โครงสร้างหลักของสิทธิมนุษยชนในอิสลาม(ตอน1)

1559

 

โครงสร้างหลักของสิทธิมนุษยชนอิสลาม

สิทธิ และภารกิจ หน้าที่ ของมนุษย์ ในศาสนาอิสลาม วางอยู่บโครงหลักต่างๆ ซึ่งก่อสร้าง โดยจากด้านหนึ่ง คือ โลกทัศน์(สิ่งที่มีอยู่ และสิ่งที่ไม่มี) และจากอีกด้านหนึ่ง คือ อุดมการณ์ และระบบคุณค่าต่างๆ (สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ควรเลี่ยง) ที่มีความสัมพันธ์กับโลกทัศน์ และหลักอันนี้ ในความจริงแล้ว ยังเป็นหลักที่ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ การเชื่อมโยง ระหว่าง ระบบสิทธิต่างๆ กับ ทัศนะในการมองโลก และการกระทำภายใต้มุมมองอันนั้น(มนุษย์มีโลกทัศน์อย่างไร เขาจะกระทำไปตามโลกทัศน์ที่เขามี เช่นหากเชื่อว่า ไม่มีพระเจ้า การกระทำก็จะชี้ถึงความเชื่อเรื่องไม่มีพระเจ้า) เราจะกล่าวหลักต่างๆที่สัมพันธ์กับสิทธิต่างๆ ดังต่อไปนี้

1 หลักแห่งเตาฮีด หรือเอกานุภาพ

สำหรับการวิเคราะห์เจาะจงถึง พันธกิจ และสิทธิของมนุษย์ นั่น เหนือสิ่งอื่นใด คือ การพิจารณาถึงความสัมพันธืระหว่าง การมีอยู่ของมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งการดำรงอยู่ของพระองค์ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งอื่นใด และโดยหลักแล้ว โลกทั้งใบ จำเป็นต้องพึ่งพาต่อพระผู้สร้างองค์เดียว ซึ่งไร้ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาต่อผู้อื่น ในการดำรงอยู่
มนุษย์ก็เหมือนกับสิ่งอื่นที่ การมีอยู่ของเขา ขึ้นอยู่กับ พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเอกะ เพราะ ทุกสิ่งที่ไม่ใช่อัลลอฮ เป็นบ่าวโดยตัวตนของมัน ต่อพระองค์ และก็เป็นไปได้ที่สิ่งนั้น จะออกจากความเป็นบ่าวของพระองค์ได้ เพราะการออกจากความเป็นบ่าว นั่นย่อมหมายถึง การไม่มีอยู่ และการปราศจาก (สิ่งที่ถูกสร้างย่อมเป็นบ่าวของผู้สร้าง ในด้านตักวีนีย์ และตักรีอีย์ กล่าวคือ พระองค์สร้างทุกสิ่ง และให้ทุกสิ่งดำเนินเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ โดยการให้ดำเนินไปตามพระประสงค์ของพระองค์นั้น แบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ ตักวีนีย์ คือ การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระองค์ โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การเกิดเป็นคน มนุษย์เมื่อเกิดเป็นคน ไม่อาจฝ่าฝืนและเปลี่ยนตัวเองให้เป็นอื่นได้ ในด้านสรีระ และรูปแบบที่สองคือ ตักรีอีย์ คือ พระประสงค์ของพระองค์ในด้านบัญญัติ หรือคำสั่ง ที่มนุษย์สามารถเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำตามได้ ทว่าในที่นี้ เรากำลังกล่าวถึง การเป็นบ่าวแบบตักวีนีย์) มนุษย์ไม่ว่าจะมี หรือ การมีอยู่ จะต้องพึ่งพาอาศัย และขึ้นอยู่กับพระองค์ตลอดเวลา หรือจะไม่มี ก็ขึ้นอยู่กับพระองค์ การแยกมนุษย์ให้เป็นผู้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ จึงเป็นไปไม่ได้ การคิด และการคาดเดาเช่นนี้ เป็นสิ่งที่โมฆะ และการคิดเช่นนี้ จะนำเขาไปสู่ ความคิดที่ว่า ตัวเขาเป็นเอกเทศ และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งใด และเมื่อคิดใดเช่นนั้น เขาก็จะไม่ปฏิบัติตามผู้ใด ซึ่งในมุมของปรัชญานั้น จะยอมรับหรือไม่ อย่างไรมนุษย์ก็ไม่อาจมีอิสระสมบูรณ์ได้ ถึงแม้ว่าจะเชื่อเช่นนี้ก็ตาม และเตาฮีด และประเด็นอื่นๆซึ่งแตกข้อปลีกย่อยมาจากมัน ก็คือ รากฐาน หลัก และโครงสร้างของสิทธิมนุษยชน และพันธกิจของมนุษย์

2 หลักแห่งฮิกมัตอิลาฮีย์ หรือวิทยปัญญาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

หลักแห่งวิทยปัญญาแห่งพระเจ้า ก็เป็นเช่นเดียวกับหลักแห่งเตาฮีด ที่กล่าวถึง ประเด็นต่างๆ เรื่อง การให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ(จริยธรรม,สิทธิ)  ที่ทำการให้ความกระจ่าง และชัดเจน ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบ ของ ระบบสิทธิมนุษยชน และจริยศาสตร์อิสลาม และหากพิจารณาถึง วิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จะไม่อาจเข้าใจ ระบบสิทธิมนุษยชน และจริยศาสตร์อิสลาม ได้อย่างสมบูรณ์
เป้าหมายแรก และสิทธิที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ในทัศนะของอิสลาม คือการย้อนกลับไปพิจารณาที่ “เป้าหมายการสร้างของเขา” “และวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าสามารถให้ความกระจ่างในจุดนี้ได้
เมื่อเราพูดว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงวิทยปัญญา หรือ ฮะกีม ฮะกีม หมายถึงอะไร ? ฮะกีม หมายถึง บุคคลที่ ปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด บนพื้นฐานของวิทยปัญญา และเมื่อริเริ่มสิ่งใดแล้ว จะวางเป้าหมายให้กับสิ่งนั้น และจากความสมเหตุสมผลของเป้าหมายในการสร้าง จึงเป็นแหล่งที่มาของ สิทธิ และหน้าที่ (กล่าวในนัยหนึ่งคือ หน้าที่ของมนุษย์คือการปฏิบัติไปตามเป้าหมายที่เขาถูกสร้างขึ้นมา และสิทธิต่างๆ ก็ดำเนินไปตามเป้าหมายอันนี้)
แน่นอนว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ อภิบาล มนุษย์ และโลก อย่างสมบูรณ์ แลไม่ขาดช่วงต่อ  ซึ่งการอภิบาลทั่วไปนี้ วางอยู่บนพื้นฐานของ วิทยปัญญาและฮิกมัต  สามารถให้ข้อสรุปได้ว่า โลกแห่งการสร้าง ต้องไปสู่ความสมบูรณ์ของมัน และจากการนี้จำต้องอาศัยหลายสิ่งในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย
ตามหลักฮิกมัตอิลาฮีย์ มนุษย์มีพันธกิจ คือ การหาเส้นทางที่จะนำตนสู่ความสมบูรณ์เที่ยงแท้ และมีความสมบูรณ์กว่าสิ่งอื่น และเพื่อเคลื่อนไปสู่ความสมบูรณ์นั่น เขาจึงต้องหาเส้นทางที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะก้าวสู่การพัฒนาขั้นสูงสุดได้
จากความจริงประการนี้ ให้ข้อสรุปสองประการ คือ หนึ่ง เมื่อเกิดการขัดแย้งกัน สิ่งมีอยู่ซึ่งบกพร่อง จะต้องพลีตัวให้สิ่งที่สมบูรณ์ เช่น คนกับสัตว์ ในระหว่าง ชีวิตของมนุษย์กับสัตว์ สัตว์จึงต้องพลีให้กับมนุษย์
ปัญหาประการหนึ่งของ สิทธิมนุษยชนไร้ศาสนา คือ ไม่สามารถพิสูจณ์ได้ว่า มนุษย์มีสิทธิเหนือสิ่งอื่น หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น  และการงานนี้ยังถือเป็นเพียงการคาดเดาอีกด้วย ทว่าตามหลักฮิกมัตอิลาฮีย์ การพิสูจน์ถึงสิทธิของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งอื่นนั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ถ้าหากตั้งข้อสมมติว่า ชีวิตของมนุษยืไม่อาจดำรงอยู่ได้ หากไม่เชือดแกะตัวหนึ่ง แกะตัวนั้นจึงจะต้องถูกเชือด เพื่อรักษาชีวิตของเขา เพราะ วิทยปัญญานี้ ได้ชี้ว่า สิ่งที่สมบูรณ์กว่า มีสิทธิในระบบการดำรงอยู่ และเป้าหมายอันนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้นอกจาก การพลีสิ่งที่ด้อยกว่า
ประการที่สอง คือเมื่อ เมื่อมีสิ่งสมบูรณ์อยู่สองสิ่ง สิ่งที่ในเชิงคุณภาพแล้วมีความสำคัญน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่ง จึงจะต้องพลีให้สิ่งที่มีความสำคัญมากกว่า เช่น หาก ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของมนุษย์กับความสมบูรณ์ทางวัตถุ เป็นปฏิปักฎ์ต่อกัน ความสมบูรณ์ทางวัตถุซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่า จะต้องพลีเพื่อความสมบูรณ์ทางจิตซึ่งมีความสำคัญมากกว่า
นี่คือ หลักสองประการที่เกี่ยวกับบทเรียนเรื่องการทำความรู้จักพระเจ้า หลักแห่งเตาฮีด, หลักแห่งการสร้าง, การพึ่งพาอาศัย, และการพิสูจน์ถึงการเป็นบ่าวของพระเจ้าของทุกสรรพสิ่ง และหลักแห่งฮิกมัต จึงเป็นผู้บรรยายความมีวิทยปัญญาและเป้าหมายของระบบในการสร้าง และการค้นหาสิ่งที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าในในโลกแห่งการดำรงอยู่….

3 หลักแห่งความเป็นนิรันด์ของจิตวิญญาณ

มนุษย์นอกจากจะมี ด้านกาย ซึ่งเป็นวัตถุแล้ว เขายังมี จิต หรือ วิญญาร และวิญญาณอันนี้ก็ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งเป็อมตะ และนิรันด์ ซึ่งความตาย จะทำให้ร่างกายของเขาสูญสลาย ดังนั้น โดยแท้จริงแล้ว บุตรแห่งอาดัมคือผู้เป็นอมตะ และการตายของเขาคือ ทางผ่านจาก โลกนี้ สู่โลกหน้า จากจุดนี้ จึงแบ่งการชีวิตของมนุษยืเป็นสองภาค คือ การใช้ชีวิตในโลกนี้ ซึ่ง มีระยะเวลา และจำกัด กับการใช้ชีวิตในโลกหน้าซึ่งมั่นคง และถาวร

4 หลักแห่ง ความสัมพันธ์ระหว่าง โลกนี้ กับ โลกหน้า หรือ ดุนยา และอะคีเราะฮ

ชีวิตในโลกนี้คือ อรัมภบท สำหรับ ชีวิตในโลกหน้า ความโปรดปราน บุญคุณ หรือ เนียะมัต โดยธรรมชาตินั้น มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของเขา มีจุดประสงค์เพื่อการประสบความสำเร็จที่แท้จริงของเขา ซึ่งผลจาก หลักทั้งสองนี้(ดุนยาและอาคีเราะฮ) จะเกี่ยวข้องกับประเด็นในเรื่องของมะอาด หรือ โลกหลังความตาย ซึ่งเป็นหนึ่งในโลกทัศน์อิสลาม
ในสิทธิมนุษยชนอิสลามนั้น ถือว่า ความเหมาะสม และการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณนั้นจะต้องให้มาก่อน ผลประโยชน์ทางด้านโลก หรือ ดุนยา เพื่อไม่ให้มนุษย์ละเลยถึง ความสำเร็จทางจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งจิรัง ยั่งยืน
กฎดังกล่าว วางอยู่บนพื้นฐานของ จริยธรรม และภารกิจส่วนบุคคล ที่จะต้องระมัดระวังทางด้านนี้ เพราะ ชีวิตปัจเจกบุคคล และสังคมดุนยา คือ สื่อ ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ ความสำเร็จในอะคีเราะฮ และเป็นที่ชัดเจนว่า ชีวิตของเขาจะต้องวางเป้าหมายไปในทิศทางนี้ ไม่ใช่ตรงข้าม (กล่าวโดยรวมแล้ว ความเชื่อในโลก โลกหลังความตาย การตัดสินตอบแทน จะสร้างอิทธิในการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ให้กระทำในสิ่งที่ผิด และนิยมที่จะกระทำในความดี ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำของมนุษย์ กับความเชื่อในศาสนา” )
5 หลักแห่ง เกียรติยศของมนุษย์

สิทธิในการรักษาเกียรติ หรือ การรักษาเขตต้องห้าม เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่บุคคลในสังคม ให้ความสำคัญ ไม่ต่างกับ พื้นฐานแนวคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ ปรัชญาในการสร้างมนุษย์ คือ การพัฒนาตัวเขาไปสู่ความสมบูรณ์ และจะทำให้มนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้ จะต้องสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับในข้อนี้ โดยประการแรก ก็คือ สังคมจะต้องให้เกียรติมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการ รักษา ธรรมชาติ และสามัญสำนึกอันบริสุทธิ์ชองเขา และประการที่สองคือ การเปิดโอกาศให้ใช้ประโยชน์จาก สวัสดิการ และเนียมัตต่างๆ (ความโปรดปรานต่างๆ) ที่มีอยู่รอบตัวเขา
อิสลาม เป็นศาสนา ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของเกียรติ มนุษย์ ก่อนสำนักคิดใด และยังถืออีกว่า การที่สังคม ให้เกียรติมนุษย์ เป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญ เกียรติของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ เกียรติที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด(ความประเสริฐของมนุษย์ที่เหนือต่อสิ่งอื่น) และ เกียรติที่เขาแสวงหา จากการกระทำของเขา