ดิเอนดิเพนเดนท์รายงานมุมมองสื่อ กรณีผู้นำของโลกกว่า 40 ประเทศได้ร่วมกับประชาชนกว่าล้านคน ทำการเดินขบวนเพื่อไว้อาลัยแก่เหยื่อที่ถูกยิงตายในกรุงปารีสเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
“ในขณะที่ภาพของ ฟร็องซัว ออล็องด์, เดวิด คอเมรอน, เองเจล่า เมอเคิล และผู้นำคนอื่นๆ ที่เกาะแขนกันอยู่นั้น บรรณาธิการของนิตยสารไทม์ได้เรียกสิ่งนี้ว่าการแสดง “เอกภาพในความชั่วร้าย” ซึ่งการแสดงนี้ก็ยังคงปราศจากการโต้เถียงใดๆจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง” ดิเอนดิเพนเดนท์ รายงาน
“และอย่าได้เสียใจไปสำหรับบรรดาผู้นำที่เข้าร่วม เมื่อประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า “ได้ทำให้โลกผิดหวัง” ด้วยการที่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมเดินขบวนที่ฝรั่งเศสได้” นี่เป็นพาดหัวข่าวจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คเดลี่ (New York Daily)
ในขณะนี้ได้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันสำหรับภาพที่ปรากฏออกมาในการเดินขบวนของบรรดาผู้นำ ที่ถูกแสดงในมุมกว้างจากการรายงานข่าวของทีวีฝรั่งเศส
ซึ่งได้ถูกแสดงให้เห็นว่า แถวหน้าสุดประกอบไปด้วยบรรดาผู้นำจากชาติต่างๆ และด้านหลังมีเพียงไม่กี่แถวที่ประกอบไปด้วยบรรดาบุคคลสำคัญและเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นก็จะเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยจำนวนมากที่ยังคงเว้นระยะพอสมควรระหว่างบรรดาบุคคลสำคัญกับเหล่าฝูงชนที่มาร่วมเดินขบวน
มาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับบรรดาผู้นำประเทศถือเป็นเหตุผลที่ดี แต่สำหรับนักวิเคราะห์ทางการเมืองได้ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ทำให้เกิดข้อสงสัยก็คือจริงๆ แล้วบรรดาผู้นำเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินขบวนในครั้งนี้หรือไม่
บอร์ซู ดาราฆาฮี (Borzou Daragahi) ผู้สื่อข่าวของ Financial Times ในภาคพื้นตะวันออกกลางได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ดูเหมือนว่าบรรดาผู้นำของโลกจะไม่ได้ “นำ” การเดินขบวนเพื่อไว้อาลัยต่อชาร์ลี เอบโด ในปารีส แต่เป็นการแสวงหาโอกาสในการเก็บรูปภาพอย่างเป็นทางการบนความว่างเปล่า หรือไม่ก็เดินเพื่อปกป้องถนน”
เอียน เบรมเมอร์ (Ian Bremmer) นักรัฐศาสตร์และผู้ก่อตั้งกลุ่มยูเรเซีย (Eurasia Group) ได้กล่าวว่า “ทุกคนล้วนเป็นผู้นำของโลก แต่ไม่ใช่ “ที่” การชุมนุมในปารีสอย่างแน่นอน”
และอีกคำวิจารณ์จากเกอรี่ ฮัสซัน(Gerry Hassan) นักวิเคราะห์ชาวอเมริกาได้เรียกการมีส่วนร่วมของบรรดาผู้นำชาติต่างๆว่า “ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการหลอกลวง”
ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเก้าประเทศจากทั้งหมด ที่เป็นตัวแทนของบรรดาผู้นำและบุคคลสำคัญในการเดินขบวนเพื่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน คือประเทศของตนเองที่อยู่ในกลุ่มลำดับล่างสุดในการให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชนตามดัชนีชี้วัด (รวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน)
แต่ท่ามกลางการวิจารณ์ทั้งหมด ต้องขอยกให้แก่นักเรียนคนหนึ่งที่มีชื่อว่าเอ๊กเซล ฟูกเนอร์ (Axel Fougner) กับการแสดงความคิดเห็นที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของความคิดเห็นอันหลากหลายในโลกแห่งสังคมออนไลน์ ซึ่งเขาได้เขียนไว้ว่า “ผู้นำของโลกที่เลวร้ายที่สุดได้ปรากฏให้เห็น ณ กรุงปารีส ไม่ว่าพวกเขาจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถจะทำให้ความบริสุทธิ์ใจของผู้คนนับล้านที่มาเดินขบวนเพื่อ “เราคือชาลี” (jesuischarlie) ลดน้อยถอยลงได้”