รวม 8 ประเด็น ตีแผ่ Soft War ของอเมริกาที่สื่อไม่พูดถึง พิสูจน์การประท้วงที่ถูกไฮแจ็ค กรณีมะฮ์ซา อามีนี

275
โดยไม่รอการสอบสวนที่แสดงหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของมะฮ์ซา อามีนี ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่เธอถูกทางการควบคุมตัว เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบการแต่งกายของรัฐอิสลามอิหร่าน ไม่ทันไร สื่อตะวันตกทั้งหลายต่างก็ร่วมกันประโคมข่าวนี้อย่างรวดเร็ว มหกรรมพาดหัว และข้อเขียนในประเด็น “ผู้หญิงอิหร่านเผาผ้าโพกศีรษะกลางอากาศ ขณะที่ฝูงชนกล่าวสโลแกน เกี่ยวกับสิทธิสตรี ชีวิต และเสรีภาพ” ถ้อยคำว่า “เผด็จการจงพินาศ” และเรื่องราวที่ชี้ว่า “การประท้วงของอิหร่าน ได้ลุกลามไปสู่การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอย่างรวดเร็ว” ถูกหยิบยกขึ้นมาเผยแพร่อย่างยิ่งใหญ่ในทันที

⚠️ แต่ข้อเท็จจริง กลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมของการประท้วงครั้งนี้ ที่สื่อต่างๆ พยายามปกปิด ไปจนถึงขั้นปิดกั้น อย่างน้อยๆ แล้วมี 8 ประเด็น ดังต่อไปนี้

📌 1) การประท้วงเพื่อเสรีภาพของชาวอิหร่าน หรือ เพื่อผลประโยชน์ของตะวันตกกันแน่?

▪️ มีรายงาน ทั้งจากในและต่างประเทศ เช่น Kevin Barrent บรรณาธิการจาก Veterans Today เผยว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อบ่อนทำลายเสถียรภาพของอิหร่าน

▪️ประเทศอียู และสหรัฐฯให้การสนับสนุนทางการเงิน แก่กลุ่มก่อการร้าย MKO กลุ่มนี้มีกองกำลังไซเบอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งหนุนหลังโดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างๆ พวกเขาปลุกปั่นความรุนแรงในอิหร่าน การเผา ปาดคอ และทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ และเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน

▪️จอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวเอง ก็เคยกล่าวในการประชุมของกลุ่มก่อการร้าย MKO ว่า กุญแจสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง คือ ประชาชนชาวอิหร่าน

▪️การวิเคราะห์ ระบุว่า มีการลงทะเบียนบัญชีสื่อโซเชียล ที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงจำนวนมาก หลังวันที่ 16 กันยายน จึงมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า บัญชีเหล่านี้เป็นบอท หรือ โทรลล์

▪️อิหร่าน เป็นเป้าหมายหลักขององค์กรเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งต้องการ ‘เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง’ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐ ฯ ระหว่าง ปี 2016 ถึงปี 2022 โดยมันได้ให้การสนับสนุนโครงการหลักๆ ถึง 51 โครงการแยกกัน ในจำนวนเงินเกือบ 5 ล้านดอลลาร์

นี่สอดคล้องกับการที่เจ้าหน้าที่ CIA – Ralph McGehee เคยแฉว่า “ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน” เป็นกลยุทธ์ “ม้าโทรจันท์” โดยองค์กร NED ของอเมริกา ที่ถูกตระเตรียมไว้เป็นอย่างดี และเป็นขั้นตอนแรก สำหรับการแทรกแซงกิจการของประเทศอื่นๆ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศนั้นๆ

NED หรือ National Endowment for Democracy ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ฯ ที่ก่อตั้งขึ้นใน เดือนพฤศจิกายน 1983 คือ แรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติสีในภูมิภาค และที่อื่นๆทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย

▪️พูดถึงการเคลื่อนไหวในอิหร่าน รอน พอล อดีตสมาชิกคองเกรส ได้ออกมาเยาะเย้ย สิ่งที่อเมริกาเรียกว่า การเคลื่อนไหว อย่าง “อิสระ” (Freedom Movement) ของชาวอิหร่าน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างชิดใกล้ระหว่างไมค์ ปอมเปียว กับ Masih Alinejad ซึ่งนอกจากเธอจะเป็นผู้นำชาวอิหร่านในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบอบสาธารณรัฐอิสลามแล้ว ยังเป็นพนักงานฝ่ายคอมเมนเตเตอร์ของ VOA (Voice of America) หรือ เครือข่ายโฆษณาชวนเชื่อภาคภาษาเปอร์เซียอย่างเป็นทางการของวอชิงตันอีกด้วย

⚠️ไม่มีใครฉงนใจบ้างหรือ ที่ผู้นำแห่งการเคลื่อนไหว อย่าง “อิสระ” ในอิหร่านนี้ ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ และเป็นเพื่อนของไมค์ ปอมเปียว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสายเหยี่ยวของอเมริกา และผู้อำนวยการ CIA ⁉️

▪️นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญของอิสราเอล ได้กล่าวว่า ตัวเลือกของอิสราเอล คือ การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านอิหร่านทั้งในทางลับ และอย่างเปิดเผย

▪️ที่สำคัญ ผู้ก่อการจลาจลในอิหร่านที่ถูกจับได้บางคน ก็ออกมาสารภาพมาว่า ถูกจ้างมา โดยมีข้อแลกเปลี่ยน คือ การได้มาซึ่งสัญชาติยุโรป

⚠️ดังนั้น อะไรคือ การชุมนุมอย่างสันติ เพื่อเรียกร้องไปสู่การ “ปฏิรูป” เมื่อข้อเท็จจริงต่างๆ ได้เผยให้เห็นว่า สถานการณ์กำลังถูกใช้เป็นอาวุธของมหาอำนาจภายนอก ที่ต้องการ “เปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง” โดยอาศัยผู้ประสานงานของพวกเขาปลุกปั่นความรุนแรง และความโกลาหลจากภายใน

▪️และอันที่จริง แม้แต่ผู้ที่ไม่ชอบรัฐบาล หรือ นักเคลื่อนไหวที่ต้องการปฏิรูปอิหร่านบางราย ก็ยังเข้าใจเลยว่า การประท้วงเหล่านี้ จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อชาติอิหร่านอย่างแท้จริง แต่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของตะวันตกต่างหาก

นี่ไม่ใช่การประท้วง แต่มันคือ การสร้างหายนะและความรุนแรงไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบ แต่แล้วการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร? ใครคือ ผู้ช่วยเหลือ ที่คอยแสดงความเห็นอกเห็นใจ? อเมริกาหรือ? อย่างที่พวกเขาทำมันในอัฟกานิสถาน ซีเรีย ลิเบีย กระนั้นหรือ⁉️

📌2) ปฏิกิริยาที่เห็นได้ชัดของอิสราเอล

ในช่วงวันที่ผ่านมา มีการติดแฮชแท็ก ชื่อ “Mahsa Amini” ทั่วสื่อโซเชียล โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มี 2.1 ล้านทวิตมาจากอิสราเอลเพียงแห่งเดียว !!

▪️ “อิสราเอล” ชาติ ที่กองกำลังป้องกันของมัน ได้สังหารนักข่าวหญิงชาวปาเลสไตน์-อเมริกัน Shireen Abu Aqleh อย่างเลือดเย็น ภายใต้สายตาที่จับจ้องของชาวโลก ประเด็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพ เหมือนกัน และทั้งๆที่เธอเป็นชาวอเมริกัน และเป็นสื่อ แต่กลับไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาโหมกระพือโดยสื่อกระแสหลักในทำนองเดียวกันกับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับหญิงปาเลสไตน์คนอื่นๆ

▪️และ “อิสราเอล” ก็ยังเป็นผู้ก่อตั้งเรือนจำที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกในฉนวนกาซา และผู้สังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ตลอด 70 ปี และยังเป็นชาติเดียวกัน กับที่ยุยงให้เกิดการก่อการร้ายต่ออิหร่าน เช่น การสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอิหร่านที่ผ่านมา

⚠️เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่มีคนมีสติปัญญาที่ไหนจะเชื่อว่า อิสราเอลต้องการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (solidarity) จริงๆกับ “ชาวอิหร่านที่ถูกกดขี่” ตามที่กล่าวอ้าง

📌 3) ความสองมาตราฐานของสื่อกระแสหลักตะวันตก

ความกระตือรือร้นของสื่อที่ถูกสร้างขึ้นในกรณีของอามีนี อย่างที่เห็นอยู่ จริงๆแล้ว ไม่ได้แคร์เรื่องฮิญาบ หรือแนวคิดเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก หรือเสรีภาพของผู้หญิง หรือ การตายของหญิงสาวผู้บริสุทธิ์ใดๆหรอก เพราะหากสื่อเหล่านี้สนใจประเด็นเหล่านี้จริง เรื่องราวของ Zainab Essam Al-Khazali นักศึกษาชาวอิรักที่ถูกยิงและถูกฆ่าตาย โดยทหารอเมริกันในกรุงแบกแดดในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ก็คงได้รับความสนใจไม่ต่างกัน แต่มันกลับไม่ถูกพูดถึงเลย

⚠️ แคมเปญอย่างสองมาตรฐานของสื่อตะวันตก ที่จงใจแผ่ขยายเหตุการณ์นี้ไปในระดับโลกอย่างเป็นระบบ คงเพียงพอจะทำให้คุณฉุกคิดได้ว่า มันไม่ใช่กระบอกเสียงสู่เสรีภาพที่แท้จริง และในทางกลับกัน ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับนโยบายต่างประเทศ ที่กระหายอำนาจของตะวันตกต่างหาก ‼️

📌 4) อเมริกาพร้อมยกเลิกแซงค์ชั่น ปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ประท้วง แต่ไม่เคยใยดีเด็กที่ต้องทุกข์ทรมานจากโรคเด็กผีเสื้อ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ตอนนี้อิหร่านกำลังถูกประณาม เพราะได้จำกัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในช่วงที่มีการชุมนุม และโดยเฉพาะการบล็อกแอพต่างชาติ อย่างเฟสบุ๊ก แอพที่ถูกสร้างโดยอเมริกาและยุโรป ผู้ซึ่งใช้เทคโนโลยีของพวกเขาไปกับการแบล็กเมลล์ประเทศอื่นๆ และปิดกั้นเสียงของชาวปาเลสไตน์มาโดยตลอด

อิหร่านถูกประณาม กรณีตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพราะมันคือ เครื่องมือ ที่จะช่วยทำให้ผู้ประท้วงประสานงานความรุนแรงได้สะดวกยิ่งขึ้น

มัสยิด และธนาคารถูกเผา รถพยาบาล รถโดยสารสาธารณะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลาย ตำรวจถูกจี้คอ ถูกเผา อาสาสมัครถูกแทงหัวใจ ผู้หญิงอิหร่านถูกกระชากผ้าฮิญาบด้วยความรุนแรง และประชาชนโดนลูกหลง จนต้องเสียดวงตา และฯลฯ

นี่หรือ คือ “การปฏิวัติ” ที่เราควรสนับสนุน?? และผู้ก่อเหตุเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ปลาเน่า 1 ตัว เพราะการประท้วงเหล่านี้ ถูกไฮเจ็กจากต่างประเทศตั้งแต่แรก การสนับสนุนการประท้วงเหล่านี้ จึงไม่ใช่การสนุนประชาชนอิหร่านอย่างแท้จริง แต่เป็นการสนองความต้องการของมหาอำนาจที่จ้องจะล้มล้างระบอบของอิหร่าน โดยอาศัยความโกลาหลจากภายในต่างหาก

⚠️ นอกจากสื่อของอเมริกาจะไม่นำเสนอแง่มุมความรุนแรงอย่างสุดโต่งของผู้ประท้วงแล้ว ขณะเดียวกัน รัฐบาลอเมริกา ก็ยังออกแนวทางในการขยายบริการอินเตอร์เน็ตไปยังอิหร่าน ทั้งๆที่มันมีมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ทั้งทางด้านอาหาร และยามาโดยตลอด อเมริกาไม่เคยเห็นใจใยดี เด็กๆผู้บริสุทธิ์ชาวอิหร่านที่ทุกข์ทรมานจากโรคเด็กผีเสื้อ เพราะมาตรการคว่ำบาตรได้ปิดกั้นการนำเข้ายารักษา แต่มันกลับละเว้น และพร้อมสนับสนุนอินเตอร์เน็ตให้ชาวอิหร่าน สำหรับกรณีนี้ ทำไมหรือ ⁉️

📌 5) ไหนบอกว่า ทุกประเทศมีสิทธิในการกำหนดใจตนเอง และเสียงส่วนมากคือ คำตอบ แล้วชาวอิหร่านเหล่านี้ ไม่มีสิทธิตรงนี้หรือ?

สิ่งสำคัญที่ต้องชี้แจง คือ ผู้ที่กำลังประท้วง และก่อความไม่สงบในอิหร่านขณะนี้ เป็นเพียงคนกลุ่มน้อย เมื่อเทียบกับประชาชนทั้งหมด โดยที่พวกเขาลืมไปว่าระบบการปกครองนี้มาจากผลของลงประชามติ​ใน​ปี​ 1979 หลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม ประชาชนชาวอีหร่าน​ 98 % ลงประชามติยอมรับการปกครองแบบอิสลาม

หลังจากการประท้วงเกิดขึ้นไม่นาน ก็มีประชาชนชาวอิหร่านนับล้านทั่วประเทศ ได้ลุกฮือ และออกมาเดินขบวนตามท้องถนนในเมืองต่างๆ เพื่อสนับสนุนรัฐบาล การคลุมฮิญาบ พร้อมทั้งประณาม พฤติกรรมทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา รวมถึงต่อต้านการประท้วงที่เกิดขึ้น พวกเขากล่าวสโลแกน

“เราจะอยู่เคียงข้างประชาชาติอิหร่าน เคียงข้างการปฎิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน และผู้นำสูงสุดของเรา อิมามอะลีคาเมเนอี ตลอดไป..”

⚠️ ทำไมสื่อต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นกระบอกเสียงให้ “ประชาธิปไตย” และอินฟูลเซอร์ที่อ้างว่าสนับสนุนสิทธิมนุษยชน จึงไม่นำเสนอเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ชาวอิหร่านนับล้าน ที่ได้แสดงจุดยืนเคียงข้างรัฐบาล มีจำนวนที่มากกว่าหลายเท่า ⁉️

ที่สำคัญ มีสตรีจำนวนมากที่ร่วมขบวนในครั้งนี้ เพื่อประกาศจุดยืนในการสนับสนุนการสวมฮิญาบ และลบข้อครหาที่สื่อตะวันตกสร้างขึ้น สโลแกนของพวกเธอ ประกาศก้องว่า…

“จงรักษาฮิญาบที่ถูกคลุมอยู่เหนือศรีษะของพวกคุณเอาไว้เถิด เพราะแท้จริงแล้วฮิญาบคืออาวุธที่ทรงพลังที่สุดและศัตรูอิสลามนั้น หวาดกลัวฮิญาบของบรรดาสตรีมากกว่าเลือดของบรรดาผู้พลีชีพเสียอีก”

⚠️สตรีชาวอิหร่านจำนวนมากกว่าหลายเท่านี้ ไม่มีสิทธิ และเสรีภาพหรือ เสียงของพวกเธอจึงถูกละเลย และถูกกลบเกลื่อนโดยเจตนา ⁉️

📌 6) วาระที่แท้จริงเบื้องหลังการประท้วง

ประเด็นเบื้องหลังการใช้ประโยชน์จากการตายของอามีนี จริงๆ แล้วคือ สงครามอย่างต่อเนื่องกับอิหร่าน สงครามที่กินระยะเวลานาน ซึ่งใช้รูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย ตลอด 40 ปีตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามประสบความสำเร็จ มันคือ การทำลายภาพลักษณ์ของอิหร่านและการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นสาธารณชน

‘Soft war’ แห่งความหลอกลวง เพื่อบิดเบือนความเป็นจริง และมีอิทธิพลต่อความคิดและจิตใจของผู้คนถูกนำมาใช้ในทันทีที่มีโอกาส เมื่อเหล่าชาติมหาอำนาจที่เป็นศัตรูกับอิหร่าน ประสบความล้มเหลวในแผนการลอบสังหารคลังสมองทั้งหมด และไร้ความสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการปิดล้อมสาธารณรัฐอิสลามฯ ด้วยนโยบายคว่ำบาตรต่างๆ

วัตถุประสงค์ของพวกเขา ไม่เคยเป็นไปเพื่อค้นหาความจริงเบื้องหลังการเสียชีวิตของมะห์ซา และเรียกร้องความยุติธรรม แต่เป็นการใช้เหตุการณ์นี้ เพื่อโจมตีระบอบการปกครองของอิหร่าน และทำสงครามกับประชาชน

📌 7) ทำไมไม่ลองพิจารณามุมนี้ดูบ้าง?

ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีประเทศใดในโลกที่ไม่มีการละเมิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของ “อิหร่าน” ย่อมมีผู้ที่ต้องการจะทำลายระบอบปกครอง มีสายลับ นักสอดแนม เจ้าหน้าที่ที่ทำงานรับใช้นโยบายต่างชาติ และผู้ที่อาจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ถูกทำให้เป็นอาวุธต่อต้านระบบได้ อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะในกรณีของอิหร่าน ที่ศัตรูของรัฐ มีเครือข่ายผู้ทำงานร่วมกันถูกสร้างไว้ถึงขอบเขตที่สามารถดำเนินแผนการลอบสังหารต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง — แล้วพวกเขาจะไม่คิดวางแผนการใดๆ เพื่อทำลายสาธารณรัฐอิสลามในลักษณะเช่นนี้กระนั้นหรือ?

คำถามที่ควรถามคือ เหตุใดจึงมีการประโคมข่าว และให้ความสนใจอย่างมากมายไปยังอิหร่านในประเด็นนี้ เมื่อเทียบกับประเด็นการตายอื่นๆ ทำไมการลอบสังหารด้านความมั่นคงทางอาญาที่ซับซ้อน เช่น กรณีที่นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อิหร่านถูกฆ่าตาย จึงไม่ถูกให้คุณค่าในลักษณะเดียวกัน?

สัดส่วนของเหตุการณ์ประเภทนี้ ต่อการจับกุมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอิหร่าน คิดเป็นเท่าใด? ในเมื่ออามีนี ไม่ใช่ผู้หญิงคนเดียวในอิหร่าน ที่เลือกจะคลุมศีรษะอย่างไม่รัดกุม ซึ่งก็มีให้เห็นอยู่บ้าง ข้อเท็จจริงก็คือ ไม่มีบันทึกหรือประวัติการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ต่อผู้หญิงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อย่างเป็นระบบในอิหร่าน

ดังนั้น มันจึงไม่เกินความเป็นจริง ที่ผลการชันสูตรจะชี้ว่า การเสียชีวิตของอามีนีเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุด้านสุขภาพ หรือในสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมต่อการเผชิญกับภาวะตื่นตระหนก

โดยเฉพาะ อย่างที่เราเห็นในคลิปวิดีโอวงจรปิด ที่แพร่หลายไปทั่ว ซึ่งแสดงให้เห็นภาพเธอล้มลงในทันที ก่อนจะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงสภาพร่างกายขณะรักษาตัว ที่ไม่ได้มีสัญญาณของการถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด

📌8) ประเทศตะวันตก มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ สิทธิมนุษยชนในประเทศอื่นๆด้วยหรือ?!?

พวกเขาสนับสนุนความรุนแรงในปาเลสไตน์ โกหกเรื่องอาวุธเคมีในซีเรีย ฆ่าประชาชนของตนเองในเหตุการณ์ 11 กันยา มีประวัติกดขี่ชาวผิวสีในชาติยาวเป็นหางว่าว กำหนดมาตรการคว่ำบาตรอาหารและยา แก่อิหร่าน ช่วยเหลือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซน ในสงครามกับอิหร่าน มอบอาวุธเคมีให้เขา มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งก่อนจะผลักดันปาห์ลาวีขึ้นสู่อำนาจ สนับสนุนซาอุฯให้โจมตีผู้บริสุทธิ์ชาวเยเมน จนเยเมนต้องเผชิญกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เพราะขาดแคลนอาหาร และฯลฯ

ไม่! พวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะพูดกับชาวอิหร่าน หรือ กับใครก็ตาม..

__________