“ทาสสมัยใหม่” ผลักดันสหรัฐ สู่ขอบเหวการล่มสลาย ตอน 1: เบื้องหลังแรงงานนักโทษในอเมริกา

346
ในสุนทรพจน์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน อยาตุลเลาะห์ คาเมเนอี (Ayatollah Khamenei) ผู้นำสูงสุดรัฐปฏิวัติอิสลามอิหร่าน เน้นย้ำอีกครั้งว่าการเสื่อมถอย และการล่มสลายของระเบียบที่ได้รับการจัดตั้งของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่เป็นหัวข้อที่นักวิเคราะห์ และนักเขียนในสหรัฐอเมริกายอมรั หนึ่งในข้อบ่งชี้หลายประการเกี่ยวกับการเสื่อมถอย และการล่มสลายของสหรัฐฯ คือ การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของพฤติกรรมการเหยียดผิวของระบอบการปกครองของสหรัฐฯ ที่มีต่อประชาชนของตนและชาติอื่
ไม่สำคัญว่า คณะบริหารใดจะเป็นฝ่ายนั่งห้องทำงานรูปไข่ (ห้องทำงานประธานาธิบดีสหรัฐ) เพราะนี่เป็นแนวทางเชิงโครงสร้าง ที่ดำเนินการโดยทั้งรัฐบาลเดโมแครต และรีพับลิกัน
บทความนี้จะทบทวนตรวจสอบ ประเด็นการเหยียดคนผิวสี และการใช้ประโยชน์จากพวกเขาในฐานะแรงงานราคาถูก ตลอดจนการขยายตัวของระบบทาสสมัยใหม่ในสหรัฐอเมริกา
ศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำ เป็นพื้นฐานสำหรับนโยบายเสรีนิยมใหม่แบบอนุรักษ์นิยม (conservative neo-liberal policies) ที่กำลังพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1970 นโยบายเหล่านี้ได้เพิ่มการกีดกันชุมชนคนผิวดำ และชาวลาตินในสหรัฐอเมริกา นโยบายเหล่านี้ ยังมีส่วนต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ต่อการปฏิบัติอย่างเลวร้าย ที่มีไปยังชนกลุ่มน้อยในประเทศนี้
สหรัฐอเมริกามีจำนวนนักโทษมากเป็นประวัติการณ์ในประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษยชาติ สถิติดังกล่าว ไม่มีบันทึกอยู่ที่อื่นในโลกปัจจุบัน สหรัฐอเมริกามีประชากรเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก แต่น่าประหลาดใจ ที่กว่า 25% ของประชากรเรือนจำทั่วโลก คือ ชาวสหรัฐ [1]
ระหว่างปี 1970 ถึง 2000 จำนวนนักโทษในสหรัฐฯ อยู่ที่ 2,200,000 คน [2] แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะแสดงจำนวนประชากรในเรือนจำของรัฐ และรัฐบาลกลาง แต่มันก็ยังไม่ได้รวมชาวอเมริกันอีกกว่า 750,000 คนที่ถูกคุมขังในแต่ละวัน เช่นเดียวกับจำนวนประชากรที่ถูกจำคุกต่อปี ซึ่งสูงถึง 13 ล้านคน [3]
สถิตินี้ แสดงให้เห็นว่า ประชากรในเรือนจำในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 500% ในขณะที่จำนวนประชากรทั้งหมดของอเมริกาเพิ่มขึ้นเพียง 45 % เท่านั้น
ดังต่อไปนี้ คือ สิ่งที่คุณสามารถค้นพบได้จากเบื้องหลังศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำในสหรัฐฯ:
“ผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจของชนชั้นสูงของอเมริกา: กฎหมาย; อัยการที่กระตือรือร้น สาขานิติบัญญัติ ตุลาการ และคณะบริหารในระดับท้องถิ่นรัฐ และรัฐบาลกลาง; สื่อ; บรรษัทข้ามชาติ; โรงเรียน; คริสตจักร; ตำรวจ; สถาบันในอเมริกาแทบทุกแห่ง และอุดมการณ์และวาทศิลป์ของการเหยียดเชื้อชาติ ความหวาดกลัว และอาชญากรรม และการลงโทษทั้งหมด ทำงานร่วมกัน เพื่อรักษาระบบเรือนจำที่ใหญ่ที่สุดในโลก” [4]
สงครามเหยียดเชื้อชาติต่อต้านยาเสพติด กฎหมายที่รุนแรง และคำพิพากษาที่กฎหมายกำหนดให้ศาลลงโทษ โดยห้ามใช้ดุลยพินิจในการลดโทษ หรือรอลงโทษ (mandatory sentences) ในยุคอนุรักษ์นิยม , การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ, โลกาภิวัตน์ และศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำ เป็นปัจจัยที่มีส่วนรับผิดชอบต่อจำนวนนักโทษที่มากเช่นนี้ในสหรัฐฯ
Julia Sudbury [1] สมาชิกคณะกรรมการของศูนย์ทรัพยากรนักเคลื่อนไหวเรือนจำ (Prison Activist Resource Center) และประธานกลุ่มชาติพันธุ์ศึกษา ที่วิทยาลัยมิลส์ ( Mills College) กล่าวถึงศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำในสหรัฐอเมริกาว่า เป็น
“ …ความสัมพันธ์ทางชีวภาพ และผลกำไรระหว่างนักการเมือง [ระดับรัฐและระดับชาติ] บริษัทต่างๆ [ผู้บริหารและผู้ถือหุ้น] สื่อมวลชน และสถาบันราชทัณฑ์ของรัฐ [รวมถึงสหภาพแรงงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์] ที่ก่อให้เกิด การใช้การจำคุกตามเชื้อชาติในการตอบสนองต่อปัญหาสังคม ที่ฝังรากมาจากทุนนิยมผูกขาดระดับโลก [5]”
อาจมีคนโต้แย้งว่า ประชากรจำนวนมากที่ถูกคุมขังส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาเป็นอาชญากรตัวจริง ที่สมควรถูกคุมขังในเรือนจำ ทว่านั่นไม่ใช่กรณี จำนวนคนที่อยู่เบื้องหลังลูกกรง ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่อัตราการก่ออาชญากรรมมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าอาชญากรรมรุนแรงจะลดลงในสหรัฐอเมริกา [6] แต่อัตราการจำคุกเพิ่มขึ้นสามเท่า นับตั้งแต่ปี 1980 [7]
ประมาณ 13 ล้านคน ถูกนำตัวไปยังเรือนจำในอเมริกาในปีใดก็ตาม เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลโดยสิ้นเชิงที่จะกล่าวว่า มีผู้คนมากกว่าหกล้านคนที่อยู่ภายใต้ “การดูแลของราชทัณฑ์” ในสหรัฐอเมริกา สถิติเหล่านี้เป็นที่น่าประหลาดใจ เพราะนั่นหมายความว่า ชาวอเมริกัน 1 ใน 50 คน เคยถูกคุมขังในช่วงชีวิตของพวกเขา ไม่ว่าจะในฐานะผู้ต้องขัง หรือขณะถูกทัณฑ์บน หรือถูกคุมประพฤติ โดยปัจจุบัน มีชาวอเมริกัน 1 ใน 100 คน ถูกคุมขัง [8]
นี่ไม่ใช่ข้อความที่ขัดแย้งกันเองอย่างที่คิด เรือนจำเป็นภาระของรัฐบาลโลกมานานแล้ว เนื่องจากกสรต้องจัดหาอาหารที่จำเป็น และที่สำหรับนอนหลับแก่นักโทษในช่วงเวลาที่ถูกจองจำ หมายความว่า เรือนจำเป็นต้นทุน ที่ปราศจากผลตอบแทนทางการเงิน
 
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ บริษัท ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอวิธีแก้ปัญหานี้ อย่างไร้มนุษยธรรม โดยการเซ็นสัญญาเพื่อจัดการเรือนจำเหล่านี้ และการจ่ายเงินจำนวนมากให้กับรัฐบาล เพื่อให้พวกเขาสามารถครอบครองเรือนจำเหล่านี้ เหตุผลทางการเงิน สำหรับการจัดการเรือนจำและการจ่ายค่าครองชีพแก่นักโทษปรากฏอย่างชัดเจน เมื่อผู้บริหารขององค์กรตระหนักว่า พวกเขาสามารถใช้นักโทษเป็นแรงงานทาสได้ โดยจ่ายเงินเพียง 25 เซ็นต์ต่อชั่วโมง (หรือ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน) เพื่อทำงานเดียวกันกับที่คนงานทั่วไปทำ โดยได้ค่าแรงขั้นต่ำที่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลกลางกำหนดในสหรัฐอเมริกา [9]
ในทางกลับกัน บริษัทต่างๆ ต้องการให้รัฐบาลจัดให้เรือนจำ มีเตียง อย่างน้อย 1,000 เตียง และคงรักษาอัตราผู้เข้าพักให้อยู่ที่ 90 % ในเรือนจำที่ดำเนินการโดยเอกชนเหล่านี้ เป็นระยะเวลา 20 ปี [10]
ผู้ต้องขังของรัฐบาลกลางในโครงการ UNICOR เย็บเครื่องแบบสำหรับทหารสหรัฐฯ UNICOR ซึ่งเป็น บริษัท ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของมีรายได้ต่อปีมากกว่า 600 ล้านดอลลาร์ สำหรับการผลิตสินค้าด้วยแรงงานลงโทษ
ยี่สิบห้าเซ็นต์ต่อชั่วโมง คือ ราคาของทาส! แต่ใครจะสนล่ะ? การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 ของสหรัฐอเมริกาบังคับใช้รูปแบบการเป็นทาสในปี 1865 โดยระบุว่า “ไม่มีการเป็นทาส หรือการเป็นทาสโดยไม่สมัครใจ เว้นแต่ในฐานะที่เป็นการลงโทษสำหรับอาชญากรรม – ตามที่ฝ่ายดังกล่าวต้องถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงอย่างถูกต้อง – จะต้องมีอยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือสถานที่ใด ๆ ภายใต้เขตอำนาจศาลของสหรัฐฯ”
ดังนั้น การเป็นทาสในรูปแบบนั้น จึงกลายเป็นประเด็นทางกฎหมายโดยสิ้นเชิงในสหรัฐอเมริกา
มันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย แต่แน่นอน นี่เป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม เพราะทำให้เกิดกระแสการจำคุกผู้บริสุทธิ์ ศาลอเมริกันกำลังถูกล็อบบี้ให้ออกคำวินิจฉัยที่ไม่สมสัดส่วน เกี่ยวกับการละเมิดเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ต้องโทษเป็นชายผิวดำ
อุตสาหกรรมเรือนจำของสหรัฐฯ ส่งผลทำให้ผู้คนถูกคุมขังส่วนใหญ่มาจากอาชญากรที่ไม่รุนแรง โดยมีโทษจำคุกยาวนาน อันเนื่องจาก ครอบครองยาเสพติดผิดกฎหมายในปริมาณที่น้อยมาก [11]
กฎหมายของสหรัฐอเมริกา ยังมีความลำเอียงต่อความเสียหายที่ก่อโดยคนผิวดำ กฎหมายระบุว่า การครอบครองโคเคนแคร็ก 5 กรัมหรือเฮโรอีน 3.5 ออนซ์มีโทษจำคุก 5 ปีโดยไม่มีการรอลงอาญา ขณะที่โทษฐานครอบครองร็อกโคเคน หรือแคร็ก น้อยกว่า 2 ออนซ์ คือ 10 ปี
ในทางตรงกันข้าม การครอบครองโคเคนในรูปแบบผง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้โดยคนผิวขาวจะได้รับโทษจำคุกสั้นลง การครอบครองโคเคนผง 17.5 ออนซ์มีโทษจำคุก 5 ปี
ในดินแดนแห่งเสรี ชายอเมริกันผิวดำ มีแนวโน้มที่จะถูกจำคุก 30% ตัวเลขอยู่ที่ 16% สำหรับชาวละติน ในขณะที่คนผิวขาวมีเพียง 4 % เท่านั้น ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำมีเป้าหมายเฉพาะไปยังคนผิวดำ [12]
ชายหนุ่มผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่ออกจากการเรียนมัธยม – กำลังสร้างสถิติใหม่ในเรือนจำอย่างต่อเนื่อง อัตราการจำคุกของชายผิวดำที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 29 ปีคือ 13 % ในขณะที่จำนวนนี้อยู่ที่ 2 % สำหรับคนผิวขาว และ 4 % สำหรับคนสเปนในกลุ่มอายุนั้น ชายผิวดำครึ่งหนึ่ง ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีความขันแข็งในกำลังแรงงาน กำลังผ่านชีวิตการทำงานในบริษัทอเมริกันเบื้องหลังลูกกรงในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งทำงานจากนอกลูกกรง
ในขณะเดียวกัน ตามสถิติ ชายหนุ่มผิวขาวที่ไม่มีประกาศนียบัตรมัธยมปลาย มีอัตราการจำคุก 1 ใน 10 – อัตราการจำคุกที่สูงในหมู่เยาวชนผิวดำนี้ ส่งผลกระทบต่อโอกาสในการจ้างงานของพวกเขา และทำให้มัวหมอง ซึ่งความเป็นไปได้ของพวกเขา ที่จะประสบความสำเร็จในการแต่งงาน และการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์ต่อการปิดช่องว่างแห่งความสำเร็จ สถานการณ์นี้ หมายถึงโอกาสที่ชายผิวดำจะกลับเข้าคุกมีเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มแนวโน้มความเป็นไปได้ ที่ลูก ๆ ของพวกเขาจะมีอนาคตที่เหมือนกัน นี่หมายถึงผลกำไรที่มากขึ้นสำหรับบริษัท ที่ใช้แรงงานในคุก โดยแทบไม่ต้องตอบแทนอะไรเลย [13]
ข้อมูลนี้ไม่น่ากังวลสำหรับบริษัท ที่วิ่งเต้นเพื่อเติมเรือนจำเอกชนของพวกเขา ให้เต็มไปด้วยพนักงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง โดยมีผลประโยชน์ทำให้เงินในกระเป๋าของพวกเขาถูกเติมเต็มตามไปด้วย เรือนจำของสหรัฐอเมริกา อาจเป็นสถานที่ที่ให้โอกาสทางการศึกษา และการฝึกอบรมงาน หรือเตรียมผู้ต้องขังเพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่อการลงโทษของพวกเขาเสร็จสิ้นลง โชคร้ายที่ศูนย์อุตสาหกรรมเรือนจำ ใช้ประโยชน์จากพวกเขา เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น
_______
References
[1] Henderson, Alex. 9 Surprising Industries Profiting Handsomely from America’s Insane Prison System. ALTERNET. [Online] 02 18, 2015. [Cited: 02 06, 2016.] http://www.alternet.org/news-amp-politics/9-surprising-industries-profiting-handsomely-americas-insane-prison-system.
[2] Pelaez, Vicky. The Prison Industry in the United States: Big Business or a New Form of Slavery? Global Research Center for Research on Globalization. [Online] 03 31, 2014. [Cited: 02 06, 2016.] http://www.globalresearch.ca/the-prison-industry-in-the-united-states-big-business-or-a-new-form-of-slavery/8289.
[3] Incarceration nation. Collier, Lorna. 9, Chicago : American Psychological Association, 10 2014, Vol. 45. Available at: http://www.apa.org/monitor/2014/10/incarceration.aspx.
[4] Leonard, David J. After Artest: The NBA and the Assault on Blackness. s.l. : SUNY Press, 2012. Available at: https://books.google.com/books?id=-hegS07ek-AC&pg=PA114&lpg.
[5] Souls: A Critical Journal of Black Politics, Culture, and Society. Sokoloff, Natalie. 4, s.l. : Taylor and Francis Online, 2003, Vol. 5. DOI: 10.1080//10999940390463356.
[6] Markon, Jerry. Violent crime in U.S. on the decline. The Washington Post. [Online] 05 25, 2010. [Cited: 02 06, 2016.] http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/05/24/AR2010052402210.html.
[7] Gopnik, Adam. The Caging of America: Why do we lock up so many people? The New Yorker. [Online] 01 30, 2012. [Cited: 02 06, 2016.] http://www.newyorker.com/magazine/2012/01/30/the-caging-of-