สิทธิมนุษยชนในทัศนะอิสลาม(ฉบับเข้าใจง่าย)ตอน4

797

ค.ความหมายเชิงโมนธรรม เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
เมื่อเรานำคำที่มีความหมายเชิงมโนธรรมมาใช้ อย่างคำว่า สิทธิ เช่นที่เราพูดว่า คนนั้น มีสิทธิ คนนี้ไม่มีสิทธิ จะมีคำถามตามมา ก็คือ โดยหลักแล้ว ความหมายเชิงมโนธรม ปรากฎขึ้นมาในสติปัญญาได้อย่างไร เท่าที่รู้ อัลลามะ ฏอบาฏอบีย์อีย์ คือ นักปราชญ คนแรกที่อธิบายวิธีการเกิดความหมายเชิงมโนธรรมในสติปัญญา ได้อย่างชัดเจน โดยท่านได้อธิบาย ด้วยการตัวอย่างว่า ในความหมายเชิงโมธรรม ทางด้าน สังคม และการเมือง ในภาษา ฟารซี จะแตกออกมาจากคำว่า ซัร ซึ่งแปลว่า ศรีษะ และจากคำนี้ จึงมีคำอื่นตามมา อย่างเช่นคำว่า หัวหน้า หรือ คำว่า รออิส หรือ ริยาซะฮ ซึ่งมาจากคำว่า เราะซุน ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงศรีษะ หรือ หัว เช่นกัน โดยคำเหล่านี้ ถูกดึงมาแล้วดัดแปลงให้มีความหมายเฉพาะ จนเปลี่ยนกลายเป็นคำศัพท์ใหม่ขึ้นมา กลายเป็นความหมายเชิงโมนธรรม เช่น การเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำ และในภาษาอื่นๆ ก็มีแหล่งที่มาในลักษณะนี้เช่นกัน คำถามต่อมา ก็คือ คำว่า ริยาซะฮ หรือ การเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นความหมายเชิงโมนธรรม หรือ เชิงเปรียบเทียบ ปรากฎขึ้นมาได้อย่างไร และมนุษย์เรา ได้สร้างคำเหล่านี้มาอย่างไร และได้ใช้การสนทนาในชีวิตประจำวันหรือไม่?
อัลลามะฮ ฏอบาฏอบาอีย์ ได้ตอบคำถามนี้ ว่า เริ่มต้นนั้น มนุษย์เริ่มพิจารณาที่การมีอยู่ของตัวเอง โดยสังเกตไปที่ร่างกายของเขา และได้สังเกตเห็นว่า อวัยวะต่างๆของร่างกายในแต่ละส่วนล้วนทำงานอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ เขาถือว่า ศรีษะ คือ ตัวรับคำสั่ง และ สมอง คือ ศูนย์สั่งการ แก่ร่างกาย ศรีษะจึงถือเป็นผู้นำ และมีตำแหน่งคือ ผู้สั่งการ ในร่างกายของมนุษย์ เมื่อหนึ่งสั่ง ที่เหลือจึงตาม และเมื่อเราต้องการเปรียบเทียบ สถานภาพนี้ในสังคม ซึ่งมี ผู้นำ และ ผู้ตาม คำว่า เราะซ หรือ หัว จึงถูกเปลี่ยนเป็นคำว่า รออีส หรือผู้นำ ไปตามกาลเวลา และหลังจากนั้น แต่ละคำ ก็ค่อยๆ ถูกนำมาใช้

ง.สิทธิ และ การครอบครอง 

เมื่อเราอ้างว่า พระเจ้ามีสิทธิ แหล่งที่มาของ ความหมายเชิงมโนธรรม ซึ่งก็คือ ((สิทธิ)) นี้หมายความว่าอย่างไร และปรากฎขึ้นมาได้อย่างไร โดยหลักแล้ว เวลาที่เราพูดว่า “คนๆนั้นมีสิทธิ” หมายถึงอะไร?
นักวิชาการบางส่วนอ้างว่า ความหมายของคำว่า สิทธิ นั้น ถูกตีความในเชิงของ การเป็นเจ้าของ หรือ การครอบครอง คือ ในจุดที่เราใช้คำว่า สิทธินั้น มีความหมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การครอบครองรูปแบบหนึ่ง หรือการครอบคลุม หรือ ความประเสริฐกว่า หรือความดีที่มากกว่า หรือ อำนาจที่มากกว่า  หรือ เหมาะสมกว่าเมื่อเราพูดว่า คนๆหนึ่งมีสิทธิ สำหรับเขาแล้วหมายถึงการ ครอบครอง หรือ ความดีที่มากว่า
ดังนั้น ในที่นี้ ความหมายของคำว่า การครอบครอง กับคำว่า “สิทธิ” จึงมีความหมายใกล้เคียงกัน เหมือนกับที่เราพูดว่า บิดามีสิทธิที่จะสั่งบุตร หมายถึงเขามีอำนาจในการครอบครอบ และเหนือกว่า บุตรของเขา และ บุตรก็อยู่ภายใต้คำสั่งของบิดา หรือ เมื่อเราพูดว่า มนุษย์มีสิทธิ ใช้สอยสิ่งที่เขามีอยู่ หมายถึง เมื่อสัมพันธ์ กับทรัพย์สิน เงินทอง อาหาร ที่พัก ที่เขามีแล้ว เขาย่อมสามารถใช้สอยสิ่งที่เขาครอบครอง
การครอบครอง เป็นความจริงที่เป็นธรมชาติ ซึ่งเราพบมันในตัวของเราเอง เช่นการเป็นเจ้าของ หรือการครอบครองอวัยวะต่างๆของเขา ตามหลักนี้ เขาเป็นเจ้าของโดยธรรมชาติ และเขาก็รับรู้ถึงมัน ไม่ว่าที่ใด ที่เขาได้ครอบครองอำนาจ หรือมีชัย เขาอาจนำความหมายของ สิทธิ มาใช้เปรียบเทียบ และที่ใดที่เขาไม่มีความสามารถ เขาก็จะไม่ใช้คำว่า สิทธิมาเปรียบเทียบถึงเรื่องนั้น

นักปราชญ์บางท่าน เชื่อว่า ((สิทธิและการเป็นเจ้าของ)) มีความหมายเดียวกัน แต่มีคำต่างกัน บางส่วนอ้างว่า สิทธิ คือ การครองครอบที่อ่อนแอ ส่วน การเป็นเจ้าของ คือการครอบครองที่แข็งแกร่งกว่า แน่นอนว่า เราไม่ได้จะยืนยันต่อทัศนะเช่นนี้ แต่จากการพิจารณาก็สามารถกล่าวได้ว่า การเป็นเจ้านั้น มีรูปแบบชนิดที่มีความหมาย ถึง การครองครองต่อสิ่งที่อยู่ใต้การปกครองของตนเองอยู่เช่นกัน และคำว่า “สิทธ” ก็มีความหมายเช่นนี้อยู่บ้าง แต่เบาบางกว่า นอกจากนี้ เมื่อ มี คุณสมบัติของ การเป็นเจ้า สิทธิต่างๆ ก็จะตามมาในภายหลัง ในมิติที่แตกต่างกัน ส่วน สิทธิ นั่น เป็นไปได้ว่า อาจมีมุมมองเดียว อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าของ เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบด้านหนึ่งของ “สิทธิ ” เนื่องจากการมีอำนาจ หรือการมีชัยเหนือกว่าสิ่งอื่น
ตอนนี้จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มาตรฐานการเปรียบเทียบคำว่า สิทธิ นั้น  คือ การเป็นเจ้าของ การครอบครอง ในโลกแห่งการดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่มั่นคงกว่า สูงส่งยิ่งกว่า แล้วอำนาจเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าแล้ว ยังมีผู้อื่นอีกหรือไม่  ก่อนที่เราจะนำคำว่า สิทธิ มาพิสูจณ์เกี่ยวกับ สิทธิของพระองค์ จำเป็นต้องนำความหมายเชิงโมนธรรมมาใช้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายดาย เกี่ยวกับพระองค์ พระองค์คือ ผู้ครอบครอง การเป็น การดำรงอยู่ และปราศจากพระองค์แล้ว ไม่มีสิ่งมีอยู่ใดๆที่จะอุบัติขึ้นมาได้ โดยไม่ได้อยู่ใต้การอนุมัติของผู้มีอำนาจสูงสุด
   ۚ قُلِ اللَّهُ خَالِقُ كُلِّ شَيْءٍ وَهُوَ الْوَاحِدُ الْقَهَّارُ

ในซูเราะฮ เราะดฺ 16 

   ۖ وَمَا مِنْ إِلَٰهٍ إِلَّا اللَّهُ الْوَاحِدُ الْقَهَّارُ

ซูเราะฮ ซอด 65

พระองค์คือ หนึ่งเดียว และคือผู้มีอำนาจสูงสุด และอยู่เหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น จากจุดนี้ ถ้าเราใช้ ความหมายเชิงมโนธรมอย่าง การครอบครอง การพิชิต การมีอำนาจ ก็จะได้ข้อสรุปว่า ผู้มีสิทธิ สูงสุด และชัดเจนที่สุดคือ พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงบริสุทธิ์ พระองค์คือ ผู้ทรงอำนาจในทุกๆสถานที่ และมีอำนาจเหนือทุกๆสรรพสิ่ง อำนาจที่เรามีเหนือต่ออวัยวะร่างกายของเรา ใครเป็นผู้ให้เรามา ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หรือ อวัยวะส่วนอื่น ที่เรามีอยู่ ใครเป็นผู้มอบ ความสามารถในการควบคุมสิ่งเหล่านี้แก่เรา แน่นอนว่าคำตอบก็คือ ผู้ซึ่ง เขาสามารถเอาจากเราไปได้ทุกเมื่อ ที่ต้องการ เพราะบางครั้ง มนุษยืมีแขน แต่ไม่มีความสามารถที่จะบังคับมันใด พระองค์จึงต้องมอบอำนาจให้เขาสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ ดังนั้น สิทธิในการครอบครอง สิทธิในอำนาจ โดยหลักแล้วจึงเป็นของพระองค์
และจากหลักฐานทางปรัชญา จึงทำให้ได้บทสรุปว่า หลักของทุกๆสิทธิ มาจากพระเจ้า และก่อนหน้าที่สิทธิ จะถูกวางไว้ ไม่มีใครที่จะมีสิทธิในการครอบครองมัน สิทธิของพระองค์คือแหล่งที่มา และจุดเริ่มต้นของสิทธิต่างๆของบรรดาปวงบ่าว “พระองค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ ได้กำหนดสิทธิบางส่วนของพระองค์ ซึ่ง ได้ถือเป็นข้อบังคับให้มนุษย์บางกลุ่มหนึ่งมีสิทธิต่อบางกลุ่ม….”
หากว่าพระองค์ ไม่ได้กำหนดสิทธินี้ให้กับมนุษย์แล้ว สิทธิต่างๆก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากมนุษย์เอง ตรงนี้เอง คำกล่าวอ้าง ที่ถูกพูดถึงเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน สิทธิสามัญสำนึก จึงไร้แก่นสาร และไม่มีหลักแหล่ง เพราะสิทธิที่แท้จริงนั้น มาจากการประทานให้จากพระองค์ และตราบใดที่พระองค์ไม่ได้มอบมันให้กับมนุษย์ ก็ไม่มีผู้ใดที่จะมีสิทธิใดๆเลย

จบบทว่าด้วยแหล่งที่มาของสิทธิมนุษยชน