การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสุขภาพขนานใหญ่ในหมู่ชาวตะวันตก มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสุขภาพที่ยึดหลักปฏิบัติตามวิถีของประเทศมุสลิม เช่น มีการล้างมือกันอย่างสม่ำเสมอ หรือมีการใช้น้ำสะอาดในการชำระล้างในห้องน้ำ
เนื่องจากมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะในยุโรปและการขาดการเข้าถึงการรักษาหรือขาดวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาจนถึงวันนี้ ทำให้วิธีการป้องกันไวรัสจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
มาตรการป้องกันทั้งหมดที่ประกาศโดยองค์การอนามัยโลกและศูนย์สุขภาพในประเทศต่างๆ ได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและการล้างมือเพื่อป้องกันไวรัสจากการเข้าสู่ร่างกายและติดต่อไปยังบุคคลอื่น
บางที มันมีความแตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างไวรัสนี้กับวิกฤตอื่น ๆ ก็คือไวรัสนี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรม นิสัยและวิธีการปฏิบัติของทุกประเทศอย่างรวดเร็ว และไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มันส่งผลกระทบตามมา ทั้งนี้การเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเช่นการล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาที ถือเป็นคำเตือนลำดับต้นๆขององค์การอนามัยโลก
การสำรวจโพลทั่วโลกของแกลลัพ (Gallup’s World Poll) ระบุว่าจากการสำรวจในประเทศต่าง ๆ จำนวน 62,398 คน ในปี 2015 พบว่า มีเพียงร้อยละ 23 ของชาวจีน และร้อยละ 30 ของชาวญี่ปุ่น จะล้างมือหลังจากใช้ห้องน้ำ ส่วนในอิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสเปน มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากในเรื่องนี้ และตอนนี้ในอิตาลี ฝรั่งเศสและสเปน มีอัตราการตายสูงที่สุดในชาติยุโรปเนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา
Rose Aslan อาจารย์ภาควิชาศาสนาที่ University of Lutheran California อธิบายเรื่องนี้ในบทความของเขาว่า: การปฏิบัติตามมารยาทในศาสนาอิสลาม ควบคู่กับการใช้สบู่หรือสารฆ่าเชื้อนั้น สามารถส่งผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพที่ดีและป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะของการใช้น้ำในสถานที่สุขาภิบาลเพื่อทำความสะอาดแทนทิชชูซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในยุโรปนั้น ก็เป็นอีกผลพวงหนึ่งที่ตามมาของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
source: iqna