกับพฤษภาคม จะแย่ลงเยอะด้วย”

นายเด บลาซิโก ยังคงโจมตีรัฐบาลว่าตอบสนองต่อสถานการณ์ไม่เพียงพอ

“ผมคงพูดตรงไม่พอ หากประธานาธิบดียังไม่ลงมือทำ ผู้คนจะล้มตาย ใครจะไปมีชีวิตรอดได้ล่ะ” นายเดบลาซิโกกล่าว “เรื่องนี้กำลังจะกลายเป็นวิกฤติภายในประเทศครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่” หรือ Great Depression ซึ่งเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ช่วงทศวรรษที่ 1930

Andrew Como ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กประกาศว่าเขาสามารถสั่งซื้อหน้ากากาอานามัย N95 ได้ถึงสองล้านชิ้น  และหนึ่งล้านชิ้นจะส่งไปยังนิวยอร์ก และอีก 500,000 ชิ้นจะส่งไปยัง  Long Island

ก่อนหน้านี้โคโมได้ประกาศว่าหน้ากากอานามัย ราคาปกติอยู่ที่ 80 เซ็นต์ แต่ตอนนี้ราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็น สี่ดอลลาร์  แต่ “เราก็ยังต้องการมัน”

ตามรายงานระบุว่า มีการบริจาคหน้ากากอานามัยให้กับเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพตามสถานที่ต่างๆและอุตสาหกรรมต่างๆรวมถึงทันตแพทย์และช่างไม้    นาย ไมค์ เพนซ์  รองประธานทรัมป์ประกาศเมื่อวันเสาร์ว่า ทางบริษัท Apple ได้บริจาคหน้ากากให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศในคำสั่งใหม่ในสัปดาห์นี้ว่า  กำลังเผชิญกับ “วิกฤติ”การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ควรพิจารณาตัวเลือกเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้  ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ “ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการดูแลคบคุมของอเมริกาและรวมถึงการนำหน้ากากมาใช้ซ้ำหรือใช้หน้ากากที่บ้าน ที่ทำจากวัสดุเช่นผ้าพันและผ้าพันคอ

โรงพยาบาลก็เช่นกัน ยังประสบปัญหากับวิธีฆ่าเชื้อหน้ากากอานามัยที่ใช้ก่อนหน้านี้เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์

ตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร การแพทย์ “นิวอิงแลนด์”  เผยว่า   การระบาดของไวรัสโคโรนาในอิตาลีซึ่งมีเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลมากกว่าในสหรัฐอเมริกา  มันเป็นการบ่งชี้ถึงการขาดความพร้อมของอเมริกาสำหรับการรับมือกับเชื้อวัส โควิด -19

ดร. Lisa Rosenbaum ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจแห่งศูนย์  Brigham และ Women’s Hospital ในบอสตันกล่าว ใน บันทึกว่า  :แม้ว่าระบบสุขภาพของอิตาลีได้รับการยอมรับอย่างสูง  และสัดส่วนประชากรหนึ่งพันคน ต่อ 3.2 เตียงในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง (เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่มี 1.8 เตียงในโรงพยาบาลต่อสัดส่วนประชากร 1,000 คน) มันก็ยังล้มเหลวในการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยวิกฤตหลายคนในเวลาเดียวกัน

ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งบอกกับ ซีเอ็นเอ็น เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า  สหรัฐฯ “ล้าหลังสองเดือน” ในการเตรียมการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา

ดร. Eric Toner  อยู่ประจำการที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins  และทำการศึกษาความพร้อมของโรงพยาบาล  กล่าวว่า: “ฉันคิดว่า มันเป็นความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานของรัฐบาลที่จะต้องก่อนหน้าที่และหลังจากนี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะ(อุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลน)”

ดร. “เดวิด ฮิลล์”  แพทย์ดูแลเรื่องโรคปอดและโฆษกสมาคมปอดอเมริกากล่าวว่า  ในเรื่องนี้  ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์จะเกิดขึ้นเร็วกว่าการขาดเครื่องมือแพทย์

เขาอธิบายเสริมในเรื่องนี้ว่า    “ส่วนหนึ่ง (การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์) เกิดจากความเหนื่อยล้าของเจ้าหน้าที่ของเรา  การดูแลสุขภาพนั้นซับซ้อนและมันจะปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดเมื่อทำงานมากเกินไป”

ดร. ปีเตอร์ ฮัทซ์  ศาสตราจารย์และหัวหน้าคณะเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งชาติที่มหาลัยแพทย์แบลร์ กล่าวว่า “หากเจ้าหน้าที่เจ็บป่วย” สิ่งต่าง ๆ จะพังทลายลงอย่างรวดเร็ว

ความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์ของสหรัฐ เกิดขึ้นเนื่องจากไวรัสโคโรนา แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในประเทศ และจากสถิติล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นนับหมื่นคนแล้ว…..

source: https://www.farsnews.ir