ชุด บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลาม ตอน
มุคตาร ซะกอฟี
มุคตาร บิน อบี อุบัยดะฮ บิน มัสอูด บิน อัมรุ บิน อะมีร บิน เอาวฟ บิน เกส บิน ฮะนะบะฮ บิน บักร บิน เฮาซาน มี สมยานามว่า อบู อิสฮาก และมีฉายา ว่า กีซาน ซึ่งหมายถึง ผู้มีความหลักแหลม ผู้มีไหวพริบ รู้เท่าทันสถานการณ์
ตามรายงาน ของ อัศบัฆ บิน นาบาตะฮ ชี้ว่า ฉายา กีซ นั้น เป็น ฉายาที่ได้รับมอบโดย อมีรุลมุอมีนีน อาลี(อ)
บิดาของมุคตาร คือ อบูอุบัยดะฮ ซะกอฟี เขาได้เข้ามือง มะฮดีนะ ในสมัย คอลีฟะอุมัร และได้ตั้งถิ่นฐานที่นั่น เขาเป็นหนึ่งใน แม่ทัพใหญ่ในสงคราม ที่รบกับ กองทัพ กัซรี หรือ กองทัพเปอร์เซีย ในยุคสมัยของอุมัร และหลังจากการทำสงคราม อบูอุบัยดะฮ ก็มีชื่อเสียงเลื่องลือ ถึงความเก่งกาจในการศึก แพร่กระจายไปทั่วหล้า รวมทั้งแผ่นดิน บัศเราะฮ
มารดาของมุคตาร คือ โดเมะฮ นางเป็น บุคคลสำคัญท่านหนึ่ง และมีชื่อเสียงทางด้าน ความเฉลียวฉลาด และการใช้ภาษาที่ไพเราะ และงดงาม
มุคตารได้เรียนรู้ มารยาท และจริยธรรม จาก สำนักคิดแห่งอะฮลุลบัยต์ ครอบครัวแห่งศาสดา(ศ) และได้เริ่มต้นวัยหนุ่ม ด้วยการร่วมสงคราม กับบิดา และน้าชายของท่าน ในกองทหารฟุรัซ ซึ่งได้มุ่งหน้าไปยังอิรัค หลังจากนั้น เขาก็ได้ประจำอยู่ที่ เมือง กุฟะฮ เหมือนกับมุสลิมในยุคต้นทั่วไป ที่เลือกปักหลักถิ่นฐานในกูฟะฮ
ในวันแห่งการเป็นชะฮาดัตของ อมีรุลมุอมีนีน(อ) มุคตาร ก็เป็นผู้หนึ่งที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามอาลี(อ) และภายหลังจากนั้น มุคตารได้ เดินทางไปเมือง บัศเราะฮ และอาศัยอยู่ที่นั่นระยะเวลาหนึ่ง
อัลลามะ มัญลีซี กล่าวว่า
“มุคตาร ได้ทำการอรรถาธิบาย ความประเสิรฐ ของอะฮลุลบัยต์ นบี หรือครอบครัวของศาสดา และยังได้ เผยแพร่ มะนากิบ ความประเสิรฐ ของอมีรุลมุอมีนีน(อ) และอิมามฮะซัน(อ) และอิมามฮูเซน(อ) ให้ประชาชนอีกด้วย เขาเชื่อ ว่า ครอบครัวศาสดา คือ ผู้ที่เหมาะสมที่สุด ในการเป็นอิมาม หรือ ผู้นำ ภายหลังจากท่านศาสดา และเขาเองก็ไม่มีความสุข ต่อโศกนาฎกรรมที่บรรดาอะฮลุลบัยต์ต้องเผชิญ ”
ความช่วยเหลือ มาถึง มุสลิม บิน อากิล
ตามหลักฐาน ทางตำราประวัติศาสตร์ และการชี้แจงของ เชคมุฟีด และฏอบรีย์ ชี้ว่า หลังจากที่ มุสลิม บิน อากิล เข้าสู่เมืองกูฟะฮ แล้ว มุสลิมไม่รีรอ และได้มุ่งหน้าไปบ้านของมุคตารทันที และมุคตารเองก็ให้เกียรติดูแล เป็นอย่างดี พร้อมทั้ง ประกาศ สนับสนุนมุสลิม อย่างเป็นทางการ
มุคตารได้กล่าวกับ อิบนุ ฆะรัค ว่า “เมื่อใดที่เจ้าได้ยิน ข่าว การลุกขึ้นปฏิวัติของฉัน จงประกาศ แก่อาณาประชาราษฎร์ ว่า ฉันได้ ลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อทวงหนี้เลือด ให้กับ ชะฮีด ผู้ถูกกดขี่ และผู้ถูกสังหาร ในดินแดนกัรบาลา และ บุตรหลานของศาสนาแห่งอัลลอฮ ฮูเซน บิน อาลี (อ) และข้าขอสาบานว่า ทุกคนที่สังหาร ฮูเซน จะต้องมาลิ้มรสความคมของดาบนี้ อย่างแน่นอน”
บุลาซุรีย์ ได้บันทึกว่า บ้านของมุคตาร คือ สถานที่หลบซ่อนของมุสลิม บิน อากิล แต่การนั่น อิบนุซียาด ที่เข้ามากูฟะฮ โดยกระทันหัน และได้ทราบข่าวสถานการณ์ล่าสุด ว่า มีการเคลื่อนไหวจากทางฝ่ายมุสลิม
มุสลิม จึงเห็นว่าควรย้ายจากบ้านมุคตาร ไปหลบซ่อนที่บ้านของ ฮานี บิน อุรวะฮ ซึ่งเป็น บุคคลที่มีอิทธิพลของชีอะฮ ในเมืองกูฟะฮ
หลังจากที่ มุสลิม เข้าเมือง มุคตาร ไม่ค่อยสบายใจเท่าใดนัก เนื่องจากสถานการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ เขาจึงได้เดินทางไป เมือง คัทรอนียะฮ และเมืองอื่นๆแคว้น เมือง กูฟะฮ ภายหลังจากที่ได้มอบสัตยาบัน ต่อมุสลิม โดยการเดินทางตามหัวเมืองต่างๆ มีจุดประสงค์เพื่อ รวบรวมกำลังพล และเพื่อรับมอบสัตยาบัน ต่อมุสลิม ทว่า หลังจากที่สถานการณ์ในกูฟะฮ เปลี่ยนไป และประชาชนยอมจำนนต่ออิบนุซียาต มุคตาร จึงต้องเดินทางกลับเมือง กูฟะฮ อย่างไม่มีทางเลือก
อิบนุ ซิยาด ได้ออกคำสั่ง ให้ ประชาชนที่อยู่ข้าง อิมามฮูเซน (อ) และผู้สนับสนุน มุคตาร ยอมจำนน และมอบสัตยาบันให้กับเขา ซึ่งหากปฏิเสธ ก็จะถูกจับกุม และถูกประหารชีวิต
อิบนิ อะซีร ได้บันทึกเรื่องราวไว้ว่า “เมื่อ มุสลิม และฮานี ถูกจับกุมตัว เวลานั้น มุคตาร ไม่ได้อยู่ในเมือง กูฟะฮ เพราะเขาสาละวนกับการรวบรวมกำลังพล รอบเมือง และเมื่อเขาได้ทราบข่าว การจับกุมมุสลิมแล้ว มุคตาร รีบเดินทางกลับกูฟะฮ ในทันที พร้อม สหายจำนวนหนึ่ง มีการปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่มของมุคตารเกิดขึ้น
ในภายหลัง ผู้บัญชาการถูกสังหาร และกลุ่มของมุคตารแตกกระจายในที่สุด เพราะเห็นว่า การต่อสู้นั้น เริ่มที่จะไม่เป็นผล มุคตาร จึงได้ขอจากพวกพ้องของเขา ให้ทิ้งบ้านเมือง เพื่อจะได้รู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
หลังจากที่อิบนุซิยาต สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ รวมทั้งกระแสจากการเป็นชะฮีด ของ มุสลิม และฮานี เขาก็เริ่มออกล่า มุคตาร และออกคำสั่งอนุญาตให้จับกุมตัวในทันที
การจับกุมมุคตาร โดยอิบนุซิยาด
หนึ่งในมิตรสหายของมุคตาร นามว่า ฮานี บิน ฮุบบะฮ ได้เข้าหา อัมรู บิน ฮาริษ ตัวแทนของอิบนุซียาต และได้แจ้งข่าวการหลบซ่อนของมุคตาร ให้อัมรู ได้รับรู้
อัมรู จึงได้บอกกับชายผู้นั้นว่า “จงไปบอกแก่มุคตาร ให้ระวังตัวให้ดี เพราะเขากำลังจะถูกล่า และตกอยู่ในอันตราย
มุคตาร ที่ต้องการการสนับสนุนอยู่ในเวลานั้น จาก อัมรู จึงได้เข้าหาเขา และพบกับ อิบ นุซิยาด ซึ่งเมื่ออิบนุซิยาต เจอกับมุคตาร เขาได้ตวาดขึ้นมาทันทีว่า ” เจ้าคือคนที่ยุ่งอยู่กับการตามหาคนที่จะช่วย บุตร ของอากิล ใช่ไหม ?
มุคตาร ได้ตอบพร้อมสาบานว่า ฉันไม่ได้อยู่ในเมือง และในคืนนั้น ฉันได้เข้าไปหา อัมรู บิน ฮะริษ ”
อิบนุซียาด ที่กำลังโกรธกริ้ว ได้ใช้ไม้ตีไปยังใบหน้าของมุคตาร ทำให้ตาข้างหนึ่งของเขาต้องได้รับบาดเจ็บ อัมรู ลุกขึ้นยืน เพื่อกันมุคตาร และได้เป็นพยานว่า มุคตาร ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ และได้เป็นพยานยืนยันแก่เขา อิบนุซิยาต จึงใจเย็นลง และกล่าวว่า “ถ้า อัมรู ไม่ได้เป็นพยานแล้วละก็ ข้าจะตัดหัวเจ้าทิ้งเสีย”
จากนั้น อิบนุซิยาด ได้สั่งจับกุมมุคตาร เข้าคุกในทันที มุคตารถูกขังอยู่ในเรือนจำ จนกระทั่ง อิมามฮูเซน(อ) เป็นชะฮีด ในเวลาต่อมา
การปล่อยตัวมุคตารเป็นอิสระ จากคุก
มุคตารได้ส่งตัว ซาอีดะฮ บิน กะดามะฮ ให้สามีของตน คือ อับดุลลอฮ บิน อุมัร บิน คอตตอบ ที่ เมือง มะดีนะฮ และได้กล่าวกับเธอว่า “จงส่งข่าวให้ อับดุลลอฮ และให้อับดุลลอฮ ขออภัยโทษจากยะซีดให้กับเขา
อับดุลลอฮ สามีของ ซะฟียะฮ น้องสาวของมุคตาร เป็นบุคคลที่ ยะซีด และ อามาวีย์ ให้เกียรติ เขาได้ส่ง จดหมายฉบับหนึ่งให้ยะซีด สำหรับเพื่อขออภัยให้กับมุคตาร
ยะซีด เมื่อได้อ่านจดหมาย ก็ได้เขียนจดหมายส่งให้ อิบนุซิยาด เพื่อให้ปล่อยตัวมุคตารเป็นอิสระ
มุคตารที่เหลือชีวิตเพียงไม่กี่ก้าว จึงรอดตาย ต่อมา อิบนุซิยาด จึงได้ บอกกับมุคตารว่า ถ้าหากไม่มีจดหมายของยะซีด ข้าจะฆ่าเจ้าเสียแล้ว ตอนนี้ เจ้าจงไป และอย่าอยู่ในกูฟะฮ
มุคตารได้กล่าวตอบ อิบนุซิยาด ว่า ดี ข้าจะเดินทางไป มักกะฮ เพื่อทำอุมเราะฮ และจะเข้าหา อิบนุซุเบร ด้วยข้ออ้างนี้
มุคตารจำเป็นต้องเดินทางออกจากเมือง มุ่งหน้าสู่ฮิญาซ เพราะ ฮิญาซ ยังเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจาก อำนาจของราชวงศ์อุมัยยะฮ อยู่ในช่วงยุคนั้น เขาได้ เข้าหา อับดุลลอฮ บิน ซุเบร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในช่วงเวลานั้น
อิบนุ ฆะรัค กล่าวว่า ในช่วงเส้นทาง ระหว่าง อิรัค ถึง ฮิญาซ ฉันได้พบกับมุคตาร ที่ตาของเขาพิการไปข้างหนึ่ง ฉันจึงได้ถามเขาถึงสาเหตุนี้
มุคตารได้ตอบแก่ฉันว่า ไม่มีอะไร เพียงแค่ลูกซีนาใช้ไม้ฟาดตาของฉัน มุคตารยังได้ กล่าวอีกว่า ขอพระเจ้า โปรดสังหารฉัน ถ้าฉันไม่ได้ฆ่ามัน
มุคตารยังได้กล่าวกับอิบนุ ฆะรัค อีกว่า “ถ้าเมื่อไหร่ที่เจ้าได้ยินว่า ข้า ได้ลุกขึ้นต่อสู้ จงบอกแก่ผู้คนว่า มุคตาร ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวงหนี้เลือด ให้กับ ชะฮีด ผู้ถูกกดขี่ และ บรรดาผู้ถูกสังหารในแผ่นดินกัรบาลา และลูกหลานของศาสดา ฮูเซน บิน อาลี (อ) ข้าขอสาบานต่อพระเจ้า จะทำให้ ผู้สังหาร ฮูเซน(อ) ทุกคนต้องลิ้มรสคมดาบในไม่ช้า”
มุคตาร เดินทางกลับไป เมืองกูฟะฮ
เวลาเดียวกัน ที่มุคตาร ได้เรียกร้องเชิญชวน ผู้คนให้ลุกขึ้นต่อสู้ อับดุลลอฮ บิน ซุเบร นักการเมือง ได้สังหาร บุคคลหนึ่ง นาม อับดุลลอฮ บิน มุเฏียะ และ อิบนุ ซุเบร ก็ได้ ขึ้นเป็น เจ้าเมือง กูฟะฮ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ ได้บันทึกว่า เข้าได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง เมื่อวันที่ 25 เดือนรอมฎอน ฮศ 65
หลังจากที่มุคตารได้ทำการสังหาร อิบนุ ซุเบร เขาได้ติดต่อกับ อะฮลุลบัยต์ (อ) และได้ทิ้งเมืองมักกะฮ มุ่งหน้าสู่กูฟะฮ เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
บุลาซุรีย์ บันทึกว่า มุคตาร เข้าเมือง กูฟะฮ พร้อมกับกลุ่มของเขา แต่ก่อนหน้านั้น มุคตาร และพวก ได้แวะพักที่ แม้น้ำ ฮัยเราะฮ เขาได้ทำการ ฆุซุล และเคลือบผมด้วยน้ำมัน ปะเครื่องหอม และแต่งตัวสง่า พร้อมโพกผ้าอะมาม่าไว้ที่ศรีษะ และพกดาบไว้ข้างตัว โดยขี่ม้าเข้าเมือง กูฟะฮ
เขาเข้าเมือง โดยผ่านจาก มัศยิด ซูกูน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของประชาชน ในยุคนั้น ประชาชน ต่างออกมาต้อนรับ เขาเป็นอย่างดี และมุคตาร ก็ได้ประกาศข่าวดี แก่ประชาชน ถึงการพิชิต และชัยชนะให้ทราบ
มุคตาร ได้พบกับ บรรดาผู้นำชีอะฮ และผู้ช่วยเหลืออิมามอาลี(อ) และบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์กัรบาลา โดยเรียกพวกเขาว่า ฮูซัยนียูน และได้เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาให้ทำการมอบสัตยาบัน และลุกขึ้นต่อสู้ กิยาม
ประชาชนชาวกูฟะฮ เกือบทั้งหมด ได้มอบสัตยาบันให้กับมุคตาร อย่างไม่เปิดเผย โดยหลักของสัตยาบันนี้ คือการทวงหนี้เลือดให้กับ วีรชนแห่งกัรบาลา
กระนั้น ข่าว การเข้าเมืองของมุคตาร และการมอบสัตยาบันของประชาชนให้กับเขา ก็ไปถึงหู ของ อิบนุ มุเฏียะ ฝ่ายผู้สังหาร ฮูเซน(อ) อย่าง ชิมร์ บิน ซีลญูชัน ชะเบช บิน รอบีอีย์ เซด บิน ฮาริษ ก็ต้องถึงกับวิตก เมื่อทราบข่าวนี้ เซด บินฮาริศ ซึ่งรับตำแหน่งที่ปรึกษา ของ อิบนุซุเบร อยู่ในสมัยนั้น ได้แจ้งถึงอันตรายของมุคตารให้เจ้าเมืองฟัง และร้องขอให้รีบจับมุคตาร หรือ ไม่ก็ฆ่าในทันที
กระนั้นก็ตาม ฝ่ายทหารของอิบนุเบร ก็สามารถจับตัวมุคตารได้ และสั่งขังในคุกแห่งหนึ่ง มุคตารต้องกลายเป็นนักโทษอีกครั้ง กล่าวกันว่า การถูกจับของมุคตารในครั้งนี้ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ กลุ่มเตาวาบีนได้เริ่มเปิดฉาก การต่อสู้
หลังจากนั้นไม่นานนัก มุคตารก็หาวิธีออกจากคุกได้อีกครั้ง โดยเขาได้ เขียนจดหมาย ไปหา สามีของน้องสาว นาม อับดุลลอฮ บิน อุมัร และได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ แต่มีการทำสัญญาเป็นเงื่อนไข
ต่อมา เวลาผ่านไปไม่กี่เดือน มุคตารก็ถูกจับกุมขัง โดยทหารของอิบนุซุเบรอีกครั้ง โดยทางฝ่ายอิบนุซุเบร พบว่า มุคตารก็กำลังเคลื่อนไหว และวางแผนเพื่อเตรียมการปฏิวัติ และยังมีข่าวอีกว่า บุคคลระดับแนวหน้าของชีอะฮ และเตาวาบีน ที่เหลือจำนวนหนึ่ง ได้รับหน้าที่จากมุคตาร ให้ทำการรับมอบ สัตยาบัน
ปรัชญาการปฏิวัติของมุคตาร
เป้าหมายสำคัญ และเป้าหมายหลักในการปฏิวัติของ มุคตาร ไม่ได้เป็นอื่น นอกจากทวงหนี้เลือดให้กับ อิมามฮูเซน(อ) และเหล่าชูฮาดา แห่งกับาลา และปกป้องอะฮลุลบัยต์ แห่งศาสดา เพื่อทำการพิสูจณ์ประเด็นนี้ เราจะเหตุผลต่างๆมานำเสนอ โดยพอสังเขป
1 มุคตาร ได้เสนอ เป้าหมายในการปฏิวัติของตนให้กับ บรรดาบุคคลชั้นนำของชีอะฮ ดังนี้ “เช่นเดียวกับ ที่บุตร(มูฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ) ของอาลี วซี ของ รอซูลุลลอฮ (ศ) ได้ส่งฉันมาในนามของ ตัวแทน และผู้บัญชาการ สู่พวกท่าน และได้สั่งกับฉันว่า ให้ฉันสังหาร บุคคลที่ถือว่า การหลั่งเลือดฮูเซน เป็นฮาล้าล และฉันลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวงหนี้เลือดให้กับอะฮลุลบัยต์ และปกป้อง ผู้ที่อ่อนแอ
ดังนั้น พวกท่านจงเป็นกลุ่มแรกที่ตอบรับ การเรียกร้องของฉันเถิด
2 ในอีกวาระหนึ่ง มุคตารได้กล่าวว่า ฉันมาหาท่าน ด้วยเป้าหมายเพื่อ ฟื้นฟู สโลแกนของอะฮลุลบัยต์ และทวงหนี้เลือดให้กับเหล่าชูฮาดา ”
3 ในช่วงที่ถูกจับกุม มุคตาร กล่าวว่า ขอสาบานต่อพระเจ้า ข้าจะสังหารผู้กดขี่ทุกคน และจะทำให้หัวใจของบรรดาผู้ศรัทธามีความสุข และข้าจะทวงหนี้เลือด ให้ศาสดา (ศ) แม้นความตายอันจีรังของดุนยา ก็ไม่อาจหยุดยั้งข้าได้
4 มุคตารได้ส่งจดหมายจากคุกไปให้เตาวาบีน และได้ถือเป็นเกียรติสำหรับการปฏิวัติของพวกเขา โดยแจ้งข่าวแก่พวกเขาว่า ” ฉันจะออกมาจากคุกด้วยอนุมัติของพระเจ้า ในไม่ช้า และจะทำให้ศัตรูของพวกเจ้า ต้องมารับคมดาบของข้า และข้าจะทำลายพวกเขาให้สิ้นซาก
5 ในช่วงที่มุคตาร พบกับ บรรดาตัวแทนของชีอะฮในอิรัค ได้กล่าวกับมูฮัมมัด ฮะนาฟียะฮ และอิมามซัจญาด (อ) ในฮิญาซ โดยพวกเขาได้เผยว่า มุคตาร ได้เชิญเราให้เขาร่วมในการทวงหนี้เลือด มูฮัมมัด ฮะนาฟียะฮ และอิมาม ได้ตอบกับพวกเขาว่า เราต้องการให้สิ่งนี้เกิดขึ้น และเป็นวาญิบสำหรับประชาชนที่จะต้องช่วยเหลือ เขา
6 ในช่วงที่บุคคลชั้นนำของชีอะฮ กำลังกลับจากมะดีนะฮ ไปสู่กูฟะฮ มุคตารได้กล่าวประกาศแก่พวกเขาว่า “จงช่วยข้าในการทำสงครามกับเหล่าผู้สังหารอะฮลุลบัยต์ และจงช่วยข้าทวงหนี้เลือดของฮูเซน(อ)
7 มุคตารได้กล่าวกับอิบนุ ฆะรัค ว่า จงแจ้งข่าวแก่ประชาชนว่า เป้าหมายของมุคตาร และมุสลิมกลุ่มหนึ่ง คือ การลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวงหนี้เลือดให้กับ ชะฮีด มัซลูม และผู้ที่ ถูกสังหารในกัรบาลา และฮูเซน นายแห่งมุสลิมีน ผู้เป็นบุตรของบุตรีแห่งศาสดา ”
8 ในช่วงที่มุคตารพบกับ บุคคลชั้นนั้นของชีอะฮ และ อิบรอฮีม อัชตัร และการเชิญชวน อิบรอฮีม ให้ช่วยเหลือมุคตาร ยะซีด บิน อะนัส ได้กล่าวว่า เราขอเรียกร้องเชิญชวนพวกท่าน สุ่ คัมภีร์ของอัลลอฮ และซุนนัตของศาสดา(ศ) และการทวงหนี้เลือด ต่ออะฮลุลบัยต์ และการปกป้องบรรดา ผู้ที่อ่อนแอ
9 จดหมายของ อิบนุ ฮะนะฟียะฮ ที่ส่งถึง อิบรอฮีม อัชตัร มีใจความว่า ” มุคตาร คือ ตัวแทน และผู้ที่ฉันได้เลือกไว้ และฉันได้สั่งเขา ให้ ทำศึกกับศัตรูของฉัน และให้เขาลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวงหนี้เลือด และตัวท่าน กลุ่มชนของท่าน และผู้ปฏิบัติตามท่าน จงช่วยเหลือเขาเถิด
10 มุคตารได้กล่าวกับ ประชาชนชาวกูฟะฮ ในพิธีการมอบสัตยาบันว่า “พวกเจ้าจงบัยอัตต่อข้า ฉัน ทวงแค้นนี้ ตามหลักของ คัมภีร์แห่งพระเจ้า และซุนนะของศาสดา ให้กับอะฮลุลบัยต์นบี(ศ)
11 สโลแกนของมุคตารคือ ((“يا لثارات الحسين”))
การตัดสินใจของบุคคลชั้นนำในกูฟะฮ
อับดุลเราะฮมาน บิน ชะริฮ ได้กล่าวว่า บุคคลชั้นนำของชีอะฮ กลุ่มหนึ่ง ได้รวมตัวกันที่บ้านของ ซะอดฺ บิน อบี ซะอรฺ
โดยอับดุลเราะฮมาน ซึ่งเป็น ผู้ใหญ่ในกูฟะฮ ได้กล่าว ในการประชุมว่า ” มุคตารต้องการปฏิวัติ และเขาได้เชิญเราให้ร่วมมือ และช่วยเหลือเขา และเราก็ยอมรับการบัยอัตนี้ แต่เราไม่รู้ว่า นี่เป็นการตัดสินใจของ อิบนุ ฮานาฟียะฮ หรือ มุคตาร ตัดสินใจด้วยตัวเอง เขาจึงได้เสนอให้ ชีอะฮกลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าไปเพื่อเข้าพบกับ อะฮลุลบัยต์ที่ยังคงเหลืออยู่ และมูฮัมมัด บิน ฮะนาฟียะฮ เพื่อหาความกระจ่างในเรื่องนี้ คนกลุ่มหนึ่งจึงออกเดินทางไปมะดีนะฮ เพื่อสืบเสาะหาข่าวคราว
เมื่อ มูฮัมมัด ทราบถึงสาเหตุการมาของกลุ่มนี้ อับดุลเราะฮมานจึงกล่าวว่า “มุคตาร ซะกอฟีย์ ได้มายังเมือง กูฟะฮ และอ้างว่า เป็นผู้รับมอบหมายภารกิจจากท่าน และได้เชิญชวนเราให้ รวมกันล้างแค้นให้กับ อะฮลุลบัยต์นบี บนพื้นฐานของ คัมภีร์ และซุนนะฮ และเชิญชวนเรา ให้ร่วมกันปกป้องบรรดาผู้อ่อนแอ ฉันต้องการจะทราบถึงทัศนะของท่าน หากว่าเป็นเช่นนี้ เราจะสนับสนุนเขาเท่ากำลังที่เรามี และถ้าหากไม่แล้ว เราจะละทิ้งเขา?
มูฮัมมัด บุตร อมีรุลมุอฺมีนีน(อ) ได้กล่าวตอบว่า “ผู้ที่กำลังเชิญชวนพวกท่าน เพื่อทวงหนี้เลือดให้แก่เรา ขอสาบานด้วยนามของพระเจ้า ฉันปราถนา ให้พระองค์ทรงส่งบ่าวคนหนึ่งของพระองค์ มาทวงหนี้เลือดให้แก่เรา จากศัตรู และนี่คือความเห็นของฉัน
อัลลามะฮ มัญลีซีย์ ได้รายงานจาก อัลลามะฮ อิบนิ นะมอ ว่า มูฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ ได้กล่าวกับรรดาชีอะฮ ว่า พวกท่านจงลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวงหนี้เลือดแก่เรา พวกเราทุกคน จงไปหา อิมามของฉัน และ อิมามของพวกท่าน อาลี บิน ฮูเซน(อ) เถิด ”
จากนั้น คนเหล่านี้ได้เข้าเฝ้าอิมามซัจญาด พร้อมมูฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ และมูฮัมมัด ก็ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ อิมามได้ตอบแก่พวกเขาว่า
” โอ้น้าชาย หากผู้ใดลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสนับสนุน เรา อะฮลุลบัยต์ เป็นวาญิบสำหรับประชาชนที่จะต้องช่วยเหลือเขา ฉันได้แต่งตั้งท่าน ให้เป็นตัวแทนในกิจนี้(ทวงหนี้เลือด) สิ่งใดที่ท่านเห็นสมควร ก็จงปฏิบัติมัน !!!
คำตอบที่ชัดเจน และเด็ดขาดของอิมาม ทำให้ พันธกิจ ของชีอะฮ เป็นสิ่งที่ชัดเจน และไม่มีข้อสงสัยใดๆอีก และทำให้เหล่าชีอะฮ ดีใจ และพวกเขาได้กล่าวกับตัวเองกันว่า อิมาม และมูฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ ได้อนุญาตให้เรา ทำการต่อสู้ ” พวกเขาจึงเดินทางกลับไปยังกูฟะฮ และแจ้งข่าวแก่มุคตาร พร้อมเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง
มุคตารกล่าวด้วยความดีใจว่า อัลลอฮุอักบัร พวกเขาเรียกฉันว่า อบูอิสฮาก จงลุกขึ้นสู้ และจงเริ่มปฏิบัติงาน และบรรดาชีอะฮ พวกท่านทั้งหลายจงเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้
สโลแกนของผู้ช่วยเหลือ มุคตารคือ ((يا منصورُ اَمِت )) โอ้ผู้พิชิต จงพินาศและ (( يا لثارات الحسين )) ทำให้ กูฟะฮเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ
สโลแกน ยามันศูร อามิต คือ สโลแกนที่ เหล่ามิตรสหายของศาสดา ได้กล่าวในสงคราม บะดัร และในการกิยามของเซด บิน อาลี ก็ใช้สโลแกนนี้เช่นเดียวกัน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ กูฟะฮ เปลี่ยน เป็นหน้าที่พร้อมจะทำสงคราม และในครั้งนี้
ผลจากการหลั่งเลือดของอิมามฮูเซน(อ) ทำให้หัวใจของพวกเขาเร่าร้อน ส่วนใหญ่ผู้อยู่อาศัยในอิรัค คือ ชาวอิหร่าน ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ ที่เรียกกันว่า ญุนดุลฮัมรอ หรือ กองทัพแดง เพราะใบหน้าของพวกเขามีความขาวและแดงกว่า อาหรับ โดยกองทัพของมุคตาร ก็รวมไปด้วย ญุนดุฮุมรอฮ พวกเขาเข้าร่วมสนับสนุนมุคตาร เนื่องจากความยุติธรมของอิมามอาลี(อ) ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ
กองกำลังที่ทำการบัยอัต ต่อมุคตาร ค่อยๆทยอยเข้าเมืองกูฟะฮ อย่างไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้น คือ อบูอุศมาน ชะฮดีย์ จากหัวหน้าของเผ่าต่างๆรอบเมืองกูฟะฮ และกองกำลังของ มุซันนา บิน มัครอมะฮ ซึ่งเคยปะทะกับทหารของอิบนุซุเบรในบัศเราะฮ ก็ได้เข้ามายังเมืองกูฟะฮเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบุคคลอีกมายมายที่มาเข้าร่วมกับมุคตาร ในการต่อสู้ศึกใหญ่
จุดจบของผู้สังหารอิมาม ฮูเซน(อ)
มุคตารได้ประกาศต่อประชาชนว่า “ฉันได้รับมอบหมายจาก อะฮลุลบัยต์แห่งศาสดา ให้ทำหน้าที่ ในการทวงหนี้เลือดให้กับอิมามมัซลูม ฮูเซน บิน อาลี (อ) และเหล่าชูฮาดาในกัรบาลา และฉันทำการล้างแค้นให้กับผู้มีเกียรติเหล่านี้ จนลมหายใจสุดท้าย อย่างหนักแน่น และไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ฉันจะปฏิบัติภารกิจศักดิ์สิทธินี้ให้จงได้
หลังจากนั้น มุคตารได้กล่าวในคำปราศรัยที่สอง ของคุตบะฮนมาซ โดยการสาบาน และยืนยันด้วยความจริงจัง ในการถอนรากถอนโคน เหล่าผู้กดขี่ และผู้สังหารอิมามฮูเซน(อ)
อย่างที่เราได้นำเสนอไปแล้วในตอนต้นว่า ในช่วงที่เกิดเหตุโศกนาฎกรรมกัรบาลานั้น มุคตาร ถูกจับกุมคุมขัง อยู่ในคุก เกี่ยวกับครอบครัวของมุคตาร ครอบครัวของมุคตาร เป็นครอบครัวชีอะฮ ที่ปฏิบัติตามอะฮลุลบัยต์
ซึ่งน้าชายของท่าน คือ ซะอดฺ บิน มัสอูด ซะกอฟี ก็เป็น ศาฮาบะฮ หรือ สาวกท่านหนึ่งของศาสนา และเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งคอยช่วยเหลืออิมามอาลี (อ)และเกี่ยวกับ ตัวของมุคตาร ก็มีรายงานจากบรรดาอิมาม ที่กล่าวถึงบทบาทของเขาเช่นเดียวกัน เช่นอิมามบาเกร (อ) โดยท่านได้กล่าวกับบุตรชายของมุคตาร ว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้า ทรงเมตตา บิดาของท่าน เขาได้ทวงสิทธิของเราคืนมา และ ได้ลุกขึ้นต่อสู้ ล้างแค้นให้กับเรา
อิมามศอดิก(อ) ก็ได้กล่าวว่า ภายหลังจากเหตุการณ์กัรบาลานั้น ไม่มีสตรีคนใดจากครอบครัวของเรา แต่งกายตัวเองให้สวยงาม
จนกระทั่ง มุคตาร ได้นำหัวของ อุบัยดิลลาฮ บิน ซิยาด และ อุมัร บิน ซะอดฺ ส่งมาให้เราในเมืองมะดีนะฮ
มุคตาร ถูกจับขังคุก ในสถานที่ เดียวกับ มัยซัม ตัมมาร วันหนึ่ง มัยซัม ได้ กล่าวกับ มุคตารว่า ” เจ้าจะเป็นอิสระจากที่คุมขัง และจะสังหาร อุบัยดิลลาฮ ในไม่ช้า และศรีษะของมัน จะอยู่ใต้แทบเท้าของเจ้า
มัยซัม และ มุคตาร ถูกสั่งให้ประหารชีวิตทั้งคู่ ทว่า มุคตารนั้น ถูกปล่อยตัว เพราะอับดุลลอฮ บิน อุมัร เพราะน้องสาวของมุคตาร เป็นภรรยาของ อับดุลลอฮ
การต่อสู้ของมุคตาร
เราได้อรัมภบท เพื่อทำให้ ผู้อ่าน พอจะเข้าใจบ้างแล้วว่า ทำไมมุคตาร ถึงได้มาอยู่ในจุดนี้ ก่อนหน้านี้ มีการเตรียมกองทัพปฏิวัติไว้ล่วงหน้า เมื่อ อาทิตย์ตกดิน
อิบรอฮีม อัชตัร บุคคลหมายเลขสองในกองทัพปฏิวัติ ก็ได้ขึ้นไปที่หอคอย อาซาน และประกาศว่า กองทัพผู้รักษาสัจจะแห่งการปฏิวัติ ได้มาถึงมัสยิดเรียบร้อยแล้ว
ข้างหลังของ อิบรอฮีม อัชตัร คือ แม่ทัพกองศึก มุคตาร !! หลังจากนั้น เหล่ากองทัพปฏิวัติ ก็ร่วมกันนมาซ และหลังจากเสร็จสิ้นการนมาซ อิบรอฮีม ได้สั่งให้ กองทัพ มุ่งหน้าไปรวมตัวกันที่บ้านของมุคตาร ผู้บัญชาการสูงสุด
ในเวลานั้น ทางฝ่ายเจ้าเมือง ซึ่งขึ้นกับ อับดุลลอฮ บิน ซุเบร ก็ไม่รอช้า เจ้าเมืองได้สั่งทหารจัดทัพเตรียมรบเต็มอัตราศึก และเมื่อวันที่ 12 รอบีอุลเอาวัล ฮิจเราะฮศักราชที่ 66 อับดุลลอฮ บิน มุเฏียะ ก็ได้ได้กลายเป็น ผู้บัญชาการทหาร และได้ส่งทหารไปตามจุดๆต่างๆที่ ต้องสงสัยว่า อาจเกิดการปะทะขึ้น ทั้งเมืองอยู่ในภายใต้การเฝ้าระวัง และการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในอีกด้านหนึ่ง อับดุลเราะฮมาน บิน ซะอีด ได้รับมอบหมายให้ ป้องกันลานซะบีอ ส่วน กะอับ บิน อบี กะอับ รับมอบหมายให้ดูแล ลานบะชัร และ ชิมร์ บิน ซิล ญูชัน ได้รับมอบหมายให้ป้องกัน ลานซาลิม อับดุลลอฮ บิน มุคันนัฟ รับมอบหมายให้ พิทักษ์ลานซออิดีน อับฮูชับ รับมอบหมายให้ รักษาการณ์ที่ลานมุอด และซะบัซ บอน รอบีอีย์ รับมอบหมายให้ประจำการอยู่นอกเมือง ตรงบริเวณที่มีชื่อว่า ชูเราะฮซอร เหล่าข้าหลวงของราชวงศ์อามาวีย์ เตรียมพร้อมรับการศึกและเฝ้าระวังอย่างเข็มงวด เพราะต่างก็รู้ว่า ในไม่ช้า มุคตาร จะเปิดศึกจัดการสังหาร พวกเขา เป็นแน่แท้
ทางด้านมุคตารเอง เมื่อทราบข่าว การเคลื่อนไหวของ ทางราชวงศ์อามาวีย์ ก็ไม่ได้หวั่นเกรงใดๆ มุคตาร และ อิบรอฮีม อัชตัร กำลังเตรียมการสู่ศึกในครั้งนี้ ฮะมีด บิน มุสลิม ได้กล่าวถึงคืนประวัติศาสตร์ว่า “คืนนั้นเป็นวันอังคาร เราได้เคลื่อนพลไปและได้เคลื่อนต่อ ไปยังบ้าน อัมรู บิน ฮาริษ จำนวนฝ่ายเรามีทหารติดอาวุธ ประมาณ ร้อยคน และได้ซ่อนดาบไว้ใต้ผ้า พร้อมสวมเสื้อเกราะ เตรียมพร้อม เราได้เคลื่อนพลไป บ้านของ ซะอีด บิน เกส และไปจนถึง บ้านของ อุสามะฮ และไปบ้านของมุคตาร ผ่านทางประตูอัลฟิล
ทว่า เรากลับไปตกอยู่ในใจกลางของกองทัพศัตรู และทางแม่ทัพของศัตรู ก็ได้สั่งปิดล้อม และมาถามกับเราว่า พวกเจ้ากำลังทำอะไร และกำลังจะไปไหน อิบรอฮีม ได้กล่าวว่า ข้าคือ อิบรอฮีม บุตรของ อัชตัร ฝ่ายแม้ทัพของศัตรูจึงได้ถามว่า คนเหล่านี้มีอาวุธหรือไม่ ?
ครู่หนึ่ง จึงได้กล่าวต่อมา พวกเจ้าเป็นบุคคลต้องสงสัย และข้าจะไม่ปล่อยให้พวกเจ้าไป
อิบรอฮีม จึงกล่าวตะโกนว่า “โอ้ เจ้าคนไม่มีพ่อ จงหลีกทางไปซะ
แม่ทัพฝ่ายศัตรูกล่าวต่อว่า ไม่มีทาง !! สถานการณ์เริ่มตึงเครียด ครู่หนึ่ง ในตอนนั้น มีอดีตมิตรของอิบรอฮีม คนหนึ่งอยู่หลัง แม่ทัพฝ่ายอามาวีย์ นาม อบูกิตัน
อิบรอฮิมได้กล่าวกับ อบูกิตันว่า โอ้อบูกิตัน เจ้าจงออกมาข้างหน้าสิ
อบูกิตันคิดว่า อิบรอฮีม คงจะขอให้เขาช่วยคุยกับหัวหน้า เพื่อไม่ให้ขวางทาง แต่กลายเป็นว่า อิบรอฮีมได้แย่งหอกของเขา และกล่าวว่า นี่มันคือหอกที่น่าแปลกใจจริง ทันใดนั้น อิบรอฮีม ได้ขว้างหอกพุ่งใส่ แม่ทัพฝ่ายศัตรู และผู้ติดตามอิบรอฮีม ก็ได้แยกหัวออกจากร่างของแม่ทัพ
พอกองทหารเห็นหัวหน้าตัวเองตาย ก็ถอยจากหน้าฉาก และบางส่วนก็ได้แจ้งข่าวให้เจ้าเมืองได้รับรู้
อิบนิ มุเฏียะ จึงตั้งลูกชายของแม่ทัพคนก่อนหน้า ให้ดำรงตำแหน่งแทน เราซึ่งไปผ่านแล้วไปถึงบ้านของมุคตาร ก็ได้เล่าเหตุการณ์ดังกล่าวให้เขาฟัง
อิบรอฮีมได้กล่าวกับมุคตารว่า “เราต้องเริ่มคืนนี้ มุคตารกล่าวว่า พระองค์จะแจ้งข่าวให้กับท่าน “และในคืนนั้น การต่อสู้ก็เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งจากการทำศึกสามารถสรุปได้ในสามระดับ คือ
หนึ่ง ปลดปล่อยกูฟะฮ
สอง ปราบปรามทรราชย์
สาม เตรียมทัพกูฟะฮ ทำศึกกับชาม
เมื่อการปฏิวัติเป็นทางการ ผู้บัญชาการ ก็ออกคำสั่ง และกำหนดบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ กูฟะฮในตอนนี้ ไม่ได้อยู่ในสภาพปรกติ
ทุกที่จะมีการตะโกน สโลแกน ยาละซารอตัล ฮูเซน
มุคตารอยู่ในชุดทำศึก และประชาชน ก็ค่อยๆหลั่งไหลมาสมทบกับทางกองทัพเรื่อยๆ บางครั้งการปะทะเกิดขึ้นในเมือง มุคตารออกคำสั่ง ให้กองทัพปฏิวัติ กระจายกำลังอยู่นอกเมือง และทยอยกันไป สถานที่แห่งหนึ่ง ชื่อว่า ดีรฮีนดฺ และรวมตัวกัน ภายใต้ธงของ มุคตาร และอิบรอฮีม
ประชาชนบางส่วน จากรอบเมืองกูฟะฮ ก็ออกมาสมทบกับกองทัพของมุคตาร รุ่งสาง มุคตารออกมาหน้าลาน และทำการนมาซญะมาอัต หลังจากนมาซ ทางด้านเจ้าเมือง กูฟะฮ ได้ประกาศกับประชาชน ว่า โอ้ชาวกูฟะฮ คืนนี้ถ้าใครไม่มาที่มัสยิดกูฟะฮ เขาก็ต้องหลั่งเลือด
คนจำนวนมากจึงมารวมตัวกันกันที่ มัสยิดกูฟะฮ อิบนุ มุเฏียะฮ ได้มอบหมายหน้าที่ ให้หัวหน้าของกลุ่มต่างๆ เพื่อให้บัญชากลุ่มของตน และได้เลือกแม่ทัพของตัวเอง (ซึ่งเป็นผู้ร่วมสังหารอิมามฮูเซน(อ) ในกัรบาลา และได้แบ่งกองกำลังตามนี้
หนึ่ง ชะบัซ บิน รอบีอีย์ ให้บัญชาการทหาร สี่พันคน
สอง รอชีด ให้เป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย บัญชาการทหาร สี่พันคน
สาม ชะดาด บิน อบีญัร บัญชาการทหาร สามพันคน
สี่ อักรอมะ บิน รอบีอีย์ บัญชาการทหาร สามพันคน
ห้า อับดุลเราะฮมาน บิน ซะวิด บัญชาการทหาร สามพันคน
ส่วนทางมุคตารและอิบรอฮีม มีกองทัพเดินเท้า เก้าร้อยคน และนะอีม บิน ฮุบัยเราะฮ มาพร้อมกองทัพอีก เก้าร้อยคน และได้มุ่งหน้าไปหาฐานทัพของแม่ทัพฝ่ายศัตรู
มุคตารได้กล่าวกับพวกเขาว่า พวกเจ้าจงมุ่งหน้าไป และจงเผชิญหน้ากับศัตรู และจงเริ่มต้นโจมตี จงระวังอย่าตกเป็นเป้าของมือธนู
มุคตารยังได้เน้นอีกว่า จงอย่ากลับมาที่ฐานของพวกท่าน จนกว่าพวกท่านจะได้รับชัยชนะ หรือไม่ ก็ตายทั้งหมด กองทหาร 1800 คนจึงเข้าปะทะกับกองทัพใต้บังคับบัญชาของ รอชีด ซึ่งมีจำนวน 4000 คน
มุคตารได้ส่ง ยะซีด บิน อะนัส พร้อมคนอีก 900 ให้ไปทำศึกกับ ชะบัซ บิน รอบีอีย์ ซึ่งมีทหารจำนวน 4000 คนเช่นกัน กองทัพของมุคตารกับอิบนุมุเฏียะปะทะกันอย่างรุนแรง และต่างๆฝ่ายต่างชุลมุน และเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในท้ายที่ ฝ่ายเจ้าเมืองกูฟะฮ ต้องพ่ายศึกให้กองทัพของมุคตาร และเมื่อพ่ายศึก เจ้าเมืองได้แอบแต่งตัวเป็นหญิง หนีไปในยามราตรี และด้วยเหตุนี้ กูฟะฮ จึงอยู่ภายใต้การควบคุม
ซึ่งในภายหลัง ยังมีกลุ่มที่ไม่ใช่นักปฏิวัติ และกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิวัติ เข้ามาสมทบกับมุคตาร มุคตารได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้น โดยอาศัย แนวคิดของอะฮลุลบัยต์ และอัลกุรอ่าน และในวันศุกร์ทุกคนก็เข้าร่วมมาซญุมอะฮ
มุคตารได้กล่าวในคุตบะฮ นมาซวันศุกร์ ว่า โอชาวกูฟะฮ ฉันได้รับมอบหมายจาก อะฮลุลบัยต์ ให้ทำการทวงหนี้เลือดให้กับอิมามมัซลูม ฮูเซน บิน อาลี และเหล่าชุฮาดาในกัรบาลา…
จนกว่าจะหมดลมหายใจ ฉันจะปฏิบัติภารกิจนี้อย่างไม่หยุดยั้ง ”
หลังจากที่มุคตารสามารถปลดแอกกูฟะฮ ได้แล้ว และสถานการณ์เริ่มกลับเป็นปกติ มุคตารได้แต่งตั้งอิบรอฮีม เป็นผู้บัญชาการสูงสุด และ แต่งตั้ง อับดุลลอฮ บิน กาเมล เป็นหัวหน้าฝ่ายจังหวัด และอบูอุมเราะฮ กิยานี เป็นผู้บัญชาการเฉพาะ และได้แต่งตั้งๆคนอื่นๆ ให้เป็นผู้ดูแล ตามสถานที่ต่างๆ
วันเวลาผ่านไป กลุ่มต่อต้านการปฏิวัติก็ได้รวมตัวกันอย่างลับๆ และเริ่มสร้างอำนาจขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนสถานะของกุฟะฮ อีกครั้งหนึ่ง
สงครามในเมืองกูฟะฮ ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง การก่อจราจล และเหตุการณ์ต่างๆเริ่มถึงขีดอันตราย มุคตาร ถูกปิดล้อม ต่อมา อิบรอฮีม ได้เดินทางกลับกูฟะฮ ทำให้ขวัญกำลังใจของศัตรูต้องอ่อนแอลง และพ่ายแพ้ในที่สุด
ในการจราจล และการก่อศึกครั้งนี้ ทางฝ่าย ต่อต้าน ถูกจับเป็นเชลยประมาณ ห้าร้อยคน คนเหล่านี้ ถูกนำตัวมาพบกับมุคตาร และถ้ามุคตารพบว่าในกลุ่มคนเหล่านี้ มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโศกนาฎกรรม กัรบาลา มุคตารจะนำพวกเขามาสำเร็จโทษ
ซึ่งใน ห้าร้อยคน มีสองร้อยสี่สิบแปดคนที่มีส่วนในเหตุการณ์กัรบาลา ทั้งหมด 248 จึงถูกสั่งประหารชีวิต
หลังจากเหตุการณ์นี้ กลุ่มที่ ร่วมกันสังหารอิมามฮูเซน(อ) จึงแยกย้ายกันไปหลบซ่อน มุคตารได้สั่งตามล่า ผู้สังหารฮูเซน(อ) และการตามล่า การจับกุมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกัรบาลา เริ่มต้นขึ้น 10 คนที่ได้ขี่ม้าเหยียบร่างอิมามฮูเซน (อ) ถูกจับกุม และถูกจับตรึงกับพื้นและตอกตระปูใส่ และให้นำม้ามาเหยียบร่างพวกเขา เหมือนกับที่พวกเขาได้ใช้ม้าเหยียบร่าง หลานของศาสดามูฮัมมัด (ศ)
ชิมร ซึ่งได้ยึดอูฐของอิมามฮูเซน(อ) เป็นสินสงคราม นำเข้าเมืองกูฟะฮ แสดงความดีอกดีใจที่สามารถเชือดคออิมามฮูเซน(อ)ได้ ได้เชือดอูฐตัวนั้น และแบ่งให้กับบรรดาศัตรูของอะฮลุลบัยต์
จากนั้น มุคตาร มีคำสั่งให้ทำลายทุกบ้านบ้านที่รู้กันว่า เป็นศัตรุของอะฮลุลบัยต์ และใครที่ได้กินเนื้อของอูฐในวันนั้น (ผู้มีส่วนในการสังหาร อิมาม(อ) จะต้องถูกสั่งประหาร
มีรายงานว่า ชิมร ได้รับบาดเจ็บ และกำลังหนี แต่ในภายหลังก็ถูกจับกุมตัวได้ มุคตาร ได้สั่งตัดหัวชิมร
บัญดัล บิน ซะลีม ซึ่งได้ตัดนิ้วของอิมาม เพื่อเอาแหวน ถูกจับกุมตัว ได้ มุคตารได้สั่งให้ตัดนิ้วและขาของเขา และให้ตายอยู่ในสภาพนั้น
เคาลี ซึ่งเคยส่งศรีษะของ อิมามไป กูฟะฮ ถูกจับกุมตัว มุคตารได้สั่งให้ประหารหน้าบ้านของเขา
ซีนาน บิน อะนัส ซึ่งเคยปาหอกใส่ร่างของอิมาม ในวันอาชูรอ และกล่าวได้ว่า ซีนานเป็นหนึ่งในตัวหลักที่ร่วมสังหารอิมาม ถูกจับกุมตัวได้ มุคตารได้สั่งให้ตัดมือที่เคยขว้างหอกใส่อิมามทิ้ง และตัดขา และราดนำมันร้อน ขณะยังเป็นๆ
ฮะกิม บิน ฏุฟัยล เคยยิงธนูใส่อิมาม และเป็นคนสังหาร ท่านอับบาส ถูกจับกุมได้ กองกำลังปฏิวัติได้ยิงธนูใส่ เพราะเกรงว่า อาจจะมีคนขออภัยโทษให้
ฮัรมาลาะ ผู้ยิงธนูสามแฉก ใส่ อาลี อัซฆัร เด็กน้อยวัยไม่ถึงปี ผู้ซึ่งเป็นบุตรของอิมามฮูเซน(อ) ถูกจับกุมตัวได้ และถูกนำมาหามุคตาร
เมื่อมุคตารเห็น ฮัรมาละ ได้ต่อสู้กับมุคตาร และแพ้ ในที่สุด มุคตารได้สั่ง ให้ตัดมือ และขาทิ้ง
ทุกคนที่ร่วมกันสังหาร อิมามฮูเซน(อ) และบรรดาลูกหลาน และบรรดาอัศฮาบ แห่งกัรบาลา ถูกคิดบัญชีโดย บุรุษผู้มีนามว่า มุคตาร ซะกอฟีย์
แหล่งอ้างอิง
– تـاريخ طبري، محمد بن جرير طبري، ج 6، ص 7؛ تاريخ يعقوبي، احمد بن ابي يـعـقـوب، ج 2، ص 258؛ كـامـل فـي التـاريـخ، ابـن اثـيـر، ج 4، ص 163؛ بـحـار الانـوار، محمدباقر مجلسي ،ج 45، ص 350.
2- مـعجم قبائل العرب، عمر رضا كحاله، ج 1، ص 148- 149؛ شرح نهج البلاغه، ابن ابي الحديد معتزلي، ج 8، ص 303.
3- بحارالانوار، ج 45، ص 350؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 171.
4- بـحـارالانـوار، ج 45، ص 345؛ قاموس، محمد بن يعقوب فيروز آبادي، ج 1، ص 257؛ وفيات الاعيان، ابن خلكان، ج 4، ص 172.
5- بحارالانوار، ج 45، ص 344؛ رجال كشي، ص 127.
6- مروج الذهب، ج 2، ص 315؛ انساب الاشراف، ج 6، ص 375.
7- الغـارات، ابـراهـيـم بـن مـحـمـد ثـقـفـي، ج 2، ص 517؛ كامل ابن اثير، ج 2، ص 433.
8- انساب الاشراف، ج 6، ص 375؛ بحارالانوار، ج 45، ص 350.
9- همان .
10- مـقـتـل الحـسـيـن، عـبـدالرزاق موسوي مقرم، ص 167؛ حياة الامام الحسين، باقر شريف القرشي، ج 3، ص 454.
11- الاعلام، خيرالدين الزركلي، ج 8، ص 70.
12- بحارالانوار، ج 45، ص 352.
13- الارشاد، ص 205؛ تاريخ طبري، ج 5، ص 355.
14- انساب الاشراف، ج 6، ص 376.
15- كامل ابن اثير، ج 4، ص 169.
16- تـاريـخ طـبـري، ج 5، ص 381؛ كـامـل ابـن اثـيـر، ج 4، ص 36.
17- مقتل الحسين(ع) ، ابي مخنف، ص 268-270.
18- انـسـاب الاشـراف، ج 6، ص 376- 377؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 116؛ مقتل ابي مخنف، ص 271؛ البداية والنهاية، ج 8، ص 249.
19- كامل ابن اثير، ج 4، ص 169-170.
20- بحارالانوار، ج 45، ص 356.
21- انساب الاشراف، ج 6، ص 379.
22- مـروج الذهـب، ج 3، ص 74؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 172؛ تاريخ طبري، ج 5، ص 579.
23- تاريخ طبري، ج 5، ص 580؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 172.
24- تـاريـخ طـبـري، ج 5، ص 581 و ج 5، ص 58؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 173.
25- كامل ابن اثير، ج 4، ص 173.
26- تاريخ طبري، ج 5، ص 580؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 172.
27- البداية و النهاية، ابن كثير، ج 8، ص 270.
28- كامل ابن اثير، ج 4، ص 173.
29- تاريخ طبري، ج 6، ص 7؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 211.
30- بحارالانوار، ج 45، ص 365.
31- تاريخ طبري، ج 6، ص 15؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 215.
32- همان، ج 4، ص 170.
33- تاريخ طبري، ج 6، ص 15؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 215.
34- انساب الاشراف، ج 6، ص 386؛ تاريخ طبري، ج 6، ص 16؛ بحارالانوار، ج 45، ص 364- 365.
35- تاريخ طبري، ج 6، ص 32؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 226.
36- تاريخ طبري، ج 6، ص 20؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 218-210.
37- تاريخ طبري، ج 6، ص 13؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 214.
38- تنقيح المقال، مامقاني، ج 3، ص 206؛ بحارالانوار، ج 45، ص 365.
39- تاريخ طبري، ج 6، ص 14؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 214 .
40- تاريخ طبري، ج 6، ص 20؛ كامل ابن اثير، ج 4، ص 218.
41- مستدرك الوسائل، ج 2، ص 265؛ فروع كافي، ج 5، ص 47.
42- مقاتل الطالبيين، ص 93.
43- الاخبار الطّوال، احمد بن داود دينوري، ص 293.
44- تاريخ طبري، ج 6، ص 32.
45- تاريخ طبري، ج 6، ص 32، مصر.
46- تنزيه المختار، ص 14 ـ 13.
47- رحله، ابن بطوطه، ص 232.
48- اخبار الطوال، ص 296.
49- اهل بيت، توفيق اعلم، ص 517 .
50- پس از پنجاه سال پژوهشي تازه پيرامون قيام امام حسين(عليه السلام)، سيد جعفر شهيدي، ص 193ـ 194.
51- شعراء، آيه 227.
52- نهج البلاغه، ترجمه سيد جعفر شهيدي، ص 401، قصار 241