การประท้วงได้แพร่กระจายจากฮ่องกง ไปยังประเทศไทย และตอนนี้ก็ลุกลามไปยังเมียนมาร์ และมาเลเซีย พวกเขาเริ่มต้นมานานก่อนที่วิกฤต COVID-19 จะเริ่มต้น แต่แรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา กำลังใช้ประโยชน์จากวิกฤต(โรคระบาด)ในปัจจุบันนี้ อย่างเย้ยหยัน เพื่อดึงผู้คนจำนวนมากออกไปสู่สิ่งที่ หากไม่ทำเช่นนั้น ก็จะไม่เป็นที่นิยม -นั่นก็คือ ขบวนการฝ่ายค้านเทียม
แกนนำการประท้วงในแต่ละประเทศ อ้างถึงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “อาเซียนสปริงส์” หรือ “เอเชียสปริงส์” อย่างเปิดเผยและได้นำเอาสัญลักษณ์และสโลแกนมาใช้ร่วมกันในการประท้วงระดับภูมิภาค แกนนำการประท้วงเรียกขบวนการระดับภูมิภาคนี้ว่า “พันธมิตรชานม” (Milk Tea Alliance) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเสาหลัก(โครงสร้าง)หลายประการ
จากบทความของ BBC ในหัวข้อ “พันธมิตรชานม”: ทวิตเตอร์สร้างอีโมจิ สำหรับนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย[“Milk Tea Alliance: Twitter creates emoji for pro-democracy activists,”] อ้างว่า:
พันธมิตรได้นำเอาผู้ประท้วงต่อต้านปักกิ่งในฮ่องกงและไต้หวันมารวมกันกับนักรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศไทย และเมียนมาร์
“แอนตี้-ปักกิ่ง” คือ ประเด็นสำคัญ
เช่นเดียวกันนี้ ยังมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างขบวนการเหล่านี้ หลายประการ ซึ่ง BBC ไม่ได้เอ่ยถึงอย่างจงใจ รวมถึงเรื่องการจัดมอบเงินสนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านทุกครั้ง – มันไม่ได้เป็นความลับที่สหรัฐฯ พยายามตีวงล้อม และควบคุมจีน – โดยเป็นที่ชัดเจนว่า ขบวนการ “ต่อต้านปักกิ่ง” ทั่วเอเชียนั้น พอเหมาะพอดีกับกลวิธีดังกล่าว
ความจริงที่ ทวิตเตอร์ (Twitter) บริษัทสื่อโซเชียลในสหรัฐฯ – ได้ตัดสินใจรับรอง และส่งเสริมการเคลื่อนไหวนี้ ตามนโยบายของบริษัท ควรจะเป็นข้อเท็จจริง ที่นำไปสู่ความกังวลในทันที – ทวิตเตอร์ พร้อมด้วยยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในสหรัฐฯ อื่นๆ เช่น Facebook และ Google (ซึ่งเป็นเจ้าของ YouTube) ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในการช่วยพัฒนาวัตถุประสงค์ด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย มานานกว่าทศวรรษแล้ว
“อาหรับสปริง” ปี 2011 ไม่ได้เป็นเพียงตัวอย่างที่ชัดเจนจากการแทรกแซงของสหรัฐฯ และแม้แต่การแทรกแซงทางทหาร ที่นำไปสู่การจลาจลที่ถูกวางกลไก ทั่วทั้งตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (ภูมิภาค MENA) แต่ยังเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในสหรัฐฯ [ในการช่วยเหลือสหรัฐฯ ผลักดันนโยบายต่างประเทศของตน]
ในบทความของ The New York Times หัวข้อ “กลุ่มต่างๆ ของสหรัฐฯ ช่วยหล่อเลี้ยงการลุกฮือของชาวอาหรับ” [“U.S. Groups Helped Nurture Arab Uprisings,”] ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของเงินทุนแห่งรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสร้าง และปลดปล่อยการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้าน ทั่วทั้งภูมิภาค MENA
แกนนำเยาวชนอียิปต์บางคนเข้าร่วมการประชุมเทคโนโลยีในปี 2008 ที่นิวยอร์ก ซึ่งพวกเขาได้ถูกสอนให้ใช้เครือข่ายโซเชียล และเทคโนโลยีมือถือ เพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตย ในบรรดาผู้สนับสนุนการประชุม ได้แก่ Facebook, Google, MTV, Columbia Law School และ State Department.
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ได้ระบุถึง “การประชุมทางเทคโนโลยี” ในข้อความที่บันทึกไว้ล่วงหน้า ซึ่งถูกเปิดให้ผู้เข้าร่วมรับชุม ในการระบุถึงประเด็นดังกล่าวครั้งหนึ่ง ซึ่งถูกบันทึกไว้ในปี2009 คลินตันอ้างว่า:
พวกคุณเป็นแนวหน้าของนักเคลื่อนไหว พลเมืองรุ่นใหม่ ผู้ซึ่งกำลังใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่มีล่าสุด เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง, สร้างการเคลื่อนไหว และปฏิรูปชีวิต และฉันหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะมอบโอกาสสำหรับคุณในการเรียนรู้จากกันและกัน และค้นพบเครื่องมือ และเทคนิคต่างๆ ที่จะเปิดประตูใหม่ไปสู่การเคลื่อนไหว และการเสริมสร้างพลังอำนาจ (empowerment) เมื่อคุณกลับบ้านไปทั่วโลก
แน่นอน เมื่อกลับถึงบ้านที่ภูมิภาค MENA และท่ามกลางความโกลาหลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค กลุ่มต่อต้านที่ได้รับทุนสนับสนุน ผ่านการฝึกอบรม และซึ่งถูกตระเตรียมให้มีความพร้อมโดยสหรัฐฯ เหล่านี้ ได้ดึงเอา ผู้คนที่ไม่พอใจ(รัฐ) ออกไปตามท้องถนน เพื่อให้พวกเขททำหน้าที่ เป็นโล่กำบัง สำหรับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ทั่วทั้งภูมิภาค
สัญญาณบอกเหตุ ที่ชี้ว่าสหรัฐฯ พยายามจะดำเนินแผน “อาหรับสปริง” มากเพียงใด ได้ถูกเปิดเผยโดย จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกสหรัฐผู้ล่วงลับ – ในบทความของ The Atlantic ในปี 2011 เรื่อง “อาหรับสปริงส์: ‘ไวรัสที่จะโจมตีมอสโกและปักกิ่ง’” [“The Arab Spring: ‘A Virus That Will Attack Moscow and Beijing’,”] แมคเคนอ้างว่า:
ปีที่แล้ว เบน-อาลี และกัดดาฟีไม่ได้อยู่ในอำนาจอีกต่อไป อัสซาด(เช่นกัน) จะไม่ได้อยู่ในอำนาจในช่วงเวลานี้ ในปีหน้า อาหรับสปริงนี้ เป็นไวรัสที่จะโจมตีมอสโกและปักกิ่ง
หากรัสเซียไม่เข้าแทรกแซงซีเรีย ในปี 2015 ประเทศชาติอาจล่มสลาย กองกำลังพร็อกซี่ของสหรัฐฯ จะเดินหน้าต่อไปยังอิหร่าน และจากนั้นไปยังรัสเซียตอนใต้ และทางตะวันตกของจีน ที่ซึ่งความพยายามของสหรัฐฯ เพื่อจุดชนวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างรุนแรงในทั้งสองภูมิภาค ได้ดำเนินมาอย่างยาวนานแล้ว
การรณรงค์ “อาหรับสปริง” ของวอชิงตัน หมายทำให้ความพยายามนั้น จุดไฟเผาภูมิภาคทั้งหลาย เพิ่มเติม – จากยุโรปตะวันออกไปทางตะวันตกของรัสเซีย และตามแนวชายแดนของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – ได้ดำเนินไปอย่างช้าๆ ความพยายามในการติดตั้งระบอบการปกครองแบบ client regime (รัฐใต้อาณัติที่เปรียบเสมือนลูกค้าของตน) ในมาเลเซีย เมียนมาร์ และไทย ถูกลดทอนลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยการผสมผสานของสัมปทานทางการเมืองในระยะสั้น กับการแทรกแซงทางทหารภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับก่อนที่ “อาหรับสปริง” จะแปรเปลี่ยนเป็นสงครามระดับภูมิภาค วิกฤตเศรษฐกิจได้แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค และความไม่พอใจในหมู่ประชากรที่ขับเคลื่อนด้วยวิกฤตซึ่งรัฐบาลภูมิภาคอาเซียนไม่รับผิดชอบ และมีความสามารถเพียงเล็กน้อยในการควบคุม กำลังถูกกลุ่มต่อต้านที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ฉกฉวยประโยชน์ด้วยความกระหาย
รัฐบาลอาเซียน และนโยบายล็อกดาวน์ทำให้เกิดความไม่พอใจ แต่สิ่งนี้ไม่เพียงพอที่จะสร้างความไม่เสถียรที่เป็นอันตราย มันคือความล้มเหลวของอาเซียนในสนามรบข้อมูลต่างหาก ที่เสี่ยงต่อการทำให้วิกฤติเลวร้ายลง
อาเซียนล้มเหลวในการรักษาความปลอดภัยของพื้นที่ข้อมูล สมาชิกอาเซียนแต่ละคน ยกเว้นกัมพูชาและเวียดนาม มีพื้นที่ข้อมูลของตนถูกผูกขาดโดยแพลตฟอร์มสื่อ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และเครือข่ายโซเชียลมีเดียสหรัฐฯ
Facebook และ Twitter มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเปิดเผยในเรื่องการเมืองภายในของทั้งไทย และเมียนมาร์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการประท้วงที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ หลังจากที่ทหารของเมียนมาร์เข้ายึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ในการลบบัญชีผู้ใช้ของรัฐบาลกลางชุดใหม่
ตัวอย่าง ที่ Facebook จะอ้าง เช่น:
วันนี้ เรากำลังแบนกองทัพเมียนมาร์ (“Tatmadaw”) และหน่วยงานของรัฐ และสื่อที่ควบคุมโดยกองทัพที่มีเหลืออยู่ บนFacebook และ Instagram รวมถึงโฆษณาจากหน่วยงานการค้าที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ
ในประเทศไทย Twitter ในประกาศอย่างเป็นทางการจะอ้างว่า:
การสืบสวนของเราได้เปิดเผยเครือข่ายบัญชีที่เข้าร่วมปฏิบัติการด้านข้อมูล ที่เราสามารถเชื่อมโยง(บัญชีเหชีดังกล่าว)กับกองบัญชาการกองทัพบกไทย (RTA) ได้อย่างน่าเชื่อถือ บัญชีเหล่านี้มีส่วนร่วมในการขยายเนื้อหาที่สนับสนุน RTA และสนับสนุนรัฐบาล รวมถึงการมีส่วนร่วมในพฤติกรรม ที่กำหนดเป้าหมายไปยังบุคคลสำคัญของฝ่ายค้านทางการเมือง
การใช้คำว่า “การเชื่อมโยงที่เชื่อถือได้” หมายความว่า Twitter ไม่มีหลักฐาน ในความเป็นจริง มันเป็นเพียงการล้างบัญชี ที่รีทวีตและไลค์โพสต์ ที่เผยแพร่โดยบัญชีทางการทหารของไทย ในขณะเดียวกัน Twitter ไม่เพียงแค่อนุญาตให้มีการใช้แพลตฟอร์มในทางที่ผิด โดยฝ่ายค้านที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เพื่อดำเนินการตามพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามความจริง ที่มีการประสานงานกันจริง อย่างเปิดเผย แต่ยังสนับสนุนให้ผู้ใช้ Twitter ชาวไทย ละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาของไทยอีกด้วย
ในประกาศ ที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 ทวิตเตอร์จะบอกผู้ใช้ชาวไทยว่า ข้อบังคับของบริษัทไม่ยอมรับกฎหมายหมิ่นประมาทของไทย และจะจัดให้มีสายด่วนพิเศษ เพื่อเชื่อมโยงผู้ที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายไทยไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึง “ทนายความไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน” และ“iLaw” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ เป้าหมายคือการบ่อนทำลาย ทั้งกฎหมายไทย และความมั่นคงทางสังคมที่กฎหมายไทยพยายามจะรักษาไว้
ในขณะที่เครือข่ายโซเชียลมีเดียในสหรัฐฯ รีบดำเนินการระงับบัญชีผู้ใช้ ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับ นโยบายที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ของตะวันตก หรือบริษัทยาและวัคซีนตะวันตก แต่เครือข่ายเดียวกันนี้ กลับทำให้ข้อมูลเท็จ แพร่กระจายราวกับไฟป่าทั่วอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนซิโนวัคของจีน และการบิดเบือนข้อมูล ที่มีเป้าหมาย เพื่อขยายผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของวิกฤต(Covid-19)
เป้าหมายคือการจุดไฟแห่งความหวาดกลัว ความหวาดผวา และที่สำคัญกว่านั้นคือ ความโกรธ เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการประท้วงบนท้องถนน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และเปลี่ยนทิศทางพลังงานของประเทศจากการเอาชนะวิกฤตในปัจจุบัน ไปสู่การทำให้ภูมิภาคไม่มั่นคงยิ่งขึ้น
ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะสถานการณ์โควิด-19 อันเป็นโอกาส ที่สร้างให้กลเม็ดของสหรัฐฯ ในการทำให้อาเซียนสั่นคลอนและตีวงล้อมจีน ด้วยกับรัฐอาณัติที่เปรียบเสมือนลูกค้าของตน (client regime) หรือรัฐล้มเหลวที่ไม่มั่นคง ได้ก่อกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในตอนนี้ แต่ทว่า ส่วนหนึ่ง หรือ บางที อาจจะเป็นส่วนใหญ่ – ก็เพราะ อาเซียนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ข้อมูล สงครามกำลังโหมกระหน่ำในสมรภูมิ ที่รัฐบาลอาเซียนไม่มีทหาร และกำลังพ่ายแพ้
ชาติอาเซียนหันไปหารัสเซียและจีนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงแห่งชาติ โดยการซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร เช่น รถถัง เครื่องบินรบ เฮลิคอปเตอร์ และเรือเดินสมุทร อย่างไรก็ตาม รัสเซียและจีน ซึ่งประสบความสำเร็จในการปกป้องพื้นที่ข้อมูลของตนเอง มีทรัพยากรมนุษย์และทางเทคนิคในการ “ส่งออก” วิธีการที่รัฐในอาเซียนจะปกป้องพื้นที่ข้อมูลของตนได้เช่นกัน ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของ “สงครามข้อมูล ” แต่ยังอยู่ในรูปแบบของการช่วยสร้างทางเลือกโซเชียลมีเดียในท้องถิ่น แทนที่สื่อโซเชียลที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ – เป็นการทำลายการผูกขาด ที่บริษัทต่างชาติเหล่านี้ ยึดครองพื้นที่ข้อมูลของอาเซียน และให้อำนาจแก่ทางรัฐ และปกป้องมันกลับคืนสู่ภูมิภาคเอง
_____________
แปลและเรียบเรียงจากบทความที่เขียนโดย
Brian Berletic – NEO
Brian Berletic เป็นนักวิจัยและนักเขียนด้านภูมิรัฐศาสตร์ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะสำหรับนิตยสารออนไลน์ “New Eastern Outlook”