นับเป็นเวลารวมสามทศวรรษกว่าแล้วที่ประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งปกครองแผ่นดินแห่งเปอร์เซียมาเป็นเวลาอันยาวนานนับสองพันห้าร้อยปี โดยมีกษัตริย์ไซรัสมหาราช (500 ปี ก่อน ค.ศ) ซึ่งเป็นผู้นำสถาปนาอาณาจักรเปอร์เซีย และมาสิ้นสุดลงที่กษัตริย์ มุฮัมมัด ชาห์ ปะห์เลวี (ค.ศ 1979 )
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ กระทำโดยผ่านการปฏิวัติอิสลาม โดยท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ซึ่งเป็นการปฏิวัติเดียวที่ไม่เหมือนกับการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในประเทศอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย หรือในประเทศจีน ทั้งนี้การปฏิวัติอิสลามอิหร่านเกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนจากอิหร่านผู้ซึ่งเป็นมุสลิมและประสงค์ที่จะเอานำหลักคำสอนของอิสลาม ซึ่งมีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดมาปกครองประเทศของตน แทนระบอบการปกครองอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิสลาม โดยมีผู้นำในการปฏิวัติอิสลามเป็นผู้ทรงความรู้ในทางศาสนา ผู้นำที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยที่ได้นำประชาชนชาวอิหร่าน ไปสู่การปฏิวัติเพื่อโค่นล้มการปกครองที่เป็นทราชย์ของกษัตริย์ ชาห์ ปาห์เลวี จนได้รับความสำเร็จ อันเป็นที่งงงวยและตลึงงันของชาวโลกทั้งที่เป็นมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิม
ในบทความชิ้นนี้ เพียงแต่จะนำเสนอตามรอยการปฏิวัติ หรือลำดับเหตุการณ์ ในช่วงสำคัญก่อนที่การปฏิวัติอิสลามจะประสบชัยชนะ โดยในอิหร่าน จะเรียกว่า ดะห์ เฮ ฟัจญร์ (สิบวันรุ่งอรุณ แห่งการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน)
12 บะห์มัน 1357 (1 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 1979 ) อิมามโคมัยนีเดินทางกลับประเทศหลังจากถูกเนรเทศเป็นเวลา หลายสิบปี
เวลา 9 :27 ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) ได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ ด้วยสายการบินแอร์ฟรานส์ ประชาชนชาวอิหร่านออกมาให้การต้อนรับอย่างมโหฬาร พร้อมกับถือช่อกุหลาบยืนตามท้องถนนยาวนับสิบกิโลเมตรเพื่อแสดงความยินดีในการกลับมาของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ซึ่งท่านกล่าวว่า ท่านกำลังจะจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น…..
13 บะห์มัน ประชาชนหลั่งไหลเข้าพบท่านอิมามโคมัยนี(รฎ)
จากการที่ประชาชนพากันยินดีและต้อนรับการกลับมาของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ซาปูร บัคเตียร์ ได้ออกมาแสดงปฏิกิริยา ด้วยการออกมาสัมภาษณ์ถึงนโยบายของตนในอนาคตเพื่อสร้างกระแสว่าเหตุการณ์กำลังสู่ภาวะปรกติ แต่ประชาชนล้วนแล้วตั้งหน้าตั้งตารอท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) จึงมุ่งหน้ายังโรงเรียนอาลาวีย์ ผู้คนจำนวนมากได้หลั่งไหลยังโรงเรียนอาลาวีย์โดยที่ถนนและตรอกซอยเต็มได้พี่น้องประชาชน ประชาชนมีการเขียนแผ่นป้ายสีขวาติดบนผนังโรงเรียน เขียนว่า “อะมั้ลถูกตอบรับ โปรดประทานโอกาสให้ได้เข้าพบท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) สักครั้งหนึ่ง”
14 บะห์มัน ผู้ว่าการกรุงเตหะรานลาออก
พี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้ลุกขึ้นมาประท้วงทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ของรัฐในภาคส่วนต่างๆ ต้องเผชิญกับการประท้วงของประชาชนอย่างหนัก ญะวาด ชะห์ริสตานีย์ ผู้ว่ากรุงเตหะราน ได้เข้าพบท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ได้ยืนจดหมายลาออกต่อท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) แต่ทว่าหลังจากนั้นท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ก็ได้ประกาศแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้ว่าการกรุงเตหะรานอีกครั้ง เมื่อบัค เตียร์ รู้ข่าวเช่นนี้ จึงมีความหวาดกลัว และเกรงว่าเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ จะเอาเป็นแบบอย่างด้วย ก็เลยออกมาสัมภาษณ์โจมตี ผู้ว่าการกรุงเตหะราน พร้อมกับข่มขู่คณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยหารู้ไม่ว่า ในวันนั้น ผู้ว่าการกรุงเตหะราน ไม่ได้ไปเข้าพบท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ณ โรงเรียนอาลาวีย์ (ที่พักของอิมาม) เพียงคนเดียว
15 บะห์มัน ประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรี
บัคเตียร์ ได้สูญเสียศูนย์บัญชาการต่างๆ ทั้งหมด เลยต้องออกมาสัมภาษณ์ต่างๆนานา เพื่อสร้างความชอบธรรมในอำนาจของตนเอง ประเด็นที่มีการให้สัมภาษณ์ได้ย้ำและข่มขู่ ดังนี้
- ไม่อนุญาตให้ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว
- ผู้ใดที่สร้างสงครามภายในต้องถูกต้องโทษประหารชีวิต
- ทัศนะของท่านอิมามโคมัยนี ล้วนแล้วต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายเท่านั้น
ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ได้ออกมาตอบโต้คำต่อข่มขู่ดังกล่าว ว่า ข้าพเจ้าขอตักเตือน รัฐบาลผู้ปล้นสะดม อย่าได้ทำให้ข้าพเจ้าต้องประกาศเชิญชวนประชาชนให้ทำการญิฮาด……
ข้าพเจ้าเรียกร้องยังเหล่าทหารทั้งหลายให้เข้าร่วมสมทบกับพี่น้องประชาชน พวกเขาเป็นลูกหลานของท่าน เรามีความรักแด่พวกท่านทั้งหลาย…..
ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) ได้กล่าวในการปราศรัยและในการพบปะกับประชาชนถึงนโยบายหลักทางการเมือง ว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิเสรีในการใช้ชีวิตในสาธารณรัฐอิสลาม เราให้เกียรติกับชนกลุ่มน้อย ทัศนะของข้าพเจ้าต่อวิทยุและรายการโทรทัศน์และสื่อสารมวลชน คือ ให้รับใช้ประชาชนอย่างเป็นธรรม และรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะครอบงำใดๆ
16 บะห์มัน อิมามโคมัยนี แต่งตั้งให้ มุฮันดิส มะห์ดี บอซันกอนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชั่วคราว
นักข่าวต่างประเทศและในประเทศนับสิบคน ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพและบรรดาผู้ใกล้ชิดท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ได้รวมตัวกัน ณ. โรงเรียนอาลาวีย์ ท่านอยาตุลลอฮ์ ฮาชีมีย์ รัฟซันญานีย์ ได้ประกาศอ่านสาส์นแต่งตั้ง มุฮันดิส มะห์ดี บอซันกอนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ประชาชนล้วนมีความรู้สึกว่าใกล้ถึงชัยชนะมากยิ่งขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบัคเตียรี จำนวนหนึ่งได้วางแผนโดยได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาในการลอบสังหารอิมามโคมัยนี(รฎ)และเข่นฆ่าพี่น้องประชาชน
คณะวุฒิสภา ท่านอยาตุลลอฮ์ เบเฮชตี้ ท่านชะฮีด มุฏ็อฮ์ ฮารีย์ และมุฮันดิส มะห์ดี บอซันกอนีย์ มีความพยายามติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารอย่างสม่ำเสมอ โดยเรียกร้องสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของคนชาติ ปราศจากการนองเลือด ขณะที่ประชาชนได้เดินยังกองทัพพร้อมถือช่อดอกไม้ และกล่าวคำขวัญดังขึ้นเป็นระยะๆ
17 บะห์มัน การเดินประท้วงอย่างกว้างขวางของประชาชน
พี่น้องประชาชนจำนวนมากออกมาเดินประท้วงสนับสนุน รัฐบาลของมุฮันดิส มะห์ดี บอซัรกอนีย์ ประณามต่อต้าน รัฐบาลบัคเตียร์ พร้อมกับประกาศก้องว่า เราไม่ต้องการรัฐบาลบัคเตียร์อีกต่อไป ส่วนบัคเตียร์ ก็ออกมา พูดว่า เรายินดีที่จะรับฟังขอเสนอของประชาชน
18 บะห์มัน เริ่มเปิดสถานีการปฏิวัติอิสลามเพื่อนำเสนอข่าวสาร
ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) มีคำสั่ง ให้เปิดโปงรายชื่อบุคคลที่ทรยศต่อประเทศชาติและพี่น้องประชาชน ด้วยความพยายามของประชาชนและผู้เชี่ยวชาญก็สามารถเรียกร้องประชาชนจำนวนหนึ่งให้หลั่งไหลมายังโรงเรียนอาลาวีย์…. นี่คือ เตหะราน นี่คือศูนย์บัญชาการการปฏิวัติ……
19 บะห์มัน ทหารจำนวนหนึ่งให้การสัตยาบันต่อท่านอิมามมัยนี(รฎ)
บัคเตียร์ มีคำสั่งให้ยิงประชาชน และในบางส่วนของประเทศก็เกิดเหตุการณ์กราดยิงประชาชนผู้เข้าชุมนุมประท้วง เจ้าหน้าที่ของประเทศจำนวนหนึ่ง และทหารอากาศอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสวมชุดเต็มยศได้เดินทางเข้าพบท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) ในท่ามกลางความยินดีและความแปลกประหลาดใจ ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวกับบรรดาผู้เข้าพบดังกล่าวว่า ตามที่ข้าพเจ้าเคยกล่าวมาแล้วว่า หลังจากที่ปฏิบัติเชื่อฟังฏอฆูตมานานพอแล้ว ในวันนี้จงหันกลับมายึดอัลกุรอานเสียเถิด กุรอานจะให้การคุ้มครองและพิทักษ์พวกเจ้า หวังว่าด้วยความช่วยเหลือของพวกเจ้า เราจะสามารถสถาปนารัฐอิสลามได้สำเร็จ….
20 บะห์มัน ประกาศนโยบายของรัฐบาลชั่วคราว และเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างนักศึกษากับทหารฝ่ายบัคเตียร์
ข่าวเวลา 20 : 00 น ได้มีการนำเสนอข่าวสถานที่พำนักอาศัยของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) สมัยที่หนี้ภัยในกรุงปารีส ขณะที่มีการเผยแพร่ภาพอิมามนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทหารอากาศที่อยู่ในกองทัพ ได้กล่าวตะโกน “อัลลอฮุอักบัร” เป็นคำขวัญที่ขานรับและสนับสนุนท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) ซึ่งได้สร้างความโกรธเคืองให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ทหารอีกจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) หลังจากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ปะทะขึ้นอย่างรุนแรงระหว่างสองฝ่าย ประชาชนก็เข้ามาให้การช่วยเหลือฝ่ายสนับสนุนอิมามมโคมัยนี(รฎ) และเหตุการณ์ปะทะครั้งนี้ใช้เวลายาวนานถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น
21 บะห์มัน รัฐบาลบัคเตียร์ประกาศภาวะฉุกเฉิน และอิมามโคมัยนีท้าทายคำประกาศดังกล่าวให้พี่น้องออกมาสู่ท้องถนน
ในเวลา 10 โมงเช้า ด้วยความมุ่งมั่นของพี่น้องประชาชนแลการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพอากาศ สามารถยึดศูนย์บัญชาการของทหารอากาศได้สำเร็จ และชั่วโมงถัดมา สถานีตำรวจ 9 10 11 12 16 26 ก็ตกอยู่ในมือของพี่น้องประชาชน
ประชาชนได้นำเอาปืนครก และอาวุธชนิดต่างๆออกมาบนท้องถนน และได้ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายบัคเตียร์ ก็มีคำสั่งและประกาศภาวะฉุกเฉินสั่งห้ามประชาชนออกมานอกถนนตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่เวลา 16: 00 น เป็นต้นไป แต่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ออกมาตอบโต้คำประกาศดังกล่าวและท้าทายคำสั่งอันผิดกฎหมายของรัฐบาลบัคเตียร์ เป็นคำสั่งของรัฐบาลเผด็จการที่ มันค้านกับหลักการชะรีอัตอย่างสิ้นเชิง และให้ออกมาสู่ท้องถนน ประชาชนอย่าสนใจกับคำประกาศดังกล่าว พี่น้องประชาชนทั้งชายและหญิง อย่าได้หวาดกลัวต่อคำข่มขู่เป็นอันขาด ด้วยพระสงค์ของพระองค์ เราจะได้รับชัยชนะ….
พี่น้องประชาชนอย่างได้หนี จงชุมนุมประท้วงบนท้องถนนต่อไป
22 บะห์มัน วันแห่งชัยชนะแห่งการปฏิวัติอิสลาม และวันล้มสลายของระบอบสมบูรณายาสิทธิราชที่ปกครองประมาณ 2500 ปี
หลังจากต่อสู้กันตามท้องถนนต่างๆในกรุงเตหะรานตลอดวันและพื้นที่บางส่วนของประเทศ แม้นว่าพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าของวันดังกล่าวแล้วก็ตาม ประชาชนก็ยงคงปักหลักชุมนุมบนท้องถนนต่อไป ขณะที่พี่น้องประชาชนที่ติดอาวุธก็มีการยิงปะทะกับกองกำลังทหาร ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลก็ยอมจำนนต่อฝ่ายปฏิวัติ นี่คือจุดจบของการปกครองแบบกษัตริย์และเผด็จการ
เสียงแห่งความยินดีและชัยชนะดังกึกก้องทั่วปฐพีอิหร่าน….. ระบอบสมบูรณายาสิทธิราชในอิหร่านได้ล้มสลายลง………
ขบวนการซึ่งนำมาสู่ชัยชนะครั้งนี้ก็คือ การปฏิวัติที่สำคัญครั้งหนึ่งในจำนวนสองสามครั้งในเวลาสองร้อยปีที่ผ่านมา แต่กระนั้นมันก็เป็นขบวนการที่ไม่เหมือนใครและไม่อาจเปรียบเทียบกับขบวนการปลดปล่อยในๆในโลก ทั้งในเอเชีย แอฟริกาในช่วงระยะเวลาเดียวกันได้เลย….
บทบาทของประชาชนในการปฏิวัติอิสลาม รวมทั้งผู้นำการปฏิวัติอิสลามและอิทธิพลทางการเมือง วัฒนธรรมและสังคมของการปฏิวัติครั้งนี้ซึ่งมีต่อทั่วโลกนั้น คือ ลักษณะเฉพาะที่ทำให้การปฏิวัติครั้งนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ท่ามกลางการปฏิวัติและขบวนการปลดปล่อยทั้งหลายในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน….
อ้างอิง
http://www.roshd.ir/Default.aspx?tabid=591&SSOReturnPage=Check&Rand=0