6 หลักแห่งเสรี และอิสระในการเลือกของมนุษย์
เป้าหมายในการสร้างมนุษย์คือ การแสวงหาความสมบูรณ์ ในระบบสรรพสิ่งต่างๆ มนุษย์ผู้สมบูรณ์จึงมีความโดดเด่น และความเหนือกว่าเฉพาะ กว่า สรรพสิ่งอื่นๆ และสิ่งที่เป็นเหตุให้มนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์จึงโดดเด่น กว่าความสมบูรณ์ของสิ่งอื่นๆ นั่นก็คือ อิสระในการเลือกของเขา
ความสมบูรณ์ ของ พืช และสัตว์ นั้น ไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบที่พวกมันสามารถเลือกได้ เช่น ต้นไม้เติบโต และให้ผลผลิตของมัน โดยไม่มีความประสงค์ แน่นอนว่า บางส่วนของมนุษย์ ก็เติบโต และไปสู่ความสมบูรณ์ เหมือน พืช และบรรดาสรรพสัตว์ ซึ่งส่วนดังกล่าว ก็คือ ความสมบูรณ์ทางด้านวัตถุ ทว่า ความสมบูรณ์ที่แท้จริงของมนุษย์ มิใช่อื่นใด นอกจาก เขาจะต้องขวนขวาย และแสวงหามันด้วยการปฏิบัติ และด้วยความต้องการของเขาเอง ซึ่ง ความสมบูรณ์ที่แท้จริงดังกล่าว คือ เหตุที่ทำให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสิ่งอื่น และประเสริฐกว่าความสมบูรณ์ในด้านอื่นๆของเขา และไม่มีผู้ใดจะสามารถก้าวสู่ตำแหน่งนี้ได้ โดยปราศจากความรู้ และการบังคับ ก็ไม่อาจส่งผลใดๆ ที่จะทำให้ไปถึงตำแหน่งนี้ได้ ดังนั้น การจะไดมาซึ่ง ความสมบูรณ์ดังกล่าว จึงต้องผ่านเส้นทางของ อิสระในการเลือก และการกระทำของมนุษย์เอง จึงจะเป็นไปได้ ที่เขาจะไปถึงจุดนั้น
และจากเหตุผลนี้ หากพระเจ้า ได้กำหนด หรือ บังคับมนุษย์ ไว้ล่วงหน้า เป้าหมายในการสร้าง นั่นก็คือ การไปสู่ความสมบูรณ์ด้วยการเลือกของมนุษย์เอง ก็จะขัดกัน และบกพร่อง เพราะ การเลือก อย่างมีอิสระ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มนุษย์ อยู่ระหว่าง สองสิ่ง ดังนั้น วิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า และเป้าหมายการสร้างของพระองค์ จึงได้พิสูจน์ว่า มีพื้นฐานในการเลือกอยู่ในมิติหนึ่งของมนุษย์ เพื่อที่เขาจะสามารถ ตัดสินใจเลือกได้อย่างอิสระ และสามารถไปสู่ความสมบูรณ์ที่แท้จริงได้
อย่างไรก็ตาม เส้นทางหลากหลายนั้น มีเส้นทางหนึ่งที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายได้อย่างแท้จริง แต่ถ้าหากไม่มีเส้นทางอื่นเลย ก็มิอาจเรียกได้ว่า มนุษย์ได้เลือกเส้นทางสู่ความสมบูรณ์ได้ ดังนั้น การมีเส้นทางที่ตกต่ำ ก็เป็นสิ่งที่จะพัฒนามนุษย์ ให้ถึงขั้นของความสมบูรณ์ได้ในทางหนึ่ง
หลักทั้ง 5 ประการนี้ ซึ่งเราได้บรรยายไปแล้ว ได้แก่ หลักแห่งเตาฮีด หรือ หลักแห่งการถูกต้อง ,การพึ่งพิง ,ความจำเป็นต้องพึ่งพา, ความเป็นบ่าวของมนุษย์ ที่มีต่อพระเจ้า หลักแห่ง วิทยปัญญาของพระเจ้า หลักแห่ง ความเป็นอมตะนิรันด์ของวิญญาณ หรือ หลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างโลกนี้และโลกหน้า และหลักแห่งอิสระ ในการเลือกของมนษย์ หรือ อิสระในการเลือกเส้นทางที่จะนำเขาไปสู่ความสำเร็จ หรือความตกต่ำ ทุกหลักล้วนเป็นประเด็นทางปรัชญา หมายความว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ เป็นประเด็นที่สามารถค้นคว้าหาคำตอบ โดยระบบทางสติปัญญาบริสุทธิ์ ที่มีความคล้ายคลึงเกี่ยวกับ การหาคำตอบในเรื่องโลกแห่งอภิปรัชญา หรือ อภิปรัชญา นอกจากนี้ ยังมีหลักต่างๆอยู่ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ ระบบการให้คุณค่า หรือ ในอีกภาษาหนึ่งคือ อุดมการณ์อิสลาม ซึ่งนับเป็น หลักที่สำคัญทีสุดในการแก้ปัญหา เรื่อง จริยธรรม และสิทธิซึ่งได้ให้คุณค่าแก่ชีวิต อันได้แก่
7 หลักแห่งการใช้ชีวิตในรูปแบบสังคม
การจะไปถึง ความสมบูรณ์ที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องพึ่งพา ชีวิตทางสังคม แน่นอนว่าสำหรับผู้ที่อ้างว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในรูปแบบสังคมนั้น การออกห่างจากสังคมจึงไม่ใช่วิถีของมนุษย์ แต่ข้ออ้างดังกล่าวบางครั้งมักจะเกินเลยไปว่า หากปราสจากชีวิตแบบสังคม มนุษย์จะไม่อาจดำรงอยู่ได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
เราเชื่อว่า หากมนุษย์ละทิ้งชีวิตทางสังคม และใช้ชีวิตอยุ่ตามลำพัง เขามิอาจไปสู่ความสมบูรณ์ได้ เพราะในความสำเร็จ และความสุขที่สมบูรณ์ของมนุษย์ คือ การใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งมนุษย์จะต้องเลือกระหว่างสองเส้นทางตลอดเวลา และนั่นก็เป็นพื้นฐานในการเลือก และการตัดสินใจของเขา และหาก มีเครื่องมือ หรือสื่อที่จะนำเขาไปสู่ความสมบูรณ์ เมื่อนั้นสังคมก็คือ บทพิสูจน์ที่ชัดเจนถึง การเรียนรู้ และการอบรม และการเคลื่อนไหวในเชิงความรู้ และความคิด และวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งนี้ไม่มีสิ่งใดสามารถรองรับได้ นอกจากจะต้องอาศัย “สังคม”
มนุษย์ทุกคน หากไม่ใช่ ประโยชน์จากมรดกทางความรู้ อย่าง วิชาปรัชญา วิชาศาสนา วิชาทางด้านสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือวิชาในแขนงอื่นๆที่จะให้ประโยชน์ต่อตัวเขา เขาไม่สามารถเข้าใจถึงความสมบูรณ์ของชีวิต และจะไม่มีทางหาความสมบูรณืนั้นเจอ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชีวิตทางสังคม คือ ฐานในการรวบรวม และเตรียมความพร้อมให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ ทั้งในด้านวัตถุ และจิตวิญญาณ แน่นอนว่า สังคม ย่อมดีกว่า การใช้ชีวิตลำพัง และจากจุดนี้ มนุษย์ที่ต้องการพัฒนาตนสู่ความสมบูรณ์จึงต้องเลือกชีวิตทางสังคม
ความเชื่อ จะส่งผลในเชิงบวก ให้กับชีวิตทางสังคม ในการแสวงหาความสมบูรณ์ของมนุษย์ ผลของความจริงอันนี้ จึงทำให้ มนุษย์เราพิจาณาในการนำ สิทธิต่างๆมาตั้งเป็นกฎไว้ในสังคม และระบบสิทธิมนุษยชนหลักของมนุษย์ ในด้านหนึ่ง ก็มีหลักมาจาก การพิจารณาความจริงแท้ในด้านนี้ของชีวิตมนุษย์ และหาก กฎสิทธิมนุษยชนใดก็ตามที่ละเลยในการพิจารณาชีวิตทางสังคมของมนุษย์ ย่อมไม่อาจสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับ ผู้อยู่ภายใต้กฎนั้นได้ หมายความว่า หากกฎอันนี้ ไม่มีบันทึก หรือกล่าวถึง หน้าที่ของตนที่มีต่อผู้อื่น หรือ หน้าที่ของผู้อื่นที่มีต่อตน กฎอันนั้น ก็ย่อมจะไม่สมบูรณืและไม่อาจใช้ได้จริง ในคำศัพย์ศาสนาเราเรียกว่า “ตักลีฟ”
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การยอมรับหลักแห่งสังคม ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการยืนยัน ถึง สิทธิมนุษยชน และหน้าที่ของมนุษย์ และสิ่งที่เขาจะต้องทำการปฏิบัติต่อมัน
8 หลักในการพิจารณาถึงความจำเป็นในการมีกฎหมาย
จากข้อพิสูจณ์ที่ว่า มนุษย์ จะไปสู่ความสมบูรณ์ได้ ต้องอาศัย สังคมเป็นพื้นฐาน เหตุนี้ ความมั่นคงของสังคม และระบบทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จะต้อง ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อจำกัดอิสระของมนุษย์ แต่ถ้าหากทั้งโลกนี้ มีมนุษย์อาศัยอยู่เพียงคนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องวางกฎหมายใดๆ เพื่อจำกัดอิสระของมนุษย์ จากการใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัวของเขา แต่ถ้าหากไม่เป็นเช่นนี้ และในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้ มนุษย์เรานับแต่วันแรก อาศัยใช้ชีวิตบนโลกนี้ในรูปแบบสังคม จากเหตุผลดังกล่าว จึงมีสองทางเลือกให้กับมนุษย์คือ
เขาสามารถใช้ชีวิตอย่างมีอิสระโดยสมบูรณ์ และไม่มีสิ่งใดจะยับยั้งเขาได้ ไม่ว่าเขาจะต้องการอะไรก็ตาม และไม่มีรูปแบบทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ เมื่อสังคมเกิดขึ้น จำเป็นต้องจำกัดอิสระของมนุษย์ เพราะระหว่าง ชีวิตอิสระอย่างไร้ขอบเขตของบุคคลหนึ่ง ไม่สามารถเข้ากันได้ กับ การอยู่ร่วมกันในสังคม ตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าหากคนๆหนึ่ง ได้ปฏิบัติกับผู้อื่น โดยสอดคล้องกับความต้องการของตัวเองอย่างไร้ขอบเขต และได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและวัตถุ ต่อสิ่งที่เขามี อย่างอิสระโดยไม่มีขอบเขตแล้ว โดยหลักแล้ว สังคมจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ เพราะความต้องการของเขา คือจุดศุนย์กลาง ไม่ใช่ความต้องการของสังคม ดังนั้น การจะสร้างสังคมขึ้นมา และรักษารุปแบบชีวิตทางสังคมให้สำเร็จได้นั้น ต้องวางขอบเขตในการจำกัดอิสระของมนุษย์ หรือของปัจเจก มิให้ความต้องการของเขาไปเบียดเบียนสิทธิของผู้อื่น กล่าวอีกทางหนึ่งคือ ชีวิตในรูปแบบสังคม เป็นชีวิตที่มีกฎและขอบเขต และการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ ความจำเป็นที่จะต้องไม่ละเลย
โดยสรุปแล้ว ชีวิตในรูปแบบังคมของมนุษย์ คือชีวิตที่เหมาะสม เพื่อค้นหาความสมบูรณ์ของมนุษย์ และการดำรงรักษาชีวิตทางสังคม จะต้องปฏิบัติด้วยการรักษา กฎและขอบเขต ทางสังคม และผลสรุปก็คือ การมีกฎหมายสำหรับบ้านเมืองนั้น คือสิ่งจำเป็นโดยสมบูรณ์ และกฎหมายจะเป็นตัว แบ่งสันปันส่วนผลประโยชน์ส่วนบุคคลอย่างยุติธรรม ทั้งผลประโยชน์จากทางวัตถุ หรือธรรมชาติ
9 หลักแห่งความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่และดำรงซึ่งสิทธิ
ความหมายของ การปฏิบัติ หน้าที่ และดำรงซึ่งสิทธินั้น เป็นกฎทางสังคมสองสิ่งที่สะท้อนต่อกัน ในด้านหนึ่งหลักอันนี้คือการพิสูจน์ถึงสิทธิและอิสระในการเลือกของบุคคลหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่ง หลักอันนี้เป็นการพิสูจน์ ถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบ ในเชิงว่า สิทธิและภาระหน้าที่ เป็นสองสิ่งที่เชื่อมโยงกัน เมื่อพิสูจน์ถึงสิทธิหนึ่งได้ มนุษย์ย่อมมีหน้าที่ในการปฏิบัติถภารกิจนั้น และการพิจารณาเช่นนี้ ก็เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสติปัญญาของมนุษย์ เมื่อ สติปัญญา ได้ให้คุณค่าถึงสิ่งหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีภาคปฏิบัติตามมา หมายความว่า สิ่งที่ปัญญาได้ให้คุณค่าอย่างถูกต้อง และมีเหตุผล มนุษย์จะมีหน้าที่ ต่อสิ่งนั้น ที่จะต้องปฏิบัติและระมัดระวังต่อสิทธินั้นอย่างเคร่งครัด และหากพิสูจน์ถึงสิทธิหนึ่งได้ แต่ไม่ปฏิบัติมัน การงานดังกล่าวก็จะไร้ค่า เช่น หากมนุษย์ที่อาศัยใช้ชีวิตอยู่บนโลก ได้ถือว่า การยืนยันในเรื่องสิทธิ สำหรับ เขาเป็นสิ่งที่ไร้ค่า หากเขาอยู่บนโลกนี้เพียงผู้เดียว แต่เมื่อมีมนุษย์อีก เขาก็ต้องมีรักษาสิทธิของผู้อื่น และถ้าเขาเข้าใจถึงจุดนี้ แต่ไม่ปฏิบัติมัน ความเข้าใจ ก็จะไม่ให้ประโยชน์ใดๆสำหรับภาคปฏิบัติของเขา
แน่นอนว่า เป้าหมายของ “สิทธิ” ใน ที่นี้ คือ สิทธิทางสังคม ซึ่งไม่ครอบคลุมสิทธิทางจริยธรรม และศาสนา และโดยหลักแล้ว สิทธิ หนึ่ง เมื่อถูกยอมรับและให้ความเชื่อถือ มนุษย์จะต้อง เคร่งครัดในการปฏิบัติตตามสิทธินั้น มนุษย์จะต้องใส่ใจในสิ่งที่อยู่รอบตัวเขา และด้วยเหตุนี้ บรรดาสัตว์ พืช จึงมีสิทธิห้อมล้อมมันอยู่เช่นเดียวกัน และมนุษย์ ก็จะต้องรักษาสิทธิเหล่านั้น เช่น หากสัตว์สี่ขา จะต้องไม่ถูกใช้งานหนักเกินความสามารถของมัน หรือ จะต้องไม่ปล่อยให้สัตว์หิว และกระหาย หรือ แผ่นดินที่แห้งเหี่ยวจะต้องถูกฟื้นฟูดูแล ให้ความชุ่มชื่น
การเชื่อมโยง และความจำเป็นต่อกันระหว่าง สิทธิ และภาระหน้าที่ มีบทบาทอย่างดีในกฎทที่ถูกวางไว้ และภาระหน้าที่ ใน วิชา อูศูลฟิกฮ ซึ่งนักวิชาการ วิชา อูศูล คือ ผู้ที่ทำการศึกษา ว่า สิ่งใด คือ ที่มาของอีกสิ่งหนึ่ง และกฎอะฮกามบางส่วน ก็กำหนดไว้ เป็น ศาสนบัญญัตอันเป็นหน้าที่ และบางส่วนก็ไม่ถือเป็น ภาระหน้าที่ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ
อย่างไรก็ตามความหมายของ ความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมาย และขอบเขต ในทางสังคม คือ การสร้างความชัดเจน ในเรื่องของสิทธิ และภาระหน้าที่ ในสังคม ดังนั้น การอ้างถึง สิทธิ,อิสระ,การเผิกเฉย,หรือการร่วมกันเพิกเฉย, จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ และไม่อาจเข้ากันได้ กับ ภาระหน้าที่ และสิ่งที่มนุษย์จะต้องรับผิดชอบ
10 หลักในการรักษาโครงสร้างต่างๆ
การดำรงรักษาสังคม และความต่อเนื่องของชีวิต จำเป็นต้องยอมรับ กฎ และ ขอบเขต ของสิทธิต่างๆ และจำเป็นต้องพิสูจน์ถึงสิทธิโดยรวม และหน้าที่
การวางขอบเขตในเรื่องของ สิทธิ จะต้องเป็นสิ่งที่ชัดเจน และสังคมก็ต้องการ มาตรฐาน และโครงสร้างในรูปแบบหนึ่ง เพื่อทำให้ผู้คนในสังคมนั้น สามารถรักษาโครงสร้างเหล่านั้นได้
โดยสรุปแล้ว โครงสร้างดังกล่าว จึงแบ่งเป็นสองประเภทคือ ด้านคุณภาพ และปริมาณ เราจะต้องกล่าวกับทุกคน และทุกกลุ่มในสังคมว่า พวกท่านจะต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัว อย่างมีขอบเขต และคำกล่าวเช่นนี้ ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างยอมรับ และให้ความเหมายเชิงบวก ที่จะเป็นตัวยืนยันว่า บุคคล หรือ กลุ่ม จะต้อง ระมัดระวัง และรักษาในสิทธิต่างๆ
11 หลักแห่งเสรี
ความสมบูรณ์ที่แท้จริง ซึ่งเฉพาะกับมนุษย์ จะต้องก้าวไปด้วยเส้นทางของอิสระในการเลือกเท่านั้น และจะได้มันมาจำต้องเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยวิธีนี้
ยิ่งวาง “อิสระ” เป็นพื้นฐาน ในการเลือกได้มากเท่าไหร่ ความสมบูรณ์ ก็จะประเสริฐ และมีคุณค่ามากเท่านั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อการไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ มีอิสระ เป็นพื้นฐาน การกระทำและภาคปฏิบัติของเขา ก็เกิดจาก อิสระ อันนั้น และรูปแบบนี้ จึงเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดในการแสวงหาความสมบูรณ์
เหตุนี้เอง การบริหาร และจัดการสังคม จึงต้อง กำหนดในรูปแบบ ที่สามารถ ให้อิสระแก่มนุษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเขาได้
แม้กระทั้ง การกระทำ. ที่สำคัญ และจำเป็น ก็ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการนำเสนอ เพื่อให้ประชาชนสามารถ เลือกที่จะกระทำได้ เพราะการงานใดก็ตามที่เกิดปราศจาก การบังคับ ย่อมไปถึงเป้าหมายได้ดี
เช่น หากกำหนดให้ การปฏิบัติทางเศรษฐกิจ อยู่ในรูปแบบเฉพาะ หรือ การกำหนดให้รายได้บางส่วนของประชาชน เป็นส่วนของโดยรวม หรือ การเลือกบางคนให้ทำงานเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับประเทศ ทุกอย่างนี้จะต้องเริ่มจากการความสมัครใจเป็นอันดับแรก เพื่อให้คนที่ต้องการแสวงหาความสมบูรณ์สามารถ สามารถไปถึงจุดนั้นได้ และสังคมเองก็ปฏิรูปไปในแนวทางที่ถูกต้อง แนวทางนี้ เป็นแนวทางที่ดีกว่า แนวทางแบบเผด็จการ ซึ่งได้จำกัดเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้าน และในท้ายที่สุด แนวทางนี้ ก็ไม่อาจมอบความมั่นคง และความปลอดภัย ให้กับสังคมได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ความสมบูรณ์ของปัจเจก หรือตัวบุคคลก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
จากจุดนี้ จึงจะเห็นได้ว่า กิจการทางสังคมนั้น มีความหลากหลาย น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสภาพและการกระทำของคนอื่นๆ เราอนุมานได้เลยว่า ถ้าหาก ประชาชนเผชิญกับ แรงเสียดทาน และการกดดัน พวกเขาจะละทิ้งสถานะของตัวเองอย่างแน่นอน และด้วยเหตุนี้การมีผู้นำคุมกฎ ที่อยู่ในทางสายกลางจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
และในบทสรุปก็คือ ทุกการกระทำที่มนุษย์ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่างอิสระ อย่างสมัครใจ จะทำให้เขาเข้าใกล้ความสมบูรณ์ไปอีกขั้นหนึ่ง ดังนั้น ระบบสิทธิมนุษยชน ที่ถูกต้อง จะต้องเป็นระบบที่ ให้อิสระกับประชาชน เพื่อให้พวกเขา สามารถเลือกเส้นทางชีวิต สาขา อาชีพ การงาน และหน้าที่ในสังคมได้ อย่างมีอิสระ และด้วยความสมัครใจ เพื่อเป็นฐานรองรับในการพัฒนาไปสู่ ความสมบูรณ์ที่แท้จริง
12 หลักแห่งความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการปกครอง
ความคิดที่มนุษย์คนหนึ่ง ได้รับจากการปลูกผัง และอบรอม อย่างถูกต้อง จะสามารถ นำเขาไปสู่จุดที่ ห่างไกล จากความเห็นแก่ตัว ,การปัดความรับผิดชอบ ,และการพิจารณาถึงส่วนรวม และทำให้คิดในสิ่งที่ถูกต้อง และสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ผู้อื่น
ความจริงก็คือ ในทุกๆสังคม จะต้องมีกลุ่มบุคคลที่ ทำในสิ่งที่ตรงข้าม กับความถูกต้อง ทั้งในเรื่อง วัตถุ หรือ จิตวิญญาณ มีคนเห็นแก่ตัว ไม่สนใจต่อผู้อื่น และการให้อิสระอย่างไร้ขอบเขตกับคนแบบนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งที่ผิดเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างพื้นฐานในการทำลายสังคมอีกด้วย
เพราะ ไม่ใช่มนุษย์ทุกคนที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างสมัครใจ หรือ ด้วยความต้องการของตัวเอง จึงจะต้องมี สิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักประกัน ในการสร้างสังคมที่สามารถพัฒนามนุษย์ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ ความจริงอันนี้ การมี ระบบการปกครองที่ทรงธรรม จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งระบบการปกครองนี้อยู่ในสถานะที่จำเป็นสำหรับทุกสังคม และใครก็ตามที่ไม่สามารถ ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นคุณธรรมด้วยการเลือกของเขาเองได้ ระบบดังกล่าว จะเป็นตัวปรับพวกเขาให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้เป้าหมายในการสร้างของเขา มีความหมาย
แน่นอนว่า ไม่มีใครมีสิทธิ ที่จะอ้างว่า ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการปกครอง เป็นเหตุทำให้เขาสร้างระบบหนึ่งขึ้นมา เพราะระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ช้า ก็เร็ว มันจะเห็นถึงความไม่เหมาะสม และไม่คู่ควรกับมนุษย์ มีเพียง ระบบการปกครองที่ถูกวางมาตรการจาก พระผู้เป็นเจ้า เท่านั้น จึงจะชอบธรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สรุป ประเด็นในหัวข้อนี้
การเสวนา ในเรื่องพื้นฐานของ สิทธิ และ ภารกิจหน้าที่ ของมนุษย์ จะต้อง พิจารณาและทำความเข้าใจ ต่อหลักต่างๆที่จะเป็นโครงสร้างในสิทธิ และภารหน้าที่ ต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน และหลักการ ในการสร้างระบบสิทธิมนุษยชน หลักต่างๆที่ได้นำเสนอไปแล้ว มีสัญลักษณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง ระหว่าง โลกทัศน์ และสิทธิมนุษยชน
และในอีกด้านหนึ่ง ศูนย์รวมระบบต่างๆของคุณค่า ต่างๆ ก็มีความสัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน เช่นการให้คุณค่า ในเรื่องของ หลักแห่ง เตาฮีด ,วิทยปัญญาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ,ความเป็นอมตะของมนุษย์, ความสัมพันธ์ระหว่างโลกนี้และโลกหน้า, ความมีอิสระในการเลือกของมนุษย์ซึ่งมีรูปแบบทางปรัชญา และตรรกะ,ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับผู้สร้าง,เป้าหมายในการสร้างมนุษย์ ,การแสวงหาความสมบูรณ์
ต่างๆเหล่านี้ เป็นโลกทัศน์ทางศาสนา ที่ถูกวางอยู่บนพื้นฐาน ของ สติปัญญา ตรรกะ และเหตุผล ส่วนหลักกทางด้าน การใช้ชีวิตในรูปแบบสังคม,ความจำเป็นของกฎหมาย,ความจำเป็นต่อการมีระบบการปกครอง, ภารกิจและหน้าที่,อิสระในการเลือก ,การให้ความสำคัญต่อโครงสร้างต่างๆ ทั้งปริมาณ และคุณภา ในการวิเคราะห์ และพิจารณา ในเรื่องศีลธรรม และบทบาทของ สิทธิ ในเรื่องของชีวิต ต่างๆเหล่านี้ จัดอยู่ในหมวดของ อุดมการณ์ อิสลาม
จบประเด็น โครงสร้างหลักในสิทธิมนุษยชนอิสลาม