ในขณะที่รอญับ ฏ็อยยับ อุรดูฆอน ประธานาธิบดีตุรกีและ ดาวุด อุฆโล นายกรัฐมนตรีตุรกี อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิของประชาชนชาวปาเลสไตน์ แต่รายงานที่ได้รับมานั้นเป็นการชี้ให้เห็นว่า ในวันนี้ตุรกีคือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่สำคัญของอิสราเอลในภูมิภาค
nahrainnet.net รายงานความก้าวหน้าเชิงธุรกิจระหว่างอิสราเอล –ตุรกี ชี้ว่า การส่งออกสินค้าของตุรกียังอิสราเอลในปี 2014 มีมูลค่า สองพันเก้าร้อยยี่สิบห้าล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ ร้อยละ 94 ของการส่งออก ขณะที่ ในปี 2009 ยอดส่งออกยังอิสราเอลเพียงแค่หนึ่งร้อยล้านดอลลาร์เท่านั้น
รายงานฉบับดังกล่าว ระบุด้วยว่า การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอัตราในการค้าขายระหว่างตุรกีกับอิสราเอล ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ตุรกีมีการส่งสินค้ายังอิสราเอลเท่านั้น แต่หมายถึงสิ้นค้าของอิสราเอลที่ตุรกีนำเข้าประเทศด้วย โดยเฉพาะในปีล่าสุดที่มีการนำสินค้าของอิสราเอลเข้าประเทศอย่างมากมาย
ในปี 2012 ตุรกีถือเป็นชาติอันดับที่ 18 ในหมู่ประเทศที่นำเข้าสินค้าของอิสราเอล แต่ในปี 2014 ขยับขึ้นมาในอันดับ ที่ 15 ในหมู่ประเทศรายใหญ่ที่นำเข้าสินค้าของอิสราเอล
สำนักงานสถิติตุรกี รายงานในเรื่องนี้ว่า สินค้าที่นำเข้าจากอิสราเอลในช่วงปี 2009 มีมูลค่าประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2014 การนำสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีมูลค่า ประมาณ 7.2 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบอัตราเฉลี่ยแล้ว ประมาณ ร้อยละ 146
อีกด้านหนึ่ง จากการที่ คอลิด มัชอัล หัวหน้ากลุ่มฮามาส ได้เยือนตุรกี ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดีขึ้น แต่นักวิเคราะห์บางท่านเชื่อว่า การเดินทางครั้งนี้จะไม่เกิดทิศทางที่ดีอะไรมากไปกว่าที่มีอยู่ เพียงแค่การสร้างภาพทางสื่อเท่านั้น เพราะตุรกีเองมีเป้าหมายที่จะให้โลกอิสลามโดยเฉพาะประเทศอิสลามทั้งหลายรู้ว่า ตุรกีไม่ได้เพิกเฉยและละเลยในการช่วยเหลือต่อปาเลสไตน์และเลบานอนแต่อย่างใด
และกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่อาจที่จะสกัดกั้นการเจรจาระหว่างตุรกีกับอิสราเอล ในการบรรลุข้อตกลงเซ็นสัญญาซื้อดาวเทียมจากอิสราเอล ที่มีชื่อว่า “อุฟุก” (เส้นขอบฟ้า) และระบบการป้องกันขีปนาวุธทางอากาศ “อุรว์” (ลูกศร) แม้นว่า การดำเนินการตามข้อตกลงเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับเห็นชอบของอเมริกาก็ตาม และหากการเจรจาและข้อตกลงเหล่านี้บรรลุผล จะทำให้ประเทศตุรกี เป็นประเทศที่มีระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่มีประสิทธิภาพประเทศหนึ่งในภูมิภาค
อ้างอิง