อนาคตตะวันออกกลางปี 2015 กับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของอิหร่าน

3174

หนึ่งในนักวิเคราะห์ซีไอเอได้ทำนายถึงสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ไว้ ซึ่งพวกเขาได้ชี้ไปยังบทบาทและอิทธิพลของอิหร่านที่จะมีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

เกรแฮม ฟุลเลอร์ ที่ได้ทำการวิจัยสถานการณ์ต่างๆในตะวันออกกลางมาอย่างมากมาย และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เขียนและตีแผ่บทความที่มีชื่อว่า “โลกที่ไร้ซึ่งอิสลาม” ในบทความหนึ่งที่เขาเขียนขึ้นในเว็ปบล็อกของเขาเอง ซึ่งเขาได้คาดการณ์ถึงสภานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2015 ไว้ดังนี้

อิทธิพลและอำนาจของไอซิลจะลดลงในภูมิภาคนี้

หลายครั้งที่ผมเคยกล่าวว่า ผมเชื่อว่า ดาอิชไม่มีความสามารถพอที่จะสถาปนาประเทศตนเองขึ้นมาได้ ขบวนการนี้มีปัญหาหลักๆอยู่ ทั้งทาง ทรรศนะคติ อุดมการณ์ทางความคิด การเข้าทำงานร่วมกันทั้งกับสถาบันทางสังคมและการเมือง และ ขั้นตอนการเลือกผู้นำ และพวกเขาไม่มีความสามารถที่จะสานสัมพันธ์กับประเทศหนึ่งประเทศใดในภูมิภาคนี้ได้ นอกจากนี้ แม้ขบวนการไอซิลจะมีความสัมพันธ์อยู่มากกับมุสลิมชาวซุนนี แต่ประเด็นหนึ่งที่เขาละเลย คือการสร้างความแตกแยกและความไม่พอใจในระหว่างขบวนการต่างๆของมุสลิมชาวซุนนีในอิรักและซีเรีย ด้วยเหตุนี้ขบวนการไอซิลจึงถูกลอยคอจากขบวนการอื่นๆ

นักวิเคราะห์อาวุโสของซีไอเอได้อ้างถึงเหตุผลสามประการที่นำสู่การทำลายไอซิล

ดาอิช คือ รัฐบาลหนึ่งที่ไม่มีความพร้อมที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืน และหนึ่ง คือ ขาดอุดมการณ์ที่สามารถดึงดูดประชาชน

สอง คือ ดาอิชขาดความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกันได้

สาม คือ การปฏิบัติการต่างๆของดาอิชเป็นเหตุนำสู่ความแตกแยกของเหล่ามุสลิมซุนนี ซึ่งเป็นมุสลิมส่วนใหญ่ของโลกอิสลาม

ฟุลเลอร์ เชื่อว่า การต่อสู้และบทบาทของตะวันตกในการต่อสู้ครั้งนี้กับดาอิชมีผลในเชิงลบ

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของอิหร่านซึ่งกลายเป็นตัวแสดงหลักของภูมิภาคไปแล้ว

แม้จะมีอุปสรรคอยู่อย่างมากมาย แต่ผมมีมุมมองในแง่บวกเกี่ยวกับการเจรจาระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน ผมเชื่ออว่าทั้งสองประเทศจะต้องประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองระหว่างพวกเขา อีกแง่มุมหนึ่ง คือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศถือเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์มหาศาลในการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ เฉพาะอิหร่านและตุรกีเท่านั้นที่เป็นประเทศในตะวันออกกลางที่มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง และได้รับความนิยมและไว้วางใจจากประชาชน สองประเทศนี้ไม่เหมือนกับประเทศอาหรับอื่นๆ สองประเทศนี้แม้จะตกอยู่ในความตรึงเครียดต่างๆอย่างมากมายแต่ทั้งสองประเทศก็ไม่เคยตกอยู่ในสภาวะสงครามโดยตรง อิหร่านคือประเทศเดียวในตะวันออกกลางซึ่งหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติได้สร้างฐานอำนาจตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศอาหรับทุกๆประเทศได้กระทำกัน

อิทธิพล เรเซฟ ตอยยิป เออร์โดกัน จะลดลงในตุรกี

อิทธิพลของ เรเซฟ ตอยยิป เออร์โดกัน ในหมู่ประชาชนจะลดวูบลง และในอนาคตเขาจะจมอยู่ในข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต ในประเด็นนี้ก็เช่นเดียวกันชี้ให้เห็นว่า เออร์โดกัน ได้มีการพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหลายครั้งหลายคราเพื่อประโยชน์ของตนเอง ซึ่งเรียกมันว่า เก็บค่าส่วยตุรกี ประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของเอร์โดอาน ถือเป็นสิ่งอันตรายนอย่างมากต่อความมั่นคง ความเสถียรภาพ กระบวนการประชาธิปไตยของตุรกี

บทบาทสำคัญของรัสเซียในตะวันออกกลาง คือ ข้อตกลงทางการทูต

รัสเซียผู้ถือกุญแจใบหนึ่งที่มีความสามารถแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านและปัญญาวิกฤติของซีเรีย และเป็นการดีกว่าที่จะยอมรับฐานะของประเทศนี้ว่า ผู้ทรงอิทธิพลสำคัญ แต่ไม่ใช่ว่ารัสเซียจะเป็นตัวสร้างความตรึงเครียดต่างๆ (สงครามเย็นครั้งใหม่) ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

ตาลิบันจะมีอำนาจมากขึ้นในรัฐบาลอัฟกานิสถาน

ตาลิบันจะยึดเอาอำนาจจากรัฐบาลและนี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของสหรัฐในการรักษาเสถียรภาพของประเทศนี้หลังจากสงคราม 13 ปี หลังจากสงคราม 13 ปีบทบาทของสหรัฐล้มเหลวลงเกี่ยวกับความปลอดภัยในอัฟกานิสถานและการให้ความสำคัญกับอิทธิพลของตาลิบันในประเทศนี้ ตาลิบันเป็นอะไรที่มากกว่ากองกำลัง ขบวนการนี้แหล่งอำนาจหลัก คือ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาว โปชโตน ชาวโปชโตนสูญเสียอำนาจหลังจากที่ขบวนการตาลิบันพ่ายแพ้ลงในปี 2001 สถานการณ์ปัจจุบันของอัฟกานิสถานอยู่ในรูปแบบที่ว่า เป็นการหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่จะให้ตาลิบันเข้าไปมีอำนาจการปกครองอีกครั้ง และดูเหมือนว่าการปรากฏตัวของขบวนการนี้เป็นตัวสร้างประโยชน์และความมั่นคงขึ้นในอัฟกานิสถาน

 

ที่มา http://www.mehrnews.com