เปิดประวัติ ผบ. “กองพล กัสซาม”แห่งปาเลสไตน์  ทำไมอิสราเอล เรียก “แมวเก้าชีวิต”  

889

แม้ว่าเทลอาวีฟจะมีความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่จะลอบสังหารผู้บัญชาการทหารสูงสุดของปีกทหารของฮามาส  แต่รัฐบาลอิสราเอลก็ยังไม่สามารถวาดภาพใหม่ของตัวเขาได้ และเมื่อความพยายามทั้งหมดนี้ไปถึงทางตัน เขาจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “แมวเก้าชีวิต

หนังสือพิมพ์ Al-Akhbar ของเลบานอนได้ตีพิมพ์รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี 20 พฤษภาคม ได้แนะนำผู้บัญชาการนิรนามของ “กองพล อัลกัสซาม” ซึ่งเป็นปีกทหารของขบวนการต่อสู้อิสลามแห่งปาเลสไตน์ (ฮามาส) และกองทัพอิสราเอลล้มเหลวในการลอบสังหารเขาในปฏิบัติการข่าวกรองสองครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

หนังสือพิมพ์ อัล – อัคห์บาร์ เขียนเกี่ยวกับเขาว่า จนถึงคืนที่ผ่านมาชาวอิสราเอลได้กล่าวอย่างชัดเจนว่ากองทัพได้พยายามลอบสังหาร “มูฮัมหมัด อัล – ดาอิฟ” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองพลอัล – กัสซาม ถึงสองครั้ง แต่ล้มเหลว   จากนั้นไม่กี่วันต่อมา หนังสือพิมพ์อเมริกา “นิวยอร์กไทม์ส” อ้างแหล่งข่าวในหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลว่า “มีความพยายามที่จะฆ่า … อัล – ดาอิฟ และล้มเหลวมาแล้วแปดครั้ง”  แต่คำถามตรงนี้ คือ  บุรุษไร้เงาคนนี้ที่อิสราเอลต้องการลอบสังหารที่เทียบเท่ากับการลอบสังหาร “อีมาด มูห์นิเยห์” ผู้บัญชาการระดับสูงของขบวนการฮิซบุลเลาะห์ เขาคือใคร ?

ตามรายงานระบุว่า ชื่อจริงของเขาคือ มุฮัมมัด ดัยยาบ อิบรอฮีม อัลมัสรี ( “Mohammad Diab Ibrahim Al-Masri”) รู้จักกันในชื่อ อบู คอลิด ( “Abu Khalid” ) ซึ่งในกองพลอัลกัสซามมีชื่อเล่นว่า อัลดัยฟ์ ( “Al-Daif” )หมายถึง การเป็นแขกในบ้านของพี่น้องประชาชน เนื่องจากต้องหลบหนีย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังในช่วงที่ถูกไล่ล่าในปี 1990

เขาเป็นผู้บัญชาการทหารปาเลสไตน์คนปัจจุบันที่โดดเด่นที่สุดรองจาก “ยะห์ยา อายาช”  ซึ่งหลังจากพัฒนาโครงสร้างและรากฐานของขบวนการฮามาสแล้ว ตอนนี้เขาดำรงตำแหน่งบริหารดูแลกลุ่มปีกทหารของขบวนการและสำนักงานใหญ่ของฮามาส

หนังสือพิมพ์เลบานอนกล่าวอีกว่า ตอนนี้เขาเป็นบุคคลอันดับหนึ่งที่ยิวไซออนิสต์ต้องการตัวมากที่สุด หลังจากพยายามลอบสังหาร 5 ครั้งก่อนที่ความขัดแย้งของปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน

จากรายงานระบุว่า อัลดัยฟ์  เกิดในปี 1965 ในเมือง คานยูนุส ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ในหมู่ครอบครัวที่เคร่งศาสนา และก่อนการประกาศของ “อะหมัด ยาซิน” ผู้ก่อตั้งฮามาสเกี่ยวกับการจัดตั้งขบวนการนี้ เขาได้เริ่มเคลื่อนไหวในมัสยิดและทำการเผยแผ่

ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิสลาม (Al-Jame’a al-Islamiyyah) เขาเริ่มเคลื่อนไหวในกิจกรรมญิฮาดของเขา หลังจากเข้าร่วมกับชมรมนักศึกษาของ “กลุ่มอิสลาม”  จากนั้นเขาก็เข้าร่วมกับกลุ่มติดอาวุธฮามาสที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อขับเคลื่อนแบบหมุนเวียนอย่างถาวรในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ที่ถูกยึดครอง เขาจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มตามคำสั่งของ ซาลาห์ อัลชะฮาดา ( Salah al-Shahada ) ผู้บัญชาการคนแรกของกองพลอัลกัสซาม ซึ่งถูกลอบสังหารโดยยิวไซออนิสต์ในปี 2003

หนังสือพิมพ์ อัล – อัคห์บาร์ รายงานเสริมว่า กองกำลังของยิวไซออนิสต์จับกุมเขาในปี 1989 ซึ่งตอนนั้นพวกเขาควบคุมฉนวนกาซาอยู่ และอัล – ดัยฟ์ ถูกตัดสินจำคุก 16 เดือนโดยไม่ได้รับการพิจารณาคดีเนื่องจากปฏิเสธข้อหาที่ได้เข้าร่วมกับกองกำลังทหารฮามาส

ระหว่างการจับกุม มุฮัมหมัด อัล -ดัยฟ์ ได้ตกลงเห็นด้วยกับชะฮีด ชะฮาดาห์(Shahadeh) และชะฮีด ซะการียา อัลเชอร์บาญี(Zakaria al-Shorbaji )สำหรับการจัดตั้งกลุ่มเพื่อจับทหารยิวไซออนิสต์เป็นเชลย แต่มีการปฏิบัติการในวงปิดและไม่มีการสื่อสารกับองค์กรหรือคำสั่งจากส่วนกลาง ดังนั้นในกรณีที่มีการโจมตีด้านความมั่นคงหรือทางทหารองค์กรจะไม่ถูกแทรกซึม

หลังจากการปล่อยตัวผู้บัญชาการอัล – กัสซามคนปัจจุบันออกจากเรือนจำ  กระบวนการปกปิดและความระมัดระวังระดับสูงเริ่มขึ้นในการสื่อสารและการก่อตัวของกลุ่มติดอาวุธลับในฉนวนกาซา  หลังจากนั้นอัล – ดัยฟ์ได้เดินทางไปยังเวสต์แบงก์เพื่อจัดตั้งปีกทหารของกลุ่มฮามาส

มุฮัมหมัดอัล – ดัยฟ์ เป็นผู้ปฏิบัติการลักพาตัวนายทหารของกองทัพไซออนิสต์ ชื่อ  “นาห์ซุน ฟ็อกซ์แมน” ในดินแดนที่ถูกยึดครอง

หลังจากการลอบสังหารยะห์ยา อายาช  ในปี 1996   มุฮัมหมัด อัล – ดัยฟ์ ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการด้วยตนเองในปฏิบัติการเพื่อล้างแค้นให้กับเพื่อนร่วมสายเลือดของเขา  ปฏิบัติการที่กลุ่มก่อการร้ายยิวไซออนิสต์หลายสิบคนถูกสังหารเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2000  ไม่กี่เดือนก่อนเกิดเหตุการณ์อินติฟาดา(การลุกฮือ)ครั้งที่สอง ทางหน่วยงานและองค์กรหนึ่งของปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาได้จับกุมตัวเขา อย่างไรก็ตามเขาสามารถหลบหนีออกมาจากคุกได้ ในช่วงเริ่มต้นขบวนการอินติฟาดา  และเริ่มกระบวนการพัฒนาปีกทหารฮามาสอย่างกว้างขวางและแฝงตัวอย่างลับๆโดยที่ไม่มีใครเห็นรูปร่างหน้าตาของเขา และความพยายามในการติดตามและเข้าถึงตัวเขาก็ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้เขาได้รับการขนามนามว่า “บุตรแห่งความตาย”

ความพยายามลอบสังหารเขา

หนังสือพิมพ์ อัล – อัคห์บาร์  เขียนว่าตลอดระยะเวลาสามสิบปีแล้ว จนถึงวันนี้ที่อัลดัยฟ์ในวัยห้าสิบหกปี ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของยิวไซออนิสต์ เนื่องจากพวกเขาถือว่าอัลดัยฟ์มีหน้าที่วางแผนปฏิบัติการสังหารผู้คน(ชาวยิวไซออนิสต์)ไปหลายร้อยคนและยังคงตามไล่ล่าเขาอยู่

ตามรายงานระบุว่า มีการวางแผนลอบสังหารผู้บัญชาการคนปัจจุบันของกองพลอัลกัสซาม ห้าครั้ง คือในปี 2001, 2002, 2003, 2006 และ 2014  ซึ่งทั้งหมดนี้ล้มเหลว  ด้วยเหตุนี้หน่วยความมั่นคงของเทลอาวีฟ จึงขนานนามเขาว่า “แมวเก้าชีวิต”

ความพยายามลอบสังหารเขาที่โด่งดังที่สุด  เกิดขึ้นในปลายเดือนกันยายน 2002  เมื่อเทลอาวีฟยอมรับว่าเขาไม่อาจรอดชีวิตจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธโดยเฮลิคอปเตอร์ของรัฐเถื่อนยิวไซออนิสต์ในย่านSheikh Rezwan ของฉนวนกาซาได้อย่างแน่นอน นอกจากมีปาฏิหาริย์   แต่ท้ายที่สุดเทลอาวีฟต้องออกมาถอนคำแถลงก่อนหน้านี้อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการลอบสังหารเขาโดยยอมรับว่าอัล – ดัยฟ ยังมีชีวิตอยู่.

ในปี 2006  เทลอาวีฟได้กำหนดเป้าหมายไปที่บ้านของผู้บัญชาการของฮามาส นาบิล อบู สะลีมาห์ ( Nabil Abu Salima )  ด้วยเครื่องบินขับไล่ F-16 สามลำในย่าน Sheikh Rezwan โดยอ้างว่าอัลดัยฟ์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมผู้บัญชาการของอัลกัสซาม โดยมีอะห์มัด อัลญะอฺบะรีย์ รองหัวหน้า  และอะห์มัด อัลฆอนดุร  ผู้บัญชาการหน่วยของกาซาเหนือ และรออีด สะอัด ผู้บัญชาการหน่วยเมืองกาซาร่วมประชุม ซึ่งทุกคนได้รับบาดเจ็บ  แต่อัลดัยฟ์ ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

ในความพยายามลอบสังหารอัล – ดัยฟ์ครั้งล่าสุดในช่วงฤดูร้อนปี 2014  นางวิดาด ภรรยาของอัล – ดัยฟ์ (อายุ 27 ปี) และอาลี ลูกชายของเขาซึ่งมีอายุเพียง 7 เดือนและซาราห์ลูกสาวของเขาถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศในบ้านหลังหนึ่งใน ย่าน Sheikh Rezvan และทั้งหมดเป็นชะฮีด

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับของไซออนิสต์ในปัจจุบันและอดีตหน่วยสืบราชการลับของไซออนิสต์ ว่า  อัล – ดัยฟ์ สูญเสียดวงตาและมือข้างหนึ่งในปฏิบัติการลอบสังหาร และเนื่องจากการแพร่กระจายของชิ้นส่วนกระสุน เขาจึงมีความผิดปกติทางระบบประสาท และการได้ยินของเขาอ่อนแอ และเดินกะเผลก

ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอาวุโสของอิสราเอลยังอ้างว่า เมื่อเขามาถึงฉนวนกาซาในปี 2014 “อิสราเอลมีโอกาสที่จะฆ่าเขา  “แต่ล้มเลิมที่จะทำเช่นนั้นเนื่องจากเกิดสงครามก่อน”  และมีการอ้างอีกว่า ตามรายงานของอิสราเอลเปิดเผยว่าครั้งหนึ่งเขาเคยรอดชีวิตจากการถูกซุ่มโจมตีที่ได้รับการวางแผนไว้อย่างดีระหว่างเดินทางไปอียิปต์

มุฮัมหมัด อัล – ดัยฟ์ ผู้นำของสงคราม

ชื่อของอัล – ดัยฟปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงก่อนการปะทะกันในปาเลสไตน์เมื่อไม่นานมานี้ และชาวปาเลสไตน์ก็ตะโกนเรียกชื่อของเขาในการเดินขบวนประท้วงไม่ว่าจะอยู่ในมัสยิดอัลอักซอหรือในส่วนอื่น ๆ ของย่านเก่าของเยรูซาเล็ม

ในการเดินขบวนในกรุงเยรูซาเล็มที่ถูกยึดครองเมื่อไม่นานมานี้เช่นเดียวกับในเวสต์แบงก์และในดินแดนปี 1948 ผู้คนต่างพากันตะโกนว่า “พวกเราคือชายหนุ่มของมุฮัมหมัด อัล – ดัยฟ” และมีการได้ยินคำขวัญนี้ที่ถูกกล่าวในหมู่มือปืนของขบวนการฟาตาห์ด้วย  ด้วยเหตุเช่นนี้เขาจึงปรากฏตัวในฐานะ “ผู้บัญชาการสงครามของขบวนการต่อสู้เพื่อปาเลสไตน์” ในคลิปวิดีโอ เนื่องจากกลุ่มขบวนการต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ปฏิบัติตามเส้นตายของเขาที่จะไม่โจมตีเทลอาวีฟและกำหนดเวลาหลายชั่วโมงในการอพยพออกจากมัสยิดอัลอักซอ ซึ่งนี้บ่งบอกถึงฐานภาพของเขาในท่ามกลางกองทหารกลุ่มขบวนการต่อสู้เพื่อปาเลสไตน์

ตามรายงานระบุว่า เขาได้รับฉายา ว่า “บุรุษไร้เงา”  ที่ไม่ปรากฏในที่สาธารณะและแม้แต่ชาวไซออนิสต์ที่กำลังมองหาตัวเขาก็ไม่มีรูปถ่ายใหม่ของเขาเลยแม้แต่หนึ่งใบ  และจนถึงทุกวันนี้ตามที่ยิวไซออนิสต์กล่าวว่าเขามีบทบาทที่เป็นมากกว่า เจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ในองค์กรและฮามาส และถือเป็นกุญแจสำคัญสู่สงครามและสันติภาพ ถึงขนาดที่นักข่าวไซออนิสต์บางคนตั้งคำถามเกี่ยวกับวันที่เขาประกาศยุติสงครามตามที่ได้สัญญา

Wala เว็บไซต์ภาษาฮีบรู เขียนในรายงานว่า อัล – ดัยฟประสบความสำเร็จในการ “กำหนดสมการใหม่กับอิสราเอล” แชมริตเมเยอร์  นักเขียนของ หนังสือพิมพ์ Yedioth Ahronoth  ภาษาฮีบรูกล่าวเกี่ยวกับเขาว่า “ อิสราเอลจ่ายราคาแพงสำหรับการเป็นศัตรูกับอัล – ดัยฟ”

ตามที่หนังสือพิมพ์ อัลอัคบาร์ รายงาน นาย Avi Dikhtar อดีตผู้บัญชาการหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองภายในของระบอบไซออนิสต์ในฉนวนกาซา (Shabak) กล่าวถึงเขาว่า: “เขาเป็นทหารอย่างแท้จริงในทุก ๆ ด้านและเป็นบุคคลที่ทุกคนเชื่อฟังเขา”

ตามรายงานเจ้าหน้าที่ Shabak อีกคนหนึ่งที่รับผิดชอบการติดตามของเขา กล่าวถึงเขาว่า: “เขาเป็นคนถ่อมตัวมากและเพราะเขารู้จักตัวตนของเขาดี  จึงมีความสามารถส่วนตัวในระดับสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เขาต้องหลบซ่อนตัวอย่างดี  และหน่วย Shabak ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อไปให้ถึงเขา จึง  “กลายเป็นเรื่องยากมาก”

Source: https://www.farsnews.ir