(ภาพ) นักรบชีอะฮ์เฮาซีถืออาวุธขณะยืนรักษาความปลอดภัยใกล้พื้นที่ประท้วงแห่งหนึ่ง ระหว่างการชุมนุมในเมืองซานาอฺ เยเมน
ลอนดอน – เพียงแค่ไม่กี่เดือนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ถึงเพียงนี้! การกล่าวอ้างของประธานาธิบดีโอบาม่าเมื่อเดือนกันยายนที่ว่า เยเมนเป็นหลักฐานสำหรับความสำเร็จของอเมริกาในการตัดทอนอิสลามสายสุดโต่งในตะวันออกกลาง ได้ถูกปล้นเนื้อหาที่แท้จริงไปแล้ว
ด้วยการกล่าวถึง “การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ของอเมริกา และวิธีที่เขาจะดำเนินการต่อไปกับกลุ่มหัวรุนแรงทั่วโลก โอบาม่าได้วางแนวไว้ว่า
“ยุทธศาสตร์ในการกำจัดผู้ก่อการร้ายที่เป็นภัยคุกคามต่อเรานี้ และการสนับสนุนหุ้นส่วนของเราในแนวหน้า เป็นสิ่งหนึ่งที่เราทำได้สำเร็จในเยเมนและโซมาเลียเป็นเวลาหลายปีแล้ว และยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีที่ข้าพเจ้าได้กำหนดเอาไว้เมื่อต้นปีนี้ว่า เราจะใช้กำลังกับใครก็ตามที่เป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์หลักของอเมริกา แต่จะระดมหุ้นส่วนเมื่อใดก็ตามที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความท้าทายในวงกว้างต่อความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ”
ในเวลาห้าเดือนที่ผ่านพ้นไป สาธารณรัฐเยเมนมีแต่ความแตกแยกกระจัดกระจายเสมือนรัฐที่ล้มเหลว ภายใต้เงาอิทธิพลของสหรัฐฯ มันต้องแบกรับภาระด้วยกับความยากจนที่ทำให้ทรุดโทรม ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ทำให้ย่ำแย่ลง และความวุ่นวายของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น และกลุ่มนักรบอัล-กออิดะฮ์ก็มีความล้ำหน้ากว่ารัฐมากจนเกินกว่าที่ใครจะสนใจยอมรับ
ที่แย่ไปกว่านั้น การกระจายอำนาจไปสู่ความเป็นรัฐที่ล้มเหลวของเยเมนมีความหมายว่า วอชิงตันพบว่าตอนนี้ตัวเองไม่มีพันธมิตรที่มีศักยภาพในการต่อสู้กับการก่อการร้ายแล้ว ขณะที่วอชิงตันเลือกที่จะยึดมั่นในเรื่องการต่อต้านอิหร่านของตน ซึ่งถือว่าความเชื่อมโยงใดๆ กับมุสลิมชีอะฮ์จะนำมาซึ่งการปกครองของอิหร่าน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ปล้นความเป็นพันธมิตรกับเฮาซีไปจากตัวของพวกเขาเอง ซึ่งเฮาซีเป็นพันธมิตรเดียวในเยเมนที่มีความรู้สึกร่วมกันกับสหรัฐฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัล-กออิดะฮ์
ถึงแม้ว่าเฮาซีจะเผชิญหน้ากับกลุ่มนักรบอัล-กออะฮ์อย่างไม่ลดละมาเป็นเวลาหลายเดือน ในการรบตามลำพังโดยที่รัฐบาลเยเมนไม่ได้เข้าร่วมและไม่ได้สั่งการ เนื้อในที่เป็นชีอะฮ์ของพวกเขายังคงเป็นป้อมปราการที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังต้องชั่งใจ
กลุ่มเฮาซี ซึ่งเป็นพวกซัยดีกลุ่มหนึ่ง มาจากจังหวัดซาอฺดาทางภาคเหนือของเยเมน เป็นมุสลิมชีอะฮ์สายที่เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นภายใต้ธงของเชคฮุซเซน บัดริดดีน อัล-เฮาซี ผู้ล่วงลับ เพื่อตอบโต้การกดขี่ของรัฐในปี 2004 ก่อนหน้านี้มันเคยเป็นที่รังเกียจของบรรดาผู้นำเผ่าและนักการเมืองสายหลัก กลุ่มเฮาซี ที่ปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรชื่ออันซอรุลลอฮ์ ได้ผงาดเข้าสู่แวดวงการเมืองของเยเมนในปี 2011 โดยแรงหนุนจากขบวนการอาหรับสปริง และการล้มการปกครองของประธานาธิบดีอาลี อับดุลลอฮ์ ซาเลห์
“วอชิงตันขาดจุดมุ่งหมายทางการเมืองและยุทธวิธีในเยเมนเป็นสิ่งที่ชัดเจน มันเกือบเป็นเรื่องตลกที่ประธานาธิบดีโอบาม่าจะมาเจาะจงว่าเยเมนคือความสำเร็จ มันไม่เป็นความจริงมาตั้งแต่เดือนกันยายน และยิ่งไม่เป็นความจริงในวันนี้” มุจตาบา มูซาวี นักวิเคราะห์การเมืองอิสระและบรรณาธิการ Iran’s View กล่าว
“นโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของโอบาม่าอยู่ในความยุ่งเหยิงอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเยเมนหรือซีเรีย เห็นได้ชัดว่าอเมริกาใช้นโยบายที่ผิดพลาด ด้วยการเข้าไปเล่นกับการใช้กำลังที่ตัดขาดจากจุดมุ่งหมายทั้งหมด มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างการจัดการกับความเป็นจริงในสนาม ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างไม่ลดละ และความเป็นจริงที่เพ้อฝันขึ้นมา ซึ่งเหมาะกับความอ่อนไหวทางการเมืองของตน โอบาม่าฝันกลางวันว่าเขาจะผ่านอัล-กออิดะฮ์กับพวกสุดโต่งไปได้ เยเมนเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น” เขากล่าวเสริม
ไม่ว่าโอบาม่าจะคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าพลาดหรือไม่ก็ตามว่าประธานาธิบดีอาเบด รอบบู มันซูร ฮาดี จะล่มไป แต่มันน่าจะมีการขึ้นม้าทางการเมืองผิดตัว เห็นได้ชัดว่านโยบายอะไรก็ตามที่เพนตากอนนำออกมาใช้ในเยเมนจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนส่วนที่อันซอรุลลอฮ์ -ซึ่งเป็นแขนทางการเมืองของกลุ่มเฮาซี- ได้อ้างการผูกขาดไว้แล้วบนแผนที่อำนาจของเยเมน
เมื่อปรากฏชัดว่าฮาดีจะถอนตัวออกไปนับแต่เขาประกาศลาออกเมื่อวันที่ 22 มกราคม วอชิงตันก็กำลังจะหมดพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ในซานาอฺไป และในขณะที่กลุ่มเฮาซีที่แข็งแกร่งได้แสดงตัวมานานแล้วว่าพวกเขาปฏิเสธอัล-กออิดะฮ์ แต่กลุ่มนี้ก็แสดงออกอย่างชัดเจนด้วยเช่นกันว่าจะไม่ยอมให้ใช้เครื่องบินโดรนของโอบาม่าในเยเมน
เมื่อความจริงใหม่ๆ เริ่มปรากฏขึ้นในเยเมน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ก็น่าจะมีความจำเป็นต้องทบทวนและปรับปรุงท่าทีในการรับมือกับลัทธิก่อการร้ายของตน มิฉะนั้นวอชิงตันอาจจะต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะถูกให้ออกไปอยู่นอกสนามหรือแม้แต่ถูกเปลี่ยนตัว
ท่าทีของวอชิงตันในเยเมน
ความเป็นพันธมิตรอันยาวนานของวอชิงตันและซานาอฺในการต่อต้านการก่อการร้ายอาจจะต้องพบกับความท้าทายที่หนักหนาที่สุดก็ได้ ตลอดสิบปีหลังจากที่อดีตประธานาธิดีซาเลห์ได้ไปเยือนอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เพื่อรับประกันว่ารัฐบาลเยเมนจะพยายามในการต่อต้านอัล-กออิดะฮ์ หลังเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน พันธมิตรทั้งสองต่างพบว่าตัวเองอยู่ตกอยู่ในความยุ่งยากทางการเมือง
เมื่อไม่มีรัฐบาลใดพูดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการสนับสนุนเยเมน การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของอเมริกาก็ชนเข้ากับกำแพง ขณะที่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินและลงความเห็นกับปัญหายุ่งยากทางการเมืองอันใหม่นี้ ด้วยการสร้างตัวเชื่อมใหม่และหาพันธมิตรทางการเมืองใหม่บนพื้นทรายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเยเมน ผู้เชี่ยวชาญบางคนไม่ได้ท้าทายเฉพาะแต่ความสามารถในการดำเนินการของวอชิงตันเท่านั้น แต่ยังได้ท้าทายความสำเร็จที่โอบาม่าป่าวประกาศเอาเองนั้นด้วย
ในเดือนกันยายน อิสฮาน ทารูร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของวอชิงตันโพสต์ ได้เขียนว่า “ไม่ว่าจะเป็นในโซมาเลียหรือเยเมน ไม่เห็นว่าภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของอเมริกาจะใกล้ถูกลบล้างออกไปเลย การดำเนินการของสหรัฐฯ อาจจะห้อมล้อมกลุ่มนักรบไว้ได้ แต่การขาดการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่แท้จริงย่อมหมายถึงแหล่งที่มาของการสนับสนุนและความแข็งแกร่งของพวกนั้นยังคงอยู่”
ทารูรฺได้วิจารณ์นโยบายในตะวันออกกลางของโอบาม่าอย่างเผ็ดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องบินโดรนในเยเมนของฝ่ายบริหาร โดยเขาโต้แย้งว่า “เยเมนและโซมาเลียเป็นตัวอย่างของภารกิจคืบคลานของสหรัฐฯ ไม่ใช่ความสำเร็จ”
เช่นเดียวกัน โทนี่ คารอน โปรดิวเซอร์บริหารออนไลน์อาวุโสของอัล-จาซีร่า อเมริกา ได้ประเมินไว้เมื่อเดือนกันยายนว่า เมื่อโอบาม่าอ้างถึงรูปแบบที่สหรัฐฯ ใช้ในเยเมนและโซมาเลีย ว่าเป็นรูปแบบที่จะนำมาใช้ในการต่อสู้กับรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย(ไอซิซ) ด้วย นั่น “เทียบเท่ากับเป็นการขีดเส้นใต้ข้อความที่ว่า ‘ท้ายที่สุดคือคำพูดที่มีผลบังคับในคำสัญญาของโอบาม่าในการที่จะ ‘ทำลาย(ไอซิซ) อย่างถึงที่สุด’”
เขากล่าวไปว่า “ทั้งในเยเมนและโซมาเลีย ศัตรูของอเมริกายังคงอยู่ครบและเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว และการดำเนินการของสหรักฐฯ จึงประสบผลสำเร็จอย่างมากในการดูแลและจำกัดวงภัยคุกคามนั้น แต่ไม่ใช่ในการทำลายมัน”
จะดีหรือแย่อย่างไรก็ตาม และถึงแม้จะมีเสียงคัดค้านมากมายจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน แต่รับฐบาลโอบาม่าก็ยังอาศัยยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายในเยเมนด้วยเครื่องบินโดรน ด้วยถือว่าการโจมตีจากที่ห่างไกลก็เพียงพอแล้วที่จะลบล้างอัล-กออิดะฮ์ไป และยังทำให้สหรัฐฯ จำกัดร่องรอยทางการทหารของตนในดินแดนนี้ได้ แต่ขณะที่โดรนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีการรบที่รักษาชีวิตไว้ได้สำหรับสหรัฐฯ มันกลับได้สร้างความเสียหายร้ายแรงในเยเมน ตามรายงานของสำนักการข่าวเชิงสืบสวน (Bureau of Investigative Journalism) พลเรือนเสียชีวิตไปประมาณ 424 ถึง 629 คน จากการต่อสู้ด้วยเครื่องบินโดรนของอเมริกาตั้งแต่ปี 2002 เป็นเหยื่อที่ไม่มีใครรู้จากสงครามที่มองไม่เห็นของวอชิงตันในเยเมน
“นี่คือฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้หลังอูฐหัก” มูซาวีบอกกับสำนักข่าว “ขณะที่ชาวเยเมนจะให้การสนับสนุนความเป็นพันธมิตรในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างซานาอฺกับวอชิงตัน บนสัญญาที่ว่ามันจะเป็นผลดีต่อพวกเขามากเท่ากับการสนับสนุนการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก แต่โดรนกลับเพียงแต่จะเสริมสร้างความไม่ไว้วางใจและขุ่นเคืองใจที่มีต่อสหรัฐฯ เท่านั้น”
“การต่อสู้ด้วยโดรนของโอบาม่าได้ทำลายความหวังใดๆ ในการร่วมมือกันอย่างมีความหมายในเยเมน เพราะมันได้กีดกันความเป็นอยู่อย่างผาสุกของประชาชนออกไป และได้เหยียบย่ำอธิปไตยของเยเมน”
ขณะที่วอชิงตันมองว่าโดรนเป็นความได้เปรียบทางการทหารด้วยยุทธวิธี แต่คนอื่น รวมทั้งเจเรมี่ สกาฮิลล์ กลับเปรียบการสู้รบด้วยโดรนของอเมริกาว่าเป็นการฆาตกรรม โดยให้เหตุผลว่าความเป็นจริงจากการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนนั้นมีน้ำหนักมากกว่าผลประโยชน์จากการจำกัดร่องรอยทางการทหาร
ในการปรากฏตัวทาง MSNBC เมื่อเดือนมีนาคม 2012 สกาฮิลล์ นักข่าวสงครามและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเยเมนได้ประเมินนโยบายของโอบาม่าในเยเมนอย่างตรงไปตรงมา โดยกล่าวถึงการโจมตีนองเลือดในหมู่บ้านอัล-มาจาลาห์ของเยเมน สกาฮิลล์กล่าวว่า
“ถ้าคุณไปหมู่บ้านอัล-มาจาลาห์ในเยเมน ที่ผมเคยไป และคุณได้เห็นระเบิดที่ยังไม่ระเบิด และคุณมีรายชื่อและหลักฐานภาพถ่าย เหมือนที่ผมมี ผู้หญิงและเด็กๆ เป็นผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากการโจมตีครั้งแรกที่โอบาม่าอนุมัติให้ทำกับเยเมน คนเหล่านั้นถูกฆ่าโดยประธานาธิบดีโอบาม่า ตามคำสั่งของเขา เพราะชื่อว่ามีสมาชิกบางคนของอัล-กออิดะฮ์อยู่ในบริเวณนั้น มีคนเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ถูกระบุตัวว่ามีความเกี่ยวข้องกับอัล-กออิดะฮ์อยู่ที่นั่น และผู้หญิง 21 คน กับเด็ก 14 คน ถูกฆ่าในการโจมตีครั้งนั้น และสหรัฐฯ พยายามที่จะปกปิดมัน แล้วบอกว่ามันเป็นการโจมตีของเยเมน และเรารู้จากวิกิลีกส์ว่า เดวิด เปตรอส สมคบคิดกับประธานาธิบดีของเยเมนเพื่อโกหกต่อโลกว่าใครกระทำการระเบิดครั้งนั้น มันเป็นการฆาตกรรม เป็นการฆาตรกรรมหมู่ เมื่อคุณบอกว่า “เราจะระเบิดพื้นที่นี้’ เพราะเราเชื่อว่ามีผู้ก่อการร้ายคนหนึ่งอยู่ที่นั่น ทั้งที่คุณรู้ว่ามีผู้หญิงและเด็กๆ อยู่ในพื้นที่นั้น สหรัฐฯ มีหน้าที่ที่จะต้องไม่ระเบิดพื้นที่นั้นถ้าพวกเขาเชื่อว่ามีผู้หญิงและเด็กๆ อยู่ที่นั่น ผมเสียใจ นั่นมันเป็นการฆาตกรรม”
การปฏิรูปมิตรภาพ
(ภาพ) ประธานาธิบดีอาเบด รอบบู มันซูร ฮาดี ของเยเมน นั่งหลังจากกล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 67 ที่สำนักงานใหญ่ของยูเอ็น ที่ปรึกษาสองคนของประธานาธิบดีเยเมนกล่าวว่า ประธานาธิบดีถูกกลุ่มเฮาซีจับตัวไป และเตือนว่าถ้ายอมลาออกเพื่อประท้วงการได้อำนาจของเฮาธี จะถูกดำเนินคดี
ขณะที่ประธานาธิบดีฮาดีที่กำลังจะลาออก อาจจะอยากส่งเสริมผลประโยชน์ของวอชิงตันในเยเมน โดยวางตัวเองให้อยู่ในแนวเดียวกับทำเนียบขาวเพื่อเก็บเกี่ยวการสนับสนุนทางการเมืองและการเงิน แต่ระเบียบทางการเมืองแบบใหม่ของเยเมนอาจจะรู้สึกคล้อยตามรอยเท้าเหล่านั้นน้อยลง
ด้วยการเดินขบวนพร้อมกับป้ายข้อความ “อเมริกาจงพินาศ อิสราเอลจงพินาศ” กลุ่มเฮาธีจึงไม่ใช่ว่าที่หุ้นส่วนของวอชิงตันในดินแดนแห่งนี้อย่างแน่นอน ถึงแม้ทั้งสองจะมีความปรารถนาร่วมกันที่จะกำจัดอัล-กออิดะฮ์ก็ตาม
ฮุซเซน อัล-บุคัยตี สมาชิกคนหนึ่งของสำนักงานการเมืองของอันซอรอลลอฮ์ บอกกับสำนักข่าวว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ “เสนอการทาบทามที่จะยื่นไมตรีต่อกันทางการเมืองและการทูตกับผู้นำของเฮาธีและอันซอรอลลอฮ์” แล้ว
“ผมไม่มีอำนาจที่จะกล่าวถึงสิ่งที่พูดกัน แต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าวอชิงตันกำลังพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ในซานาอฺ อันซอรอลลอฮ์ยืนยันว่าตัวเองเป็นตัวแทนอำนาจที่ยืนหยัดอยู่ได้ และเป็นธรรมดาที่สหรัฐฯ ได้เข้าร่วมในการเจรจา” อัล-บุคัยตีกล่าว
วอลสตรีท เจอร์นัล ได้อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คนหนึ่งที่กล่าวว่า “มีการติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการ (กับกลุ่มเฮาธี) มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับที่จะติดต่อสื่อสารกับพวกเขา แม้แต่ก่อนที่เรื่องทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้น”
เพียงเพราะมีการเปิดสายในการติดต่อสื่อสารกันนั้น มันไม่ได้หมายความว่ามีการบรรลุข้อตกลงใดๆ แต่เพนตากอนก็ยังคงเพาะปลูกมิตรภาพใหม่ขึ้นอย่างชัดเจน
“เราต้องรับเอาความเจ็บปวดไม่ใช่เพื่อที่จะจบด้วยการทำให้สถานการณ์ลุกเป็นไฟขึ้นมาด้วยการทำให้นักรบเฮาธีโกรธขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ” เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมคนเดิมกล่าวต่อไป “พวกเขาไม่ใช่เป้าหมายทางการทหารของเรา แต่เป็น AQAP (อัล-กออิดะฮ์ในคาบสมุทรอาหรับ) และเรายังต้องมุ่งเน้นไปที่นั่น”
ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ทั้งในเยเมนและสหรัฐฯ ยังคงไม่ปริปากเกี่ยวกับขอบเขตของความเป็นไปได้ในความร่วมมือระหว่างเฮาธีและสหรัฐฯ อัล-บุคัยตีบอกกับสำนักข่าวว่า วอชิงตันได้จัดเตรียม “การสนับสนุนแก่นักรบเฮาธีเพื่อต่อสู้กับอัล-กออิดะฮ์แล้ว”
“อันซอรุลลอฮ์จะส่งเสริมผลประโยชน์ของเยเมนเสมอ ถ้าอเมริกาสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนที่ใช้การได้สำหรับเยเมน เราก็จะสนับสนุนมันอย่างเต็มที่แน่นอน เราจะสนับสนุนการตัดสินใจของชาวเยเมนไม่ว่าจะอย่างไร เป้าหมายของเราคือการช่วยสร้างรัฐแห่งประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง และอัล-กออิดะฮ์จะไม่มีที่ยืนอยู่ในนั้น” เรากล่าวเน้น
ผืนทรายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ วางหมากของพวกตนไว้เพื่อสะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองของเยเมนที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การกำหนดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรได้กลายเป็นงานที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ในระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เยเมนได้เห็นประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกหลายคนลาออกไปเพื่อเป็นการประท้วงอันซอรอลลอฮ์
ในวันที่ 22 มกราคม หลังจากที่มีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประธานาธิบดีฮาดีและอันซอรอลลอฮ์มาหลายวัน ฮาดีได้เสนอการลาออก และหลังจากนั้นไม่นาน นายกรัฐมนตรีคอลิด บาฮา ก็ลาออกตาม
ฮาดี ผู้ทำหน้าที่เป็นรองประธานาธิบดีขออดีตประธานาธิบดีซาเลห์มานานกว่าสิบปี กล่าวโทษการควบคุมเมืองซานาอฺของกลุ่มเฮาธีว่าเป็นตัวขัดขวางความพยายามร่วมสองปีของเขาในการที่จะนำเยเมนไปสู่เสถียรภาพหลังจากที่มีผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนและความวุ่นวายระหว่างเผ่ามานานหลายปี
ถึงแม้การลาออกของฮาดีจะยังไม่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการโดยรัฐสภา แต่ “เยเมนก็ยืนหยัดเป็นสาธารณรัฐที่ปราศจากผู้นำ เป็นสภาพของรัฐที่ล้มเหลว” แอนโธนี บิสเวลล์ ที่ปรึกษาต่างประเทศของเยเมนและนักวิจัยของ HIS Limited ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการคำปรึกษา บอกกับสำนักข่าว
และมีอันตรายอย่างแท้จริงอยู่ตรงนั้น
ขณะที่นักการเมืองและบรรดาผู้นำเผ่าจะต้องพยายามรักษาความมั่นคงในแวดวงการเมืองของตนเอาไว้ อัล-กออิดะฮ์ก็กำลังรุกคืบเข้ามาในจังหวัดทางภาคใต้ของเยเมน โดยขยายการครอบครองไปยังจังหวัดชับวา และมาริบ ที่อุดมไปด้วยน้ำมัน เป็นการเยาะเย้ยรัฐบาลที่เคลื่อนไปคนละทางกับตำแหน่งของมัน
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับอัล-กออิดะฮ์ ขณะที่เยเมนยังพิจารณาวย่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร การโจมตีด้วยเครื่องบินโดรนที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเป้าไปยังนักรบอัล-กออิดะฮ์ในเมืองมาริบ ทำให้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตสามคน
แต่ปฏิบัติการที่ไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และไม่มีความร่วมมือใดๆ การโจมตีเพียงไม่กี่ครั้งจะสามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการหยุดความก้าวหน้าของอัล-กออิดะฮ์เพียงชั่วคราวในเยเมนที่ยากจนลงทุกวันได้หรือ?
ท่ามกลางความไม่แน่นอนอย่างมาก ความจริงอันเจ็บปวดอย่างหนึ่งปรากฏเด่นชัดขึ้นมา : อัล-กออิดะฮ์เท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากความวุ่นวายนี้
เขียน Catherine Shakdam
ที่มา http://www.mintpressnews.comแปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์