ทัศนะที่ 3 อิสลาม
ก่อนที่เราจะนำเสนอทัศนะของอิสลาม มีสองประเด็นสำคัญ ที่จะต้องพิจารณา
(ก) ความหมายของ ฮัก เป็นคำที่มีหลายความหมาย
ในภาษาศาสนา คำว่า ฮัก มีความหมายกว้างกว่า ความหมายของมัน ในเชิง จริยธรรม และ สิทธิมนุษยชน
นอกจาก ฮักยังมีความหมายเชิงจริยธรรม และสิทธิต่างๆแล้ว ยังมีความหมายในด้านอื่นอีกด้วยเช่นกัน อาทิ ฮักของ พระเจ้า หรือ สัจธรรมของพระเจ้า ซึ่งในจุดนี้ ความหมายทางศาสนาของคำว่า “ฮัก” มีความแตกต่าง จากคำว่า ฮูกูก ซึ่ง แปลว่า สิทธิ
(ข) การยอมรับ และหน้าที่และภารกิจในอิสลาม
สาส์นของอิสลาม คือ การชี้นำมนุษยชาติ และแสดงให้พวกเขาเห็นถึงเส้นทางสู่ความสำเร็จ และความสมบูรณ์ ของมนุษย์ จากมุมนี้ ส่วนมากจึงพิจารณาศาสนา ในด้าน ภารกิจ และหน้าที่ ต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติต่อภารกิจ เหล่านี้ เป็น เหตุทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ และพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ ทว่า การอธิบายเรื่องสิทธิ ไม่ใช่ประเด็นเรื่อง หน้าที่ และภารกิจ และเพราะสิทธิต่างๆ ถูกบรรยายไว้ เพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ ซึ่งในระดับที่สอง คือการเน้นย้ำ ถึงความสำคัญ การให้ความสำคัญของศาสนา ต่อสิทธิต่างๆ นั่นจัดอยู่ในประเภทแรก โดยทางศาสนาได้พิจารณาว่า มนุษย์ มีความต้องการ มีความปราถนา ซึ่งความต้องการดังกล่าว มาจาก สัญชาตญาณ และธรรมชาติของพวกเขา ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องวางกฎหรือภาระหน้าที่แต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น ธรรมชาติของมนุษย์ คือ เขาต้องหายใจ ต้องกิน ดื่ม เพื่อการนี้ ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องบอกกับมนุษย์ว่า พวกท่านมีสิทธิหายใจ พวกท่านมีสิทธิกิน มีสิทธิดื่ม เพราะมนุษย์ทำในสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ในกรณีสิ่งที่สำคัญก็คือ การวางขอบเขต จากการใส่สิทธิต่างๆ และ ระมัดระวังไม่ให้ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ในทางศาสนา สิ่งที่ทำให้มนุษย์พัฒนา และเจริญขึ้น คือ การพิจาณาในเรื่องภาระ หน้าที่ ที่พวกเขาต้องรับผิดชอบ
แน่นอนว่า สิทธิ และหน้าที่ คือ เหรีญสองด้าน หมายถึง หน้าที่ ได้เรียกร้องจากมนุษย์ ส่วนสิทธิคือสิ่งที่มอบให้กับมนุษย์ คำถามคือ อิสลามให้ความสำคัญกับด้านใดมากกว่ากัน อิสลามให้ความสำคัญ กับการปฏิบัติหน้าที่มากกว่า สิทธิมนุษยชนหรือไม่ ?
ตำราทางศาสนาส่วนมาก จะพูดถึงการระมัดระวัง และการใส่ใจในเรื่องของสิทธิมนุษยชน หมายถึง อิสลาม เน้นย้ำ ต่อ ตะกาลีฟ หรือ ภาระหน้าที่ ซึ่งทุกๆคน จะต้องปฏิบัติต่อบุคคลอื่น จากจุดที่สาส์นของศาสนา คือ การมอบ ความรู้ และอบรบมนุษย์ ในฐานะของการอธิบาย ศาสนาก็ได้เน้นย้ำต่อการรับผิดชอบมากกว่าเช่นกัน
อิมาม ซัจญาด (อ) ได้ทำการอธิบายไว้อย่างงดงาม ว่า ”
ขอพระองค์อัลลอฮ ทรงเมตตาท่าน
จงรู้ไว้เถิดว่า
พระองค์อัลลอฮ มีสิทธิเหนือท่าน ซึ่งสิทธิต่างๆเหล่านี้ห้อมล้อมอยู่รอบตัวท่าน ซึ่งท่านจะต้อง ให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านั้น ในทุกๆการเคลื่อนไหวที่ท่านได้กระทำมัน
หรือทุกๆการหยุดนิ่งที่ท่านได้กระทำมัน หรือไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ท่านอยู่อาศัย หรืออวัยะที่ท่านได้สั่งการมัน หรือ เครื่องมือต่างๆที่ท่านได้ใช้มัน
บางประการนั้น ใหญ่กว่าบางประการ และสิทธิที่ใหญ่ที่สุด คือ สิทธิต่างๆของอัลลอฮ ที่มีต่อท่าน…..
วจนะนี้ได้ชี้ว่า พระเจ้า ได้มอบ ภารกิจจำนวนหนึ่งให้กับมนุษย์ วจนะไม่ได้กล่าวว่า ท่านจะต้องรับผิดชอบ ต่อสิทธิของผู้ อื่น แต่กล่าวว่า สิทธิต่างๆเหล่านี้ครอบคลุมอยู่รอบตัวท่าน หมายถึงในรอบๆตัวท่าน มีสิทธิของมนุษย์ สิทธิของสิ่งอื่นๆ คำ้คอท่าน ทำให้ท่านจะต้องดูแลพิทักษ์รักษาให้ดี และแน่นอนว่า สิทธิเหล่านี้ ไม่ได้มีคุณค่า เท่าเทียมกัน บางสิทธินั้น ใหญ่ กว่า สำคัญกว่า ซึ่งในสิทธิที่สำคัญ และใหญ่ที่สุด คือ สิทธิของพระเจ้า ที่มีต่อตัวท่าน
นอกจากนี้ อิมามซัจญาด ยังได้อธิบาย และชี้ว่า ในปรัชญาสิทธิมนุษยชนอิสลาม รากฐานของทุกๆสิทธิ คือ สิทธิของอัลลอฮ ซึ่งสิทธิอื่นๆนั้น แตกออกมาจากจุดนี้ ถ้าหาก เรายกตัวอย่าง สมมติ ว่า สิทธิต่างๆ เป็นผลที่ออกมาจาก ต้นไม้ต้นหนึ่ง รากฐาของต้นไม้ ก็คือ สิทธิของอัลลอฮ ที่มีต่อบรดาปวงบ่าว ซึ่งสิทธิอื่นๆ ก็เปรียบดั่ง กิ่งก้านสาขา และ ใบของมัน
ในความเป็นจริงแล้ว การถือว่า สิทธิของพระเจ้า มีสถานะเหนือสิทธิอื่นๆนั้น ถูกนำเสนอ เฉพาะในสาส์นของ ศาสนาเท่านั้น ทว่า ใน สิทธิทั่วไป หรือ สิทธิทางจริยธรรมดั้งเดิม นั้น สิทธิของพระเจ้า ไม่มีสถานะใดๆเลย. ทั้งๆที่สิ่ง สำคัญที่สุดในการ ปรากฎของศาสนา คือ สิทธิของพระเจ้า และแหล่งที่มาของสิทธิต่างๆ ในรูปแบบที่ หากปราศจาก แหล่งที่มาอันนี้ จะไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องของสิทธิต่างๆได้เลย
สิทธิของพระเจ้า คือแหล่งที่มาของสิทธิมนุษยชน
ในการพิสูจน์ทัศนะว่า สิทธิจากพระเจ้า คือแหล่งที่มาของสิทธิมนุษยชนนั้น จะต้องเริ่มต้น ด้วยการพิสูจน์การ มีอยู่ของพระเจ้าเสียก่อน ซึ่งการนี้ ก็จะตกไปอยู่ในความรู้ วิชาเอกเทววิทยา และจะออกนอกประเด็นจาก สิทธิมนุษยชน ไป ซึ่งหลังจากทำการศึกษาเรื่องการพิสูจน์พระเจ้าแล้ว ในขั้นตอนต่อไป การพิสูจน์ว่า พระเจ้า มีสิทธิเหนือบรรดา มนุษย์ ทุกคน ซึ่งประเด็นดังกล่าว ก็จะไปเกี่ยวข้องกับ กริยา และ รูปแบบ ของสิทธิ
สติปัญญา ให้ทัศนะว่า การพิสูจน์ในเรื่องสิทธินั้น เป็นกิ่งก้านสาขาหนึ่ง ของ การเป็นเจ้าของ หมายถึง ผู้ ครอบครองเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ ต่ออาณาจักรของเขา ทว่า หาก บุคคลใดที่ไม่ใช่ทั้ง เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง และไม่ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของ เขาก็ไม่มีสิทธิอะไรเลย ซึ่งประเด็นนี้ เป็นหนึ่งใน บริบทที่ชัดเจนที่สุด และ เป็นกฎที่เข้าใจ ง่ายที่สุด
ในอีกด้านหนึ่ง ในวิชา เทววิทยา ได้พิสูจน์ว่า คุณลักษณะของพระเจ้า คือ ผู้สร้าง และผู้ครอบครอง ทุกๆสรรพสิ่ง การมีตัวตนของสิ่งอื่นมีแหล่งที่มาจาก พระเจ้า และพระองค์ เป็น สิ่งมีอยู่ สิ่งเดียว ที่ (กออิม บิซซาต) หรือ ดำรงอยู่ โดยเอกเทศ (การดำรงอยู่ของสิ่งที่การมีอยู่ ไม่จำเป็น ต้องพึ่งพาสิ่งใด เพื่อทำให้ เป็น หรือ เพื่อ ทำให้ มี) ซึ่ง คุณลักษณะพิเศษอันนี้ ไม่มีสิ่งอื่นที่จะครอบครองคุณลักษณะนี้ (เพราะการมีอยู่ของทุกสิ่ง ย่อมต้องอาศัย สิ่งอื่น เพื่อ ทำให้มี เสมอ ) และด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงไม่ต้องพึงพาต้องสิ่งใด ในการมีอยู่ของพระองค์
จาการพิจาณาในอรัมภบทสองข้อนี้ (สิทธิในการเป็นเจ้าของ ในอาณาจักรของตน และการสร้างทุกๆสรรพ สิ่งของพระเจ้า) เราจึงจะนำเสนอต่อไปว่า
เนื่องจาก พระเจ้า คือ ผู้สร้าง โลก และมนุษย์ การเป็นเจ้าครอบครองอย่างแท้จริง จึงกลับไปหา พระองค์ และเช่นนี้ จึงทำให้พระองค์มีสิทธิต่อทุกๆสิ่งที่อยู่ภายใต้การบริหารของพระองค์
ในอีกด้านหนึ่ง นอกจากพระเจ้าแล้ว ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ เหนือพระองค์ หรือ ซึ่งที่พระองค์สร้าง เพราะเขาไม่เคย เป็นเจ้าของ และเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง มีเพียงทางเดียว ที่เขาจะมีสิทธิเหล่านั้น ได้ก็คือ ผู้เป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง ได้มอบสิทธิเหล่านั้นให้กับ ผู้หนึ่ง หรือ สิ่งหนึ่ง
ทุกๆสรรพสิ่ง ซึ่งรวมทั้งมนุษย์ มีตัวตนขึ้นมา จาก พระประสงค์ ของพระองค์ และด้วยพระประสงค์ ทำให้ พวกเขายังมีอยู่
แท้จริง พระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์จะตรัสแก่มันว่า จงเป็น แล้ว มันก็จะเป็นขึ้นมา
[บท ยาซีน โองการที่ 82]
ดังนั้น เมื่อใดที่ พระองค์ได้ยกเลิก พระประสงค์ สิ่งนั้น ก็จะไม่มีอยู่อีกต่อไป และการคงอยู่ของสิ่งหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์
ด้วยเหตุนี้ ศาสนา จึงปรากฎขึ้นมา พร้อมกับการพิสูจน์จากหลักฐานทางสติปัญญา ในเรื่องแหล่งที่มาของสิทธิ ทว่า ในมุมมองที่ ไร้ศาสนา และสิทธิทั่วไปที่แพร่หลาย ไม่มีหลักฐานทางปัญญา พิสูจน์ถึงเรื่องนี้