ประวัติศาสตร์การเมืองอิหร่าน ก่อนและหลังการปฏิวัติอิสลาม

4648

หลังจากสิ้นสุดอำนาจการปกครองของริฏอ ชาฮ์ ในวันที่ 26 ชะฮ์รีวัร 1320 (เดือนและปีตามปฏิทินอิหร่าน) มูฮัมมัด ริฏอ ปาห์เลวี ได้ขึ้นครองราชย์บัลลังก์ต่อด้วยการสนับสนุนของอังกฤษ เขามีอำนาจการปกครองถึง 37 ปี และในช่วงการปกครองของเขานั้นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐโดยตรง หนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆที่ยิ่งใหญ่ และเชื่อว่าเป็นตัวก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนเหนือการปกครองของมูฮัมมัด ริฏอ ชาฮ์ คือ ขบวนการเคลื่อนไหวในปื 1329 โดยการนำของ ดร.มูศอดดิก และ อยาตุลลอฮ์ กาชานี

ในเดือน ตีร 1331 ประชาชนด้วยการสนับสนุนของ ดร.มุศออดดิก ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้โดยแสดงถึงความไม่เห็นด้วยและก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่มีต่อกษัตริย์ ซึ่งการลุกขึ้นมาในครั้งนั้นถูกรู้จักในนาม “การลุกขึ้นต่อสู้30ตีร” หนึ่งปีหลังจากนั้นได้เกิดการทำรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลแห่งชาติโดย ดร.มุศอดดิก ในวันที่ 28 เดือนโมรดอด 1332 ซึ่งทำให้กษัตริย์ชาฮ์ต้องหนีออกนอกประเทศ แต่ทว่าด้วยการพึ่งพากองกำลังติดอาวุธและด้วยการสนับสนุนโดยตรงจากสหรัฐและอังกฤษจึงทำให้กษัตริย์ชาฮ์สามารถกลับเข้าสู่ประเทศอิหร่าน และได้ปกครองเหนืออิหร่านอีกครั้งหนึ่ง

และในปี 1342 ได้เกิดการเคลื่อนไหวของอีกขบวนการหนึ่งเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง โดยการนำของนักการศาสนา อยาตุลลอฮ์ โคมัยนี ในเดือน โครดอด ปี 1342 รัฐบาลกษัตริย์ชาฮ์ หมดหวังที่จะทำการปรองดองกับอยาตุลลอฮ์โคมัยนี เขาจึงได้ทำการจับกุม อยาตุลลอฮ์โคมัยนี และเนรเทศท่านสู่ประเทศตุรกีและอิรัก

การปฏิวัติและการลงประชามติ

ท่านอยาตุลลอฮ์โคมัยนี มีตำแหน่งทางศาสนาที่สูงส่ง และโดยอาศัยบทบาทในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของบทบาทของศาสนากับการเมือง จึงทำให้ท่านสามารถโค่นล้มการปกครองของปาเลวีที่มีการปกครองยาวนานกว่า 50 ปี ในวันที่ 12 เดือนบะฮ์มัน ปี 1357 ท่านอยาตุลลอฮ์โคมัยนีได้กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้จัดตั้งคณะปฏิวัติขึ้นมาจนได้รับชัยชนะในวันที่ 22 เดือนบะฮ์มัน

ด้วยการลงมติของประชาชนอิหร่านพวกเขาเลือกการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามมาเป็นระบบการปกครองทางการเมืองของประเทศพวกเขา

การปกครองและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ในปี 1358 ได้เกิดกลุ่มก่อการร้ายที่คอยสร้างภาพลักษณ์อันน่าหวาดกลัวให้กับการปฏิวัติแห่งอิหร่าน โดยเริ่มจากการก่อตัวขึ้นของขบวนการฝ่ายซ้าย คือ อัลฟุรกอน โดยพวกเขาได้สังหารนักวิชาการสำคัญและบรรดาบุคคลสำคัญในการเคลื่อนไหวปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน เช่น อยาตุลลอฮ์ มุเฏาะฮารี ผู้เผยแพร่ทฏษฏีการปฏิวัติอิสลาม ฮัจย์มะฮ์ดี อิรากีและลูกของท่าน  อยาตุลลอฮ์กอฏี ตอบาตอบาอี ผู้รู้ในเมืองตับรีส ดร.มุฟัตตะฮ์ หนึ่งในผู้รู้ที่สำคัญในสมัยปฏิวัติอิหร่าน

ในขั้นตอนต่อมาเขาได้สร้างองค์กร มุญาฮิดีน คัลก์ ซึ่งได้ปฏิบัติการรอบสังหาร อยาตุลลอฮ์ คอเมเนอี ผู้นำโลกอิสลามปัจจุบันแต่ไม่ประสบผลสำเร็จและพวกเขาได้สังหารเจ้าหน้าที่รัฐอิสลามแห่งอิหร่านถึง 70 คนด้วยการวางระเบิดในสำนักงานพรรคสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ในปี 1360 พวกเขาได้วางระเบิดลอบสังหารอีกครั้งหนึ่งซึ่งทำให้ประธานาธิบดี คือ รายาอี และนายกรัฐมนตรี คือ บาโฮนัร เสียชีวิตเนื่องจากการระเบิดครั้งนั้น

  • ในวันที่ 31 ปี 1359 เกิดสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ด้วยการเกิดการปฏิวัติขึ้นในอิหร่านและการอ่อนแอลงทางด้านการทหารและกองกำลังติดอาวุธและวิกฤติภายใน รัฐบาลอิรักด้วยกับความคิดที่ว่า อิหร่านไม่มีความพร้อมสมบูรณ์ในการที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งและสงครามภายนอกได้ ด้วยเหตุนี้อิรักจึงตัดสินใจบุกประเทศอิหร่านด้วยการสนับสนุนจากชาติตะวันตกและเหล่าประเทศอาหรับทั้งหลาย หลังจากสงครามมีเวลายืดเยื้อยาวนานถึง 8 ปีอิรักก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้และได้กลับเข้าสู่ดินแดนของประเทศตนเองด้วยการถูกตราหน้าในนามว่า ผู้บุกรุกและเริ่มก่อสงคราม

 

  • ปฏิบัติการการโจมตีของทหารสหรัฐเหนืออิหร่านปี 1360 เจ้าหน้าที่สหรัฐใช้ข้ออ้างในการช่วยเหลือตัวประกันอำพลางปฏิบัติการตอบโต้หลังจากได้มีการจับตัวเอกอัครราชฑูตสหรัฐในเตฮะราน แต่ทว่าปฏิบัติการดังกล่าวต้องพบกับความล้มเหลวเมื่อเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดถูกพายุทะเลทรายพัดร่วงลงสู่ทะเลทราย

 

  • ในวันที่ 14 เดือน โครดอด อยาตุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้วางรากฐานและก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลาม ชายผู้ซึ่งเป็นผู้นำการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ผู้ทำให้ธงแห่งการตื่นตัวของโลกอิสลามได้โบกสะบัดไปทั่วทุกผืนแผ่นดินบนโลกอีกครั้งหนึ่ง ได้เสียชีวิตลง หลังจากการจากไปของอยาตุลลอฮ์โคมัยนี สภาสูงสุดได้คัดเลือกให้อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี เป็นผู้นำหลังจากท่านอยาตุลลอฮ์โคมัยนี และท่านอยาตุลลอฮื คาเมเนอี ได้ประกาศแนวทางการปกครองของตนเองตั้งแต่ในการปราศรัยครั้งแรกแล้วว่า “เราจะเดินตามแนวทางทางและเป้าหมายของท่านอยาตุลลอฮ์โคมัยนี”

 

อ้างอิง

http://www.irar.org/index.php?option=com_content&view=article&id=24&Itemid=96