ทัศนะที่ 2 ปฏิฐานนิยม
หนึ่งใน สำนักคิดสำคัญทางปรัชญาที่พูดถึงเรื่องสิทธิ คือ สำนักปฏิฐานนิยม
ทัศนะสิทธิตามธรรมชาติในยุคสมัยนี้ เป็นทัศนะที่ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป และไม่ใคร่มีใครสนับสนุนทัศนะนี้เท่าใดนัก ในขณะเดียวกัน ก็มีแนวคิดที่แพร่หลายในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่างๆเกิดขึ้นมา คือ สำนักปฏิฐานนิยม
โดยปฏิฐานนิยมอ้างว่า การมีความเห็นร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง คือ ที่มาของสิทธิต่างๆสิ่งที่ทำให้เกิด สิทธิ เหล่านี้คือ มนุษย์จากสังคมหนึ่งที่เห็นพ้องต้องกันและยอมรับ ในเรื่องของสิทธิต่างๆ ความหมายของคำว่า คนๆหนึ่ง มีสิทธิหนึ่งสิทธิใดหรือไม่นั้น ไม่ใช่สิ่งใดนอกจากการพิจารณาว่า สังคมยอมรับในสิทธินั้นหรือไม่
ถ้าหากสังคมยอมรับ ในสภาพแวดล้อมของครอบครัว บิดา และบุตร ต่างก็จะมีสิทธิซึ่งกันและกัน สิทธิต่างๆเหล่านี้ ได้รับการยอมรับเนื่องจาก สังคมยอมรับในสิทธินั้นของพวกเขา เท่ากับให้ความหมายว่า แหล่งที่มาของสิทธิเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบและการยอมรับจากสังคม ซึ่งถ้าหากในวันพรุ่งนี้ สังคมกลับไม่ยอมรับขึ้นมา สิทธิเหล่านี้ก็จะตกไป
ข้อวิจารณ์และพิจาณา
เป็นสิ่งที่ชัดเจน ว่า ตามหลักของทัศนะนี้ ถ้าวางโครงสร้าง บนหลักการนี้ สิทธิต่างๆ ที่ใช้สำหรับ ทุกสังคม และ ทุกสมัย ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมีความเป็นไปได้ว่า สิทธิต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ จากสังคมหนึ่งสู่สังคมหนึ่ง จากยุคหนึ่งสู่ยุคสมัยหนึ่ง
เช่นเดียวกัน ตามหลักของ สิทธิปฏิฐานนิยม ไม่มีสังคมใด มีสิทธิที่บังคับให้สังคมอื่น ใช้ระบบสิทธิมนุษยชน ของสังคมตัวเอง และถ้าเป็นเช่นนี้ ไม่มีใคร สามารถท้วงติงต่อเราได้ ว่า ท่านได้ละเมิด สิทธิมนุษยชน เนื่องจากการลงโทษจำเลยด้วยการประหาร เพราะเราจะตอบกับพวกเขาว่า การไม่ยอมรับการลงโทษด้วยการประหาร นั้นเเกี่ยวข้องกับสังคมของท่าน ทว่าในสังคมของเรา ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ตามหลักของศาสนบัญญัติและกฎหมายอิสลาม เพราะสังคมของพวกเขา ยอมรับกฎในเรื่องของการประหาร และมีความเห็นตรงกันว่า โทษของอาชญากรรมบางประเภท คือ การประหาร
ไม่ใช่การยอมรับของสังคมหรอกหรือที่เป็นหลักของสิทธิมนุษยชน ? เพราะในสังคมของเรา การประหาร เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ และคนบางคนก็ไม่สมควรมีชีวิตต่อไป กับอาชญากรรม บางประเภท ที่เขาได้ก่อไว้
แน่นอนว่า เราจะต้องพิจารณาว่า การนำเสนอประเด็นในลักษณะนี้เป็นการนำเสนอในเชิงหักล้าง ทัศนะของอิสลามการวางโครงสร้างของสิทธิไม่ได้มาจากการยอมรับของสังคม ทว่า มาจากสิ่งอื่น
อินชาอัลลอฮ์ เราจะทำการอธิบายในประเด็นต่อไป ทว่า ณ ที่นี่ หลักของโครงสร้าง ที่สามารถยอมรับได้ คือ ประเด็นที่เรากำลังจะพูดถึง
เราจะกล่าวว่า พวกท่านไม่มีสิทธิ จะมากล่าวหาเรา ว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะ ลงโทษด้วยการประหาร เพราะประชาชนของเรา ได้ยอมรับกฎหมายและอิสลาม ซึ่งได้ยอมรับการประหารอาชญากร ฉะนั้นกฎหมายทางสังคมของท่านใช้กับประชาชนของท่าน และกฎหมายที่ประชาชน และสังคมของเรายอมรับก็ใช้กับเรา ตามโครงสร้าง ของท่าน ถ้าหากมีส่วนย่อยบางส่วน ที่สังคมของท่านไม่ยอมรับ สังคมนั้นไม่มีสิทธิที่จะมากล่าวหาเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากไม่ใส่ใจต่อสิทธิเหล่านั้น เพราะเป็นไปได้ว่า สิทธิต่างๆ ที่สังคมนั้น ยอมรับ อาจจะแตกต่างกับสิทธิ ต่างๆที่สังคมนี้ยอมรับ และสิทธิมนุษยชนนั้น ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาจากกฎหมายโดยรวม เพื่อยืนยันถึงความทุกต้องของ กฎหมายหลัก และกฎหมายอื่นๆ อีกด้วย
ถึงจุดนี้ เราได้อธิบายสองทัศนะหลักที่ว่าเรื่อง แหล่งที่มาของสิทธิมนุษยชน คือสำนักคิดสิทธิมนุษยชนจาก ธรรมชาติ และปฏิฐานนิยม สำนักคิดหนึ่ง เชื่อว่า ธรรมชาติเป็นผู้ให้สิทธิต่างๆแก่เขา อีกสำนักหนึ่ง เชื่อว่า การยอมรับของ สังคม เป็นผู้ให้สิทธิต่างๆ แก่มนุษย์ แล้วอิสลามมีมุมมองอย่างไร เกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งเราจะพูดถึงประเด็นต่อไป ใน วาระหน้าหากพระเจ้าประสงค์…