ฮิสบุลเลาะฮ์ คือ องค์กรทางการเมือง-การทหาร ในประเทศเลบานอน ซึ่งในช่วงต้นปี 1980 ถูกจัดตั้งขึ้น และได้รับการชี้นำด้วย อุดมการณ์ทางการเมือง ของ อยาตุลเลาะฮ์ ซัยยิด รุฮุลลอฮ มูซาวีย์ โคมัยนี ในยุคสมัย สงครามภายในประเทศเลบานอน, ฮิสบุลเลาะฮ์ได้รับการฝึกอบรมทางการทหารและการช่วยเหลือ จากกองกำลังเพื่อความมั่นคงแห่งการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน และได้รับการสนับสนุน ทางการเงิน และการเมือง จาก สาธารณะรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน
โดยฮิสบุลเลาะฮ์จัดตั้งขึ้นโดยการประกาศ 4 เป้าหมายหลักคือ
1 การลบล้างอิทธิพลจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก ในเลบานอน
2 การตอบโต้ พรรค Lebanese Phalanges ที่ได้ก่อสงครามภายในประเทศ
3 การจัดตั้งรัฐบาลอิสลาม
4 การปกป้องชาวเลบานอน จากการรุกรานของอิสราเอล
จากการจัดตั้งฮิสบุลเลาะฮ์ ผู้นำหลายประเทศที่ไม่ยอมรับ ความชอบธรรมของฮิสบุลเลาะฮ์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ฮอลแลนด์, บาห์เรน, อิยิปต์, อังกฤษ, แคนาดา, สหภาพยุโรป และอิสราเอล
บทบาทของฮิสบุลเลาะฮ์ทางการทหาร
หลังจากการทำสงครามกับอิสราเอลในปี 2000 ฮิสบุลเลาะฮ์ประสบความสำเร็จในการขับไล่อิสราเอล ให้ถอยทัพออกจากภาคใต้ของประเทศ ซึ่งภายหลังจากชัยชนะอันนี้ ฮิสบุลเลาะฮ์ได้ทำการเคลื่อนไหวทางการเมือง และก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นพรรคทางการเมือง ซึ่งได้รับตำแหน่งในสภาของประเทศเลบานอนในเวลาต่อมา
แนวคิดและอุดมการณ์อิสลามนิยม
ฮิสบุลเลาะฮ์กลุ่มแรกจัดตั้งขึ้นบนแนวคิดอิสลามนิยม ,โดยในยุคสมัยดังกล่าวกองกำลังและพรรคต่างๆ เช่น ฮิสบุดดะวะฮ , อะมัล, ฟัตฮ และกลุ่มอื่นๆ จัดตั้งขึ้นมาเนื่องจากผลกระทบจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน และอยาตุลลอฮ ซัยยิด รูฮุลเลาะฮ์ มูซาวีย์ โคมัยนี , โดยบุคคลระดับแกนนำ ได้แก่ ซัยยิด อับบาส มูซาวี (ถูกโจมตีโดยเฮลิคอบปเตอร์อิสราเอล ในปี 1992 เสียชีวิตทั้งครอบครัว ) ,เชค ซุบฮีย ฏุฟัยลี , เชค รอฆีบ ฮัรบ, อับดุลการีม อุบัยด์, ซัยยิด ฮูเซน มูซาวีย์ , ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลเลาะฮ์, ซัยยิด อิบรอฮีม อามีนอัซซัยยิด, ชะฮีด อัมมาด มุฆนียะฮ และบุคคลท่านอื่นซึ่งอดีตเคยเป็นแกนนำของ ฮิสบุดดะวะฮ และ อามัล ก็ได้เข้าร่วมกับ ฮิสบุลเลาะฮ์ ในภายหลัง
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลเลาะฮ์ เลขาธิการฮิสบุลเลาะฮ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ สถานีโทรทัศน์ของอิหร่าน ซีดา วะ ซีมาเยญุมฮูรีอิสลาม โดยในการสัมภาษณ์ ซัยยิด นัศรุลเลาะฮ์ ได้ประกาศว่า ผู้นำของฉัน คือ อยาตุลลอฮ ซัยยิด อาลี คาเมเนอีย์ และได้รับการชี้นำ และแนวทางจากซัยยิดอาลีคาเมเนอีย์ ในการทำสงครามกับ อิสราเอล มาโดยตลอด
การเจรจาแลกเปลี่ยน ระหว่าง ฮิสบุลเลาะฮ์ และ อิสราเอล ในปี 2004
ในวันที่ 29 มกราคม 2004 ได้มีการเจรจาตกลงระหว่างฮิสบุลเลาะฮ์กับอิสราเอลให้แลกเปลี่ยนตัวประกันระหว่างเชลยศึกจากชาติอาหรับต่างประมาณ 435 คนกับอดีตนายพลยศพันเอกและทหารอิสราเอลจำนวนหนึ่ง โดยมี เยอรมัน เป็นคนกลาง จากการเจรจาครั้งนี้ ฮิสบุลเลาะฮ์ประสบความสำเร็จ ในการปล่อยเชลยศึกมากกว่า 400 คน คืนถิ่นฐาน โดยมีคณะรัฐมนตรีเลบานอน และเจ้าหน้าที่ระดับสูง และประชาชนจำนวนมากได้ออกมาให้การต้อนรับเชลยศึกเหล่านี้ ซึ่งจากการเป็นอิสระของเชยศึกบรรดามุสลิมทั่วโลกได้ร่วมกันแสดงความยินดีต่อภารกิจนี้
สงครามระหว่าง ฮิสบุลลอฮ กับ อิสราเอล : สงคราม 33 วัน
สงคราม 33 วันเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในวันที่ 12 กรกฎาคม 2006 โดยกองกำลังฮิสบุลเลาะฮ์โดยมีซัยยิดฮะซัน ศรุลเลาะฮ์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายฮิสบุลเลาะฮ์ และนายดานฮอลูตีส เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอิสราเอล โดยทางฮิสบุลเลาะฮ์ได้บุกโจมตีกองกำลังภาคพื้นดินของอิสราเอลในบริเวณชายแดนทางตอนเหนือและได้สังหารทหารอิสราเอลไปสามคนพร้อมจับทหารอิสราเอลอีกสองคนเป็นเชลย และได้ส่งตัวเชลยเข้าเลบานอน โดยฮิสบุลเลาะฮ์ได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า “วะดะตุศอดิก” หรือสัญญาอันเป็นสัจจะ ต่อมากองทัพอิสราเอลได้ออกคำสั่งปฏิบัติการทางทหารเพื่อช่วยนายทหารสองคนที่ถูกจับกุม แต่กลายเป็นว่า ทหารอิสราเอล ถูกสังหารเพิ่มอีก 5 คน และบาดเจ็บอีก 5 คน โดยฮิสบุลเลาะฮ์ ได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า “คำตอบแห่งความยุติธรรม” หลังจากนั้น ซัยยิดฮาซัน นัศรุลเลาะฮ์ ได้วางเงื่อนไขในการปล่อยตัวทหารสองคน กับ สมาชิกฮิสบุลลอฮ 4 คนที่ถูกคุมขังในคุกอิสราเอล
ขณะเดียวกัน Ehud Olmert นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้ประกาศสงครามกับฮิสบุลเลาะฮ์ และได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า “เลบานอนจะต้องจ่ายราคาในครั้งนี้” อิสราเอลได้กล่าวหารัฐบาลเลบานอนว่าเป็น “เจ้าหน้าที่ที่ช่วยส่งเสริมให้ฮิสบุลเลาะฮ์เข้าโจมตีแผ่นดินอิสราเอล” และได้ตีความว่า จากการที่ ฮิสบุลเลาะฮ์ เข้าร่วมในรัฐบาลเลบาอน และการวางจัดตั้งกองกำลังฮิสบุลเลาะฮ์ ทำให้ประเทศนี้ คือ ผู้มีบทบาทในการช่วยเหลือให้ฮิสบุลเลาะฮ์ ได้บุกโจมตีแผ่นดินอิสราเอล
ฟุอาด ซีนีวะเราะฮ นายกรัฐมนตรีเลบานอน ได้ออกมาตอบโต้คำกล่าวของอิสราเอล ด้วยการจัดตั้งสภาคณะกรรมการพิเศษ พร้อมทั้งประกาศว่า รัฐบาลเลบานอน ไม่ได้รู้ล่วงหน้าว่า ฮิสบุลเลาะฮ์ จะออกปฏิบัติการโจมตีอิสราเอล แบบสายฟ้าแลบ และผู้รับผิดชอบการโจมตีในครั้งนี้ คือ ฮิสบุลเลาะฮ์ ”
จากการโยงใยฮิสบุลเลาะฮ์กับรัฐบาลเลบานอนทำให้อิสราเอลมีข้ออ้างในการโจมตีเลบานอน โดยทางอิสราเอลได้ส่งกองกำลังทางอากาศโจมตีอาคารเคหะสถานในประเทศเลบานอนทั้งตึกรามบ้านช่องสะพานบ่อน้ำและสนามบินเบรุตซึ่งจากการโจมตีในครั้งนี้ทำให้ประชากรชาวเลบานอนเสียชีวิต 44 คน
ต่อมาทางกองทัพอิสราเอลได้ใช้ยุทธวิธีในการทำสงครามระยะไกล โดยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดตามดินแดนต่างๆของเลบานอน ประมาณ 15,000 ครั้ง และส่งกองทัพเรือ ไปปิดกั้นชายหาดเลบานอน พร้อมทั้งยิงกระสุนเข้าใส่อย่างไม่หยุดยั้ง และทางภาคพื้นดิน อิสราเอล ได้ยิงระเบิดมากกว่า 160,000 ลูก ใส่แผ่นดินเลบานอน
ผลจากการโจมตีด้วยการใช้อาวุธรุนแรงทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตประมาณ 1,200 คนและได้รับบาดเจ็บหลายพันคนในสงครามครั้งนี้สถิติการตายของฝ่ายทหารอิสราเอลพุ่งขึ้นสูงกว่าครั้งก่อนและฝ่ายฮิสบุลเลาะฮ์เป็นชะฮีดเสียชีวิตจำนวน 74 คนและทางฝ่ายอิสราเอลเสียชีวิตประมาณ 117 คน
หากทำการเปรียบเทียบกับสงคราม 6 วันระหว่างชาติอาหรับและอิสราเอลจะเห็นความแตกต่างเพราะในสงคราม 6 วันทหารอิสราเอลเสียชีวิตเพียง 16 คนเท่านั้น
แหล่งข่าวทางกองทัพอิสราเอลได้ประกาศว่าทหารจำนวน 245 คนป่วยมีอาการทางประสาทเนื่องจากการทำสงครามกับฮิสบุลเลาะฮ์ในศึก 33 วัน และในสงครามครั้งนี้ อิสราเอล สามารถใช้กองกำลังทางอากาศในการลอบโจมตีประเทศเลบาอน แต่ไม่สามารถใช้กองกำลังทางอากาศในการจัดการกับฮิสบุลเลาะฮ์ภายในประเทศของตนได้สำเร็จ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า อิสราเอลไม่ได้ใช้กองกำลังทางอากาศทิ้งระเบิดโจมตีฮิสบุลเลาะฮ์ พวกเขาได้ทิ้งระเบิดมากมาย แต่ไม่มีผลใดๆ ดังนั้น อิสราเอล จึงเลือกไปทิ้งระเบิดใส่พลเรือนที่อยู่ในประเทศเลบานอนเเทน นอกจากนี้เครื่องบินรบอิสราเอล สองลำก็ได้ระเบิดจากการทำสงคราม ซึ่งเป็นการแสดงถึงการไร้ความสามารถในการทำสงครามของรัฐเถื่อนในครั้งนี้
และในสงคราม ยังมีรถถังชนิดล้ำสมัยของอิสราเอลหลายคัน ถูกทำลาย จากการทำสงครามในครั้งนี้ และยังมีเฮลิคอปเตอร์สงครามสองลำถูกทำลาย อิสราเอลไม่สามารถบุกเข้าไปถึงที่มั่นของฮิสบุลเลาะฮ์ได้
การใช้เฮลิคอปเตอร์ในการทำสงครามนั้นเป็นอีกหนึ่งไม้ตายที่อิสราเอลมักจะนำมาใช้ เป็นยุทธวิธีในการทำสงครามปราบปรามฝ่ายต่อต้านสำเร็จเสมอ แต่ในสงคราม 33 วัน แม้ว่าอิสราเอลจะพยายามใช้เฮลิคอปเตอร์โจมตีอย่างไร ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จ และยังทำให้เฮลิคอปเตอร์ถูกทำลายอีกด้วย
สงคราม 33 วันสิ้นสุดลงในวันที่ 14 สิงหาคม 2006 โดยมติที่ประชุม 1701 โดยในสงครามนี้ทั้งอิสราเอลและเลบานอนต่างมีกระแสทั้งต่อต้านและสนับสนุน ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลียได้สนับสนุนการโจมตีของอิสราเอล และได้เรียกการโจมตีนี้ว่าการป้องกันตัวเอง ปธน.บุชได้เรียกสงครามครั้งนี้ว่าสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและในวันที่ 20 กรกฎาคม 2006 สภาครองเกรสอเมริกาได้ประกาศสนับสนุนอิสราเอล
ส่วนอิหร่านซีเรียและเยเมนได้ประกาศสนับสนุนฮิสบุลเลาะฮ์ และในเวลานั้นสันนิบาตอาหรับและอิยิปต์ก็ได้สนับสนุนฮิสบุลเลาะฮ์เช่นกัน และสมาคมเรียกร้องสันติภาพนานาชาติ ก็ได้เรียกร้องให้ ยุติสงคราม เพื่อยับยั้งจำนวนพลเรือนไม่ให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก
แหล่งอ้างอิง
http://www.hamshahrionline.ir/details/60646
http://ommat-netnameh.blog.ir/post/%D9%87%D9%85%D9%87-%DA%86%DB%8C%D8%B2-%D8%AF%D8%B1%D8%A8%D8%A7%D8%B1%D9%87-%D8%AC%D9%86%DA%AF-33-%D8%B1%D9%88%D8%B2%D9%87-%D9%84%D8%A8%D9%86%D8%A7%D9%86
http://www.atimes.com/atimes/Middle_East/HG20Ak02.html