การศึกษาของสตรี ยุคก่อน และหลังการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน: การค้นคว้าเชิงเปรียบเทียบ

489
การศึกษาเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่ง ในการชี้วัดความเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาในทุกสังคม เมื่อวิเคราะห์ศึกษา พัฒนาการด้านการศึกษาพบว่า ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การขยายทรัพยากรทางการศึกษา, แผนการจัดหาเครื่องมือทางการศึกษา, ส่วนแบ่งของระบบการศึกษาจากงบประมาณสาธารณะ, อัตราการรู้หนังสือของสังคม, อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน, สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ และแผนการศึกษา จะเป็นปัจจัยที่ถูกนำมาพิจารณาเป็นหลัก
เมื่อพูดถึงความสำเร็จของการปฏิวัติอิสลามในด้านต่างๆ การส่งเสริมการรู้หนังสือของผู้หญิง ถือได้ว่า เป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ที่ต้องกล่าวถึงอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเมื่อคำนึงถึงปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น เราก็จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้หนังสือและการศึกษาของผู้หญิงมากขึ้น นี่เป็นจุดสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรู้หนังสือและสถานะทางการศึกษาของผู้หญิง การทบทวนตรวจสอบปัจจัยดังกล่าว ตั้งแต่ยุคก่อนการปฏิวัติ จนถึงปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นไปยังสถิติตัวเลขที่ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ก่อนและหลังการปฏิวัติอิสลาม
ทั้งนี้ มีความจำเป็นต้องตรวจสอบมุมมองทั่วไปของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่มีต่อสตรี ก่อนที่จะทำการทบทวนตรวจสอบ ประสิทธิภาพของสาธารณรัฐอิสลามในแง่ของการรู้หนังสือของผู้หญิง
ในมาตรา 20 – รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เน้นย้ำเรื่องความเป็นมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงเพศ อย่างชัดเจน และด้วยเหตุนี้ จึงเน้นย้ำถึงการมีส่วนแบ่งที่เท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน ในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น มาตรา 21 ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปกป้องสิทธิของผู้หญิง โดยประกาศว่า ทุกคนควรเคารพสิทธิของผู้หญิง และยังยืนยันว่า สิทธิเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของฝ่ายบริหาร และองค์กรรัฐของประเทศ
เอกสารที่เป็นมูลฐานอีกประการ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิสตรีในอิหร่านคือ “กฎบัตรสิทธิ และความรับผิดชอบของสตรี” ซึ่งระบุและให้สัตยาบัน โดยองค์กรที่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอิหร่าน ชื่อว่า สภาสูงสุดแห่งการปฏิวัติด้านวัฒนธรรม โดยในภาคส่วน “การศึกษา” เอกสารดังกล่าว ได้ระบุถึงประเด็นดังต่อไปนี้:
  • สิทธิของผู้หญิงในการได้รับประโยชน์จากสุขภาพ (เช่น สุขภาพในสภาพแวดล้อมการทำงาน ฯลฯ ) และสิทธิในการได้รับประโยชน์จากข้อมูล และช่องทางการศึกษาที่จำเป็น;
  • สิทธิของผู้หญิงในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การออกกฎหมาย การจัดการ การดำเนินการ และการกำกับดูแล สุขภาพ และการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง;
  • สิทธิของผู้หญิงในการเข้าถึงการศึกษาของรัฐ และได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงด้านการศึกษา และจากช่องทางด้านการศึกษาที่หลากหลายต่างๆ;
  • สิทธิของผู้หญิงที่จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาระดับอุดมศึกษา จนถึงระดับสูงสุด;
  • สิทธิของผู้หญิงในการได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการศึกษา ในพื้นที่ด้อยโอกาส;
  • สิทธิของผู้หญิง ในความพยายามรับผิดชอบการเตรียมโรงเรียน และอุปกรณ์การเรียนอื่นๆ;
  • สิทธิและความรับผิดชอบของผู้หญิงในการได้รับมาซึ่ง ตำแหน่งที่เหมาะสมกับสถานะ และบทบาทของพวกเธอในโรงเรียน และหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ
นอกเหนือจากนโยบาย และเอกสารที่เป็นรากฐาน เกี่ยวกับการศึกษาของสตรีในอิหร่านแล้ว บรรดาผู้นำ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน และโอกาสที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้า และการเติบโตของผู้หญิงในชีวิตส่วนตัว และสังคมของพวกเธอ ในสุนทรพจน์ต่างๆของพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ผู้นำการปฏิวัติอิสลามคนปัจจุบัน กล่าวว่า:
“..สตรี มีบทบาทในกิจกรรมทางสังคม การเมืองวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ จากมุมมองของศาสนาอิสลาม เวทีสำหรับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ และการเมืองของสตรี เปิดกว้างอย่างสมบูรณ์ หากมีผู้ใดตัดสินใจกีดกันสตรี จากงานด้านวิทยาศาสตร์ และความพยายามทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม บนพื้นฐานของมุมมองของอิสลาม พวกเขาได้กระทำการขัดต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า สตรีสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆได้มากเท่าที่ความสามารถทางร่างกาย และความต้องการของพวกเธอจะเอื้ออำนวย พวกเธอสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมได้มากเท่าที่จะทำได้ กฎชารีอะฮ์อิสลามอันศักดิ์สิทธิ์ [กฎหมายอิสลาม] ไม่ได้ต่อต้านมัน แน่นอนว่า เนื่องจากผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนในด้านกายภาพ จึงมีข้อจำกัด บางประการ..” [1]
ความสนใจเป็นพิเศษที่มีให้แก่ผู้หญิงโดยเฉพาะเกี่ยวกับชีวิตด้านการศึกษาและวิทยาการของพวกเธอได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมและเป็นที่น่าสังเกตในความก้าวหน้าทางด้านชีวิตส่วนบุคคลสังคมและวิทยาศาสตร์ของพวกเธอในยุคหลังการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน
นับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติอิสลามในปี..1979 ได้มีการนำมาตรการที่ดีมาใช้อย่างรวดเร็วและด้วยความจริงจังอย่างสมบูรณ์ในความสอดคล้องกับการส่งเสริมการรู้หนังสือของสตรีอย่างรอบด้านและทั่วถึงโดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมซึ่งอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงเพิ่มขึ้นจาก 37 เปอร์เซ็นต์ในปี 1976 เป็น 87 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงอิหร่านนั้นยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกด้วยซ้ำ
นอกเหนือจากอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากการปฏิวัติอิสลามแล้ว ผู้หญิงยังได้รับประโยชน์จากสภาพเงื่อนไขที่ดีขึ้นมาก เมื่อคำนึงถึงแง่ของความยุติธรรมทางการศึกษา ภายในขอบเขตด้านการขยายการรู้หนังสือ – เมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติ
ก่อนการปฏิวัติอิสลาม อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงอยู่ที่ 24 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของอัตราการรู้หนังสือของผู้ชาย – หรือประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม หลังการปฏิวัติอิสลาม ช่องว่างระหว่างเพศในการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ ลดลงเหลือ 9 เปอร์เซ็นต์ [2]
เมื่อวิเคราะห์ถึงยุคปาห์ลาวี มักมีการอ้างว่า สถานการณ์ของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกอย่างมากมาย ซึ่งต้องขอบคุณไปยัง การถูกทำให้ทันสมัย (modernization) ของสังคม อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปอย่างผิวเผินมากกว่าในทางปฏิบัติจริง อับบาซี และ มูซาวี ชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียง แต่ความทันสมัยของสังคมอิหร่านไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อกล่าวถึงสภาพสังคมของผู้หญิงในอิหร่านก่อนการปฏิวัติ โดยทั่วไป เท่านั้น แต่มันยัง “สร้างความแตกแยกในหมู่ผู้หญิงจำนวนมาก และยังทำลายสถานภาพของผู้หญิงส่วนใหญ่ ที่นิยม(ฝักใฝ่)ในศาสนา เมื่อคำนึงถึงแง่ของการตระหนักรู้ทางการศึกษา และสังคม ซึ่งสิ่งนี้ มีต้นตอมาจากการที่รัฐบาลไม่แยแสต่อสิทธิทางการเมือง และสิทธิพลเมืองของสตรี และจากการผลักดันพวกเธอไปสู่ความเสื่อมโทรม ตัวอย่างเช่น ความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ โดยการบังคับให้สตรีถอดฮิญาบ และต่อมาก็มีการปราบปรามสตรีที่นิยมปฏิบัติตามจารีต เพื่อการบังคับใช้มาตราการนั้น “(60). [3]
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการศึกษา การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดจากความทันสมัยในยุคปาห์ลาวี ยังได้รับการสบประมาทว่า ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากความขัดแย้ง และความแตกต่างอย่างโดดเด่นของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ที่มีไปยังวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของอิหร่าน ตัวอย่างเช่น ในบทความ “ การศึกษาในรัชสมัยของราชวงศ์ปาห์ลาวีในอิหร่าน (1941-1979)” ฮัมดาอิดารี ระบุว่า โครงสร้างการศึกษาใหม่ในยุคของโมฮัมหมัดเรซา ปาห์ลาวี “ถูกกำหนดบังคับ” และ มัน “ไม่สัมพันธ์” กับความเป็นจริงทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมอิหร่าน และต่อความต้องการของสังคม” (17) [4]
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายมหภาคของระบอบการปกครอง ในแง่ของวัฒนธรรม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำจัดผู้หญิงออกจากวงจรของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดให้พวกเธอเป็นสินค้าทางเพศเพื่อการรับใช้ระบบสังคมที่ชายเป็นใหญ่ (สังคมปิตาธิปไตย)
สำหรับการพิสูจน์ความไร้ประสิทธิภาพของนโยบาย ปาห์ลาวีที่มีต่อผู้หญิง และอัตลักษณ์ของผู้หญิงเพิ่มเติม สามารถเห็นได้จาก บทสัมภาษณ์ที่มีชื่อเสียงของ โอเรียนา ฟัลลาซี กับ โมฮัมหมัดเรซา ปาห์ลาวี ซึ่งเขาได้ตอบคำถาม เกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิง คำตอบของเขาแสดงให้ถึงมุมมองที่น่าอับอายและเสื่อมโทรมของผู้ปกครองปาห์ลาวี ที่มีต่อผู้หญิงอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องสงสัยถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อผู้หญิง เขาตอบว่า:
“..พวกคุณ [ผู้หญิง] ไม่เคยผลิต [บุคคลอย่าง] Michelangelo หรือ Bach พวกคุณไม่เคย แม้แต่จะสร้างนักปรุงอาหารฝีมือเยี่ยมด้วยซ้ำ และอย่าพูดถึงโอกาส ล้อเล่นใช่ไหม? พวกคุณขาดโอกาส ที่จะสร้างประวัติศาสตร์การเป็นนักปรุงอาหารที่ยอดเยี่ยมกระนั้นหรือ? คุณไม่ได้ผลิตอะไรที่ยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเลย!…” [5]
การตรวจสอบทางสถิติสามารถชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างมุมมองของระบอบการปกครองเดิมของอิหร่านและระบอบสาธารณรัฐอิสลามในด้านการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวิทยาศาสตร์และการวิจัยจากสถิติสากลที่เปรียบเทียบระบอบการปกครองเดิมกับระบอบสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านอัตราการประสบความสำเร็จทางวิชาการของผู้หญิงเติบโตขึ้นอย่างมากในยุคหลังการปฏิวัติโดยเฉพาะในปี 2008 การรับเข้ามหาวิทยาลัยของผู้หญิมีเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการรับเข้าโดยรวมซึ่งมีมากถึง 53 เปอร์เซ็นต์ [6] ความพยายามของอิหร่านในการลดช่องว่างระหว่างเพศในการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ผลเป็นอย่างมากจนกระทั่งองค์กรธนาคารโลก (World Bank) ประกาศในรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือว่า “ในอิหร่านในปี 2008 เป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่เปอร์เซ็นต์ของเด็กผู้หญิงที่ผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเข้มงวดมีเกินเปอร์เซ็นต์ของเด็กผู้ชายที่สอบผ่าน “(34-35) [7]
ในช่วงเวลาของสาธารณรัฐอิสลาม ผู้หญิงค้นพบโอกาสในความก้าวหน้าอย่างเท่าทวีคูณ ในทุกระดับของการศึกษาระดับสูง ในขณะที่ทรัพยากรดังกล่าวไม่มีอยู่ในระบอบการปกครองเดิม โดยพื้นฐานแล้ว ระบบกษัตริย์ในอิหร่าน ใช้มุมมองแบบผิวเผินต่อผู้หญิง โดยมองว่าพวกเธอเป็นสินค้าในสังคม
นอกเหนือจากการที่ผู้หญิงสามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น สภาพของผู้หญิง เมื่อคำนึงถึงของความหลากหลายของสาขาวิชาการที่มีให้แก่พวกเธอ ก็ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้หญิงได้รับความเท่าเทียม โดยสัมพัทธ์กับผู้ชายในสาขาการศึกษาที่แตกต่างกัน และพวกเธอยังแซงหน้าพวกเขาในบางสาขา ดังที่ปรากฏอย่างชัดเจน ในแผนภาพต่อไปนี้ ในปี 2017 จำนวนบัณฑิตหญิงในสาขาการแพทย์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีจำนวนมากกว่าบัณฑิตชาย เฉพาะในสาขาด้านเทคนิค และวิศวกรรมเท่านั้น ที่มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาชายสูงกว่าผู้หญิง อย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นผลมาจากธรรมชาติของสาขาวิชาเหล่านี้ [8]
โดยไม่คำนึงถึงเพศ หลังจากการปฏิวัติอิสลาม การเข้าถึงมหาวิทยาลัยและสภาพแวดล้อมทางวิชาการและความเต็มใจที่จะทำเช่นนั้นในหมู่ชาวอิหร่านได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติ ในปี 1976 มีชาวอิหร่านเพียงไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาต่อในการศึกษาระดับสูง แต่ทว่าหลังจากการปฏิวัติอิสลาม เพื่อการบริหารความยุติธรรมทางการศึกษา และด้วยการมีอยู่ของโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทำให้การบรรลุซึ่งการศึกษาในระดับสูงกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ สำหรับประชากรอิหร่านในเปอร์เซ็นต์ที่สูง
จากสถิติระหว่างประเทศ ในปี 2014 ระบุว่า เกือบ 66 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรอิหร่าน ที่จบมัธยมปลาย เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย สิ่งนี้เป็นที่น่าสังเกต ซึ่งควรแก่การกล่าวถึงว่า อัตราความสำเร็จของอิหร่าน ในการขยายและจัดหาสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และการวิจัย ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนได้มาซึ่งการรู้หนังสือนั้น สูงกว่าอัตราการเติบโตนี้ของทั่วโลกเกือบสองเท่า
การรู้หนังสือของผู้หญิงอิหร่าน ไม่เพียงแต่เป็นที่ประจักษ์ได้ ด้วยความก้าวหน้าในแง่ของปริมาณเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น และการกระจายทางภูมิศาสตร์ที่เป็นธรรม มากขึ้น ภายหลังการปฏิวัติอิสลาม โดยในปี 1977 มีเพียงร้อยละ 17 ของประชากรหญิงในพื้นที่ชนบทเท่านั้น ที่อ่านออกเขียนได้ ในขณะที่ในปี 2017 ผู้หญิง 73 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ชนบทสามารถอ่านออกเขียนได้ สิ่งนี้บ่งชี้ว่า มีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า (670) [9]
การปฏิรูปทางด้านโครงสร้าง และสติปัญญา ที่ดำเนินการในอิหร่าน ในด้านที่เกี่ยวข้องกับสตรี ทำให้ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงด้านการรู้หนังสือดังกล่าวข้างต้น การจัดหาซึ่งวิทยาศาสตร์และความรู้แก่ผู้หญิง และการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางวิชาการแก่พวกเธอ ตลอดจนการรับรองอัตลักษณ์และศักดิ์ศรีของผู้หญิงอิหร่าน ทำให้สภาพของอิหร่านดีขึ้นเป็นอย่างมาก ในด้านการบริการสาธารณะ และการพัฒนาความเชี่ยวชาญและผลงานที่อาศัยทักษะ สิ่งนี้ถูกพิสูจน์ จากจำนวนแพทย์หญิง ที่เพิ่มขึ้น 10 เท่าระหว่างปี 1979 ถึงปี 2012 โดยที่ก่อนการปฏิวัติอิสลามนั้น จำนวนแพทย์หญิง มีอยู่ที่ 1,988 คน ในขณะที่ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 20,177 คน ภายหลังการปฏิวัติ [10]
ในกรณีของการจัดการศึกษา บทบาทของสตรีหลังการปฏิวัตินั้นเทียบไม่ได้กับยุคก่อนการปฏิวัติ การเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาของผู้หญิงที่มากขึ้นทำให้ผู้หญิงจำนวนมาก สามารถเข้ารับตำแหน่งด้านการจัดการในขอบเขตการศึกษาได้ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของจำนวนอาจารย์ และคณาจารย์หญิงในมหาวิทยาลัย ในรายงานเกี่ยวกับจำนวนคณาจารย์หญิงในมหาวิทยาลัย ธนาคารโลกระบุว่า จำนวนสมาชิกคณะกรรมการหญิง เพิ่มขึ้นสามเท่า จาก 11 เปอร์เซ็นต์ในปี 1970 เป็นมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016 [11]
_____________
[3] Somaye, Abbasi, and Musavi Mansoor. “The Status of Iranian Women during the Pahlavi Regime (from 1921 to 1953).” Women’s Studies, vol. 5, no. 9, 2014, pp. 59–82.
[4] Hamdhaidari, Shokrollah. “Education during the Reign of the Pahlavi Dynasty in Iran (1941–1979).” Teaching in Higher Education, vol. 13, no. 1, 2008, pp. 17–28.
[7] Gender and Development in the Middle East and North Africa: Women in the Public Sphere. World Bank, 2004.
[8] Iran Statistical Yearbook 2016-2017. Statistical Center of Iran, 2017.
[9] Iran Statistical Yearbook 2016-2017. Statistical Center of Iran, 2017.
[10] Simforoosh N, Ziaee SAM, Tabatabai SH. “Growth Trends in Medical Specialists Education in Iran. 1979 – 2013.” Arch Iran Med. 2014; 17(11): 771 – 775.
___________