ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (1960 – 2024) เลขาธิการพรรคฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน ถือกำเนิดในปี 1960 ที่กรุงเบรุต ตั้งแต่วัยหนุ่มท่านได้รับอิทธิพลจากอิม่ามมูซา ศ็อดร์ และหลังจากเข้าร่วมกับขบวนการออมู้ล ท่านได้ศึกษาศาสนาในโรงเรียนศาสนาที่เมืองนะญัฟ ในปี 1982 เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ซัยยิดนัศรุลลอฮ์จึงแยกตัวออกจากขบวนการออมู้ล และมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งพรรคฮิซบุลลอฮ์ ท่านเป็นผู้นำพรรคฮิซบุลลอฮ์ในสงครามที่ประสบความสำเร็จหลายครั้ง เช่น สงคราม 33 วัน (2006) และสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในปี 1997 ลูกชายของท่าน ซัยยิด ฮาดี ถูกสังหารในสงครามกับอิสราเอล ซึ่งเหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของซัยยิดนัศรุลลอฮ์ในการต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเมือง ท่านถูกสังหารในวันที่ 27 กันยายน 2024 ระหว่างการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล พร้อมกับเพื่อนร่วมงานและสหายหลายคน
- ประสูติ
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1960 ในย่าน คอรนีทินา ในฝั่งตะวันออกของกรุงเบรุต บิดาของท่านมีนามว่า ซัยยิด อับดุลกะรีม มาจากหมู่บ้านบาซูรียะฮ์ เมืองซูร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเลบานอน และย้ายมาทำธุรกิจค้าขายผักผลไม้ที่เบรุต ซัยยิดนัศรุลลอฮ์เป็นลูกคนโตของครอบครัว ท่านมีพี่น้องชาย 3 คนและพี่น้องหญิง 5 คน ปัจจุบันน้องชายสองคนของท่าน ฮูเซน และ มุฮัมมัด ทำงานอิสระ อีกคนหนึ่งชื่อญะอ์ฟัร ทำงานเป็นข้าราชการ ส่วนน้องสาวสี่คนของท่าน ได้แก่ ซัยนับ, ซะกียะฮ์, อามีนะฮ์ และ ซุอาด แต่งงานแล้วและทำงานด้านบริการและสังคมของพรรคฮิซบุลลอฮ์ น้องสาวคนสุดท้องชื่อฟาฏิมะฮ์ ยังอาศัยอยู่กับบิดามารดา
-
ชีวิตวัยเด็กและวัยรุ่น
ช่วงชีวิตวัยเด็กและวัยรุ่นของซัยยิดนัศรุลลอฮ์ผ่านไปในเขตชานเมืองเบรุต ท่านเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอันนะญาฮ์ในฝั่งตะวันออกของเบรุต และเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัตตัรบะวียะฮ์ในย่านคริสเตียนชื่อซิน อัลฟิล ในช่วงนั้นท่านมักจะไปช่วยบิดาที่ร้านขายผลไม้ ภาพของอิม่ามมูซา ศ็อดร์ ผู้นำของชีอะห์ในเลบานอนถูกแขวนไว้บนผนังร้าน ซัยยิดซัยยิดนัศรุลลอฮ์หลงใหลในตัวอิม่ามมูซา และหวังว่าวันหนึ่งท่านจะเป็นเหมือนอิม่ามมูซา ซัยยิดนัศรุลลอฮ์ไม่เหมือนเด็กคนอื่นในละแวกนั้นที่ใช้เวลาว่างเล่นฟุตบอลหรือว่ายน้ำในทะเล แต่ท่านมักไปที่มัสยิดคอรนีทินาเพื่อเข้าร่วมนมาซ และแม้ว่าจะไม่มีใครในครอบครัวของท่านเป็นนักการศาสนาเลย แต่ท่านก็มีความสนใจในเรื่องทางศาสนามากเกินกว่าการปฏิบัติศาสนกิจพื้นฐานอย่างการนมาซและการถือศีลอด
2.1 อิทธิพลจากวีรกรรมและวาทกรรมของอิม่ามมูซา ศ็อดร์ ที่มีต่อซัยยิดซัยยิดนัศรุลลอฮ์
ในช่วงวัยรุ่น ท่านได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมและคำพูดของอิม่ามมูซา ศ็อดร์ ซัยยิดนัศรุลลอฮ์เดินทางไปยังย่านอัลบัรญ์ ใจกลางกรุงเบรุตและที่จัตุรัสชุฮาดา เพื่อซื้อหนังสือมือสองจากพ่อค้าเร่ ท่านซื้อหนังสือศาสนาและการเมือง และหากท่านเจอหนังสือวิชาการหรือเชิงความคิดที่ยากเกินจะเข้าใจในตอนนั้น ท่านจะเก็บไว้เพื่ออ่านเมื่อโตขึ้น
-
การเข้าร่วมขบวนการอข้อมูล
ในช่วงต้นปี 1975 อิม่ามมูซา ศ็อดร์ ผู้นำชีอะห์ในเลบานอน ได้กล่าวคำปราศรัยอันทรงพลังเต็มเนื่องในโอกาสครบรอบวันอาชูรอ โดยท่านเรียกร้องให้ประชาชนชาวเลบานอนจัดตั้งกลุ่มต่อต้านทางทหารเพื่อต่อสู้กับการรุกรานของอิสราเอลและแผนการร้ายต่างๆ ที่อิสราเอลเตรียมไว้เพื่อขับไล่ชาวเลบานอนออกจากบ้านเกิดของตน เจ็ดเดือนต่อมา ในงานแถลงข่าว อิม่ามมูซาได้ประกาศอย่างชัดเจนถึงการก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธชื่อ “กองกำลังต่อต้านเลบานอน” หรือ “ขบวนการออมู้ล” ซึ่งกลายเป็นองค์กรทางการเมืองและศาสนาของเลบานอน
ในปีเดียวกันนั้น เมื่อสงครามกลางเมืองในเลบานอนเริ่มต้นขึ้น ซัยยิด ฮะซัน ในวัย 15 ปี ได้ย้ายไปอยู่ที่ หมู่บ้านบาซูรียะฮ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาในทางตอนใต้ของเลบานอนพร้อมกับครอบครัว และเข้ารับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต่อที่เมืองซูร ในหมู่บ้านบาซูรียะฮ์นี้เองที่ท่านได้เข้าร่วมขบวนการออมู้ล การเข้าร่วมครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของท่านเอง เพราะท่านมีความเลื่อมใสศรัทธาและนับถือต่ออิม่ามมูซา ศ็อดร์ ผู้ก่อตั้งขบวนการออมู้ลเหมือนกับประชาชนทางตอนใต้ของเลบานอนทั่วไป ในเวลานั้นหมู่บ้านบาซูรียะฮ์ก็เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในเลบานอนที่เต็มไปด้วยกลุ่มผู้มีอุดมการณ์ฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะผู้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์เลบานอนหรือกลุ่มปาเลสไตน์ ไม่ช้าไม่นาน ซัยยิด ฮะซัน และน้องชายของท่าน ซัยยิด ฮูเซน ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำขบวนการออมู้ลในหมู่บ้านบาซูรียะฮ์ แม้ว่าพวกท่านยังเป็นเยาวชนอยู่ก็ตาม
-
การเดินทางไปยังเมืองนะญัฟ
ในช่วงเวลานั้น ความปรารถนาที่จะศึกษาวิชาศาสนาก็ไม่เคยปล่อยให้ซัยยิด ฮะซัน ในวัยหนุ่มหยุดนิ่ง ท่านที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดของอิม่ามมูซา ศ็อดร์ ได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักการศาสนาและเข้าเรียนที่สถาบันศึกษาศาสนา(เฮาซะฮ์) “อิม่ามอะลี (อ.)” ในเมืองบะอ์ละบักซึ่งก่อตั้งโดยอิม่ามมูซา ศ็อดร์ และบริหารงานโดยซัยยิด อับบาส มูซาวี ในสำนักวิชานี้ นอกจากซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์แล้ว ยังมีผู้เรียนร่วมกันหลายคน เช่น เชคอาลี กะรีม, เชคฮะซัน ยาซีน, และ เชคมุฮัมมัด คอตูน ระหว่างที่ท่านอยู่ในเลบานอนใต้ ท่านได้รู้จักกับซัยยิด มุฮัมมัด ฆัรวี อิม่ามประจำเมืองซูร ซึ่งได้ชักชวนให้ท่านไปศึกษาต่อที่สถาบันศึกษาศาสนา(เฮาซะฮ์)ในเมืองนะญัฟ สุดท้ายซัยยิด ฮะซัน ก็เดินทางไปยังนะญัฟเพื่อศึกษาศาสนา
4.1 การแนะนำต่ออยาตุลลอฮ์ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร ศ็อดร์
ซัยยิด มุฮัมมัด ฆัรวี ได้เขียนจดหมายแนะนำซัยยิด ฮะซัน ให้กับอยาตุลลอฮ์ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร ศ็อดร์ ซึ่งเป็นนักคิด นักปราชญ์ และนักต่อสู้ทางศาสนาที่มีชื่อเสียงของอิรัก ความฉลาดหลักแหลมและความตั้งใจของซัยยิด ฮะซัน ได้รับความสนใจจากอยาตุลลอฮ์ศ็อดร์ จนท่านได้ขอให้ซัยยิด อับบาส มูซาวีช่วยดูแลพัฒนาการทางการศึกษาของซัยยิด ฮะซัน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างซัยยิด อับบาส กับซัยยิด ฮะซัน ไม่ได้เป็นเพียงแค่เพื่อนหรือพี่ชาย แต่ยังเป็นอาจารย์และผู้ร่วมเดินทางทางศาสนาด้วย การพบปะกับอยาตุลลอฮ์ศ็อดร์ เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับซัยยิด ฮะซันเป็นอย่างมาก
อยาตุลลอฮ์ศ็อดร์ เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาอันเฉียบแหลม มีความละเอียดอ่อนทางวิชาการ และได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่มากมายในด้านวิชาการศาสนา และพยายามลบล้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสลาม ท่านยังเป็นนักต่อสู้ทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในหลายเหตุการณ์
-
พรรคอัดดะอ์วะฮ์
การก่อตั้ง “พรรคอัดดะอ์วะฮ์” เป็นหนึ่งในความพยายามของอยาตุลลอฮ์ศ็อดร์ ในการสร้างการบริการและให้ความรู้แก่ชุมชน ท่านยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิม่ามโคมัยนี โดยมีวลีที่ท่านใช้ในการยกย่องอิม่ามโคมัยนีว่า “จงหลอมรวมตัวเองในตัวโคมัยนี ดังเช่นที่ท่าน(อิมามโคมัยนี)ได้หลอมรวมตัวเองในศาสนาอิสลาม” ได้สร้างความเคลื่อนไหวใหญ่ในโลกอิสลาม
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ได้เห็นแนวทางเหล่านี้ในชีวประวัติของอยาตุลลอฮ์ศ็อดร์ จึงยังคงทำงานต่อต้านการกดขี่ในเมืองนะญัฟ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1978 ท่านได้ลักลอบออกจากอิรักเพราะถูกคุกคามโดยรัฐบาลบาธของซัดดัม ฮูเซน ซึ่งในเวลานั้นกำลังปราบปรามสถาบันศึกษาศาสนา(เฮาซะฮ์)อย่างรุนแรง
-
การกลับมายังเลบานอน
หลังจากกลับมายังเลบานอน ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ต้องการที่จะศึกษาต่อในสถาบันศึกษาศาสนา(เฮาซะฮ์) แต่ไม่นานนัก ซัยยิด อับบาส มูซาวี และกลุ่มนักวิชาการศาสนาเลบานอน ก็ได้ก่อตั้งสถาบันศึกษาศาสนา(เฮาซะฮ์) “อิม่ามมุนตะซิร (อ.)” ในเมืองบะอ์ละบักซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่บักอา เบรุต และทางตอนใต้ของเลบานอน ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ทั้งเรียนและสอนในสำนักวิชานี้
-
การแต่งงานและบุตร
ในปี ค.ศ. 1978 เมื่ออายุได้ 18 ปี ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ได้แต่งงานกับ ฟาฏิมะฮ์ ยาซีน จากหมู่บ้านอัลอับบาสิยะฮ์ ในเขตซูร หนึ่งปีหลังจากแต่งงาน บุตรคนแรกของท่านได้ถือกำเนิดขึ้น ซัยยิด ฮะซันรับลูกในอ้อมแขนและกล่าวอาซานและอิกอมะฮ์ในหูของท่าน เด็กชายคนนี้มีชื่อว่า ซัยยิด มุฮัมมัด ฮาดี นัศรุลลอฮ์ ซึ่งต่อมาอีก 17 ปีให้หลัง ท่านได้เป็นชะฮีดตั้งแต่ยังหนุ่ม ตั้งแต่วัยเด็ก ซัยยิด มุฮัมมัด ฮาดี ได้แสดงถึงความอัจฉริยะ ความมั่นคงในบุคลิกภาพ ความเมตตา และความอ่อนน้อมถ่อมตน นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพี่ชายที่อบอุ่นและเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์สำหรับพี่น้องของท่าน มุฮัมมัด ญะวาด, มุฮัมมัด อะลี และน้องสาวคนเดียวของท่าน ซัยนับ
-
การได้รับอนุญาตจากอิม่ามโคมัยนี (รฮ.)
ในช่วงเช้าของวันที่ 28 ตุลาคมม ค.ศ. 1980 ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์และสมาชิกขบวนการออมู้ลได้เข้าพบอิม่ามโคมัยนี (รฮ.) ที่เมืองญัมรอน วันนั้นซัยยิด ฮะซัน ซึ่งอายุเพียง 21 ปีได้รับอนุญาตให้รับจัดการเรื่องของทรัพย์สินทางศาสนาและการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่อิม่ามโคมัยนีอนุญาตให้กับผู้ที่เชื่อถือได้เท่านั้น โดยที่เชคซุบฮี ตุฟัยลี หนึ่งในผู้นำการต่อต้าน ได้รับการอนุญาตนี้เจ็ดปีต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 และซัยยิด อับบาส มูซาวี เลขาธิการคนแรกของฮิซบุลลอฮ์ก็ได้รับอนุญาตนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1987
-
ข้อความในคำอนุญาตของอิมามโคมัยนี
ข้อความในคำอนุญาตของอิม่ามโคมัยนีสำหรับซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์:
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี
มวลสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอพรและความสันติจงมีแด่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัดและวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน ขอการสาปแช่งของอัลลอฮ์จงมีแด่ศัตรูของพวกท่านทั้งหมด
จากนี้ไป ข้าพเจ้าขออนุญาตให้ท่านท่านฮุจญตุลอิสลาม อยาตุลลอฮ์ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ รับจัดการเรื่องของทรัพย์สินทางศาสนาและการเงินของศาสนิกชน รวมถึงซะกาตและกัฟฟาเราะฮ์ตามหลักการศาสนา ท่านยังได้รับอนุญาตให้จัดการครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินเหล่านั้นเพื่อครอบครัวและอีกครึ่งหนึ่งสำหรับศาสนา
ข้าพเจ้าขอให้โอวาทเขา และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือเขา ดั่งที่สหายผู้ศรัทธาในอดีตได้รับโอวาทเหล่านั้น คือการยึดมั่นในความยำเกรง (ตักวา) หลีกเลี่ยงจากอารมณ์ฝ่ายต่ำที่ไม่ดี และยึดมั่นในหลักการปฏิบัติด้วยความระมัดระวังทั้งในเรื่องต่าง ๆ ของศาสนาและทางโลก และขอให้ท่านอย่าลืมภาวนาขอดุอาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยคำบทดุอาอันซอลิฮฺ ขอความสันติจงมีแด่ท่านและบรรดาพี่น้องผู้ศรัทธาของเรา ขอความเมตตาและความจำเริญจากอัลลอฮ์อยู่กับท่านทั้งหลาย
รูฮุลลอฮ์ มูซาวี โคมัยนี
-
การแยกตัวออกจากขบวนการออมู้ล
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ยังคงเรียนรู้ในสำนักศาสนาในบะอ์ลบักและมีบทบาทในขบวนการออมู้ล ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการการเมืองของขบวนการออมู้ล และรับผิดชอบดูแลด้านการเมืองในเขตบุกออฺ อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันนี้เอง กองทัพอิสราเอลได้บุกเลบานอน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในขบวนการออมู้ลมากขึ้น ความขัดแย้งนี้มีสาเหตุจากการตอบสนองของขบวนการออมู้ลต่อเหตุการณ์การรุกรานของอิสราเอลและการยึดครองกรุงเบรุต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ และกลุ่มผู้ศรัทธาในขบวนการออมู้ล
10.1 แผนสันติภาพของฟิลิป ฮาบีบ
หลังจากกรุงเบรุตล่มสลาย นักการเมือง 5 คนของเลบานอนจัดตั้งคณะกู้ชาติขึ้นตามคำสั่งของประธานาธิบดีเลบานอน เพื่อเจรจากับตัวแทนของสหรัฐฯ และอิสราเอล ผลลัพธ์ของการเจรจาคือการยอมรับแผนสันติภาพของฟิลิป ฮาบีบ นักการเมืองเชื้อสายเลบานอนจากสหรัฐฯ การที่นาบีฮ์ เบรี ผู้นำขบวนการออมู้ลเข้าร่วมกับคณะกู้ชาติและเห็นด้วยกับแผนนี้ ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่ผู้สนับสนุนขบวนการออมู้ล โดยเฉพาะซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์และกลุ่มผู้ศรัทธา การต่อต้านอิสราเอลจึงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น
สุดท้าย ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ พร้อมกับผู้นำออมู้ลอีกหลายคน เช่น ซัยยิด อับบาส มูซาวี, ซัยยิด ฮูเซน มูซาวี, เชคซุบฮี ตุฟัยลี และซัยยิด อิบรอฮีม อัลอะมีน ได้แยกตัวออกจากขบวนการออมู้ล และก่อตั้งฮิซบุลลอฮ์ขึ้นเป็นกลุ่มต่อต้าน(มุกอวิมัต)
-
การก่อตั้งฮิซบุลลอฮ์
ฮิซบุลลอฮ์ได้ประกาศการก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1989 โดยออกแถลงการณ์ชื่อ “สารถึงผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก” พร้อมกับการดำเนินกิจกรรมทางทหาร กลุ่มผู้นำของฮิซบุลลอฮ์ก็ได้พยายามจัดตั้งโครงสร้างองค์กรและกรอบทางการเมืองเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประสานงานกับนักวิชาการและนักการเมืองในอนาคต ในการนี้ คณะกรรมการชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการชีอะฮ์ 9 คน และบุคคลอิสระ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกาศความภักดีต่อหลักการ “วิลายะตุลฟะกีห์” และต่อสู้กับอิสราเอล
11.1 การพบกับอิม่ามโคมัยนี (รฮ.)
คณะกรรมการนี้ได้แต่งตั้งคณะผู้แทน 5 คน ซึ่งเรียกว่า “สภาเลบานอน” โดยมีซัยยิด อับบาส มูซาวี เป็นประธาน คณะนี้ถูกส่งไปยังกรุงเตหะรานเพื่อพบกับอิม่ามโคมัยนี (รฮ.) เพื่อขอคำแนะนำทางศาสนา พวกท่านได้อธิบายจุดประสงค์และแผนการของฮิซบุลลอฮ์ต่ออิม่ามโคมัยนี และสาบานตนต่อท่าน อิม่ามโคมัยนียืนยันการสนับสนุนสภานี้และแนะนำให้พวกท่านเดินหน้าต่อไป ในการสนทนานั้น ซัยยิด อับบาส มูซาวีได้กล่าวถึงสถานการณ์ในเลบานอนและความตั้งใจของชาวมุสลิมในการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล อิม่ามโคมัยนีตอบว่า: “สิ่งสำคัญคือการลงมือทำ ท่านกำลังอยู่ในช่วงของการกลายเป็นกัรบาลา ฉะนั้นจงอย่าคาดหวังว่าจะได้เห็นผลลัพธ์ในช่วงชีวิตของท่าน” (กล่าวคือ อิมามโคมัยนี เปรียบเปรยผลของการต่อสู้ของขบวนการฮิสบุลลอฮ์ในเลบานอน เหมือนขบวนการต่อสู้ในกัรบาลา ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์หลังจากที่พวกเขาได้เป็นชะฮีดไปแล้ว)
11.2 การจัดทำข้อบังคับของฮิซบุลลอฮ์
หลังจากกลับสู่กรุงเบรุต สภาได้เริ่มกระบวนการจัดทำร่างข้อบังคับของฮิซบุลลอฮ์และประสานงานหน่วยงานและกลุ่มต่างๆ ของขบวนการ กิจกรรมทั้งหมดถูกมุ่งไปที่การต่อต้านอิสราเอล ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์มีบทบาทสำคัญในฮิซบุลลอฮ์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ท่านยังคงเรียนรู้ในสำนักศาสนาในบะอ์ลบักและในปี ค.ศ. 1985 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฮิซบุลลอฮ์ในเขตบุกออฺ
11.3 รองหัวหน้าฮิซบุลลอฮ์ในกรุงเบรุต
สองปีต่อมา ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ถูกย้ายไปยังกรุงเบรุตและได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าฮิซบุลลอฮ์ที่นั่น นอกจากนี้ ท่านยังได้จัดตั้งหน่วยงานในพรรคและกลุ่มอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมการต่อต้านอิสราเอล โครงสร้างของฮิซบุลลอฮ์เริ่มขยายตัวมากขึ้นทั่วเลบานอน การเมืองเริ่มแยกออกจากกิจกรรมองค์กรของพรรค ในปี ค.ศ. 1987 ซัยยิด ฮะซันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสภาบริหารของฮิซบุลลอฮ์
-
ฮิซบุลลอฮ์และวิลายะตุลฟะกีห์
คุณลักษณะสำคัญของฮิซบุลลอฮ์เมื่อเทียบกับขบวนการอิสลามอื่นๆ ในโลกอาหรับคือ การยอมรับแนวคิด วิลายะตุลฟะกีห์ อย่างเต็มที่และการนำโดยอิม่ามโคมัยนี ฮิซบุลลอฮ์ได้ระบุในหนังสือประวัติศาสตร์และมุมมองของพวกเขาว่า:
“เกี่ยวกับวิลายะตุลอัมร์ (การปกครองของผู้นำ) เราถือว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามผู้นำทางศาสนาที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วยความยุติธรรม ความรู้ ความสามารถ การตระหนักรู้ในปัญหาสมัยใหม่ การบริหารจัดการ และความยำเกรง”
บทบาทของนักวิชาการทางศาสนาในฮิซบุลลอฮ์ถือว่าโดดเด่นมากที่สุด โดยนักวิชาการได้ครองตำแหน่งสำคัญในองค์กรหลายตำแหน่ง ตั้งแต่เลขาธิการสภา ไปจนถึงรองเลขาธิการ
-
การเดินทางสู่กุม
ในปี ค.ศ. 1990 เมื่อเลบานอนมีความสงบสุขขึ้น ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ซึ่งมีความกระหายในการเรียนรู้คำสอนของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) สามารถโน้มน้าวให้เพื่อนร่วมสภากลางของฮิซบุลลอฮ์ยอมให้ท่านเดินทางไปยังเมืองกุมได้ แม้เพื่อนร่วมสภาจะไม่ต้องการให้ท่านเดินทาง ถึงแม้ท่านจะอยู่ในเมืองกุม แต่การติดต่อกับสถานการณ์ในเลบานอนและฮิซบุลลอฮ์ไม่ได้ขาดลง ท่านติดตามความเคลื่อนไหวในเลบานอนอย่างใกล้ชิด แม้จะมาที่กุมเพื่อศึกษาเพิ่มเติมด้านนิติศาสตร์อิสลามขั้นสูง (ฟิกห์)ก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงให้ความสำคัญกับการต่อสู้ของฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอน อย่างไรก็ตามท่านตั้งใจจะเข้าร่วมในชั้นเรียนฟิกห์ของอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) และด้วยการได้รับความรู้และอิรฟาน ซัยยิดฮะซันจึงหวังว่าจะสามารถเสริมสร้างขบวนการต่อต้านอิสลามของเลบานอน (ฮิซบุลลอฮ์) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ซัยยิด ฮะซัน มีความตั้งใจที่จะใช้เวลา 2-3 ปีศึกษาอยู่ในเมืองกุม ในช่วงเดือนแรก ท่านต้องการใช้เวลาทั้งหมดไปกับการแสวงหาวิชาความรู้ โดยได้ตกลงกับนักศึกษาเลบานอนบางคนที่จะเข้าร่วมในชั้นเรียนของอาจารย์ศาสนาชื่อดัง ท่านได้เข้าร่วมชั้นเรียนวิชาอิสลามศึกษาว่าด้วยนิติศาสตร์และหลักวิชาการต่างๆ และยังเข้าร่วมในชั้นเรียนอรรถาธิบายอัลกุรอานของอยาตุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลีด้วย ชั้นเรียนของอยาตุลลอฮ์ฟาฎิล ลังการอนีย์,ซัยยิดกาซิม ฮาอิรีย์ และมีความเร้าร้อนที่จะอยู่ในแถวของ นักเรียนศาสนา (ฏอลาบะฮ์)ในเชิงอิรฟาน โดยท่านได้เข้าร่วมในชั้นเรียนของอยาตุลลอฮ์เบฮ์ญัต และอยาตุลลอฮ์เกชมีรีย์ และในช่วงท้ายของการอาศัยในเมืองกุม คราใดก็ตามที่ท่านกลับมายังอิหร่าน ท่านมักจะขอเข้าพบกับ อยาตุลลอฮ์เบฮ์ญัต อยาตุลลอฮ์เกชมีรีย์ และอยาตุลลอฮ์ฮะซันซอเดะฮ์ ออมูลีย์ และอุลามาท่านอื่นๆในเตหะรานและมัชฮัดอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม โดยเจตนาของท่าน ซัยยิดฮะซันต้องการอุทิศเวลาให้กับการศึกษาและค้นหาวิชาการเชิงลึกทางศาสนา และตั้งใจที่จะใช้เวลา 2-3 ปีในเมืองกุม แต่ด้วยความสามารถที่ท่านมี ทำให้ผู้มีอำนาจในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ไม่สามารถละเลยความสามารถของท่านได้ และหลังจาก 2 ปี ซัยยิดนัศรุลลอฮ์ก็ตัดสินใจเดินทางกลับไปเลบานอน
13.1 การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างฮิซบุลลอฮ์กับสาธารณรัฐอิสลาม
หลังจากที่ท่านมาถึงกุมได้ไม่นาน วิกฤตการณ์ทางการเมืองในเลบานอนก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เหล่าผู้นำฮิซบุลลอฮ์เดินทางไปยังเตหะรานและกุมเพื่อขอให้ท่านกลับไปที่เบรุต ในตอนแรกท่านปฏิเสธ แต่เมื่อซัยยิด อับบาส มูซาวีไม่สามารถโน้มน้าวให้ท่านกลับไปได้ ซัยยิดอับบาส จึงตั้งเงื่อนไขต่อซัยยิดฮะซันว่า “ฉันยินยอมให้ท่านอยู่ที่เมืองกุมต่อไป โดยท่านจะต้องดูแลความสัมพันธ์ระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิหร่าน” ซึ่งแม้จะเป็นภาระหน้าที่ที่ท่านไม่ปรารถนา แต่ท่านก็ต้องยอมรับมัน หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งนี้ ท่านใช้เวลาอยู่ที่กรุงเตหะรานเป็นส่วนใหญ่เพื่อติดตามความสัมพันธ์ระหว่างฮิซบุลลอฮ์กับอิหร่าน ท่านเดินทางไปยังกรุงเตหะรานเป็นประจำเพื่อดำเนินภารกิจใหม่ และในช่วงวันสุดท้ายที่ท่านพำนักอยู่ในเมืองกุม หน้าที่การงานของท่านก็มากจนทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมการศึกษาได้อีกต่อไป สำหรับท่านแล้ว การใช้ชีวิตในเมืองกุมหรือเลบานอนจึงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก และหลังจากที่พำนักอยู่ในกุมเป็นเวลาประมาณสองปี ท่านก็ได้ข้อสรุปว่าตนไม่สามารถเรียนรู้วิชาการศาสนาอย่างต่อเนื่องได้อีกต่อไป ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจกลับไปยังเลบานอน
13.2 การรวมตัวนักศึกษาเลบานอนและต่างชาติ
ในระหว่างที่ท่านอยู่ในกุม ท่านพยายามสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างนักศึกษาเลบานอนและนักศึกษาต่างชาติในสถาบันศึกษาหรือเฮาเซะฮ์แห่งเมืองกุม นอกจากนี้ท่านยังจัดการเชิญบุคคลสำคัญของอิหร่านมาให้การบรรยายแก่นักเรียนชาวเลบานอน เช่น ซัยยิดอาลีอักบร มุฮ์ตัชมีย์พูร และ อยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ ยัซดีย์ ท่านยังได้พัฒนาความสัมพันธ์กับนักศึกษาปากีสถานและอัฟกานิสถาน พร้อมกับแบ่งปันประสบการณ์การก่อตั้งฮิซบุลลอฮ์ให้แก่พวกเขา
13.3 ชะฮีด มุฮัมมัด ฮาดี และมุฮัมมัด ญะวาด ในกุม
ในช่วงที่ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์และครอบครัวอยู่ที่กุม ลูกชายสองคนของท่าน ชะฮีด มุฮัมมัด ฮาดี และมุฮัมมัด ญะวาด ได้เข้าเรียนที่โรงเรียน ชาฮิด นูร อีมาน ทั้งสองไม่เข้าใจภาษาเปอร์เซียในตอนแรก แต่ด้วยความช่วยเหลือจากครูและนักเรียนในโรงเรียน พวกเขาก็สามารถปรับตัวและเข้ากับเพื่อนร่วมชั้นได้
13.4 บทเพลงฮิซบุลลอฮ์
ลูกชายสองคนของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ได้สร้างความประทับใจด้วยการร้องเพลง “ฟะอินนะ ฮิซบุลลอฮ์ ฮุมุลฆอลิบูน” ซึ่งเป็นเพลงของฮิซบุลลอฮ์ในภาษาอาหรับในงานประกวดเพลงของโรงเรียน การแสดงนี้ได้รับการชื่นชมจากผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด
-
การกลับสู่เลบานอน
หลังจากกลับสู่เลบานอน ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ยังคงดำรงตำแหน่งในสภากลางของฮิซบุลลอฮ์และรับผิดชอบหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเติม เมื่อซัยยิด อับบาส มูซาวีได้รับเลือกเป็นเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ ท่านเลือกเชค นะอีม กอซิมเป็นรองเลขาธิการ ขณะที่ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้นำในสภากลางต่อไป
-
เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์
หลังจากการถูกลอบสังหารของซัยยิด อับบาส มูซาวี ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ด้วยการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกสภากลางของพรรค ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 32 ปี ในช่วงที่ท่านเป็นผู้นำสภาบริหาร ท่านได้สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับกลุ่มประชาชนและผู้สนับสนุนพรรค ซึ่งความสัมพันธ์นี้ช่วยรักษาความเป็นเอกภาพของพรรคหลังจากการเสียชีวิตของซัยยิด อับบาส มูซาวี
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์กล่าวถึงความรู้สึกของท่านหลังได้รับเลือกเป็นเลขาธิการว่า: “ในวันที่ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ ข้าพเจ้ารู้สึกกังวลและตื่นตระหนกมาก เนื่องจากอายุยังน้อยกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในสภากลาง ก่อนหน้าที่จะเป็นเลขาธิการ หน้าที่ของข้าพเจ้ามุ่งเน้นที่การจัดการภายในพรรคและงานในองค์กรมากกว่า การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน้าที่บริหารมากนัก แต่สภากลางยืนยันให้ข้าพเจ้ารับตำแหน่งนี้ ในที่สุดข้าพเจ้าก็ยอมรับมัน”
-
ขบวนการมุกอวิมัตอิสลามในเลบานอน
ในช่วงที่ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์เป็นเลขาธิการ ขบวนการต่อต้านอิสลามในเลบานอนยืนหยัดต่อสู้กับการรุกรานอย่างต่อเนื่องของอิสราเอลต่ออธิปไตยและดินแดนของเลบานอน โดยแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญและความอดทนที่โดดเด่น สงคราม “บัญชีแค้น” ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1993 และสงคราม “พายุแห่งความโกรธ” ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1996 เป็นการโจมตีที่สำคัญของอิสราเอลต่อเลบานอน การต่อต้านอย่างดุดันของนักรบฮิซบุลลอฮ์ในสงครามพายุแห่งความโกรธนำไปสู่การลงนามในข้อตกลงเมษายน
16.1 ข้อตกลงเมษายน
ตามข้อตกลงเมษายน ฮิซบุลลอฮ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นขบวนการต่อต้านชาติที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยดินแดนใต้เลบานอนที่ถูกยึดครอง นักรบของขบวนการต่อต้านอิสลามยังคงโจมตีอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง จนในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 พวกเขาสามารถปลดปล่อยพื้นที่ทางใต้ของเลบานอนได้สำเร็จ
อีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญของฮิซบุลลอฮ์ภายใต้การนำของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ คือการเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในกิจกรรมทางการเมืองภายในประเทศเลบานอน
-
การเข้าร่วมการเลือกตั้งรัฐสภาของฮิซบุลลอฮ์
ในปี ค.ศ. 1992 ฮิซบุลลอฮ์ได้เข้าร่วมการเลือกตั้งรัฐสภาเลบานอนเป็นครั้งแรก และสามารถส่งผู้สมัคร 12 คนเข้าสู่รัฐสภาได้ การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกหลังจากการยุติสงครามกลางเมืองที่กินเวลานานถึง 15 ปี ตัวแทนของฮิซบุลลอฮ์ได้ก่อตั้งกลุ่มการเมืองในรัฐสภาที่ชื่อว่า กลุ่มภักดีต่อการต่อต้าน (Loyalty to the Resistance Bloc) ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นปีกด้านการเมืองของฮิสบุลลอฮ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
-
การถูกสังหารเป็นชะฮีดของบุตรชาย
ในช่วงบ่ายของวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1997 กองกำลังต่อต้านแห่งอิสลามในเลบานอนได้สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของกองลาดตระเวนของอิสราเอลในเขตภูท่านญะบัล อัรรอฟีอ์ในพื้นที่อักลีม อัตตุฟาฮ์ ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายในหมู่บ้านอัรบะซอลีม คำสั่งถูกส่งไปยังหน่วยต่าง ๆ ของกองกำลังต่อต้านเพื่อเตรียมการซุ่มโจมตี หนึ่งในหน่วยนั้นมีบุตรชายคนโตของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ คือ ซัยยิด ฮาดี นัศรุลลอฮ์ ร่วมอยู่ด้วย
หน่วยดังกล่าวได้เข้าปะทะกับกองกำลังอิสราเอลและสามารถสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับศัตรูได้ หลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จโดยไม่มีนักรบคนใดได้รับบาดเจ็บ หน่วยทั้งหมดก็ถอยกลับไปยังแนวหลังของสมรภูมิ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางอากาศอย่างหนักจากอิสราเอลในเส้นทางกลับทำให้มีนักรบสามคนพลีชีพ ได้แก่ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮาดี (บุตรชายของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์) อะลี เกาซารานี และฮัยษัม มุฆนีเยาะฮ์ ส่วนสมาชิกคนที่สี่สามารถกลับมาอย่างปลอดภัย ศัตรูได้เก็บศพของนักรบทั้งสามไว้ เนื่องจากสถานที่เกิดเหตุตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง .
18.1 ผลกระทบจากการถูกสังหารของซัยยิด ฮาดี
การพลีชีพของซัยยิด ฮาดี ได้เร่งให้การเคลื่อนไหวของฮิซบุลลอฮ์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ท่านเป็นบุตรชายของเลขาธิการที่ได้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตให้กับการเคลื่อนไหวต่อสู้นี้ และเตรียมความพร้อมให้กับบุตรชายในการเลือกทางนี้อย่างเต็มใจ การกระทำของท่านไม่ได้เป็นเพียงแค่การมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ แต่ยังเป็นการต่อสู้ในแนวหน้าที่สำคัญที่สุด การเสียสละครั้งนี้สะท้อนถึงความสอดคล้องกันระหว่างผู้นำกับแนวคิดและการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้นำยินดีที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเป้าหมายที่สูงส่ง
การเป็นชะฮีดของซัยยิด มุฮัมมัด ฮาดี ยังแสดงถึงความเข้มแข็งและความกล้าหาญของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ในการยืนหยัดต่อสู้แม้จะมีความท้าทายและอุปสรรคมากมาย นักคิดและนักวิเคราะห์ชาวอาหรับบางคนได้แสดงความคิดเห็นว่า ขณะที่บุตรของผู้นำและนักการเมืองอาหรับหลายคนกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกหรือท่องเที่ยวไปยังเมืองต่าง ๆ แต่บุตรของเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ได้เลือกที่จะร่วมรบในแนวหน้าของสงครามกับศัตรู เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างบุตรของเลขาธิการกับบุตรของนักรบในภาคใต้ของเลบานอน
-
สงคราม 33 วัน
ฮิซบุลลอฮ์ได้รับรู้มานานแล้วว่าอิสราเอลเตรียมขยายวงการโจมตี จึงในวันที่ 21 กรกฎาคม 2006 ฮิซบุลลอฮ์ได้โจมตีฐานทัพอิสราเอล สังหารทหาร 7 นายและบาดเจ็บอีก 21 นาย รวมทั้งจับกุมทหารอิสราเอล 2 นาย การโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้อิสราเอลเปิดฉากโจมตีเลบานอนทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ประกาศผ่านทางช่องอัลมะนาร์ว่า “ชัยชนะครั้งใหญ่กำลังจะมาถึง”
จากนั้นฮิซบุลลอฮ์ได้ยิงขีปนาวุธจำนวนมากไปยังภาคเหนือของปาเลสไตน์(แดนที่ถูกยึดครอง) รวมถึงการทำลายเรือรบขั้นสูงของอิสราเอลที่ใกล้ชายฝั่งเลบานอน ขีปนาวุธส่วนใหญ่ของฮิซบุลลอฮ์ยิงไปถึงเมืองไฮฟา ทำให้ชาวอิสราเอลจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากพื้นที่นั้น ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ใช้สิทธิยับยั้งมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการหยุดยิง
เมื่อเด็กประมาณ 30 คนถูกสังหารในหมู่บ้านกอนาในภาคใต้ของเลบานอน ทำให้เกิดความโกรธเคืองไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันในเลบานอนได้เกิดความเป็นเอกภาพในการสนับสนุนฮิซบุลลอฮ์อย่างน่าประหลาดใจ กองทัพอิสราเอลล้มเหลวในการบุกเมืองซูร์ โดยมีหลายครั้งที่กองกำลังอิสราเอลติดอยู่ในกับดักของฮิซบุลลอฮ์ จนทำให้ทหารหลายคนถูกสังหารหรือบาดเจ็บ ทำให้อิสราเอลเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างมาก
19.1 การยอมรับมติเพื่อผลประโยชน์
หลังจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลต่อกรุงเบรุต ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ประกาศว่าหากอิสราเอลโจมตีกรุงเบรุตอีกครั้ง ฮิซบุลลอฮ์จะตอบโต้ด้วยการโจมตีเมืองเทลอาวีฟ ดังนั้นทางเดียวที่อิสราเอลสามารถทำได้คือกดดันสหรัฐอเมริกาและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้รับมติ ซึ่งมติ 1701 ได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคง เรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันทีและการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพมายังชายแดนเลบานอน
ฮิซบุลลอฮ์ได้ประกาศยอมรับมตินี้ โดยขึ้นอยู่กับการยอมรับของรัฐบาลเลบานอน หลังจาก 33 วันของการต่อสู้ ฮิซบุลลอฮ์ได้รับชัยชนะอีกครั้ง และกองทัพอิสราเอลต้องถอนตัวออกจากดินแดนเลบานอนอย่างน่าอับอาย ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ แสดงความยินดีกับประชาชนชาวเลบานอนผ่านทางโทรทัศน์ พร้อมประกาศว่าขั้นตอนต่อไปคือการฟื้นฟูพื้นที่ที่ถูกทำลายและการนำผู้พลัดถิ่นกลับบ้าน
19.2 สาส์นจากผู้นำสูงสุด
ในโอกาสที่ฮิซบุลลอฮ์ได้รับชัยชนะในสงคราม 33 วัน ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อยาตุลลอฮ์ซัยยิด อะลี คาเมเนอี ได้ส่งสาส์นถึงซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ โดยกล่าวถึงชัยชนะครั้งนี้ว่า:
พี่น้องผู้ต่อสู้ในแนวทางศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพรักยิ่ง ท่านซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ สลามถึงท่านเนื่องจากความอดทนของท่าน
ขอสลามถึงท่านและพี่น้องคนอื่น ๆ และถึงเหล่านักต่อสู้ของพรรคฮิซบุลลอฮ์ทุกท่าน
สิ่งที่ท่านได้มอบให้แก่ประชาชาติอิสลามด้วยการต่อสู้และการต่อต้านที่หาที่เปรียบไม่ได้ของท่านนั้น เกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะพรรณนาได้ การต่อสู้ที่กล้าหาญและความทุกข์ยากของท่านซึ่งได้รับชัยชนะจากพระเจ้านั้น ได้ยืนยันอีกครั้งว่าอาวุธสมัยใหม่และอันตรายไม่อาจสู้กับศรัทธา ความอดทน และความบริสุทธิ์ใจได้ และประชาชาติที่มีศรัทธาและการต่อสู้จะไม่พ่ายแพ้ภายใต้อำนาจของผู้กดขี่ ชัยชนะของท่านคือชัยชนะของอิสลาม ท่านได้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งด้วยพระประสงค์และพลังของพระเจ้า ว่าความเหนือกว่าทางการทหารไม่ได้อยู่ที่อาวุธ เครื่องบิน เรือรบ หรือรถถัง แต่ขึ้นอยู่กับพลังแห่งศรัทธา การต่อสู้ การเสียสละ ที่มาพร้อมกับปัญญาและการวางแผน
ท่านได้กำหนดให้ความเหนือกว่าทางทหารของตนเองต่อระบอบไซออนิสต์ และได้เสริมสร้างความเหนือกว่าทางจิตวิญญาณของท่านในระดับภูมิภาคและระดับโลก ท่านได้ลบล้างตำนานความพ่ายแพ้ไม่เป็นของกองทัพไซออนิสต์และเย้ยหยันความน่ากลัวที่หลอกลวงของพวกเขา ท่านได้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบอบผู้ยึดครอง และมอบศักดิ์ศรีให้แก่ประชาชาติอาหรับ ท่านได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของพวกเขา ซึ่งถูกปฏิเสธไปหลายสิบปีโดยโฆษณาชวนเชื่อและนโยบายของผู้กดขี่ ในเวทีแห่งความจริง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นหลักฐานจากพระเจ้าที่ส่งถึงรัฐบาลและประชาชาติอิสลามทุกหนแห่ง โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง…
ศัตรูได้เข้าใจผิด คิดว่าด้วยการโจมตีเลบานอน พวกเขาจะสามารถโจมตีจุดอ่อนที่สุดของประเทศในภูมิภาคนี้ และจะสามารถเริ่มต้นแผนการลวงตาของ “ตะวันออกกลางในฝัน” ของพวกเขาได้ ศัตรูคืออเมริกาและอิสราเอล พวกเขาไม่ตระหนักถึงความอดทน ความเฉลียวฉลาด และความกล้าหาญของประชาชนเลบานอน และไม่เห็นความแข็งแกร่งของมือที่แข็งแกร่งของเลบานอน พวกเขาละเลย “แนวทางของพระเจ้า: กี่ครั้งแล้วที่กลุ่มน้อย เอาชนะกลุ่มใหญ่ด้วยอนุมัติจากอัลลอ์ และอัลลอ์ทรงอยู่กับผู้ที่อดทน”(ซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์ โองการที่ 249) ประชาชนเลบานอน เยาวชนผู้กล้าหาญ และนักการเมืองที่ฉลาดของพวกเขา ได้ให้บทเรียนที่รุนแรงแก่ศัตรูและกระชากพวกเขาออกจากละเลย
ตอนนี้ศัตรูกำลังวางแผนที่จะตัดแขนที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพนี้ โดยพยายามสร้างความแตกแยกในหมู่นักการเมือง และแพร่เชื้อไวรัสแห่งความไม่อดทนและความสงสัยในจิตใจของประชาชน ทุกคนต้องระวังการแพร่พิษเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือและพลังจากพระเจ้า ท่านจะประสบความสำเร็จในการขัดขวางแผนการของพวกเขา และจะได้รับชัยชนะครั้งที่สอง อินชาอัลลอฮ์ การต่อสู้ในสนามใหม่นี้สำคัญไม่แพ้การต่อสู้ที่กล้าหาญในสนามรบทางการทหาร และความอดทน ความไว้วางใจในพระเจ้า ความบริสุทธิ์ใจ และการวางแผนจะเป็นสิ่งที่กำหนดชัยชนะ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีและความเคารพต่อท่านและพี่น้องผู้กล้าหาญในสนามรบ ข้าพเจ้าขอจูบมือและแขนของพวกท่านทุกคน
-
การจูบมือผู้นำสูงสุด
ในปี 1999 มีการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยปาเลสไตน์ที่กรุงเตหะราน หลังจากที่ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่านกล่าวสุนทรพจน์ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ได้ก้าวออกมาที่กลางห้องประชุมและจูบมือผู้นำสูงสุดต่อหน้าทุกคน การกระทำนี้ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก เมื่อมีคนถามท่านในภายหลังว่าเหตุใดจึงทำเช่นนั้น ซัยยิด ฮะซัน ตอบว่า:
เป้าหมายของข้าพเจ้าคือ ภายหลังจากชัยชนะครั้งใหญ่และการปลดปล่อยทางใต้ของเลบานอน พร้อมกับการหลบหนีอย่างน่าอับอายของชาวไซออนิสต์ แม้พวกเขายกย่องฉันเป็นวีรบุรุษและบุคคลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอาหรับ แต่ฉันต้องการแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า ทุกสิ่งที่เรามี เป็นผลมาจากการปฏิบัติตามและการเชื่อมโยงกับผู้นำของชาวมุสลิม(วลีอัมร์มุสลิมีน)
-
อิมามโคมัยนีจากมุมมองของซัยยิดซัยยิดนัศรุลลอฮ์
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ได้กล่าวถึงอยาตุลลอฮ์ซัยยิดรูฮุลลอฮ์ มูซาวีโคมัยนี ว่า:
ทัศนะของเราเกี่ยวกับท่านอิมามโคมัยนีคือ ท่านเป็นผู้นำทางศาสนา ผู้นำจิตวิญญาณ และผู้นำที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับผู้นำศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ในทุกศาสนาในโลก อย่างไรก็ตาม สำหรับเราท่านอิมามนั้นเป็นมากกว่านั้น ท่านเป็นสัญลักษณ์และเป็นตัวแทนของการปฏิวัติต่อต้านทรราช ผู้กดขี่ และระบอบเผด็จการ ท่านได้ปลุกจิตวิญญาณแห่งความหวังในจิตใจของผู้ถูกกดขี่ และได้ฟื้นฟูทฤษฎีแห่งเจตจำนงของประชาชนเพื่อต่อต้านเจตจำนงของผู้กดขี่ ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามจึงเป็นมากกว่าสัญลักษณ์ทางศาสนาสำหรับเรา และไม่เพียงแค่สำหรับพวกเราเท่านั้น แต่ยังสำหรับผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกอีกด้วย ความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณและจิตใจระหว่างเรากับท่านอิมามนั้นมีอยู่แล้ว แม้กระทั่งก่อนการรุกรานทางทหารของอิสราเอลในปี 1982
-
ฮิซบุลลอฮ์และเลขาธิการในสายตาของพันธมิตร
แม้ว่าบุคคลทางศาสนาจำนวนหนึ่งจะไม่สนับสนุนเป้าหมายของฮิซบุลลอฮ์ แต่บุคคลสำคัญในโลกอิสลามส่วนใหญ่ต่างยกย่องฮิซบุลลอฮ์ เช่น
22.1 ดร.ยูซุฟ กอรอฎอวีย์ (นักวิชาการศาสนาอิสลาม)
“ขบวนการต่อต้านคือสิ่งที่มีเกียรติที่สุดในประชาชาติอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นในปาเลสไตน์หรือเลบานอน การที่ฮิซบุลลอฮ์เป็นชีอะห์ไม่ได้ทำให้ความชอบธรรมของการต่อต้านนี้ลดลง ชีอะห์คือส่วนหนึ่งของประชาชาติอิสลาม”
22.2 – อาลี ญุมอะฮ์ (มุฟตีของอียิปต์)
“ขบวนการต่อต้านของฮิซบุลลอฮ์ต่อการรุกรานของอิสราเอลคือการปกป้องเลบานอน นี่ไม่ใช่การก่อการร้าย”
22.3 มุฮัมมัด มะฮ์ดี อากิฟ (ผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิม)
“เราขอถามผู้ที่กระตุ้นให้เกิดการแตกแยกและผู้ที่เรียกร้องให้ละทิ้งการต่อต้านว่า คุณได้ทำอะไรบ้าง? ชาวโลกเข้าใจดีว่าหากไม่สนับสนุนการต่อต้าน ก็จะยืนเคียงข้างกับศัตรูของไซออนิสต์และอเมริกา”
22.4 อักรอมา ซอบรี (หัวหน้าคณะกรรมการอิสลามแห่งปาเลสไตน์)
“ขบวนการต่อต้านของเลบานอนได้พิสูจน์ถึงความสามารถของพวกเขาแล้ว เพราะมันเกิดขึ้นจากศรัทธา ฮิซบุลลอฮ์ได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวอิสราเอล หลายคนต้องใช้ชีวิตในที่หลบภัย เราหวังว่าพระเจ้าจะประทานเกียรติยศแก่การต่อต้านของเลบานอนและปาเลสไตน์”
22.5 ฮุจญตุลอิสลาม มุฮัมมัด ฮะซัน รอฮิมียัน (ตัวแทนผู้นำสูงสุดในมูลนิธิเชิดชูผู้สละชีพ)
“ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์และสมาชิกของฮิซบุลลอฮ์ทุกคนต่างยอมรับว่าตนเป็นผู้ติดตามและศิษย์ของท่านอิมามโคมัยนี และเชื่อว่าชัยชนะและความมั่นคงของพวกท่านมาจากการปกครองของฟะกีฮ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของอิมาม อาลีและอิมามมะฮ์ดี”
22.6 ดร.ฮุเซน เดฮ์ฆอน (ประธานมูลนิธิเชิดชูผู้สละชีพ)
“ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความเป็นอัจฉริยะของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ได้สร้างผู้นำที่ไม่เพียงแต่ชี้นำฮิซบุลลอฮ์และการต่อต้านของเลบานอนเท่านั้น แต่ยังนำการต่อต้านในโลกอาหรับและโลกอิสลามในการต่อสู้กับอิสราเอล”
22.7 มุสตอฟา ดีย์รานี (อดีตผู้นำขบวนการออมู้ล)
“ชาวอิสราเอลทุกคนพูดว่า ถ้าซัยยิด ฮะซัน พูดสิ่งใด เขาจะทำตามนั้น นี่คือเครื่องพิสูจน์ถึงความซื่อสัตย์ของท่าน และทำให้ท่านได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและเหล่านักรบ”
22.8 ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิด อะลี อักบัร มุฮ์ตะชิมี พูร์ (อดีตรัฐมนตรีมหาดไทย)
“หนึ่งในคุณสมบัติของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์คือความซื่อสัตย์ ท่านไม่เคยยอมรับความอยุติธรรมและจะปกป้องผู้ถูกกดขี่เสมอ”
22.9 ดร.รัฟฟะอัต ซัยยิด อะหมัด (ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ในกรุงไคโร)
“ประวัติศาสตร์จะจารึกซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ในฐานะสัญลักษณ์ของเกียรติยศและศักดิ์ศรี”
22.10 อะห์หมัด ญิบรีล (เลขาธิการแนวร่วมปลดปล่อยปาเลสไตน์)
“ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ได้พิสูจน์อีกครั้งว่าท่านสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักรบของฮิซบุลลอฮ์ จนทำให้ผู้บังคับบัญชาและกองทัพของศัตรูต้องตื่นตระหนก”
22.11 จอร์จ ฮะบัช (อดีตเลขาธิการแนวร่วมปลดปล่อยปาเลสไตน์)
“ในนามของชาวปาเลสไตน์ เลบานอน และประชาชนอาหรับผู้รักเสรีภาพ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับชัยชนะอันรุ่งโรจน์ของนักรบฮิซบุลลอฮ์”
22.12 มุสตอฟา ตาลัส (อดีตรัฐมนตรีกลาโหมของซีเรีย)
“เมื่อซัยยิด ฮะซัน ยืนขึ้นอย่างสง่างามและมั่นคงบนแท่นปราศรัย ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีและภูมิใจในตัวท่าน ข้าพเจ้าเห็นเจตจำนงอันแข็งแกร่งในแววตาของท่านที่สามารถไปถึงฟากฟ้าและคว้าดวงดาวมาได้”
-
การเป็นชะฮีด
ในการโจมตีทางอากาศโดยรัฐบาลไซออนิสต์ในเขตฎอฮียะฮ์ ทางตอนใต้ของเลบานอน เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2024 ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน พร้อมด้วยผู้บัญชาการหลายท่านของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ รวมถึงอาลี กะรอกี ได้ถูกสังหารจากการโจมตีครั้งนี้ กองทัพของรัฐบาลไซออนิสต์อ้างว่าการโจมตีครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อทำลายศูนย์บัญชาการของฮิซบุลลอฮ์
หลังจากมีการประกาศข่าวอันน่าตกใจนี้ เกิดกระแสความเศร้าโศกและความโกรธแค้นในโลกอิสลาม โดยเฉพาะในเลบานอน ฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอนได้ออกแถลงการณ์ยืนยันการเสียชีวิตของซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ พร้อมยกย่องท่านในฐานะผู้นำผู้กล้าหาญ ผู้มีวิสัยทัศน์ และเป็นแรงบันดาลใจที่ได้เข้าร่วมกับบรรดาชะฮีดแห่งกัรบาลา
ในวาระนี้อยาตุลลอฮ์ซัยยิดอาลี คาเมเนอีย์ ได้ส่งสาส์นสองฉบับเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวดังนี้ โดยในสารฉบับแรก ระบุว่า
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานี การสังหารประชาชนผู้ไร้ทางป้องกันในเลบานอน ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งถึงความโหดร้ายของสุนัขบ้าไซออนิสต์ที่ปรากฏให้ทุกคนได้เห็น และในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการยืนยันถึงความคิดสั้นและนโยบายที่โง่เขลาของเหล่าผู้นำระบอบรุกรานนี้ด้วยกลุ่มก่อการร้ายผู้ปกครองระบอบไซออนิสต์ ไม่ได้เรียนรู้อะไรจากสงครามอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นตลอดหนึ่งปีในกาซา พวกเขาไม่สามารถเข้าใจได้ว่าการสังหารหมู่สตรี เด็ก และประชาชนที่ไม่มีอาวุธ ไม่สามารถทำลายหรือทำให้ขบวนการมุกอวิมัตอันเข้มแข็งนี้ล้มลงได้ตอนนี้ พวกเขาก็ยังคงทดลองใช้นโยบายโง่เขลาเดิมๆในเลบานอน ไซออนิสต์ผู้ชั่วร้ายควรรู้ว่า พวกเขาไม่มีพลังพอที่จะทำลายความแข็งแกร่งของฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอนได้กลุ่มมุกอวิมัตทั้งหมดในภูมิภาคนี้จะยืนเคียงข้างและสนับสนุนฮิซบุลเลาะห์ ชะตากรรมของภูมิภาคนี้จะถูกกำหนดโดยกองกำลังมุกอวิมัต โดยมีฮิซบุลเลาะห์ผู้ทรงเกียรติเป็นผู้นำประชาชนชาวเลบานอนยังไม่ลืมว่าในช่วงเวลาหนึ่ง กองทัพของระบอบฉ้อฉลนี้เคยย่ำยีกรุงเบรุตด้วยรองเท้าบู๊ตของพวกเขา แต่เป็นฮิซบุลเลาะห์ที่ตัดขาของพวกเขาและทำให้เลบานอนมีเกียรติและยืนหยัดอย่างสง่างาม และวันนี้เลบานอนก็จะทำให้ศัตรูผู้รุกราน ชั่วร้าย และน่าละอายต้องเสียใจด้วยพลังแห่งพระเจ้า
เป็นหน้าที่(ฟัรฎ)ของชาวมุสลิมทุกคนที่จะต้องยืนเคียงข้างประชาชนเลบานอนและฮิซบุลเลาะห์ผู้ทรงเกียรติ ด้วยทรัพยากรและสรรพกำลังต่างๆของพวกเขา และให้การสนับสนุนในการเผชิญหน้ากับระบอบฉ้อฉล อธรรม และชั่วร้ายนี้วัสลามุอาลา อิบาดิลลาฮิสซอลีฮีนซัยยิด อาลี คาเมเนอีย์7 เมฮร์ 1403
ในฉบับที่สองมีข้อความดังนี้
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี
อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮีรอญิอูนพี่น้องชาวอิหร่านที่รักประชาชาติอิสลามอันยิ่งใหญ่
นักต่อสู้มุญาฮิดผู้ยิ่งใหญ่ ธงนำแห่งมุกอวีมัตในภูมิภาค ผู้รู้ศาสนาผู้ทรงความประเสริญ ผู้ทรงคุณธรรม และผู้นำทางการเมืองที่มีความรอบรู้ ท่านซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (ขออัลลอฮ์ทรงพึงพอใจท่าน) ได้บรรลุสู่การเป็นชะฮีดและบินขึ้นสู่สรวงสวรรค์ในเหตุการณ์เมื่อคืนที่เลบานอนแล้ว ท่านซัยยิดมุกอวิมัตอันเป็นที่รักยิ่งได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากการต่อสู้อันศักดิ์สิทธิ์และการเผชิญกับอุปสรรคความยากลำบากในในหนทางของอัลลอฮ์ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
ท่านถูกสังหารขณะที่กำลังวางแผนปกป้องประชาชนผู้ไร้ที่พึ่งในย่านฎอฮิยะห์ของกรุงเบรุต ปกป้องบ้านเรือนที่ถูกทำลายและปกป้องผู้ที่ได้สูญเสีย เฉกเช่นที่ท่านได้วางแผนและต่อสู้มานานหลายสิบปีเพื่อปกป้องประชาชนที่ถูกกดขี่ในปาเลสไตน์ ปกป้องบ้านเรือนที่ถูกยึดครอง และปกป้องหมู่บ้าน,เมืองที่ถูกทำลาย ปกป้องผู้คนที่ถูกสังหารหมู่ การบรรลุสู่การเป็นชะฮีดหลังจากการต่อสู้อันยาวนานนี้ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมของท่านแล้ว
โลกอิสลามได้สูญเสียบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ สูญเสียแนวร่วมแห่งการต่อต้าน สูญเสียผู้นำผู้ทรงคุณ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอนได้สูญเสียผู้นำซึ่งหาที่เปรียบมิได้ แต่ความสำเร็จจากการวางแผนและการต่อสู้อันยาวนานหลายสิบปีของท่านจะไม่มีวันสูญหายไป รากฐานที่ท่านได้วางไว้ในเลบานอนและทิศทางที่ท่านได้กำหนดให้แก่ศูนย์กลางการต่อต้านอื่น ๆ จะไม่ถูกทำลายเพียงเพราะการจากไปของท่าน ตรงกันข้าม มันจะได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยเลือดของท่านและเหล่าชะฮีดในเหตุการณ์นี้
การโจมตีของแนวร่วมแห่งการต่อต้านต่อร่างกายอันอ่อนแอและกำลังมุ่งล่มสลายของระบอบไซออนิสต์ จะยิ่งรุนแรงขึ้นด้วยพลังของพระเจ้า ตัวตนอันชั่วช้าสามานย์ของระบอบไซออนิสต์ในเหตุการณ์นี้จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
ซัยยิดแห่งมุกอวิมัตท่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงบุคคล แต่คือหนทางและอุดมการณ์ และหนทางนี้จะยังคงดำเนินสืบต่อไป เลือดของชะฮีดซัยยิด อับบาส มูซาวี ไม่ได้ถูกทิ้งไว้อย่างสูญเปล่า และเลือดของชะฮีดซัยยิด ฮะซัน ก็จะไม่สูญเปล่าเช่นกัน
ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีและความเสียใจต่อบิดาผู้เป็นที่เคารพและภรรยาผู้ทรงเกียรติของท่านซัยยิดผู้เป็นที่รัก ที่ก่อนหน้านี้ได้สูญเสียบุตรชายของเขา ซัยยิดฮาดี ในหนทางของพระเจ้า และขอแสดงความเสียใจต่อบุตรที่รักของท่าน ครอบครัวของชะฮีดทุกท่าน สมาชิกทุกคนของฮิซบุลลอฮ์ ประชาชนที่รัก และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเลบานอน รวมถึงแนวร่วมแห่งการต่อต้านทั่วทั้งภูมิภาค และประชาชาติอิสลามทั้งหมด สำหรับการเป็นชะฮีดของซัยยิดนัศรุลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่และเหล่าสหายผู้พลีของเขา ข้าพเจ้าขอประกาศการไว้อาลัยทั่วทั้งอิหร่านแห่งอิสลามเป็นเวลา 5 วัน ขอพระเจ้าได้โปรดรับพวกเขาให้อยู่ร่วมกับบรรดาเอาลียาในสรวงสวรรค์ด้วยเทอญ
วัสลามุอาลา อิบาดิลลาฮิสซอลีฮีนซัยยิด อะลี คอเมเนอี
7 เมฮ์ร 1403