ทำไม “ปูติน” จึงนั่งแท่นบุคคลทรงอิทธิพลอันดับ 1 ของโลก ???

3700
Russian President Vladimir Putin listens during his meeting with Armenian President Serge Sarksyan in Yerevan December 2, 2013. REUTERS/Aleksey Nikolskyi/RIA Novosti/Kremlin (ARMENIA - Tags: POLITICS) ATTENTION EDITORS - THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY. IT IS DISTRIBUTED, EXACTLY AS RECEIVED BY REUTERS, AS A SERVICE TO CLIENTS - RTX1616U

ในการจัดลำดับผู้ทรงอิทธิพลของโลกนั้น ฟอร์บส์กำหนดให้ผู้ทรงอิทธิพล 1 คน ต่อทุก 100 ล้านคนบนโลกใบนี้ ซึ่งการจัดลำดับผู้ทรงอิทธิพลประจำปีจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เป็นต้นว่า จำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเมื่อดูได้จากจำนวน 28 ผู้ทรงอิทธิพลจากทั้งหมด 73 คนในปีนี้ ล้วนเป็นเศรษฐีหมื่นล้านทั้งสิ้น และปัจจัยยังรวมไปถึงจำนวนคนที่จะได้รับผลกระทบจากบุคคลนั้นๆ และปัจจัยภาวะอิทธิพลของบุคคล และบุคคลนั้นใช้อำนาจบ่อยครั้งเพียงใดในการขยายความเป็นผู้ทรงอิทธิพลของตนเอง เป็นต้น

ผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดประจำปี 2015 ตามการจัดลำดับของนิตยสารฟอร์บส์

ในปีนี้ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่สร้างความประหลาดใจไปทั่วโลก ด้วยการส่งกองกำลังไปยังซีเรียอย่างฉับพลัน คล้อยหลังการพบปะหารือลับกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ถูกนิตยสารฟอร์บส์จัดให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกในปีนี้

ในอันดับที่ 2  ฟอร์บส์ ยกให้ยอดหญิงแห่งเยอรมนี นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ที่มีบทบาทตั้งแต่การพยายามยุติสงครามในยูเครนตะวันออก มาจนถึงปัญหาหนี้สิน กรีซ และล่าสุดวิกฤตผู้อพยพซีเรียเดินเท้าเข้าสหภาพยุโรปทำให้แมร์เคิลสามารถไต่ขึ้นมาถึง 3 อันดับแทนที่ผู้นำสหรัฐฯในปีนี้ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ตกไปอยู่อันดับ 3 แทน

โดยถือว่าเป็นปีแรกที่ผู้นำสหรัฐฯ ไม่สามารถทำคะแนนไต่ทะลุเข้าไปอยู่ 2 อันดับของบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดในโลกได้

ส่วนผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 4  นิตยสารฟอร์บส์ ยังจัดให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ยังอยู่ในลำดับที่ 4 เหมือนเดิมเช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา ด้านผู้นำจีนประเทศทรงอิทธิพลด้านการเงินที่สุดในโลกในเวลานี้ อย่าง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง รั้งตำแหน่งในอันดับ 5

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี ที่ก้าวเข้าสู่ในอำนาจเมื่อปี 2014 แต่สามารถทำให้ทั่วโลกจดจำ และนิตยสารฟอร์บส์ ได้จัดให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกอันดับที่ 9

 ทั้งสี และโมดี เป็นสองชาวเอเชียที่สามารถทะลุ 10 อันดับแรกของผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกในปีนี้ โดยเฉพาะผู้นำอินเดียที่ขึ้นมาถึง 6 จุด และเป็นครั้งแรกของผู้นำอินเดียที่สามารถติดท็อปเทนได้สำเร็จ

ในขณะที่เมื่อมองไปด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ในปีนี้นิตยสารฟอร์บส์จัดให้ บิล เกตส์ อดีตผู้ก่อตั้งบริษัท ไมโครซอฟท์ ยังคงรั้งตำแหน่งผู้อิทธิพลสูงสุดในโลกที่อันดับ 6 ในขณะที่ลาร์รี เพจ เจ้าของผู้ก่อตั้งร่วมบริษัท กูเกิล ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอบริษัท อัลฟาเบต บริษัทแม่ของกูเกิลอิงก์ ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 10

 ด้าน มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าพ่อเฟซบุ๊ก ก็ติดโผผู้ทรงอิทธิพลของโลกในลำดับที่ 19 และส่วนเจ้าพ่อแอปเปิล เช่น ทิม คุ้ก รั้งตำแหน่งบุคคลทรงอิทธิพลของโลกในลำดับที่ 27

นอกจากนี้ ยังพบว่าในการจัดลำดับของฟอร์บส์ยังรวมไปถึงผู้นำด้านจิตวิญญาณ เช่น ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของอิหร่าน อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี อยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก คิงซาอุฯ อยู่ในอันดับที่ 14 ส่วนประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ คิม จองอึน อยู่ในลำดับที่ 46 ของผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ที่สำคัญในปีนี้

นิตยสารฟอร์บส์ ยังจัดให้ผู้นำกลุ่มก่อการร้าย IS อาบูบักร์ บักดาดี เป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกในลำดับที่ 57 ส่วนเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ บัน คีมูน ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 40

 ด้านการเงิน เช่น เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกในลำดับที่ 7 ในปี 2015 ส่วนมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มีส่วนสำคัญในปัญหาวิกฤตหนี้เน่ากรีซถูกจัดเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกในลำดับที่ 11

และแน่นอนที่สุด นิตยสารฟอร์บส์ย่อมต้องไม่ลืมขาประจำเช่น ลี กาชิง เศรษฐีหมื่นล้านฮ่องกงถูกจัดให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกในลำดับที่ 12 สูงกว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าพ่อการเงินการธนาคารของโลกที่รั้งอันดับ 13

 ขณะที่ในปีนี้ แจ็ก หม่า ซีอีโออาลีบาบากรุ๊ปจากจีน ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 22 ของผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกของนิตยสารฟอร์บส์ เอาชนะกรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF คริสติน ลาการ์ด ที่รั้งอยู่ในอันดับที่ 23

จากทั้งหมด 73 คน

ในการจัดลำดับผู้ทรงอิทธิพลของโลกนั้น ฟอร์บส์กำหนดให้ผู้ทรงอิทธิพล 1 คน ต่อทุก 100 ล้านคนบนโลกใบนี้ ซึ่งการจัดลำดับผู้ทรงอิทธิพลประจำปีจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เป็นต้นว่า จำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเมื่อดูได้จากจำนวน 28 ผู้ทรงอิทธิพลจากทั้งหมด 73 คนในปีนี้ ล้วนเป็นเศรษฐีหมื่นล้านทั้งสิ้น และปัจจัยยังรวมไปถึงจำนวนคนที่จะได้รับผลกระทบจากบุคคลนั้นๆ และปัจจัยภาวะอิทธิพลของบุคคล และบุคคลนั้นใช้อำนาจบ่อยครั้งเพียงใดในการขยายความเป็นผู้ทรงอิทธิพลของตนเอง เป็นต้น

ทำไม วลาดิมีร์ ปูติน เป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดประจำปี

ปูตินได้รับความไว้วางใจจากประชาชนรัสเซียอย่างสูง ในการเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา เขาคว้าชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 53% ในปี 2000 และ 73% ในปี 2004 จากนั้น เมดเวเดฟ ผู้สืบทอดทางการเมืองของเขา ได้คะแนนเสียงไป 70% ในปี 2008 ล่าสุด ผลสำรวจความเห็นประชาชนเมื่อเดือน พ.ค.2014 ปูตินมีคะแนนนิยมอยู่ที่ 85.9%

แม้ว่ารัสเซียกำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่คะแนนนิยมในตัวประธานาธิบดี Vladimir Putin กลับเพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนรัสเซียชื่นชมที่ประธานาธิบดี ปูติน มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะกอบกู้รัสเซียให้กลับมาอยู่ในจุดที่เคยเป็น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม

Edward Lucas ผู้เขียนหนังสือ The New Cold War เชื่อว่าปัจจุบันประธานาธิบดีปูติน ยังคงหมกมุ่นครุ่นคิดถึงเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายเมื่อปี ค.ศ 1991 ประธานาธิบดี Putin รู้สึกเหมือนว่ารัสเซียถูกหักหลัง และสหภาพโซเวียตต้องพังทลายและถูกชาติตะวันตกหัวเราะเยาะ และขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่รัสเซียต้องกอบกู้คืนทั้งศักดิ์ศรีและดินแดน

ดูเหมือนบรรดาผู้นำชาติตะวันตกจะตระหนักดีถึงเรื่องนี้ หลังจากประธานาธิบดีปูติน ควบรวมแคว้นไครเมีย และส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปในภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งทางรัสเซียออกมาปฏิเสธ

ก่อนหน้านี้ชาติตะวันตกได้ใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจที่เน้นไปที่เครือข่ายพวกพ้องของประธานาธิบดีปูติน แต่Ben Judah ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติประธานาธิบดีปูติน ชื่อ Fragile Empire เชื่อว่ามาตรการลงโทษนั้นแทบจะไม่มีผล 

Ben Judah ชี้ว่าเวลานี้ระบอบคณาธิปไตยหรือการปกครองโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในรัสเซียนั้น ไม่หลงเหลืออีกแล้ว มีเพียงแต่ระบอบเผด็จการของประธานาธิบดีปูติน กับผู้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยเขาเท่านั้น

นักวิเคราะห์ผู้นี้เชื่อว่า ปูตินมีความคิดว่าตนคือผู้เดียวที่จะสามารถกอบกู้รัสเซียให้กลับมาอยู่ในจุดที่เคยเป็นได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม 

Ben Judah ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติปูติน ชี้ว่า ไม่ว่าจะด้วยการทำสงคราม การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างแนวคิดชาตินิยม หรือการเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก หากเป็นวิธีที่ประธานาธิบดี ปูติน เชื่อว่าจะกอบกู้รัสเซียได้ เขาจะทำโดยไม่ลังเล

นักเขียนผู้นี้ยังบอกด้วยว่า แม้ภายนอกจะดูเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว แต่จริงๆ แล้วประธานาธิบดีปูติน ค่อนข้างโดดเดี่ยวและไม่มีความสุข Ben Judah บอกว่านอกจากเขาจะโดดเดี่ยวแปลกแยกจากคนรอบข้างแล้ว ร่างกายยังทรุดโทรม และยังรู้สึกว่าตนเป็นคนที่น่าสงสารอย่างยิ่งที่ต้องแบกรับภาระหนักอึ้งในการฟื้นฟูอำนาจและความภาคภูมิของรัสเซียยุคใหม่

ในการสัมภาษณ์กับสื่อรัสเซียเมื่อปลายปีที่แล้ว ตัวประธานาธิบดีปูตินเองได้ยอมรับว่าตนเป็นคนเพื่อนน้อย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยวแต่อย่างใด 

บรรดานักวิเคราะห์ต่างเห็นตรงกันว่า การจะเข้าใจผู้นำรัสเซียผู้นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และการวางตนเองอยู่ในจุดที่คนรอบข้างไม่อาจเข้าถึงได้เช่นนี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความนิยมที่ประชาชนรัสเซียมีต่อประธานาธิบดี Putin เพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นิตยสารฟอร์บส์ระบุว่า ผู้นำรัสเซียเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในโลกที่มีอำนาจมากพอที่จะอะไรได้ในตามที่เขาต้องการ แม้ว่าจะถูกสหรัฐฯและยุโรปคว่ำบาตร ที่ทำให้เศรษฐกิจของรัสเซีย ตกต่ำลง แต่ผลสำรวจในเดือนมิถุนายนพบว่าความนิยมในตัวผู้นำคนนี้กลับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึง 89% 
นอกจากนี้ท่าทีในการโจมตีกลุ่มไอเอสในประเทศซีเรียเมื่อเดือนก่อน และการเข้าพบกับนายบาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีของซีเรีย ที่ทำให้สหรัฐฯและนาโต้ดูอ่อนแอในภูมิภาคนี้ไปในทันที และยังช่วยสร้างอิทธิพลของรัสเซียในต่างประเทศอีกด้วย

ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้ วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จึงเป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดประจำปี……!!!    

 

—-
แหล่งอ้างอิง
http://www.mashreghnews.ir/fa
http://manager.co.th/Around/
http://www.voathai.com/
http://www.forbes.com/
http://www.dw.com/fa-ir/