ในการกล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ลุ กฮือ 9 มกราคม 1978 ซึ่งปะทุขึ้นจากการต่อต้ านของชาวเมืองกุม เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา อยาตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดรัฐปฏิวัติอิสลามอิ หร่าน ได้ประกาศห้ามอย่างชัดเจน ไม่ให้ทางการอิหร่าน นำเข้าวัคซีนของอเมริกา และอังกฤษมายังประเทศ และยังกล่าวในกรณีของฝรั่งเศสด้ วยว่า “ข้าพเจ้าไม่ไว้ใจฝรั่งเศสเช่ นกัน”
ในประเด็นนี้ ทางเว็ปไซต์อย่างเป็ นทางการของผู้นำสูงสุด Khameini .ir ได้ทำการตรวจสอบเหตุผลเบื้ องหลังความไม่ไว้วางใจ ที่ผู้นำ และชาวอิหร่านเอง มีต่อสหรัฐฯ และบางประเทศในยุโรป โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อได้ยินคำกล่าวของอยาตุ ลลอฮ์คาเมเนอี เกี่ยวกับการคว่ำบาตรวัคซี นอเมริกา และอังกฤษ หลายคนอาจคิดว่า ในแง่หนึ่ง เขาต่อต้านการนำเข้าวัคซีนนอก หรือ จากต่างประเทศเป็นพื้นฐาน แต่หากคำนึงถึงสิ่งที่เขากล่ าวในภายหลังว่า “หากเจ้าหน้าที่ ประสงค์จะนำเข้าวัคซีนจากที่อื่ น- จากสถานที่ที่ปลอดภัย – นั้นย่อมจะไม่เป็นปัญหา” ดังนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า การห้ามนำเข้าวัคซีนจากต่ างประเทศ มีผลเฉพาะกับสามประเทศตะวันตกนี้ เพียงเท่านั้น
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ด้วยสาเหตุอะไร ที่ผู้นำประเทศหนึ่งแสดงการต่ อต้านอย่างเปิดเผย ต่อการนำเข้าวัคซีนจากบางประเทศ ที่อ้างว่าสามารถผลิตวัคซีนได้ ท่ามกลางวิกฤตสถานการณ์ ที่ประเทศของตน ก็มีความต้องการวัคซีนและยา เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลก? เขากำลังเล่นการเมืองในวิ ทยาศาสตร์หรือไม่? ความเสี่ยงในส่วนนี้ สมเหตุสมผลหรือไม่? ความเป็นอริกันระหว่างอิหร่ านและสหรัฐฯ และการมีอยู่ของความแตกต่ างบางปะการ ระหว่างอิหร่าน อังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้ผู้นำถึงกับต้ องขยายขอบเขตไปยังพื้นที่ ทางการแพทย์เชียวหรือ?!? แล้วทำไมจึงเป็นสามประเทศนี้? นี่เป็นเพียงทัศนะส่วนตนหรือไม่ ? ผู้นำกำลังนำเอาความคิดเห็นส่ วนตน มากำหนดชะตากรรมของประเทศชาติ ใช่หรือไม่?
อนึ่ง แฮชแท็ก “#Salame_Gorg” (#HelloOfWolves สวัสดีของหมาป่า)[1] เป็นแฮชแท็ก ที่ถูกนำมาใช้ในเครือข่ายโซเชี ยล ซึ่งชาวอิหร่านได้ทำให้มั นกลายเป็นเทรนด์อันดับหนึ่ง [ณ ช่วงเวลาดังกล่าว] ทั้งนี้ การตรวจสอบ และอ่านข้อความ ที่ถูกเผยแพร่ ด้วยแฮชแท็กนี้ ได้เผยให้เห็นถึงมุมมองที่ค่ อนข้างน่าสนใจ
ภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ ถ้วน เป็นที่ชัดเจนว่า #HelloOfWolves หรือ “สวัสดีของหมาป่า” มีที่มาจากสุภาษิตหนึ่งของอิหร่ าน ที่กล่าวว่า “เมื่อหมาป่ากล่าวคำทักทาย พวกมันย่อมมีเจตนาอีกอย่างหนึ่ ง” หมายความว่า ถ้าวันหนึ่งหมาป่าทักทายคุณ คุณควรรู้ว่า มันมีแรงจูงใจแอบแฝง และอาจแสวงประโยชน์ในทางมิ ชอบอยู่เบื้องหลัง
จุดที่น่าสนใจยิ่งกว่า คือ แฮชแท็กดังกล่าว ถูกสร้างขึ้น เพื่อตอบสนองต่อสองโครงการที่ส่ อเจตนาดี ซึ่งนำเสนอโดยสถาบันตะวันตก โครงการแรก คือ ข้อเสนอที่จะมอบวัคซีนโควิด 150,000 โดส ให้กับอิหร่านเป็นของขวัญ และอีกโครงการ คือ การยกเลิกการคว่ำบาตรด้านยารั กษา เพื่อช่วยเหลืออิหร่านในการจั ดซื้อวัคซีนจากประเทศตะวันตก
ชาวอิหร่านตอบแทนความเมตตานี้ด้ วยความเกลียดชังกระนั้นหรือ? มีภาพลวงตาของการสมรู้ร่วมคิ ดในหมู่ชาวอิหร่าน และเจ้าหน้าที่ของพวกเขา โดยพวกเขาหารู้ไม่ว่าอะไรคือสิ่ งที่ดีกว่าสำหรับตนเอง และจากการที่พวกเขาพิ จารณาประเด็นต่างๆ ในแง่ร้าย และอย่างไร้เหตุผล ใช่หรือไม่?
ในการค้นหาคำตอบสำหรับปั ญหาและความคลุมเครือเหล่านี้ เราจำเป็นต้องทำการค้นคว้า เพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับ การตั้งแง่ และความไม่ไว้วางใจต่ อประเทศตะวันตกบางประเทศ ที่ผู้นำการปฏิวัติอิ สลามและประชาชนส่วนใหญ่ของอิหร่ าน มีร่วมกัน
ในสุนทรพจน์ เมื่อกล่าวถึงฝรั่งเศส อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี พูดถึงเหตุการณ์ที่เราได้ยินไม่ บ่อยนัก ว่า: “แน่นอน ข้าพเจ้าไม่ไว้ใจฝรั่งเศสเช่นกั น เหตุผลก็คือพวกเขามีประวัติให้ ผลิตภัณฑ์โลหิต (blood products) ที่ปนเปื้อนแก่เรา” … ว่าแต่เหตุการณ์ดังกล่าวคือเรื่ องอะไรกันแน่?
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s ครอบครัวของเด็กชายวัย 6 ขวบ ซึ่งเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ชื่อ มัสอูด (Masoud) ได้ร้องเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ อันขมขื่น เมื่อลูกชายของพวกเขา ติดเชื้อโรคเอดส์จากกระบวนการรั บเลือด รายงานของพวกเขาได้รั บความสนใจเป็นอย่างมาก และมีการวิจัยเกี่ยวกับประเด็ นนี้
ในที่สุด นักวิจัยได้ตระหนักถึงบางสิ่งที่ ขุ่นเคืองยิ่งกว่านั้น กล่าวคือ ในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1983 และ 1984 บริษัท Mérieux ซึ่งถูกซื้อโดยบริษัท Sanofi-Aventis ของฝรั่งเศส ได้ส่งผลิตภัณฑ์โลหิต ที่ปนเปื้อนเชื้อ HIV ไปยังอิหร่าน และบางประเทศอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟี เลีย
วิกฤตดังกล่าวขยายวงกว้างขึ้ นตามกาลเวลา ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย และธาลัสซีเมีย ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์จากเลือดเหล่ านั้น ติดเชื้อเอดส์ และเสียชีวิตทีละคน
แม้ว่าเราจะลืมเลื อนโศกนาฏกรรมอันมืดมิดนั้นไปแล้ ว ทว่าชาวอิหร่าน ก็ยังคงมีคำถามต่ออีกว่า “หากชีวิตของชาวอิหร่าน มีความสำคัญต่อเจ้าหน้าที่ ของอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสจริง ทำไมพวกเขาถึงกำหนดมาตรการคว่ำ บาตรด้านยากับอิหร่าน? เหตุใดบริษัทในยุโรป จึงถูกสั่งห้าม ไม่ให้ส่งออกยาไปยังอิหร่าน และเหตุใดบริษัทเหล่านี้ จึงต้องเผชิญกับค่าปรับจำนวนมาก หากฝืนทำเช่นนั้น? เด็กๆ ที่ต้องทุกข์ทรมานจากโรคดักแด้ [Epidermolysis bullosa] สามารถแสดงความเป็นปฏิปักษ์ ต่อสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศสได้อย่างไร? และเหตุใดการใช้ยา จึงต้องยุติลง อันเนื่องจากการคว่ำบาตร?
โดยธรรมชาติแล้ว รากเหง้าของการขาดความไว้วางใจ ดังที่ผู้นำการปฏิวัติอิสลามกล่ าวถึง และเป็นที่ประจักษ์ โดยชาวอิหร่านผ่านแฮชแท็ก อาทิ “#HelloOfWolves” (สวัสดีของหมาป่า) หรือ “#BuySafeVaccines” (ซื้อวัคซีนที่ปลอดภัย) จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้จากปั ญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เหตุการณ์ทางการแพทย์ และการปฏิสัมพันธ์กั บประเทศในกลุ่ม BUF – อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส
โดยพื้นฐานแล้ว ความคิดนี้ก่อตัวขึ้ นตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ และเป็นผลมาจากประสบการณ์ และการปฏิสัมพันธ์มากมาย เป็นเรื่องสมเหตุสมผล หากจะบอกว่า ชาวอิหร่าน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน จะไม่อาจมองโลกในแง่ดี และมีพฤติกรรมที่เป็นมิตร ต่อประเทศเหล่านั้นเป็ นการแลกเปลี่ยน
การรัฐประหารต่อต้านรัฐบาลของ ดร.โมซัดเดก[2], การสนับสนุนระบอบเผด็จการปาห์ ลาวี, การติดอาวุธเคมีให้กับซัดดัม[3] และสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ในการสู้รบกับอิหร่าน[4], การโจมตีเครื่องบินโดยสารของอิ หร่าน[5], การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย อาทิ กลุ่ม Rajavi และจัดระเบียบพวกเขาในปารี สและนิวยอร์ก[6] การสร้างความไม่ลงรอยระหว่ างชาวอิหร่าน และประเทศเพื่อนบ้าน[7] การขัดขวางอำนาจการป้องกั นของสาธารณรัฐอิสลาม[8] การสร้างคลื่นความเท็จในแคมเปญ โรคหวาดกลัวอิหร่าน/ Iranophobia[9 ] การสร้างเครือข่ายโฆษณาชวนเชื่ อต่อต้านอิหร่าน การพยายามสร้างความแตกแยกในสั งคมในระดับสูงสุด การกำหนดมาตรการคว่ำบาตร ที่ขยายวงกว้างและ – ตามที่พวกเขากล่าวเองว่า – เป็นการลงโทษที่ตัดแขนตัดขาอิ หร่าน [10] และอื่น ๆ อีกมากมาย ถือเป็นส่วนสำคั ญของความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ของชาวอิหร่าน ในการปฏิสัมพันธ์กับสามประเทศนี้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และอังกฤษ
แน่นอน ประเทศและสังคมไม่ควรอาศัยเพี ยงประสบการณ์ของตนเองเท่านั้น การอ่านประวัติความเป็ นมาของการทรยศหักหลัง และความเสียหายของอาณานิคม ที่เกิดจากทั้งสามประเทศ ซึ่งมีต่อชาติอื่น ๆ ในศตวรรษปัจจุบัน จะช่วยให้ทุกสังคม ที่มีความระมัดระวังตน มีทางเลือกที่ชาญฉลาด และรอบคอบในการเผชิญหน้ากั บประเทศดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
เหตุการณ์ต่างๆ เช่น การทดลองนิวเคลียร์อย่างลับๆ ในแอลจีเรีย เมื่อพูดถึงส่วนของฝรั่งเศส[11] การแจกผ้าห่มที่ปนเปื้อนโรคติ ดต่อ และโรคร้ายแรงถึงชีวิตในหมู่ ชนพื้นเมืองอเมริกัน โดยอังกฤษ[12] การแพร่กระจายโรคซิฟิลิสในทหาร นักโทษ และผู้ป่วยทางจิตในกัวเตมาลา โดยสหรัฐอเมริกา[13] และการขายตัวอย่างเลือดของผู้ต้ องขังชาวอเมริกัน ที่ติดเชื้อ HIV และไวรัสตับอักเสบให้กั บธนาคารเลือดของแคนาดา[14] ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่สหรัฐฯ ได้ก่อขึ้น รวมถึงการกระทำที่เปิดเผย และแอบแฝงอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้
ในการทบทวนสุนทรพจน์ของอยาตุ ลลอฮ์ คาเมเนอี บ่งชี้ว่า มันแตกต่ างจากความพยายามในการโฆษณาชวนเชื่ อในปัจจุบัน ความไม่ไว้วางใจดังกล่าวไม่ได้ เป็นเพียงอุดมการณ์ หรือเป็นผลมาจากความรู้สึกต่อต้ านตะวันตก และเกิดจากประสบการณ์ชีวิ ตของชาวอิหร่าน
ในการพบปะกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2016 ผู้นำสูงสุดกล่าวว่า:
“สาธารณรัฐอิสลามได้แสดงความเป็ นศัตรูต่อฝรั่งเศสอย่างไร? เนื่องจากอิมามโคมัยนี [ผู้นำและผู้ก่อตั้งการปฏิวัติ อิสลามฯ] พำนักอยู่ในฝรั่งเศสระยะหนึ่ง ประเทศนั้นจึงได้รับการยกย่ องจากกองกำลังปฏิวัติ แต่คุณเห็นว่า พวกเขากำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบั น คุณเป็นพยานว่า ในประเด็นนิวเคลียร์ ฝรั่งเศสได้สวมบทเป็นตำรวจเลว แน่นอนว่า เป็นชาวอเมริกันที่จัดการเรื่ องนี้ แต่ฝรั่งเศสก็ได้รับตำแหน่งที่ แย่ที่สุดในเรื่องนิวเคลียร์อยู่ ดี เราทำอะไรกับชาวฝรั่งเศสบ้าง? พวกเราได้แสดงความเกลียดชังต่ อพวกเขากระนั้นหรือ?”
เพื่อขจัดข้อสงสัยเกี่ยวกั บความรู้สึกต่อต้านตะวันตกของอิ หร่าน และความไม่ไว้วางใจต่อโลกอย่ างครบถ้วน เราสามารถอ้างถึงการประชุมของท่ านผู้นำกับนายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2016 ซึ่งเขากล่าวว่า เขาถือว่า ทัศนคติของอิหร่านต่ออิตาลีเป็ นทัศนคติเชิงบวก
เขายังแสดงให้เห็นด้วยซ้ำว่า เราควรลืมอดีต ไม่ควรมองภาพรวมที่ไม่เป็ นธรรมต่อประวัติศาสตร์ และไม่ควรทำให้ประเทศที่สร้างปั ญหาแก่อิหร่านน้อยกว่าประเทศอื่ นๆ เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ (ที่สร้างปัญหาแก่อิหร่านมากกว่ า) นั่นคือเหตุผลที่ในการพบปะกั บชาว Bojnourd เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2012 ผู้นำการปฏิวัติอิสลามจึงกล่ าวว่า:
“ประเทศ ที่เสียสละตนเอง เพื่อสหรัฐอเมริกา กำลังทำสิ่งที่โง่เขลา คนของเราไม่ได้มีความทรงจำที่ เลวร้าย กับหลายประเทศในยุโรป เราไม่มีความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ ยวกับฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน แน่นอนว่า เรามีความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกั บอังกฤษ และนั่นคือเหตุผลที่เราเรี ยกประเทศนั้นว่า ‘อังกฤษที่มุ่งร้าย’ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่กรณีในประเทศอื่นๆ ในยุโรป ด้วยการกระทำของพวกเขา – ในการร่วมมือกับสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่โง่ เขลา ในทัศนะของเรา – พวกเขากำลังยั่วยุความเป็นปฏิปั กษ์ของประเทศอิหร่าน พวกเขากำลังทำบางสิ่ง เพื่อทำให้ชาติอิหร่านเกลี ยดพวกเขา”
ท้ายที่สุด การปกครองและการจัดการสังคมไม่ ได้เกิดขึ้นในโลกแฟนตาซี แต่มันเกิดขึ้นในโลกของเหตุผล ประสบการณ์ และความเป็นไปได้ หากอยาตุลเลาะห์ คาเมเนอี และประชาชนอิหร่าน มีความอ่อนไหวต่อการซื้อวัคซี นโคโรน่าจากประเทศที่กล่าวถึงข้ างต้น เรื่องนี้ก็มาจากความกั งวลตามปกติ ที่บุคคลซึ่งได้รับความเสี ยหายควรจะมี
ความกังวลนี้ เป็นผลมาจากความไม่ไว้วางใจว่า ทั้งสามประเทศอาจสวมบทบาทคาเร็ กเตอร์เป็น “the Hyde character” (*เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย) ขณะพยายามส่งออกวัคซีน กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกเขาอาจมีแรงจูงใจที่มิ ชอบแอบแฝ้ง เช่น พวกเขาอาจต้องการทดสอบมั นในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะวัคซีนดังกล่าว ยังไม่ประสบความสำเร็ จในประเทศของตน
[1] In Persian, the hashtag is #Salame_Gorg, which literally means “the hello and greetings of a wolf.”
[5] https://edition.cnn.com/ 2020/01/10/middleeast/iran- air-flight-655-us-military- intl-hnk/index.html
________
Source: Khameini.ir