ราช์วงศ์ซาอุฯ เป็นหนึ่งในครอบครัวที่มีอิทธิพลและบทบาทอย่างสูงในอำนาจการปกครองของซาอุดิอาระเบีย หนึ่งในคุณลักษณะด้านประวัติศาสตร์ของครอบครัวนี้คือ ประกอบด้วยหลายชนเผ่าที่มีความแตกต่างและหลากหลายในองค์ประกอบโครงสร้าง ซึ่งมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งในการกำหนดอำนาจและการปกครอง
บุคคลในครอบครัวซาอุฯ มีหลากหลายและมีจำนวนมาก ซึ่งจำนวนบุรุษที่เป็นตัวหลักและตัว รองมีมากถึง 20,000 -25,000 คน ความหลากหลายและจำนวนคนในราชวงศ์ที่มีจำนวนมากถึงขนาดนี้นั้น ย่อมเกิดการแข่งขันช่วงชิงอำนาจสูงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา เช่นกรณีตัวอย่าง ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่าง กษัตริย์ซาอูด กับไฟศอล และเจ้าชายฏอลาล ในปี 1958 -1964
ราชวงศ์ซาอูด ประกอบด้วยกิ่งก้านสาขาครอบครัวหลักและครอบครัวย่อยดังนี้
1 สาขาเผ่าครอบครัวที่มาจาก “ ม็อคเรน บิน มัรญอน บิน อิบรอฮีม” ซึ่งเป็นปู่ทวดของครอบครัว แต่ไม่นับเป็นลูกหลานของซาอูด บิน มุฮัมมัด บิน ม็อคเรน สาขาครอบครัวนี้ไม่มีบทบาททางการเมืองในสังคมซาอุฯ
2 สาขาครอบครัวย่อย ที่มีความสัมพันธ์กับ “ซาอูดบิน มุฮัมมัด บิน ม็อคเรน” เป็นบิดาของมุฮัมมัด บินซาอูด ผู้สถาปนาซาอุดิอาระเบียครั้งแรก ประกอบด้วย อาลีมุฮัมมัด บินซาอูด -อาลีซานียาน – อาลี มาชารีและ อาลี ฟัรฮาน
ฝ่ายอาลี ซานียาน มีอำนาจ เนื่องจากผูกญาติกับครอบครัวซุดัยรีย์ และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากสืบเชื้อสายจากตระกูล อาลีเชค์ เพราะทั้งสองตระกูลนี้มีการแต่งงานระหว่างสองตระกูลกันอย่างแพร่หลายและวงกว้าง
3 ตระกูลย่อยจาก “อิมามตุรกี บินอับดุลลอฮ์ บิน มุฮัมมัดบินซาอูด” ผู้สถาปนารัฐซาอูดครั้งที่สอง ประกอบด้วย อาลี ญัลวา อาลีตุรกี อาลีไฟศอล ซึ่ง สายตระกูล อาลีตุรกี อาลีไฟศอล มาจาก อาลี อับดุลรอฮ์มาน บินไฟศอล และอาลี ซาอูด บินไฟศอล คือ “ซาอูด อัลกะบียร์”
การที่ “ซาอูดอัลกะบียร์” ถูกนับรวมในหมู่ตระกูลราชวงศ์ซาอูด เพราะหญิงคนหนึ่ง นามว่า “นูรอ” เป็นน้องสารของอับดุลอาซิส และเป็นภรรยาของ ซาอูด อัลกะบียร์ ในทัศนะของอับดุลอาซิสถือว่าน้องสาวคนนี้ “นูรอ” เป็นคนโปรดที่สุดในบรรดาน้องสาวและพี่สาวของเขา ด้วยเหตุนี้จึงพยายามให้สายตระกูลนี้ ขึ้นมามีอำนาจและมีบทบาทในประเทศ
ส่วน อาลี ญัลวา ก็เป็นตระกูลย่อย แต่มีอิทธิพลและอำนาจในราชวงศ์ซาอูด ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก ญัลวาคนน้อง ที่สืบเชื้อสายจาก ไฟศอล ปูของอับดุลอาซิส และลูกหลานของตระกูลญัลวา ก็มีส่วนร่วมในการพิชิตกรุงริยาด ในปี 1902
ปูของตระกูลนี้ “ญัลวา” เป็นตัวแทนของอิบนุซาอูด ในการทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหาร และมีความร่วมมือในการยึดตะวันออกของคราบสมุทรอาหรับ และในวันนี้ตระกูลนี้สามารถครอบครองและมีอำนาจในทางภาคตะวันออกของประเทศ
ระหว่างตระกูล อาลี ญัลวา กับสองตระกูล อาลีซะดีรีย์และ อาลีศานิยาน เคยมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมาแล้ว หนึ่งในกรณีตัวอย่างที่เด่นชัด คือ หลังจากที่ไฟศอล ถูกลอบสังหาร ซึ่งถือว่าตำแหน่งกษัตริย์จะต้องตกเป็นของครอบครัวญัลวา แต่เมื่อคอลิด ได้เสียชีวิตลงในปี 1982 ครอบครัวฝ่ายญัลวามีความเข้มข้นลดน้อยลงในการจะได้บังลังค์ อันเนื่องจากปัญหภายในบางประการ
4 สายตระกูลหลัก ที่เกี่ยวข้องโดยตรงยังลูกหลานของกษัตริย์ อับดุลอาซิส บิน อับดุลรอฮ์มาน ผู้สถาปนารัฐซาอูดครั้งที่สาม ซึ่งบุคคลในตระกูลนี้ล้วนแล้วถูกเรียกว่าเจ้าชาย “ผู้สูงศักดิ์”
ครอบครัวภายในตระกูล
บนพื้นฐานของการแย่งชิงอำนาจของลูกหลานกษัตริย์ อับดุลอาซิส ซึ่งตระกูลเชื้อสายหลักที่มีการแย่งชิงอำนาจมีด้วยกันสามตระกูลดังนี้
1 ฝ่ายสุดัยรีย์ กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในตระกูลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในราชวงศ์ซาอูด อัลสุดัยรีย์ เป็นเผ่าอาหรับหนึ่งโดยปรากฏตัวขึ้นหลังจากที่ผู้นำเผ่าชื่อว่า อะห์มัด บิน มุฮัมมัด อัลสุดัยรีย์ ได้ผูกสัมพันธ์กับครอบครัวของผู้ปกครอง และตระกูลนี้เป็นตระกูลแรกที่ให้การปกป้องสนับสนุนกษัตริย์อับดุลอาซิส
ลูกชายของอับดุลอ่ซิส ได้แต่งงานกับลูกสาวของอะห์มัด บิน มุฮัมมัด อัลซะดีรีย์ นามว่า ฮุศศอฮ์ ผลของการแต่งงานของทั้งสองทำให้มีบุตรหญิงหลายคนและบุตรชาย 7 คน ซึ่งเป็นที่ถูกรู้จักในนาม เจ้าชาย 7 องค์
สายตระกูลนี้ ประกอบด้วย
-ฟาฮัด อดีตกษัตริย์คนที่เสียชีวิตแล้ว
-ซุลฎอน บิน อับดุลอาซิส อดีตมกุฎราชกุมารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(เสียชีวิตแล้ว)
-อับดุลรอฮ์มาน บิน อับดุลอาซิส อดีตรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
-นาเยฟ บิน อับดุลอาซิส อดีตมกุฎราชกุมารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(เสียชีวิตแล้ว)
-ตุรกี บิน อับดุลอาซิส อดีตรัฐมนตรีช่วยกลาโหมซาอุ
-ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส รัชทายาทองค์ที่ 1 มกุฎราชกุมารคนปัจจุบัน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
– และอะห์มัด บิน อับดุลอาซิส เคยคำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยแต่ได้ลาออกไปแล้ว
หนึ่งในผลงานความสำเร็จของตระกูลนี้คือให้การสนับสนุนเจ้าชายไฟศอล ขึ้นครองอำนาจ
และแม้นว่าหลังจากนั้น ตระกูลนี้ต้องสูญเสียเจ้าชายถึงสองคน คือ เจ้าชายสุลฏอน และเจ้านาเยฟ ในช่วงเวลาแปดเดือน แต่ก็ยังรักษาอำนาจไว้ในครอบครองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีการแบ่งตำแหน่งสำคัญต่างๆในประเทศให้กับลูกหลานในเครือญาติอีกด้วย
2 เผ่าพันธุ์ “ชิมร์” หรือเผ่าของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ กษัตริย์อับดุลลอฮ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์หลังจากที่ กษัตริย์ฟาฮัด ได้เสียชีวิตลง ซึ่งกษัตริย์อับดุลลอฮ์ เป็นหัวเผ่าของตระกูลนี้ที่มีความโดดเด่น และอับดุลลอฮ์ ไม่มีพี่ชายและน้องชายร่วมมารดา มารดาของเขา ชื่อว่า ฟะฮ์ดะห์ บินติ อาศีย์ อัลชิมร์ เป็นเผ่าหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดและมีอำนาจบทบาทมากที่สุดในภาคเหนือของซาอุ (เผ่าชิมร์) ซึ่งเป็นอดีตศัตรูเบอร์หนึ่ง ของอิบนู ซาอูด
กษัตริย์อับดุลลออฮ์ยังแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจในปัญหาในท้องถิ่น ส่วนมากของเวลาของเขาจะใช้เวลาในการพบปะกับผู้นำชนเผ่า และในความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์อับดุลลอฮ์เป็นผู้ปกป้องค่านิยมแห่งเผ่าพันธุ์ด้วยการนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของชาตินิยมยุคสมัยใหม่ (ยุคใหม่) แต่ด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม
กษัตริย์อับดุลลอฮ์ ยังสามารถรวบรวมและเรียกบรรดาเจ้าชายจากเผ่าตระกูลย่อยต่างๆให้มาอยู่กับตน และได้ก่อตั้งหน่วยงานรักษาพระองค์แห่งชาติและติดตั้งอาวุธที่หนักและทันสมัย ซึ่งภารกิจหนึ่งของหน่วยงานรักษาพระองค์แห่งชาติ คือการปกป้องและรักษาบังลังก์
หลังจากอับดุลลอฮ์ ขึ้นครองบักลังก์ ก็ได้เสริมสร้างความเป็นพันธมิตรกับบรรดาเจ้าชายทั้งหลายและพี่น้องต่างมารดาที่มาจากเผ่าไม่ใช่ “สุดัยรีย์” และอีกด้านหนึ่งได้แต่งตั้งให้ลูกหลานตนเอง ขึ้นไปมีบทบาทและดำรงตำแหน่งที่สำคัญของประเทศ เพื่อสร้างฐานโอกาสและอำนาจให้กับลูกหลานของตนในการกำหนดโครงสร้างให้กับอนาคตของประเทศ
ซึ่งอับดุลลอฮ์ ได้แต่งตั้งบุตรชายขึ้นเป็นหัวหน้าหน่วยงานรักษาพระองค์แห่งชาติ และอับดุลอิส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะสร้างฐานอำนาจในระบบโครงสร้างใหม่ในประเทศให้มั่นคงมากขึ้น
ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อับดุลลอฮ์ เคยเป็นตัวหลักในการต่อต้านอเมริกาในหมู่ครอบครัวของเขา แต่หลังจากขึ้นครองบังลังก์ ก็ได้เปลี่ยนท่าทีด้วยการให้ความร่วมมือ ผูกมิตรสัมพันธ์กับอเมริกาอย่างชัดเจนมากขึ้น
ลูกหลานคนสำคัญของกษัตริย์ อับดุลลอฮ์
-เจ้าชาย มัชอัล บิน อับดุลอาซิส ประธานวุฒิสภา (สภาบัยอัต)
-อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอาซิส ที่ปรึกษาของกษัตริย์ในสำนักพระราชวงศ์
-ม็อคเรน บิน อับดุลอาซิส ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกษัตริย์ในสำนักพระราชวงศ์ และเป็นรัชทายาทคนที่หนึ่ง และอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย
-และ มะชารีย์ บิน ซาอูด ผู้ว่าการเมือง บาเฮห์ ซึ่งทั้งสี่ท่านล้วนเป็นผู้มีบทบาทและอิทธิพลจากครอบครัวสายตระกูลไม่ใช่สุดัยรีย์
3 เผ่าแห่งลูกหลานของไฟศอล
ลูกหลานของกษัตริย์ไฟศอล จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากเผ่าตระกูลอับดุลลอฮ์ ที่ปราศจากการจัดระบบ แต่กระนั้นก็ตามก็ยังได้รับตำแหน่งที่สำคัญบางอย่างในประเทศ เช่น ซาอูด บิน ไฟศอล เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ คอลิด บิน ไฟศอล เป็นผู้ว่าการเมืองมักกะห์ และตุรกี บิน ไฟศอล อดีตหัวหน้าหน่วยงานสบราชการลับ และอดีตทูตของซาอุฯประจำอังกฤษ
เผ่านี้มีลูกหลานของอับดุลอาซิส มากถึง 60 คน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาในอเมริกาและยุโรป และมีอิทธิพลมากในโครงสร้างทางการเมืองของซาอุฯ และ ก็พยายามที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง สุดัยรีย์กับกษัตริย์อับดุลลอฮ์
ความขัดแย้งระหว่างทั้งสามกลุ่มสามฝ่ายดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาหลัก แต่ทว่าในช่วงที่มีความสำคัญเช่นนี้ มันย่อมเกิดความขัดแย้งอย่างแน่นอน แต่อาจจะลงเอ่ยในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยการการเปลี่ยนแปลงในระดับบางส่วนจากเบื้องบนก็เป็นเป็นได้…..
การสถาปนารัฐซาอูดครั้งแรก
ราชวงศ์ซาอูดยุคแรกมีอำนาจปกครองอยู่เป็นเวลาประมาณ 75 ปี (ฮ.ศ.1157 – 1232) โดยมีผู้ปกครอง ดังนี้
• มุฮัมมัด บิน ซาอูด ฮ.ศ.1157 – 1179
• อับดุลอาซิส บิน มุฮัมมัด ฮ.ศ.1179 – 1218
• ซาอูด บิน อับดุลอาซีส (ฮ.ศ.1218 – 1229)
– อับดุลลอฮฺ บิน ซาอูด (ฮ.ศ.1229 – 1233) เขาถูกลอบสังหารในกรุงอิสตันบูลในประเทศตุรกี โดยอิบรอฮีม ฟอชา อุศมานี ทำให้ราชวงศ์ซาอูดล่มสลายไม่มีอำนาจรัฐเป็นเวลาเกือบ 80 ปี
ผู้นำซาอุฯ หลังจากการล่มสลายของราชวงค์ซาอูด
• ตุรกี บิน อับดุลลอฮฺ บิน มุฮัมมัด บิน ซาอูด ถูกสังหารเมื่อปี ฮ.ศ.1249
• ไฟซอล บิน ตุรกี บิน อับดุลลอฮฺ เป็นผู้นำต่อไป เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.1282
• อับดุลรอฮฺมาน บินไฟซอล บิน ตุรกี ได้เป็นผู้นำไปจนปี ฮ.ศ. 1346
การสถาปนาแห่งราชวงศ์ซาอูดครั้งที่ 2
ปี ฮ.ศ. 1319 กษัตริย์อับดุลอาซีส บิน อับดุลรอฮฺมาน ได้เดินทางออกจากคูเวตกลับคืนสู่กรุงริยาด โดยความร่วมมือและสนับสนุนจากวงศ์ศาคณาญาติที่ยึดมั่นปฏิบัติตามแนวทางวะฮาบี จักรวรรดินิยมประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสในขณะนั้น สามารถยึดครองอำนาจเหนือแผ่นดินฮิญาซได้สำเร็จ โดยใช้ระยะเวลาในการทำสงครามต่อสู้กันอยู่ 20 ปี จึงเปลี่ยนชื่อแผ่นดินฮิญาซเป็นซาอุดีอาระเบียตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (9)
รูปแบบและวิธียึดครองอำนาจเหนือแผ่นดินฮิญาซ
อับดุลอาซีส บิน อับดุลรอฮฺมาน อาลี ซาอูด กำเนิดปี ค.ศ.1880 ได้ถูกกดดันจากอัลรอชีดอย่างหนัก จนต้องอพยพครอบครัวจากกรุงฮิญาซไปอาศัยอยู่ในคูเวต ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ.1901 ด้วยวัย 25 ปี ได้เดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองนัจดฺเพื่อล้างแค้นทวงคืนเอากรุงฮิญาซ และสามารถยึดกรุงฮิญาซได้สำเร็จในปี ค.ศ.1902 แล้วเริ่มล่าอาณานิคมแผ่ขยายอาณาเขตต่อไป
ต่อมา ในปี ฮ.ศ 1322 อับดุลอาซีส ได้รับการสนับสนุนกองกำลังจากอุศมานี อัลรอชีด จนสามารถยึดเมืองนัจดฺได้สำเร็จ อัลรอชีดเสียชีวิตในปี ค.ศ.1906 ส่งผลให้อับดุลอาซีสแผ่ขยายอำนาจไปครอบคลุมเขตอิทธิพลของอัลรอชีดได้ทั้งหมด ปี ค.ศ.1913 ก็สามารถยึดเมือง อิฮฺซะอฺได้สำเร็จแล้วขยายอาณาเขตของตนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย
จักรวรรดินิยมอังกฤษในขณะนั้นก็พยายามขับไล่ราชวงศ์อุศมานียะฮฺ (ออตโตมาน) ให้หมดอำนาจไปจากแผ่นดินอาหรับใน ปี ค.ศ.1916 และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษก็ให้การรับรองการปกครองเมืองนัจดฺของอับดุลอาซีสอย่างเป็นทางการ
ปี ค.ศ.1925 เกิดกรณีพิพาทระหว่างมักกะฮฺกับอังกฤษ อับดุลอาซีสได้เข้ายึดฮิญาซแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้ปกครองนัจดฺและฮิญาซอย่างเป็นทางการ
เดือนมกราคม ปี ค.ศ.1926 อับดุลอาซีสได้ประกาศสถาปนาประเทศซาอุดิอารเบียโดยรัฐบาลอังกฤษยอมปฏิบัติตามสัญญาสัมพันธไมตรีกับกรุงญิดดะฮฺ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1927 แต่การประกาศสถาปนาประเทศซาอุดิอาระเบียโดยเอาชื่อของบรรพบุรุษตนเป็นชื่อประเทศ และตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบียอย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เดือนกันยายน ค.ศ. 1932
ซาอูด บิน อับดุลอาซีส ครองอำนาจ 11 ปี ตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1377 -1388
ไฟซอล บิน อับดุลอาซีส ครองอำนาจ 7 ปี ต่อจากพี่ชายที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1388 -1395 ยุคนี้เองได้มีการขยายอาณาบริเวณมัสยิดดิลฮะรอม มหานครมักกะฮฺ และมัสยิดนบี มหานครมะดีนะฮฺ
คอลิด บิน อับดุลอาซีส ขึ้นครองอำนาจ 7 ปี ต่อจากพี่ชายที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1395 -1402
ฟาฮัด บิน อับดุลอาซีส ขึ้นครองอำนาจ 24 ปี ต่อจากพี่ชายที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1402 -1426
อัลดุลลอฮฺ บิน อับดุลอาซีส กำเนิด ปี ฮ.ศ. 1325 ขึ้นครองอำนาจแทนที่พี่ชาย ตั้งแต่ปี 1426 จนถึงปัจจุบัน…และวันนี้ (23 มกราคม 2558) ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 90 ปี
source : http://www.farsnews.com/newstext.php?nn=13931015001440