จากเตหะรานถึงเบรุต การก่อการร้ายไม่ใช่คู่ปรับของมุกอวิมัต

2
การโจมตีแบบก่อการร้ายของรัฐอิสราเอล นำไปสู่การสังหารหมู่ผู้นำขบวนการต่อต้านของเลบานอน รวมถึงนักสู้ผู้มีจิตใจกล้าหาญ เช่น ท่าน ซัยยิดฮัสซัน นัศรุลลอฮ์ การสูญเสียเหล่านี้ได้ทำให้ผู้เกิดคำถามต่อกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้ติดตามของฝ่ายมุกอวิมัต(ต่อต้าน)เกี่ยวกับอนาคตและชะตากรรมของการต่อสู้นี้ นอกจากนี้ รัฐเถื่อนอิสราเอลและพันธมิตรทางตะวันตกยังได้เริ่มการปฏิบัติการทางจิตวิทยาครั้งใหญ่เพื่อหวังว่าจะทำให้เกิดความกลัว ความสงสัย และความไม่มั่นคง และในที่สุด มันจะนำไปสู่การยอมจำนนต่อรัฐรุกรานที่กระทำความผิดนี้

เปรียบเทียบตัวอย่างหนึ่งทางประวัติศาสตร์

ส่วนหนึ่งในคำเทศนาในวันศุกร์ล่าสุดที่กรุงเตหะรานซึ่งกล่าวขึ้นเป็นภาษาอาหรับ ผู้นำการปฏิวัติอิสลามได้กล่าวว่า

“ชาวเลบานอนและปาเลสไตน์ผู้อดทน นักรบผู้กล้าหาญและประชาชนผู้อดทนและทรงคุณค่า การสละชีพและเลือดที่หลั่งไหลเหล่านี้จะไม่ทำให้การเคลื่อนไหวของพวกท่านอ่อนแอลง แต่จะทำให้มันแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน  บุคคลสำคัญของเราหลายท่านได้ถูกลอบสังหารในช่วงสามเดือนของฤดูร้อนปี 1360 (ตรงกับค.ศ.1981) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ เช่นท่าน ซัยยิดมูฮัมมัด เบเฮชตี ประธานาธิบดีเช่นราจาอี และนายกรัฐมนตรีเช่นบาฮูนาร์ รวมถึงนักวิชาการอย่างอยาตุลลอฮ์ มะดะนี กุดดูซี และฮาชิมีเนจาด พวกเขาแต่ละคนถือเป็นเสาหลักของการปฏิวัติในระดับชาติหรือท้องถิ่น การสูญเสียเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การปฏิวัตินี้ก็มิได้หยุดชะงัก ไม่ถอยหลังแต่ประการใด แต่มันกลับก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว”

คำกล่าวนี้เป็นการยกเหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างเพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวเลบานอนและปาเลสไตน์ในการต่อสู้ของพวกเขา โดยมีการยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในอดีตของอิหร่านที่แม้จะมีการสูญเสียผู้นำสำคัญหลายคนในปี 1981 แต่การต่อสู้เพื่อการปฏิวัติไม่เคยหยุดชะงัก แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นให้แก่ขบวนการต่อต้านในปัจจุบันที่มีลักษณะเดียวกันกับกการปฏิวัติของอิหร่านในอดีตที่ผ่านมา

  1. ความอดทนและการเสียสละ: ผู้นำใช้คำว่า “ชาวเลบานอนและปาเลสไตน์ผู้อดทน” และ “นักรบผู้กล้าหาญ” เพื่อเน้นถึงคุณสมบัติของประชาชนและนักรบในการต่อต้านศัตรู โดยเสนอว่าการเสียสละของพวกเขาไม่ได้ทำให้การต่อสู้อ่อนแอลง แต่กลับเป็นแรงกระตุ้นให้เข้มแข็งมากขึ้น
  2. เหตุการณ์ที่บุคคลสำคัญของอิหร่านถูกลอบสังหารในปี1981 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของอิหร่านหลังจากการปฏิวัติอิสลามปี 1979 ซึ่งเป็นการโจมตีระดับสูงที่เกี่ยวโยงกับกลุ่มติดอาวุธภายในประเทศและเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศในช่วงที่อิหร่านกำลังทำการปรับโครงสร้างการเมืองและสังคมอย่างรุนแรงหลังจากล้มล้างราชวงศ์ชาห์ รายละเอียดของเหตุการณ์ มีดังนี้

–  การโจมตีที่สำนักงานพรรคสาธารณรัฐอิสลาม (7 กรกฎาคม 1981): การลอบวางระเบิดที่สำนักงานใหญ่ของพรรคสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic Republican Party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองหลักในอิหร่านในขณะนั้น การระเบิดนี้ทำให้อยาตุลลอฮ์เบเฮชตี้ ผู้ที่เป็นหนึ่งในผู้นำระดับสูงและก่อตั้งพรรค และสมาชิกอีก 72 คนเสียชีวิต

–  การลอบสังหาร ผู้นำระดับสูงอื่นๆ ในช่วงเวลานั้น รวมถึง ประธานาธิบดีโมฮัมหมัด อาลี รอญาอี และนายกรัฐมนตรีโมฮัมหมัด ญาวาด บาฮูนาร์ ที่ถูกลอบสังหารในเดือนสิงหาคม 1981 จากการโจมตีที่กระทรวงกลาโหม

–  บริบทและผลกระทบ : ช่วงฤดูร้อนปี 1360 ฮิจเราห์ชัมซี (1981 คริสต์ศักราช) ถือเป็นช่วงเวลาที่วุ่นวายและรุนแรงอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของอิหร่านหลังการปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เผชิญกับความท้าทายทั้งจากภายในและจากภายนอกอย่างหนักหน่วง ข้อสังเกตหลัก ๆ ในเหตุการณ์นั้นมีดังนี้:

–   สถานการณ์ทางการเมืองภายใน: หลังจากการปฏิวัติอิสลามไม่นาน สถาบันใหม่ ๆ ยังไม่มั่นคง และการเมืองภายในประเทศยังไม่แน่นอน ผู้นำสำคัญบางคนถูกปลดและหนีออกนอกประเทศ และยังมีการเกิดกลุ่มติดอาวุธและแนวโน้มการแยกแยะตัวทั่วประเทศ

–  สงครามอิหร่าน-อิรัก: สงครามนี้เริ่มขึ้นในปี 1980 และกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เผชิญหน้ากับรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนของอิรัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจทั้งตะวันตกและตะวันออก ในขณะที่อิหร่านยังต้องดิ้นรนกับปัญหาภายในมากมาย

–    ความรุนแรงของการก่อการร้าย: ในฤดูร้อนปี 1360 การก่อการร้ายในอิหร่านถึงจุดสูงสุด มีการลอบสังหารประมาณสองพันคนทั่วประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลอบสังหารที่มีเป้าหมายเจาะจงต่อผู้นำสำคัญเพื่อพยายามทำลายโครงสร้างการปกครองของสาธารณรัฐอิสลาม

–  เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนถึงความพยายามที่จะสั่นคลอนและอาจจะยุติการปกครองของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน แต่แม้จะมีความพยายามเหล่านั้น การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านไม่เคยหยุดชะงักและยังคงก้าวต่อไป.

นอกจากนี้ยังมีเหตุการก่อวินาศกรรมอื่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน เช่น เหตุการณ์ ฤดูร้อนปี 1981 ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้นำระดับสูงของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน รวมถึงการโจมตีที่สำคัญสองครั้งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อโครงสร้างการเมืองของอิหร่าน คือ การลอบสังหารในมัสยิดอบูซาร์: การลอบสังหารนี้มุ่งเป้าไปที่อยาตุลลอฮ์ อาลี คาเมเนอี ในวันที่ 6 กรกฎาคม 1981 ขณะที่ท่านกำลังกล่าวสุนทรพจน์ มีการวางระเบิดซ่อนอยู่ในเครื่องวิทยุ การโจมตีนี้ทำให้ท่านได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่รอดชีวิตมาได้

การโจมตีเหล่านี้ได้รับการวางแผนและดำเนินการโดยกลุ่มต่อต้านระบอบใหม่ ซึ่งรวมถึงกลุ่มสุดโต่งทางการเมืองหลายกลุ่มที่มุ่งโค่นล้มรัฐบาลของอยาตุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการโจมตีเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความไม่มั่นคง ความหวาดกลัว และการสูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถของรัฐบาลใหม่ในการควบคุมและปกป้องประเทศ และหลังจากเหตุการณ์การลอบสังหารเหล่านี้ อยาตุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ตอบสนองด้วยการเน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นในการต่อสู้ทางศาสนาและเชื่อว่าแม้จะมีการสูญเสียผู้นำ แต่จิตวิญญาณแห่งการต่อต้านและการปฏิวัติจะยังคงอยู่ได้โดยไม่สูญเสียไปกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

  1. การเชื่อมโยงประวัติศาสตร์: จากเตหะรานถึงเบรุต; การก่อการร้ายในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาในเบรุต แม้ว่าจะทำให้สูญเสียบุคคลสำคัญและมีค่าหลายคนในขบวนการต่อต้าน และได้ทำให้ผู้ที่รักอิสรภาพทั่วโลกเจ็บปวด แต่แผนการและโฆณาของอิสราเอลที่พยายามจะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อกล่มมุกอวิมัตในทางลบนั้นเป็นความคาดหวังที่ผิดพลาด ไม่ต่างอะไรกับการก่อการร้ายเมื่อสี่สิบปีก่อนในเตหะรานและเมืองอื่น ๆ ของอิหร่าน แน่นอนการสูญเสียบุคคลเหล่านั้นที่ยิ่งใหญ่และมีค่านั้น เป็นเรื่องยากและเป็นการทำลายล้าง แต่มันไม่ได้ทำให้สาธารณรัฐอิสลามหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐอิสลามหรือกลุ่มต่อต้านการรุกรานในเลบานอนและพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาค การสูญเสียบุคคลสำคัญ ไม่เคยทำให้การขับเคลื่อนของสิ้นสุดและยุติลง ในทางตรงกันข้าม การเสียสละเหล่านี้ได้มอบแรงจูงใจแก่ผู้อื่นที่จะยืนหยัดในเส้นทางนี้