ในปทานุกรมว่าด้วยการย้ายถิ่นอาศัยของมนุษย์ ยังคงแฝงไปด้วยการลำดับคำ ที่รังสรรค์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกให้คนผิวขาว อยู่เหนือกว่าคนประเภทอื่นๆ และหนึ่งในเศษคำเหล่านั้น คือคำว่า “Expat” ที่หมายถึง “ชาวต่างชาติ” (หรือ “ฝรั่ง” บ้านเรานี่แหละ)
ชาวต่างชาติ คือ อะไร? แล้วใคร? จากหมู่ใดกันหรือที่จัดอยู่ในจำพวก “ชาวต่างชาติ” ที่ว่านี้ อ้างอิงจากวิกิพิเดียเวอชั่นสากล บอกว่า “ชาวต่างชาติ หรือ Expat หมายถึง บุคคลที่อาศัย อยู่ชั่วคราว หรือ ตั้งรกรากถาวร ในประเทศอืนที่ไม่ใช่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน โดยคำว่า Expat (ที่ย่อมาจากคำว่า expatriate) ดังกล่าว มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละติน; คือ Ex ที่หมายถึง ออกจาก และ patria ซึ่งหมายถึง ประเทศ หรือ ปิตุภูมิ
เมื่อมันถูกให้ความหมายเช่นนี้ เราจึงคาดหวังว่า ผู้ใดก็ตาม ที่ทำงาน อาศัย อยู่กินต่างถิ่น ในระยะเวลาตามที่ว่าไว้ ย่อมถูกจัดเป็น “ชาวต่างชาติ” อย่างแน่นอน ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะมีผิวสีใด หรือ มาจากประเทศไหน หากทว่า ในความเป็นจริงแล้ว มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อคำว่า Expat หรือ ชาวต่างชาติ กลับเป็นคำที่อภิสิทธิสงวนไว้ให้สามารถใช้ได้เฉพาะ คนขาวจากฝั่งตะวันตก ที่ไปทำงานนอกประเทศตนเองเท่านั้น ไม่ได้เหมารวมคนอื่นๆด้วย ตามที่เราต่างหลงคิดกันไปเอง
ชาวแอฟริกัน อาหรับ เอเชีย ต่างถูกจัดไว้ในหมู่ ผู้อพยพ หรือ คนต่างด้าว ทั้งสิ้น ขณะที่ชาวยุโรป กลับเป็นกลุ่มชน ที่ถูกจัดไว้ในหมู่ ชาวต่างชาติ ด้วยสาเหตุที่พวกเขาเหนือกว่า พวกเขาจึงไม่สามารถมีฐานะเช่นเดียวกันกับเชื้อชาติอื่นๆได้ “ผู้อพยพ” /“ต่างด้าว” คือ ศัพท์ หรือ พจน์ ที่จัดสงวนไว้ให้กับ “เชื้อชาติที่ด้อยกว่า” (inferior races) นั่นเอง
ถึงกระนั้น ก็อย่าฟังผมเลยดีกว่า เมื่อนิตรสารเพื่อข้อมูลทางการเงินชั้นนำของโลก The Wall Street Journal ได้สร้างบล็อกหนึ่งขึ้นมา อุทิศเฉพาะแด่ ชีวิตของชาวต่างชาติ พวกนี้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาได้เผยแพร่บทความพิเศษหนึ่ง ภายใต้หัวข้อ “ตกลงใครกันหรือ คือชาวต่างชาติ?” ซึ่งมีเนื้อหา โดยสรุปใจความหลักได้ว่า…
“บางคนที่เข้ามาในประเทศ ก็จะถูกจัดไว้เป็น ชาวต่างชาติ ขณะที่คนอื่นๆคือ ผู้อพยพ หรือ คนต่างด้าว เหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับชั้นทางสังคม ประเทศดั้งเดิม และ สถานภาพทางเศรษฐกิจ ของพวกเขา มันค่อนข้างแปลกหูน่าดู เมื่อคนที่ย้ายมาจาก ฮ่องกง จะถูกเรียกว่า ชาวต่างชาติ ในขณะที่ ใครก็ตามที่มีรกรากมาจากประเทศในฝั่งตะวันตก จะถูกพิจารณาให้เป็นชาวต่างชาติ คนรับใช้ชาวฟิลิปปินส์ เป็นได้เพียงแค่ “ผู้มาเยือน” แม้พวกเขาจะทำงานอยู่ในประเทศกว่าหลายทศวรรษ แล้วก็ตาม และจำนวนน้อยเป็นอย่างมาก ที่ ชาวจีน พูดแมนดารีน ภาษาประจำแผ่นดินแม่ จะถูกยกให้เป็น ชาวต่างชาติ… นี่คือความเป็นสองมาตฐาน ที่ทักทอไปสู่นโยบายอย่างเป็นทางการ”
มีพื้นที่ในการอภิปรายเพื่อการพัฒนา สำหรับผู้เชี่ยวชาญชาวแอฟริกันไหม?
ความจริงคือสิ่งเดียวกัน ในทวีปแอฟริกา และยุโรป แม้จะเป็นถึงผู้เชี่ยวชาญ ชาวแอฟริกันที่เข้าไปทำงานในยุโรป ก็ไม่อาจได้รับการขึ้นทะเบียนพิจารณาให้เป็น ‘ชาวต่างชาติ’ ได้ พวกเขาเป็นเพียง ผู้อพยพ หรือ คนต่างด้าว เท่านั้น – “ผมทำงานให้กับองค์กรข้ามชาติ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ที่ซึ่ง ความเป็นคนผิวดำ หรือ ผิวสี ได้เป็นเหตุให้ผมไม่สามารถใช้คำว่า ‘ชาวต่างชาติ’ ได้ และเพื่อความถูกต้องทางการเมือง พวกเขาเรียกผมว่า ‘ผู้อพยพที่มีคุณภาพสูง’ – แรงงานต่างด้าวชาวแอฟริกันกล่าว
คนขาวส่วนใหญ่มักปฏิเสธว่า พวกเขาเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์ของระบบชนชั้นนี้ กระนั้น หน้าที่ของเราก็คือ การชี้ให้เห็น และปฏิเสธไม่ให้พวกเขาครอบครองสิทธิพิเศษ ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ คตินิยม Supremacist ที่ล้าหลัง หรือ ระบบคิดที่สนับสนุนความเหนือชั้นกว่าของคนกลุ่มหนึ่ง อันนี้ หากคุณเห็น Expats พวกนั้นใน แอฟริกา ให้เรียกพวกเขาว่า ผู้อพยพ หรือ คนต่างด้าวเหมือนกับคนอื่นๆ หากว่า นั่นคือสิ่งที่บั่นทอนความรู้สึก ในความเป็นคนขาวที่เหนือกว่า ของพวกเขา ก็ให้พวกเขากระโดดขึ้นไปในอากาศและลอยค้างอยู่เช่นนั้น การทำลายแนวคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษรฐกิจและการเมืองที่ล้าหลังในมุมมองของโลก ชุดนี้ จะต้องดำเนินต่อไป !
บทความโดย Mawuna Remarque Koutonin บรรณาธิการประจำ SiliconAfrica.com และนักเคลื่อนไหวเพื่อการฟื้นฟูแอฟริกา (Africa Renaissance. @siliconafrica)
ที่มา: http://www.theguardian.com