การลอบสังหาร นายพล กอเซ็ม โซไลมานี เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีที่แล้ว (ค.ศ.2020) ในการโจมตีด้วยโดรน ตามคำสั่งโดยตรงของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องนำไปสู่การดำเนินคดีทางกฎหมายจากฝ่ายต่างๆ แง่มุมจากกองบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยเว็ปไซต์อย่างเป็นทางการของผู้นำสูงสุดสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้วิเคราะห์วิธีการทางกฎหมาย และแนวทางที่เป็นไปได้ สำหรับประเด็นดังกล่าว
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 โดรนของสหรัฐฯ บุกโจมตีบริเวณใกล้เคียงสนามบินนานาชาติแบกแดด โดยพุ่งเป้า และสังหารเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงสุดคนหนึ่งของอิหร่าน นายพล กอเซ็ม โซไลมานี และผู้ติดตามจำนวนหนึ่งของเขา ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เพนตากอนได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว: “การโจมตีนี้ เกิดขึ้นตามคำสั่งของประธานาธิบดี และมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งแผนการโจมตีของอิหร่านในอนาคต” – แถลงการณ์ของเพนตากอนระบุ
ข้อโต้แย้งหลักที่สหรัฐฯเสนอต่อการลอบสังหาร นายพลกอเซ็ม โซไลมานี ซึ่งยังมีระบุเป็นเงื่อนไขในจดหมายของรัฐบาล ที่ส่งถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คือ พวกเขาทำสิ่งนี้ ภายใต้หลักการป้องกัน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- การโจมตีของสหรัฐฯ ขัดต่อบทบัญญัติการป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สหรัฐฯ อ้างว่า ใช้มาตรการการป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการลอบสังหารนายพล โซไลมานี ขณะที่ข้อเท็จจริงชี้ว่า ก่อนเกิดเหตุสังหารนั้น สหรัฐฯ ไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการโจมตีจากอิหร่านตามที่กล่าวอ้าง ดังนั้น การใช้มาตราการป้องกันตนเอง ด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อต่อกรกับการโจมตีด้วยอาวุธที่ใกล้เข้ามา หรือเกิดขึ้นจริง จึงไม่สามารถยอมรับได้ ในความเป็นจริง มาตราที่ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ถือว่า การโจมตีด้วยอาวุธจริง เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการใช้สิทธิในการป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งนี้ตรงข้ามกับการกระทำของสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง
และแม้ว่าเราอาจจะยอมรับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ในการใช้สิทธิป้องกันตน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่กระนั้น สหรัฐฯ ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดเป้าหมายไปยังเจ้าหน้าที่ของประเทศอื่นได้ โดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญสามประการว่าด้วยการป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ “ความเป็นสัดส่วน” “ความใกล้เข้ามา” และ “ ความจำเป็น” ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินการป้องกันทางทหาร ทุกประเภทควรมีการวางแผน เพื่อต่อกรกับเครื่องมือ และวิธีการ ที่ซึ่งการโจมตีที่ใกล้เข้ามากำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีอิรักเปิดเผยว่า เขามีกำหนดจะพบกับนายพลกอเซ็ม โซไลมานี ในฐานะตัวแทนผู้ถือสาส์น (ทูต) จากอิหร่านอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่ได้ให้หลักฐานใด ๆ เกี่ยวกับอิหร่าน โดยเฉพาะ บทบาทของนายพลโซไลมานี ในการสนับสนุนการโจมตีสำนักงานทางการทูต และสถานกงสุลของสหรัฐฯ ตลอดจนการวางแผนโจมตีที่ใกล้เข้ามา ตามที่ถูกกล่าวหา [1] แม้แต่รายงานอย่างเป็นทางการต่อสภาคองเกรส ที่ฝ่ายบริหารของทรัมป์ให้เหตุผลแก่การลอบสังหารดังกล่าว ยัง “ ขัดแย้งโดยตรง” กับคำกล่าวอ้างครั้งแรกของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ว่าทำไมเขาจึงสั่งโจมตี อีกด้วย
“คำอธิบายของฝ่ายบริหารในรายงานฉบับนี้ ไม่ได้กล่าวถึงภัยคุกคามใด ๆ ที่ใกล้เข้ามา และแสดงให้เห็นว่า เหตุผลที่ประธานาธิบดีเสนอให้กับประชาชนชาวอเมริกันนั้นเป็นเท็จ ธรรมดา และมักง่าย” ประธานคณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสภากล่าว [2]
- การโจมตีของสหรัฐฯ และหลักการ “ใช้กำลัง”
ตามหลักการ “ใช้กำลังโดยรัฐ” ที่ควบคุมโดยหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และตามหลักกฎหมายสนธิสัญญา ชี้ว่า การลอบสังหารนายพลโซไลมานี โดยสหรัฐฯ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สิ่งนี้เป็นที่พิสูจน์ได้ เนื่องจากการโจมตีดังกล่าว ละเมิด หลักการ “ใช้กำลัง” ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และไม่มีแนวทางใด ที่จะสร้างความชอบธรรมให้แก่มันได้จากข้อยกเว้นทั้งหลายที่ได้รับการอนุมัติ เป็นที่ชัดเจนว่า การโจมตีของสหรัฐฯ ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยการตัดสินใจใดๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง และยังขาดเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการแก้ต่าง ในแง่ของการป้องกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ มันไม่มีการโจมตีด้วยอาวุธจากทางอิหร่าน และการอ้างสิทธิ์ของสหรัฐฯเกี่ยวกับการโจมตีที่ใกล้เข้ามานี้ ก็ไม่ได้รับการพิสูจน์ เพื่อให้เหตุผลแก่การป้องกันตนเองล่วงหน้า ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- การดำเนินการของสหรัฐฯ; ละเมิดข้อตกลงความมั่นคงทวิภาคีปี 2008 กับอิรัก
ตามมาตราที่ 4 ของข้อตกลงความมั่นคงสหรัฐฯ- อิรัก ปฏิบัติการทางทหารทั้งหมด ที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงนี้ จะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลอิรัก และ ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศ มันจะต้องไม่นำไปสู่การละเมิดอธิปไตยของอิรัก และผลประโยชน์ของชาติ
ในจดหมายอย่างเป็นทางการถึงคณะมนตรีความมั่นคง รัฐบาลอิรักอธิบายว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและเงื่อนไขของข้อตกลงปี 2008 [3] นอกจากนี้ตามมาตราที่ 27 ของข้อตกลง ยังมีการห้ามใช้พรมแดนทางบก และทางอากาศของอิรัก เพื่อเริ่มต้นสงครามกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งทำให้การกระทำของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดข้อตกลงอย่างโจ่งแจ้ง นอกจากนี้ ตามข้อตกลงนี้ และตามที่ระบุไว้ในคำประกาศ ที่ให้คำนิยาม การรุกราน และโดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the ICC) ถือว่า การกระทำของสหรัฐอเมริกาเข้าข่ายเป็น “การรุกราน”
- ขีดความสามารถทางกฎหมาย และการเยียวยา เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการลอบสังหารนายพลโซไลมานี ในระดับสากล
ก) ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรตุลาการระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด ในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ของศาล ทำให้การตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ มีเงื่อนไขวางอยู่บนความยินยอมของรัฐ ในการส่งข้อพิพาทไปยังหน่วยงานตุลาการระหว่างประเทศ
ตามหลักการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ความยินยอมของรัฐอาจได้มาโดยผ่านเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น การอ้างถึงศาล ภายใต้สนธิสัญญา หรือการยอมรับขอบเขตอำนาจศาลของศาล อย่างไร้ข้อกังขา โดยการแสดง และให้การตอบสนองที่มีสาระสำคัญไปยังการดำเนินคดี สนธิสัญญาที่อิหร่าน อิรัก และสหรัฐอเมริกายอมรับในเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญานิวยอร์ก (1973) ว่าด้วยการป้องกันและลงโทษการก่ออาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองในระดับสากล
ตามที่สอดครล้องกับ วรรค ‘b’ ของมาตราที่ 1 จากอนุสัญญานี้ ตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนอื่น ๆ ขององค์กรระหว่างประเทศ ที่มีคุณลักษณะบ่งชี้ถึง ความ(สัมพันธ์)ระหว่างรัฐบาล จะถือเป็น “บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองในระดับสากล”
ดังนั้นนายพลโซไลมานี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของอิหร่าน และเป็นทูตของประเทศ และเข้าสู่อิรักโดยได้รับอนุญาต และโดยตามคำเชิญของทางการอิรัก จึงถือเป็นบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองในระดับสากล ตามอนุสัญญานี้ เขาและผู้ที่ติดตามเขา ในมุมมองของมาตราการที่ 2 ของสนธิสัญญานี้ ถูกยัดเหยียด การ “ฆาตกรรม” และ “การโจมตีที่รุนแรง”
มาตรา 13 ของอนุสัญญานิวยอร์ก จัดให้มีกลไกสามขั้นตอน ในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการตีความ หรือการดำเนินการตามอนุสัญญา ซึ่งขั้นตอนต่างๆ จะเป็นไปตามลำดับ ภายใต้ข้อบังคับนี้ ข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างรัฐภาคี ตั้งแต่สองรัฐ หรือ มากกว่าขึ้นไป ที่เกี่ยวกับการตีความ หรือการบังคับใช้อนุสัญญานี้ ซึ่งไม่เป็นที่ยุติลง ได้โดยการเจรจา ควรจะต้องยื่นคำร้องต่ออนุญา โตตุลาการ โดยคำร้องขอของหนึ่งในรัฐเหล่านั้น หากภายในหกเดือน นับจากวันที่ขออนุญาโตตุลาการ รัฐภาคีไม่สามารถตกลงกันได้ ตามการจัดระเบียบของอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในนั้น อาจส่งข้อพิพาทไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยการร้องขอ ที่เป็นไปตามธรรมนูญของศาล ศาลระบุว่า ในอนุสัญญานี้เงื่อนไขของการเท้าความถึงการทูตก่อน ที่จะเท้าความถึงศาลนั้น มีลักษณะเป็นคำอธิบาย และทันทีที่เห็นได้ชัดว่าข้อพิพาทไม่ได้รับการแก้ไข อย่างน่าพอใจผ่านทางการทูต ก็เพียงพอแล้วสำหรับที่จะใช้ขอบเขตอำนาจของศาล และมันสามารถพิจารณา ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ แก่รัฐบาลสหรัฐฯในกรณีการลอบสังหารนายพลโซไลมานีได้ ดังนั้นอิหร่าน จึงสามารถใช้ขีดความสามารถของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับนายพล โซไลมานี
ข) อ้างถึงองค์กรสิทธิมนุษยชน
ปฏิกิริยาแรกในการประณามการลอบสังหารนายพลโซไลมานี เกิดขึ้นโดยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ซึ่งถือว่าการกระทำนี้เป็นการละเมิด “สิทธิในการมีชีวิต” และความมั่นคงส่วนบุคคล Agnes Callamard หนึ่งในผู้แทนพิเศษจัดทำรายงานเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม การประหารชีวิตโดยทันที หรือตามอำเภอใจ พิจารณาว่า การเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ [4] กฎบัตรสหประชาชาติ ได้จัดตั้งสถาบันเพื่อตรวจสอบการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน สถาบันแห่งนี้ ใช้กลไกต่างๆเพื่อรับรองการดำเนินการตามสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาล ซึ่งได้แก่ การร้องเรียนโดยตรงจากบุคคล พลเมืองของประเทศ ฯลฯ ครอบครัวของเหยื่อสามารถร้องเรียนต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้
ค) มาตรการตอบโต้
การตอบโต้หมายถึงการดำเนินการฝ่ายเดียวของประเทศที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อตอบสนองต่อการละเมิดสิทธิ อันเป็นผลมาจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐอื่น และถูกนำมาใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อบังคับให้รัฐผู้กระทำผิดหยุด หรือชดเชยให้กับรัฐที่ถูกรุกราน เนื่องจากการลอบสังหารนายพลโซไลมานีและผู้ติดตามของเขา โดยสหรัฐฯ ถือเป็นการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอิรัก และอิหร่านอย่างชัดเจน รัฐบาลทั้งสองสามารถใช้มาตรการตอบโต้ได้ และนี่ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดกฎหมายที่ห้ามการใช้กำลัง นอกจากนี้ มาตรการรับมือจะต้องสอดคล้องกับการบาดเจ็บ หรือความเสียหาย ที่ได้รับ โดยคำนึงถึงสิทธิที่เป็นปัญหา มติของรัฐสภาอิรักในการขับไล่กองทัพสหรัฐฯ อาจตีความได้ว่า เป็นมาตรการตอบโต้รูปแบบหนึ่ง และแน่นอนว่า รัฐบาลอิหร่านสามารถดำเนินการชำระแค้น เพื่อตอบโต้ไปยังการก่อการร้ายนี้
การลอบสังหารผู้บัญชาการทหารที่ยิ่งใหญ่ของอิหร่านและอิรัก นายพลโซไลมานี และอบูมะฮ์ดี อัลมูฮันดิส เป็นข้อพิสูจน์ที่ไม่อาจหักล้าง แนวทางตามอำเภอใจ ที่กดขี่ และไร้เหตุผลของสหรัฐฯ ว่าด้วยกฎหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประชาคมระหว่างประเทศ การเพิกเฉยทางกฎหมาย และโดยกระบวนการยุติธรรมต่ออาชญากรรมดังกล่าว และการละเลยกฎหมายระหว่างประเทศ อาจส่งผลร้ายแรงต่อประชาคมโลก!
…….
Source: khamenei.ir