การเจรจาระหว่าง “สหรัฐฯ” กับ “อิหร่าน” จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ (1)

3024

เนื่องด้วยความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยน ระหว่าง สหรัฐ กับ อิหร่าน เป็นปรากฎหนึ่งที่มีผลอย่างลึกซึ้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อที่จะวิเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการเจรจาล่าสุดระหว่างสองประเทศนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ของเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์และการเจรจาต่อรอง ระหว่าง อิหร่าน และ สหรัฐ

ในยุคปี 50 เมื่อ อังกฤษ สูญเสียอิทธิพล และสถานะของตนในอิหร่าน เนื่องด้วย เหตุการณ์ที่ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมัน เป็นอุตสาหกรรมแห่งชาติ  รัฐบาลบริเตนได้ท้วงติงต่อศาลโลกและสหประชาชาติด้วยท่าทีที่ขึงขัง และได้แสดงท่าทีที่จะปิดล้อมอิหร่านด้วยวิธีทางทหาร นี่จึงเป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาสามารถเข้าแทรกแซง และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากน้ำมัน เพราะในช่วงเวลานั้น อิหร่านนับเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก

สหรัฐซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจซึ่งอยู่ในระดับแถวหน้า มีบทบาทโดยตรงในการแทรกแซงอิหร่านในเวลานั้น โดยนำเสนอการเข้าแทรกแซงครั้งนี้ในฐานะผู้สร้างสันติ และยังสามารถทำให้คนทั่วไปและองค์กรกลุ่มต่างๆในอิหร่าน คิดว่า พวกเขามาช่วยแก้ไขปัญหาในประเทศ

และเพราะการแทรกแซงครั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันที่น่าจะเป็นของชาวอิหร่าน จึงตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติอย่างสหรัฐ โดยมีรัฐบาลที่ฝักใฝ่นิยมตะวันตกในสมัยชาห์ ปาลาวี คอยช่วยเหลือและการันตีการเข้ามาครั้งนี้ของสหรัฐ สิ่งนี้เองทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติของอิหร่าน ตกไปอยู่ในมือของสหรัฐอย่างแยบคาย และเมื่อมีการเสนอให้ทำรัฐประหารโดยสหรัฐ กลุ่มองค์กรที่มีชื่อว่า ฮัยอัตฮากีเมะฮ ได้เป็นผู้ลงมือทำรัฐประหารในครั้งนี้

นี่คือก้าวแรกในการปรากฎตัวของสหรัฐในอิหร่าน โดยการปรากฎตัวครั้งนี้ ทำให้พรรคชาติอิหร่าน ที่ได้ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ที่ยึดถือมาเป็นเวลาหลายปี ถูกยุบลงอย่างรวดเร็ว

หลายปีหลังจากนั้น หลังจากเกิดการรัฐประหารในวันที่  ในปี 1953 จนถึงการปฏิวัติอิสลาม ในปี 1979 อเมริกาสามารถกำหนดทิศทางต่างๆ ในวงการต่างๆ ของอิหร่าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ, การเมือง, วัฒนธรรม และยังสามารถใช้อิทธิพลที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นในการทำให้อิหร่านเป็นประเทศที่ใช้สำหรับตั้งฐานทัพได้อีกด้วย

อิทธิพลของสหรัฐมากมายไปจนถึงขั้นที่ หากจะต้องมีการตัดสินใจอะไรที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศ พวกเขาสามารถกำหนดบทบาทได้อย่างเปิดเผย พวกเขายังสามารถหยุดยั้งการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามที่มีกลิ่นของ “เอกราช” หรือ “การปลดแอกจากอิทธิพลของชาวต่างชาติ” ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ความสัมพันธ์ของสหรัฐยังคงดำเนินต่อไปเป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือน หลังจากการปฏิวัติอิสลามครั้งใหญ่ หลังจากที่ราชวงศ์ปาลาวี หลบหนีออกนอกประเทศ ทว่าบรรยากาศและยุคใหม่ของอิหร่านได้เริ่มต้นแล้ว เป็นยุคที่ประชาชนอิหร่าน เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วย คำสามคำ คือ “อิสติกลาล ออซอดีย์ ญุมฮูรีเยอิสลามีย์” หมายถึง “เอกราช เสรีภาพ สาธารณรัฐอิสลาม” นั่นคือสามสิ่งที่ประชาชนชาวอิหร่านต่างเรียกร้องให้เกิดขึ้น

ยุคใหม่เริ่มต้นด้วยการประกาศความเป็นเอกราชของประชาชนชาวอิหร่าน และการประกาศไม่ยอมตกอยู่ภายใต้เงาของต่างชาติใดๆ อีก โดยยุคนี้เริ่มต้นด้วยการนำของ ซัยยิด รุฮุลลอฮ มูซาวีย์ โคมัยนี การปฏิวัติจึงค่อยๆ แผ่กระจายไปทั่วทั้งประเทศ และหลังจากนั้น หลังจากที่การปฏิวัติใหม่ครั้งนี้ดำเนิน ไปอย่างสำเร็จลุล่วง ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐ กับ ประเทศที่มีชื่อใหม่ว่า “สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน” จึงถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์

 

อิหร่าน และ สหรัฐ หลังจากปี 79

หลังจากที่ได้มีการบุกยึดสถานทูตที่นับเป็นศูนย์กลางในการสอดแนมของสหรัฐในเวลานั้น โดยนักศึกษามหาวิทยาลัย มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แผนสมคมคิด, เกิดความพยายามในการแทรกแซง, ความพยายามที่จะทำลายการปฏิวัติ, การลอบสังหาร, การสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน, กลุ่มต่อต้านการปฏิวัติ การคว่ำบาตรต่างๆ จนไปสู่การที่สหรัฐสนับสนุนซัดดัมให้เปิดสงครามกับอิหร่าน ในสงคราม 8 ปี

และตัวอย่างการเดินทางของนาย โรเบิร์ต แม็ก ฟาร์เลน (Robert Mcfarlane) ที่ปรึกษาเฉพาะของประธานาธิบดีเรแกนในช่วงเวลานั้น ที่ได้เดินทางมาเตหะราน ในปี 87 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงที่ความขัดแย้ง และความเป็นศัตรูระหว่างอิหร่า นกับอเมริกา อยู่ในระดับที่น่าตึงเครียด เพรา เป็นช่วงที่อิหร่าน ต้องรับศึกในระดับสูง โดยการเดินทางของโรเบิร์ตเป็นการเดินทางอย่างลับถึงที่สุด

แต่หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่านสังกัดกองทัพ ก็ได้เปิดโปงการมาของนายโรเบิร์ต ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที นายฮาชิมี รัฟซันญานี กล่าวถึงเสมอ ถึงความไม่ซื่อสัตย์ของสหรัฐ เพราะการเดินทางของนายโรเบิร์ต เป็นการเดินทางที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่ดูเหมือนว่า สหรัฐพยายามที่สร้างสถานการณ์ในการโจมตีอิหร่าน เช่นการระเบิดของเครื่องบินผู้โดยสารชาวอิหร่าน ในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหลายร้อยคน

นอกจากนี้ ยังมีอีกปรากฎการหนึ่ง ที่ทำให้สหรัฐสามารถส่งคนเข้าพื้นที่ตะวันออกกลาง นั่นก็คือ การแสดงความประสงค์ในการต้องการให้จัดตั้งกองกำลังความมั่นคงและความสงบในตะวันออกกลาง เป็นข้อเสนอที่ทำให้ สหรัฐสามารถมองเห็นโอกาสที่มีมากขึ้น หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ยังมีเหตุการณ์ 11 กันยา ที่ทำให้สหรัฐหวนคืนตะวันตกออกกลางอีกครั้งหนึ่ง โดยการเข้าไปยังอัฟกานิสถานของกองทัพสหรัฐ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายเพียงอย่างเดียว พวกเขายังได้ใช้โอกาสในการเข้ามาสร้างความปั่นป่วนในประเทศอัฟกานิสถาน และยังได้ประสานงานร่วมมือกับกลุ่มญิฮาดกลุ่มต่างๆ อีกด้วยเช่นกัน จนทำให้ถึงจุดหนึ่ง เวทีการเจรจาระหว่างอิหร่านและสหรัฐ ก็เริ่มต้นอีกครั้ง โดยในการเจรจาครั้งนี้ สหรัฐต้องการที่จะแลกเปลี่ยนทัศนะในการบุกอัฟกานิสถาน ด้วยข้ออ้างเรื่องการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย และให้รัฐมนตรีต่างประเทศของแต่ละฝ่าย และรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม

 

เหตุผลในการเจรจาระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ในเรื่องอัฟกานิสถาน

ในกรณีนี้ ทางสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้อธิบายถึง เหตุผลในการเจรจากับสหรัฐ ในเรื่อง อัฟกานิสถาน ไว้ว่า

1. เพื่อดำเนินการสร้างความสงบให้เกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีความสงบในประเทศตะวันออก

2. ทำลาย และกวาดล้างมาเฟียพ่อค้ายาเสพติด ซึ่งมีแหล่งผลิต หรือ โรงงานในอัฟกานิสถาน

3. ทางสหรัฐเสนอให้ เจรจากับอิหร่าน ในเรื่อง ตอลิบัน ซึงเป็นหนึ่งในกลุ่มก่อการที่คอยสร้างความไม่สงบในอัฟกานิสถาน

โชคร้ายที่การจัดโต๊ะเจรจาผ่านไปได้ไม่กี่วัน จอร์ช บุช ก็ประกาศว่า อิหร่านเป็นศูนย์กลางของความชั่วร้ายในโลก จึงทำให้ความพยายามที่จะเจรจาและหาทางออกในเรื่องอัฟกานิสถาน ต้องจบลง

ขณะเดียวกัน สหรัฐก็ได้ตั้งข้อกล่าวหาใหม่ให้กับอิหร่านอีกครั้ง การหาเรื่องครั้งนี้ ทำให้ ปธน.สหรัฐ ถึงกับขู่จะบุกโจมตีประเทศ และยังมีปฏิบัติการด้านอื่นๆ เข้ามาเพิ่มอีก เช่นการ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และประเด็นเรื่องพลังงานนิวเคลียร์

ประเด็นเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน เป็นประเด็นที่จุดเริ่มต้น สหรัฐ และ กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นผู้ทวงติงและแสดงถึงความไม่พอใจ ซึ่งภายหลังจากนั้นโคลงการพลังงานนิวเคลียร์สะอาด ก็ถูกนำเสนอให้พิจารณาในสภาความมั่นคง โดยมีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้อิหร่าน สามารถพัฒนาโครงการนี้ได้ มีการยื่นคำขาดจากสภาความมั่นคงต่อประเทศอิหร่าน

ยังมีการกดดันจากสหรัฐมาอย่าง หนักหน่วงจนกระทั่งเกิดสงคราม อิรัค  สหรัฐและตะวันตก จึงมุ่งที่จะใช้กำลังไปในทางนี้ ทว่าอย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตรอิหร่านก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่สหรัฐ ต้องยุ่งกับสงครามที่ตนสร้างขึ้นมา จึงไม่มีจังหวะที่จะกดอิหร่านในเรื่อง นิวเคลียร์ได้อย่างสะดวกนัก

 

โปรดติดตามตอนต่อไป