เปิดข้อมูล “ฐานทัพทหาร” ของสหรัฐฯในตะวันออกกลาง

8232

อเมริกาได้สร้างฐานทัพของตนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ใน 130    ประเทศทั่วโลก  

ALALAM   –   ภารกิจของฐานทัพเหล่านี้ นอกเหนือไปจากการปฏิบัติการทางทหาร การดำเนินงานของหน่วยสืบราชการลับ และการเอื้อผลประโยชน์ให้กับทำเนียบขาวแล้ว  ก็เพื่อให้ความรู้และความร่วมมือกับทหารชาติต่างๆที่อเมริกาได้ตั้งฐานทัพในประเทศเหล่านี้

บางฐานทัพของอเมริกา  อาทิเช่น ฐานทัพในญี่ปุ่น   เยอรมันและเกาหลีใต้ มีอายุเก่าแก่ถึง  50    กว่าปี
ปัจจุบันอเมริกามีฐานทัพใหม่ในแถบตะวันออกกลาง  โดยตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการทางทหารในอิรักและเขตพื้นที่ของตะวันออกกลาง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางทหารสำหรับอเมริกา

ฐานทัพอเมริกาในซาอุดิอาระเบีย

ซาอุดิอาระเบียคือศูนย์กลางการบัญชาการทหารของฐานทัพอเมริกาในเขตภูมิภาค  ปัจจุบันมีทหารอเมริกาประจำการในซาอุดิอาระเบีย จำนวน  435    นาย   ทว่าหลังเหตุการณ์สงครามคูเวต อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆของอเมริกาที่มีอยู่ในฐานทัพซาอุดิอาระเบียก็ถูกเคลื่อนย้ายไปยังทัพฐานทัพต่างๆในตะวันออกกลางและยุโรป

เป้าหมายและภารกิจของการตั้งฐานทัพแห่งนี้ ตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายนั้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางทหาร   การซ้อมรบร่วม   ติดตั้งและเสริมอาวุธรุ่นใหม่ให้กับกองทัพซาอุดิอาระเบีย

ฐานทัพหลักที่สำคัญของอเมริกาในซาอุดิอาระเบีย คือ

เมืองตะบูก (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ)     เมือง คะมิส มะชียฏ์  (ทางภาคใต้ของประเทศ)     ญิดดะห์    ศ็อฮ์รอน   ริยาด   ฏออิฟ  มะดีนะห์  และ  ฮัฟร์ บาฏิน

 

ฐานทัพอเมริกาในคูเวต

หลังจากเสร็จสิ้นสงครามอิรักคูเวต (ยุคสมัยของซัดดัม ฮูเซ็น)  ได้มีการบรรลุข้อตกลงทางทหารระยะยาวระหว่างอเมริกาและคูเวต

ในวันที่ 28     กรกฎาคม   1991  ตามข้อตกลงทั้งสองฝ่าย กองกำลังภาคพื้นดินของอเมริกาสามารถอยู่ในคูเวตเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีกำหนด

ฐานทัพอเมริกาในบาห์เรน

บาห์เรนเป็นฐานทัพของเรือรบลำที่ห้าของอเมริกา  เช่นเดียวกันนั้น ยังมีทหารเรือของอังกฤษประจำการในฐานทัพของบาห์เรนอีก จำนวน 1,000  นาย

ปัจจุบันบาห์เรนเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญที่สุดของอเมริกาในการปฏิบัติการทางทะเลของอเมริกาในแถบตะวันออกลาง   สนามบินนานาชาติ“อัลมุห์ริก” ของบาห์เรน  เป็นศูนย์หลักของการขับเคลื่อนทางทหารของอเมริกา

นอกจากนั้น ฐานทัพอากาศ “ ชัยค์ อีซา” ในบาห์เรน ยังเป็นฐานทัพหนึ่งที่สำคัญของอเมริกาในการปฏิบัติการทางอากาศ  โดยที่เครื่องบินสอดแนม โดรน ของอเมริกาก็ตั้งอยู่บนฐานทัพนี้

หลังจากที่ทหารอังกฤษ ออกจากบาห์เรน ในปี 1971 อเมริกาก็ได้บรรลุข้อตกลงด้านความมั่นคงและการทหารกับบาห์เรน   ซึ่งบนพื้นฐานข้อตกลงดังกล่าวอเมริกาสามารถใช้น่านน้ำของบาห์เรนในการปฏิบัติการทางทหารได้ทุกเมื่อ
ในเดือน ธันวาคม ปี  2014 กรุงลอนดอนเปิดเผยกรณีการบรรลุข้อตกลงครั้งใหม่ระหว่างลอนดอนกับบาห์เรนในการสร้างฐานทัพใหม่ในบาห์เรน   ด้วยเหตุนี้ บาห์เรนจึงถือเป็นฐานทัพเรือแห่งแรกของอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษได้ถอนออกจากตะวันออกกลางจากบาห์เรน เมื่อปี  1971

ฐานทัพอเมริกาในโอมาน

ความร่วมมือทางทหารระหว่างอเมริกากับโอมาน มีขึ้นในวันที่   21    เมษายน ปี 1980  โดยข้อตกลงดังกล่าวมีการต่ออายุถึง 4    ครั้งด้วยกัน   และข้อตกลงใหม่ล่าสุดมีขึ้นเมื่อปี   2010       ทว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น ทหารอเมริกาในฐานทัพโอมานเริ่มลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

 

ฐานทัพอเมริกาในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์

ในปี 1994 อเมริกาได้บรรลุข้อตกลงร่วมมือทางทหารกับเอมิเรสต์ ตามข้อตกลงดังกล่าวได้มีการเปิดสำนักงานทางทหารเพื่อสร้างฐานทัพเชิงยุทธ์ศาสตร์ใน ท่าเรือ   “ซาเอด”   “ญาบาลุล ออลี”   “ดูไบ”   และ “ฟะญีเรห์”

ในปี   2009       ฝรั่งเศสได้สร้างฐานทัพถาวรของตนในเอมิเรสต์   โดยในฐานทัพแห่งนี้มีทหารประจำการจำนวน 800   กว่านาย

เอมิเรสต์ ยังอนุญาตให้ทหารอเมริกาและฝรั่งเศสใช้ฐานทัพอากาศ  “อัลศ็อฟ รอฮ์”  สำหรับการปฏิบัติการได้ทุกเมื่อ
นอกจากนั้น ในเอมิเรสต์ ยังมีทหารของออสเตรเลียและเกาหลีใต้นับร้อยนายร่วมอยู่ด้วย

ในปี  2011      เอมิเรสต์ได้เซ็นสัญญาข้อตกลงกับบริษัทแห่งหนึ่งของอเมริกา เพื่อดึงดูดกองกองกำลังจากแอฟริกาใต้และโคลัมเบีย เพื่อสามารถใช้งานทางทหารได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

 

ฐานทัพอเมริกาในกาตาร์

ในปี  1992       กาตาร์ได้เซ็นสัญญาด้านความมั่นคงกับอเมริกา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความร่วมมือให้กับกองทัพ   โดยความร่วมมือดังกล่าวยังคงมีอยู่จนถึงวันนี้

ในปี   2002     ก่อนบุกโจมตีอิรัก   โดยกองกำลังพันธมิตรภายใต้การนำของอเมริกา   รัฐบาลของ จอรช์ บุช สหรัฐอเมริกา  ได้ประกาศว่า  ศูนย์บัญชาการกลางของทหารอเมริกาจะเคลื่อนยังไปยังฐานทัพอากาศในกรุงโดฮา
กาตาร์ถือเป็นเจ้าบ้านที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกา ในตะวันออกกลาง

ในปี   2002   และ   2003        ศูนย์กลางการบัญชาการทหารอากาศของสหรัฐได้ย้ายออกจากซาอุดิอาระเบีย มาเป็นกาตาร์  ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในฐานทัพ “โคร์ อะดีด”  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโดฮา

กาตาร์ใช้งบประมาณ  400   ล้านดอลลาร์ในการบูรณะซ่อมแซมฐานทัพอเมริกาที่ตั้งอยู่ในประเทศ