เปิดปูม “บินลาเดน” และ “อัลกออิดะฮ์” จากเส้นทาง“ญิฮาด” สู่องค์กรก่อการร้าย

โดย : ยูซุฟ ญาวาดี

4302

หนึ่ง ในเยาวชนเมื่อครั้งอดีต ที่ได้เดินทางไปยังปากีสถาน เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย นามว่า อุสามะฮ์ ซึ่งได้ผันตัวเองให้กลายเป็นผู้ปฏิบัติตาม อับดุลลอฮ อะซอม  อย่างสมบูรณ์

ซึ่งช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ได้อยู่ภายใต้การอบรมบ่มสอน ของอะซอม และได้เข้าร่วมสงครามต่างๆ ในอัฟกานิสถาน อย่างมากมาย

เนื่อง ด้วยการปรากฏตัวอย่างมีสีสันและแปลกประหลาด ของกลุ่มกองกำลังซะลาฟีย์ตักฟีรีย์  การทำความรู้จักกับกลุ่มต่างๆเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เราจะเห็นในบทความ หรือบทวิเคราะห์ต่างๆ แพร่หลายเป็นอย่างมาก ทั้งที่เป็นพื้นฐาน หรือบรรยายในลักษณะเชิงลึก เกี่ยวกับกลุ่มตักฟีรีย์เหล่านี้  และการกระทำ หรือ เรื่องราวมากมาย ที่บอกเล่าถึง วิถีที่บิดเบี้ยวต่างๆ ของกำลังตักฟีรีย์เหล่านี้ (แน่นอน ว่า แม้แต่พวกพ้องที่ยึดถือ มัซฮับหรือนิกายเดียวกัน ก็ทำการตักฟีรต่อกลุ่มๆ อื่น และมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในหมู่กลุ่มเหล่านี้อย่างมากมาย)

ใน หนังสือพิมพ์ อัซซะฟีร ของเลบานอน มีการนำเสนอบทวิเคราะห์สำคัญที่กล่าวถึงที่มาของการก่อตั้งกลุ่ม อัลกออิดะฮ์ และเส้นทางการเติบโต ขององค์กรนี้ ซึ่งจะขอนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ รับรู้ถึงข้อมูลต่างๆเหล่านี้

นับตั้งแต่สามปีก่อน มีการเริ่มต้นการประท้วงโดยประชาชน  ซึ่งเรียกกันว่า “อาหรับสปริง” หรือ อิสลามิค อเวคเคนนิ่ง

การ เคลื่อนไหวของโลกอาหรับ ค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ในแต่ละมุม ของแผนที่โลก เริ่มมีการปรากฎผลสะท้อนของปรากฎการณ์นี้ขึ้นอย่างเห็นชัด ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ในช่วงท้าย ได้ส่งผลกระทบ กับประเทศต่างๆของอาหรับ เช่น ซีเรีย ลีเบีย ตูนิเซีย ทะเลทรายซีนา อิยิปต์  และเช่นเดียวกัน เราจะเห็นว่า ในประเทศต่างๆ ที่มีมุสลิมอาศัยอยู่ ก็มีปรากฏการณ์ อิสลามิคอเวคเคนนิ่ง เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น ในจีเรีย หรือมาลี

ขณะ เดียวกัน เมื่อสถานการณ์เริ่มปะทุรุนแรงขึ้น กลุ่มก่อการร้าย อัลกออิดะฮ ก็ได้เล็งเห็นผลประโยชน์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอันที่จริงแล้ว ตั้งแต่ปี 2000 กลุ่มอัลกออิดะฮ์ ได้นำเสนอโครงการของตัวเอง เพื่อให้เกิดผลกระทบเช่นนี้อยู่แล้ว และด้วยความพยายามของกลุ่ม ญิฮาดิยูน และการเกิดปัจจัย ต่างๆ ที่ทำให้ กลุ่มกองกำลังเหล่านี้ จึงทำให้แผนการและกลยุทธ์ของอัลกออิดะฮ รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว และพวกเขาก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากสภาวะวิกฤตนี้ ได้อย่างดีเลยทีเดียว

เรา คงต้องกล่าวกันว่า อัลกออิดะฮ์ ในวันนี้ ไม่เหมือนอัลกออิดะฮ์ในอดีตอีกต่อไปแล้ว  องค์กรเหล่านี้ได้ดำเนินการแผนการของตนเอง จนสามารถขยายองค์กรให้ใหญ่ขึ้น และมีสาขาที่มากมายแพร่หลายทั้งในแอฟริกาทางตอนเหนือ เอเชีย ใต้ และตะวันออกกลาง และทุกๆ องค์กรที่แตกกิ่งออกไปล้วนมีที่มา จากอัลกออิดะฮ์ หรือไม่ก็มาจากองค์กรที่เป็นสาขาของอัลกออิดะฮ์

ซึ่ง เส้นทางของ องค์กรณ์ก่อการร้ายต่างๆ เหล่านี้ ล้วนอ้างว่า ดำเนินตามรูปแบบของอัลกออิดะฮ์ หรือถือว่าอัลกออิดะฮ์เป็นผู้นำของพวกเขา ซึ่งอันที่จริงแล้วสมาชิกหลักของกลุ่มก่อร้ายอัลกออิดะฮนั้นมาจาก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ซึ่งถูกเรียกกันว่า “นักสู้รุ่นแรก” แต่ส่วนมากของสมาชิกองค์กรกลับกลายเป็นกลุ่มกองกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ที่ถูก ดึงเข้ามาจากผลของอาหรับสปริง

องค์ กรอัลกออิดะฮ์มี “การญิฮาด” เป็นธงหลักสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่อัลกออิดะฮ์ได้ใช้กองกำลังจากแอฟริกา เอซียใต้ ตะวันออกกลาง เพื่อทำสงครามอย่างต่อเนื่องกับตะวันตก  ซึ่งในแต่ละปฏิบัติการก็จะมีกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเหมือนอัลกออิดะฮ์ เป็นผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนอยู่เสมอมา แต่ไม่ว่าปฏิบัติการจะเป็นแบบไหน มันก็จะมีลักษณะเฉพาะ หรือเอกลักษณ์ ที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดออกมา

-1- การก่อตั้งองค์กร (1998)

หลัก จากที่สหภาพโซเวียตได้ส่งทหารไปยังอัฟกานิสถาน ในช่วง 10 ปี ระหว่าง 1979-1989 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน  ก็เริ่มมีขบวนการอพยพของเยาวชนมุสลิมอย่างมากมาย ซึ่งไม่เคยเห็นในที่ใดมาก่อน กระจายไปแต่ละมุมของโลก เพื่อทำการ ตอบรับ ฟัตวา “ญิฮาด”  ในการต่อสู้กับสหภาพโซเวียต  ซึ่งการอพยพนี้ ครอบคลุมทั้ง อเมริกา และเอเชียใต้  และยังมีการอพยพไปยังปากีสถาน ของกลุ่มอัฟกัน เพื่อตั้งหลักยืนหยัดในการต่อสู้ (ในเบื้องต้น กลุ่มกองกำลังไม่สามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่ถูกยึดครองของอัฟกานิสถานได้  จึงเข้าไปทางปากีสถาน และเริ่มทยอย เข้าสู่อัฟกานิสถานจากที่นั่นอีกครั้ง)

ซึ่ง ในขณะนั้นเอง ก็มีบุคคลผู้หนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในการเคลื่อนไหว และการก่อตั้งองค์กร ได้ปรากฏให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวโลก นั่นก็คือ “อับดุลลอฮ อัซซอม ซาลาฟีย์” ผู้ก่อตั้ง “อัลกออิดะฮ์”

คำ ปราศรัย และข้อเรียกร้องของเขา  คือการเรียกร้อง ปกป้องมุสลิมผู้อ่อนแอ และปลดแอดผู้ถูกกดขี่ ในอัฟกานิสถาน  ซึ่งสร้างความนิยมให้กับมวลชนเป็นอย่างมาก  โดยมีการเขียนบทความ หรือกล่าวคำปราศรัย หรือกระจายเสียงผ่านทางวิทยุ และส่งสาส์นนี้ ไปสู่ มวลมุสลิม ทั่วโลก

จา กอัซซอม เพียงคนเดียว  แปรเปลี่ยนเป็นกลุ่มๆหนึ่ง ที่คอยให้การช่วยเหลือสังคมอิสลามและสนับสนุนให้ทำการญิฮาดตามหมู่บ้านต่างๆ ในอัฟกานิสถาน และในเวลาต่อมา ก็ได้มีการสร้างสำนักงานที่เป็นศูนย์กลางขึ้นมาในเปชาวาร์ ปากีสถาน  ซึ่งสำนักงานนี้ ถูกใช้เป็นที่ต้อนรับบุคลากร ที่จะถูกส่งไปฝึกการทหาร เพื่อทำสงครามในอนาคต

หนึ่ง ในวัยรุ่นที่ได้เดินทางไปยังปากีสถานในครั้งนั้น คือ นักศึกษาอาหรับ มีนามว่า “อุสามะฮ์ บินลาเดน” ซึ่งในภายหลังเขาได้กลายเป็นสาวกชั้นนำของอัซซอม

บิน ลาเดนได้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวประสบการณ์และเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากอัซซอมในระยะเวลาไม่มากนัก และได้เข้าร่วมในส่งครามอัฟกานิสถาน  แล้วสร้างกลุ่มเฉพาะขึ้นมา  เพื่อระดมความช่วยเหลือจากทั่วโลก  และสร้างระบบอีกระบบหนึ่งเพื่อทำการสนับสนุน อัซซอม โดยองค์กรที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้มีชื่อว่า “บัยตุลอันศอร“

ใน ปี 1998 สหภาพโซเวียตได้ถอยทัพจากอัฟกานิสถาน  ภายหลังจากที่พ่ายแพ้จากกองกำลังชาวอัฟกัน  ซึ่งชัยชนะในครั้งนี้ เป็นของ “มุญาฮีดีนอัฟกัน” (กลุ่มที่ต่อสู้กับสหภาพ เรียกว่า “มุญาฮีดีน”  ซึ่งกองกำลังดังกล่าว มีบุคคลที่เป็นที่รู้จัก อาทิเช่น อับดุลลอฮ มัสอูด ชา,  บุรฮานุดดีน รอบบานีย์, กัลป์บุดดีน ฮิกมัต ยอร, อับดุลรอบบุ รอซูล, ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ในช่วงเริ่มต้นได้นำเสนอในแนวทางอิสลาม ไม่ได้เริ่มต้นจากแนวทาง ตักฟีรีย์

ทว่า ภายหลังจากชัยชนะในครั้งนี้ กองกำลังกลุ่มใหญ่ ของอาหรับ ก็ยังคงปักหลักตั้งถื่นฐานอยู่ที่นี่ (กลุ่มเหล่านี้ รู้จักในทางการเมือง นามว่า “อาหรับอัฟกัน” ซึ่งบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ อับดุลลอฮ อัซซอม อุสามะฮ บินลาเดน อบูมุซอับ ซัรกอวีย์

ภาย หลังจากที่กลุ่มมุญาฮีดีน ได้รับชัยชนะเหนือสหภาพโซเวียต จากสงคราม “ญิฮาดอัฟกานิสถาน” แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจและปลื้มปิติ แก่เหล่าอาหรับอัฟกัน  คนเหล่านี้ไม่พอใจกับระบบการปกครองในประเทศต่างๆของพวกเขา (พวกเขาไม่มีงานในอัฟกานิสถาน และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้) ท้ายที่สุดคนกลุ่มนี้ ก็เปลี่ยนตัวเอง กลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีทิศทาง และไร้ผู้นำ

แต่ ในช่วงเวลาเดียวกัน กิตตศัพท์ และบารมีของ บินลาเดน เพิ่มพูนขึ้น เนื่องด้วยเขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่อุดหนุนงบประมาณในการทำสงครามอย่างมหาศาล และนอกเหนือจากการใช้จ่ายทางการเงินแล้ว เขายังเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ของกลุ่มกองกำลังนี้อีกด้วย

ใน เวลานี้เอง อับดุลลอฮ อัซซอม และบางส่วนได้นำเสนอความคิดเห็นว่าควรจะส่งกลุ่มมุญาฮีดีนนี้ไปทำสงครามใน แผ่นดินปาเลสไตน์ และตั้งองค์กรอยู่ที่นั่น ทว่าบินลาเดน มีความเห็นอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือองค์กรแห่งนี้ต้องการความก้าวหน้า และศูนย์กลางในการศึกษา ฝึกอบรมทางการทหาร ที่พัฒนา ยิ่งขึ้น และให้เน้นไปทางด้านกองกำลังอาหรับ เพื่อที่จะทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจ ต่างๆ ได้ครอบคลุมทุกมุมโลก

ภาย หลังจากนั้น ไม่นานนัก อับดุลลอฮ อัซซอม ก็ถูกลอบสังหาร (กล่าวกันว่าเป็นฝีมือของ CIA) ต่อมา อิทธิพล ของบินลาเดน จึงเป็นรูปร่างมากขึ้น

ภาย หลังจากการที่อิรักโจมตีคูเวต และการคุกคามของชาติอาหรับ บินลาเดน  ซึ่งได้เดินทางกลับไปยังประเทศของตน ยังคงยินดีอยู่กับเกียรติยศ และชัยชนะที่ได้รับมาจากอัฟกานิสถาน เขาได้เสนอให้รัฐบาลอาหรับซาอุดี้ใช้ประโยชน์จากกองกำลังของเขาในการป้องกัน สงครามที่อาจเกิดจากการรุกรานของซัดดัมในอนาคต  ทว่าซาอุกลับไม่ใยดีในน้ำใจที่ บินลาเดนยื่นเสนอให้ ทางซาอุกลับขอความช่วยเหลือจากอเมริกา  และด้วยเหตุนี้ บินลาเดน จึงได้เรียกการขอความช่วยเหลือนี้ว่า เป็น “เป็นการนำบรรดามุลฮีดีน (ผู้ปฏิเสธศาสนา) เข้าสู่แผ่นดินฮารอมัยน์ อันศักดิ์สิทธิ์“

(บิน ลาเดนถือว่า การเข้าแทรกแซง ของอเมริกา คือ การยึดครองแผ่นดินอิสลามเพราะก่อนหน้านี้ การเข้ายึดครอง อัฟกานิสถาน โดย สหภาพ ก็เริ่มต้นด้วยการแสดงท่าที ว่าจะให้ความช่วยเหลือ ต่อรัฐบาล คอมมิวนิสต์อัฟกานิสถาน)

บิน ลาเดน ได้แสดงการเป็นศัตรูอย่างแจ่มแจ้งต่อการกระทำในครั้งนี้ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลซาอุกับ บินลาเดน จึงได้ถูกตัดขาด และกลายเป็นบุคคลที่รัฐบาลไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งภายหลังบินลาเดน ได้เดินทางออกนอกประเทศ และไปตั้งฐาน อยู่ที่ ซูดาน เพราะ ประเทศนี้ ใช้ระบบการปกครองแบบอิสลาม

-2- การย้ายถิ่น (1992)

หลัง จากที่ย้ายไปอยู่ซูดาน บินลาเดน ได้วางแนวทาง และการทำงาน ของอัลกออิดะฮ ในการเป็นศัตรูกับอเมริกาอย่างชัดเจน สมาชิกส่วนมากได้ย้ายไปอยู่ใน คาร์ทูม (เมืองหลวงของซูดาน)  และตัวของบินลาเดน เอง ก็ได้เริ่มบัญชาการที่นั่น พร้อมทั้งสร้างกฎเกณท์ และระบบต่างๆ ทั้งในด้านการค้า และการเกษตร จน อัลกออิดะฮ มีอำนาจเพียงพอที่จะ ทำสงครามกับตะวันตกได้

การ โจมตีครั้งแรกของอัลกออิดะฮ์เกิดขึ้น ในเดือนธันวาคม ปี 1992  ซึ่งอัลกออิดะฮ์ได้พยายามในการระเบิดโรงแรมแห่งหนึ่งในเยเมน แต่ในช่วงเริ่มต้น ของกลุ่มก่อการร้ายนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหรนัก ซึ่งการระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตในบริเวณนั้นสองคน แต่จุดประสงค์ในการวางระเบิด คือ การสังหารหมู่กองกำลังทหารอเมริกาที่เดินทางไปยังโซมาเลีย เพื่อทำการปฏิบัติภารกิจที่นั่น (ในยุคนั้น สหประชาชาติ และตะวันตก ได้ส่งกองกำลัง เข้าแทรกแซงทางการทหาร ในประเทศ โซมาเลีย และเยเมนถูกใช้เป็นสถานที่ในการลำเลียงทหารไปสู่โซมาเลีย ประเทศเพื่อนบ้านของเยเมน)

ใน ช่วงเริ่มต้น อัลกออิดะฮ์ มีความสามารถที่จะส่งทหาร เข้าทางตอนใต้ของโซมาเลีย และในปี 1992 -1994 อัลกออิดะฮ ยังได้พยายาม ฝึกทหารให้กับชาวโซมาเลีย เพื่อใช้ในการทำสงครามกับสหประชาชาติและตะวันตก แต่ความพยายามก็ต้องสูญเปล่า

ถึง กระนั้นก็ตามองค์กรของ บินลาเดน ก็ยังไม่ประสบผลเป็นรูปร่างเท่าใดนัก ซึ่งภายหลังจาก 5 ปี ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติภารกิจ ได้ลุล่วง ในด้านหนึ่ง บินลาเดน ยังคง กดดัน ทางสื่อ และการเมือง ต่อรัฐบาลซาอุ ให้ขับไล่ อเมริกา ออกจากประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งซูดานเอง ก็ได้รับ ความกดดันอย่างหนักจาก สหประชาชาติ เพราะการปรากฏตัวของบินลาเดน ในประเทศนี้ จึงเป็นเหตุให้บินลาเดน ต้องถูกเนรเทศ ออกจากประเทศ และกลับไปหาที่หลบภัย ที่อัฟกานิสถานตามเดิม แต่ในครั้งนี้ เขากลับมา ภายใต้ ปีกของ ตอลีบัน และได้รับการสนับสนุน จากมุลลา มูฮัมมัด อุมัร

สองคำฟัตวา อันเลื่องลือ (1996-1998)

การก ลับมาอัฟกานิสถานอีกครั้งของบินลาเดน เป็นเหตุให้ตอลีบัน มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้น อัลกออิดะฮ์ ได้เริ่มปฏิบัติการในการฝึกทหารให้กับ กองกำลังติดอาวุธของตอลีบัน ทางตะวันออก ของอัฟกานิสถาน ในการทำสงครามกับชาวฮินดู ใน แคชเมียร์

นอกจาก การฝึกอบรม ทางด้านทหารแล้ว บิน ลาเดน ยังกระจายกองกำลังในจุดๆต่างของอัฟกานิสถาน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับศัตรู ทั้งนี้หลังจากสหภาพโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน เกิดสงครามภายในที่รุนแรงและหนักหน่วงระหว่างมุญาฮีดีน กินเวลา ถึง 7 ปี  และเพราะเหตุนี้เอง กองกำลัง ตอลิบัน จึงมีความพร้อม ในการปรากฎตัว

ทว่า เหตุการณ์ที่สำคัญกว่า คือเหตุการณ์ในปี 1996 โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม ของ ปีนี้ บินลาเดน ได้ออกคำฟัตวา  ประกาศสงครามกับอเมริกา ในแผ่นดิน ศักสิทธิ์ อัลฮะรอมัยน์

แน่นอน เราควรจะกล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนฟัตวานี้ นั่นก็คือ เหตุการณ์ในวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม  ที่มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิด อาคารที่พักอาศัย  จังหวัดคุบัร ของซาอุ ซึ่งทหารอเมริกาได้ใช้อาคารสถานที่แห่งนั้นเป็นที่พักอาศัย (ยังไม่มีผู้ใดออกมายอมรับในการกระทำครั้งนี้)

ส่วน ฟัตวาที่สอง ของบินลาเดน คือ การประกาศเป้าหมายของอัลกออิดะฮ์ และการยกสภาวะขององค์กรให้สูงขึ้น นั่นคือ การสร้างกลุ่มแนวร่วมขบวนการ ในการทำสงครามกับยิวและกลุ่มไม้กางเขน ซึ่งเขาได้ประกาศในการปราศรัยด้วยเช่นกัน

นอกจาก บินลาเดน ที่เปิดเผยตัวตนแล้ว ยังมีสมาชิกองค์คนอื่นๆอีก ที่ได้เปิดเผยตัวตนด้วยเช่นเดียวกัน เช่น  อัยมัน ซอวาฮีรีย์ ผู้นำกลุ่มญิฮาดอิสลามีย์ อิยิปต์

ซึ่ง การฟัตวาดังกล่าว เป็นไปตามคำสอนของอาจารย์ก่อนหน้าบินลาเดน คือ อับดุลลอฮ อัซซอม ซึ่งได้สั่งเสียในเรื่องว่า การญิฮาดนั้น ถือเป็นข้อบังคับ ต่อมุสลิมทุกคน  และเป้าหมายของการญิฮาด นั่นคือ อเมริกา และอิสราเอล

ฟัต วาทั้งสอง เมื่อเพิ่มกับกลยุทธของซอวาฮีรีย์ จึงเป็นผลสะท้อนสำคัญที่ทำให้อัลกออิดะฮ์ มีอิทธิพล และส่งผลกับมุสลิมทั่วโลก อะไรที่เขาเขียน พูด กล่าว ไว้เป็นคำพูดที่สวยหรู คือ การต่อสู้กับอเมริกาผู้กดขี่  ความอธรรมต่างๆ ที่เขาพูดถึง คือ การที่อเมริกาเข้าแทรกแซงในแผ่นดิน ฮะรอมัยน์ และอันตรายต่างๆที่จะมาจาก ซัดดัม การเข้ายึดดินแดนปาเลสไตน์ แผ่นดินอันเป็นที่รักของมุสลิม แคชเมียร์ และสถานที่อื่นๆ ซึ่งพวกเขาได้ นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ ในการเชิญชวนผู้คนให้เข้าร่วมกับ กลุ่มของพวกเขา (ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า ทิศทางของพวกเขา ไม่ใช่ ทิศทางเดิมอีกแล้ว แต่วิธีการปฏิบัติภารกิจ ยังคงเหมือนเดิม)

ใน ยุคสมัยนั้นกลุ่ม ญิฮาดิยูน ได้แบ่งศัตรูเป็นสองจำพวก คือ ศัตรูใกล้ตัว กับศัตรูไกลตัว หมายถึง รัฐบาล ชาติมหาอำนาจ  ส่วนศัตรูใกล้ตัว หมายถึง รัฐบาลชาติที่รับใช้ชาติมหาอำนาจเหล่านี้  ซึ่งในช่วงนั้นพวกเขาก็มีความเห็นขัดแย้งกัน ในเรื่องการทำสงคราม กับศัตรูระยะใกล้หรือไกล ว่ากลุ่มไหน ควรจะสู้รบปรบมือ ก่อนกัน

แต่ สุดท้าย กลุ่มก่อการร้าย ก็ได้ใช้การกระทำของพวกเขาเป็นตัวบ่งบอกให้เห็น ว่า เขาเลือกจะสู้กับศัตรูระยะไกล อย่าง อเมริกา บางคนพูดว่า การโจมตี ศัตรู ระยะใกลจะทำให้ ศัตรูระยะใกล้ล่มสลายลงไปด้วย (เพราะในทัศนะของญิฮาดิยูน พวกเขาเห็นว่า ถ้าหาก ศัตรูระยะใกล้ ไม่ได้รับความช่วยเหลือ จากอเมริกา จะทำให้พวกเขา ล้มละลายไปโดยปริยาย